โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกาสฺยง

ดัชนี เกาสฺยง

กาสฺยง เกาสฺยง (Kaohsiung) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครเกาสฺยง (Kaohsiung City) เป็นหนึ่งในเทศบาลพิเศษหกแห่งในการปกครองสาธารณรัฐจีน ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตรงข้ามกับช่องแคบไต้หวัน โดยอาณาเขต 2947.62 ตารางกิโลเมตรแล้วจึงนับเป็นเทศบาลที่มีพื้นที่มากที่สุด และโดยจำนวนประชากรราว 2.77 ล้านคนแล้วจึงถือเป็นเมืองซึ่งผู้คนหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับสอง เมืองนี้ตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และนับแต่นั้นนก็เจริญเติบใหญ่จากหมู่บ้านย่านค้าขนาดเล็กขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ การขนส่ง การประดิดประดอย การก่อเรือ และอุตสาหกรรมทางภาคใต้ตามลำดับ อนึ่ง เมืองนี้ยังใช้ระบบพึ่งพาตนเอง (self-sufficiency) ดังที่เครือข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และเมืองโลก (Globalization and World Cities Research Network) จัดประเภทไว้เมื่อปี 2010 ท่าอากาศยานนานาชาติเกาสฺยง (Kaohsiung International Airport) รองรับเมืองเกาสฺยงและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับในประเทศ ส่วนท่าเกาสฺยง (Port of Kaohsiung) เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่มิใช่ท่าเรืออย่างเป็นทางการของเมืองนี้ ขณะที่ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของเมืองนั้นเรียก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเกาสฺยง (Kaohsiung Mass Rapid Transit) และเริ่มให้บริการเมื่อต้นปี 2008 เมืองเกาสฺยงยังเป็นที่ตั้งบัณฑิตยสถานและกองบัญชาการกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน ทั้งเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาโลก 2009 (2009 World Games) ซึ่งจัดการแข่งขันกีฬาระดับชนิดที่ไม่มีในโอลิมปิกส์ด้ว.

2 ความสัมพันธ์: ช่องแคบไต้หวันประเทศไต้หวัน

ช่องแคบไต้หวัน

องแคบไต้หวัน (Taiwan Strait) หรือช่องแคบฟอร์โมซา (Formosa Strait) เป็นช่องแคบระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนของประเทศจีนกับเกาะไต้หวัน เชื่อมทะเลจีนตะวันออกกับทะเลจีนใต้ มีความกว้างราว 180 กม.

ใหม่!!: เกาสฺยงและช่องแคบไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: เกาสฺยงและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kaohsiungมณฑลเกาซุงเกาสุงเกาสงเกาซุงเมืองเกาซุง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »