โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทับศัพท์ภาษาจีน

ดัชนี การทับศัพท์ภาษาจีน

้อมูลในหน้านี้อาจมีการดัดแปลงหลายครั้งตามนโยบายวิกิพีเดีย สำหรับข้อมูลต้นฉบับสามารถดูได้ที่ การทับศัพท์ภาษาจีนกลางนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) ซึ่งอาจแตกต่างจากที่นักวิชาการและสื่อบางส่วนใช้อยู่บ้างเล็กน้อย โปรดดูรายละเอียดท้ายบทความ.

16 ความสัมพันธ์: พินอินพินทุกลุ่มภาษาจีนการทับศัพท์ภาษาจีนกลางมณฑลยูนนานมณฑลเหอเป่ย์สำนักงานราชบัณฑิตยสภาอักษรละตินอักษรจีนอักษรไทยอู่ฮั่นจู้อินซฺยงหนูเกาสฺยงเวด-ไจลส์

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

พินทุ

พินทุ (-ฺ) มีลักษณะคล้ายจุด ใช้เติมใต้พยัญชนะ เพื่อใช้ระบุอักษรนำหรืออักษรควบกล้ำ ในการเขียนคำอ่านของคำในภาษาไทย เช่น สุเหร่า อ่านว่า สุ-เหฺร่า, ปรากฏ อ่านว่า ปฺรา-กด เป็นต้น ในการเขียนภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตด้วยอักษรไทย จะเติมพินทุไว้ที่พยัญชนะสะกดของคำ เช่น ธมฺมา (ทัม-มา) อญฺชลี (อัน-ชะ-ลี) และเติมที่อักษรนำหรืออักษรควบกล้ำ เช่น สฺวากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) เชตฺวา (เช-ตะ-วา) ในการแยกแยะว่าพินทุใดใส่เพื่อพยัญชนะสะกดหรืออักษรนำ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่าน เนื่องจากคำที่ใช้พินทุสำหรับอักษรนำนั้นมีอยู่น้อยคำ ในการเขียนคำทับศัพท์อาหรับด้วยอักษรไทย จะเติมพินทุไว้ที่พยัญชนะเพื่อเน้นว่า พยัญชนะต้องออกเสียงเสมือนว่าเป็นอักษรนำ เช่น อะบูบักรฺ (อะ-บู-บัก-ร) และ อัลลอหฺ (อัล-ลอ-หฺ) หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและพินทุ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

การทับศัพท์

ตัวอย่างหนึ่งของการเปรียบเทียบอักษรเพื่อการทับศัพท์ จากอักษรซีริลลิกไปเป็นอักษรละติน การทับศัพท์ หรือ การปริวรรต คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและการทับศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอเป่ย์

มณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ชื่อย่อ จี้(冀)ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบสูง มองโกเลียในและที่ราบภาคเหนือของประเทศ เป็นมณฑลที่อยู่ล้อมรอบนครสำคัญคือ ปักกิ่ง และเทียนจินมีเมืองหลวงชื่อ ฉือเจียจวง มีเนื้อที่ 187,700 ก.ม.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและมณฑลเหอเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อู่ฮั่น

ทิวทัศน์เมืองอู่ฮั่น อู่ฮั่น เป็นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑล มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม. (ในเมือง 1,954 ตร.กม.) ประชากร 8,100,000 (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและอู่ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

จู้อิน

ู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน) ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและจู้อิน · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

เกาสฺยง

กาสฺยง เกาสฺยง (Kaohsiung) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครเกาสฺยง (Kaohsiung City) เป็นหนึ่งในเทศบาลพิเศษหกแห่งในการปกครองสาธารณรัฐจีน ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตรงข้ามกับช่องแคบไต้หวัน โดยอาณาเขต 2947.62 ตารางกิโลเมตรแล้วจึงนับเป็นเทศบาลที่มีพื้นที่มากที่สุด และโดยจำนวนประชากรราว 2.77 ล้านคนแล้วจึงถือเป็นเมืองซึ่งผู้คนหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับสอง เมืองนี้ตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และนับแต่นั้นนก็เจริญเติบใหญ่จากหมู่บ้านย่านค้าขนาดเล็กขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ การขนส่ง การประดิดประดอย การก่อเรือ และอุตสาหกรรมทางภาคใต้ตามลำดับ อนึ่ง เมืองนี้ยังใช้ระบบพึ่งพาตนเอง (self-sufficiency) ดังที่เครือข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และเมืองโลก (Globalization and World Cities Research Network) จัดประเภทไว้เมื่อปี 2010 ท่าอากาศยานนานาชาติเกาสฺยง (Kaohsiung International Airport) รองรับเมืองเกาสฺยงและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับในประเทศ ส่วนท่าเกาสฺยง (Port of Kaohsiung) เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่มิใช่ท่าเรืออย่างเป็นทางการของเมืองนี้ ขณะที่ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของเมืองนั้นเรียก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเกาสฺยง (Kaohsiung Mass Rapid Transit) และเริ่มให้บริการเมื่อต้นปี 2008 เมืองเกาสฺยงยังเป็นที่ตั้งบัณฑิตยสถานและกองบัญชาการกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน ทั้งเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาโลก 2009 (2009 World Games) ซึ่งจัดการแข่งขันกีฬาระดับชนิดที่ไม่มีในโอลิมปิกส์ด้ว.

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและเกาสฺยง · ดูเพิ่มเติม »

เวด-ไจลส์

วด-ไจลส์ (Wade-Giles) หรือ เวยถัวหม่าพินอิน บางครั้งก็เรียกโดยย่อว่า เวด เป็นระบบถอดอักษรแบบถ่ายเสียงภาษาจีนกลางด้วยตัวอักษรโรมันใช้กันในปักกิ่ง พัฒนาจากระบบที่สร้างขึ้นโดย ทอมัส เวด (Thomas Wade) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปรากฏอยู่ในพจนานุกรมจีน-อังกฤษของ เฮอร์เบิร์ต ไจลส์ (Herbert Giles) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: การทับศัพท์ภาษาจีนและเวด-ไจลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีนทับศัพท์จีนคำทับศัพท์ภาษาจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »