โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลสาบหยางเฉิง

ดัชนี ทะเลสาบหยางเฉิง

ทะเลสาบหยางเฉิง (Yangcheng Lake) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดเล็ก ตั้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากเมืองซูโจว ในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน ประมาณ เป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงที่เป็นต้นกำเนิดของปูขน (ก้ามขน) ทะเลสาบหยางเฉิงตั้งอยู่ระหว่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai; จีนตัวย่อ: 太湖) และแม่น้ำแยงซี โดยรอบทะเลสาบมีอาณาเขตติดกับเมืองซูโจว เมืองฉางสู (Changshu) (จีนตัวย่อ: 常熟) และเมืองคุณซาน (Kunshan) (จีนตัวย่อ: 昆山) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ.

4 ความสัมพันธ์: มณฑลเจียงซูซูโจวปูขน (ปูก้ามขน)แม่น้ำแยงซี

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: ทะเลสาบหยางเฉิงและมณฑลเจียงซู · ดูเพิ่มเติม »

ซูโจว

ซูโจว (จีนตัวเต็ม: 蘇州; จีนตัวย่อ: 苏州) เป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ติดกับเขตการปกครองพิเศษเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำแยงซี ริมฝั่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai or Tai Hu; จีนตัวย่อ: 太湖) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 4 ล้านคนในเขตเมือง และมีประชากรรวมกว่า 10 ล้านคนในพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด เมืองซูโจวยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ศูนย์กลางการค้า และการขนส่ง นอกจากนี้ซูโจวยังเป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม การศึกษา ศิลปะ และการคมนาคม เมืองซูโจวเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 514 ปี ก่อนคริสตกาล มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หรือเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล เมืองซูโจวเป็นหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่จำนวนมาก และในศตวรรษที่ 10 สมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองซูโจวเคยเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงกบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) ในปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบหยางเฉิงและซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

ปูขน (ปูก้ามขน)

ำหรับปูขนอย่างอื่นที่เป็นปูบก ดูที่: ปูไก่ ปูขน หรือ ปูก้ามขน หรือ ปูเซี่ยงไฮ้ (Chinese mitten crab, Shanghai hairy crab; 大閘蟹, 上海毛蟹; พินอิน: dà zhá xiè, shànghǎi máo xiè;; ศัพท์มูลวิทยา: Eriocheir (/โอ-ริ-โอ-เชีย/) เป็นภาษาลาตินแปลว่า "ก้ามมีขน" และคำว่า sinensis (/ไซ-เนน-ซิส/) มีความหมายว่า "อาศัยในประเทศจีน") เป็นครัสเตเชียนจำพวกปูชนิดหนึ่ง ปูขนมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบอาศัยอยู่ตามทะเลสาบในประเทศจีน เจริญเติบโตอยู่ในสภาพอากาศหนาว และน้ำที่เย็นจัด อุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 10 องศาเชลเชียส บริเวณที่พบมากและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ทะเลสาบหยางเถิง ในมณฑลเจียงซู นอกจากนี้ยังพบในประเทศไต้หวัน และบางส่วนของคาบสมุทรเกาหลีไปจนถึงทะเลเหลือง ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปถึงทวีปยุโรป เช่น ประเทศฟินแลนด์, สวีเดน, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมนี และบางส่วนของประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ปูขนมีกระดองรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 7-8 เซนติเมตร สีน้ำตาลปนเหลืองจนถึงน้ำตาลเข้ม มีขนเป็นกระจุกบนขาทุกขาซึ่งถือเป็นลักษณะเด่น ขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบ ขาเดินที่เหลืออีก 4 คู่ มีลักษณะเรียวยาว ไม่เป็นใบพาย กระดองส่วนหน้าไม่เรียบ มีตุ่มทู่ ๆ เรียงกัน 2 แถว แถวแรกมี 2 ตุ่ม แถวถัดมามี 3 ตุ่ม ทั้งสองแถวเรียงขนานกับริมขอบเบ้าตาด้านใน ลักษณะเด่นที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ ขอบด้านข้างของกระดองมีหนามแหลม 4 อัน ที่ก้ามมีขนสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นกระจุกคล้ายสาหร่ายหางไก่ ห่อหุ้มหนา โดยเฉพาะบริเวณขอบด้านนอกของก้ามหนีบ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งปูขนนั้นมีลักษณะคล้ายกับปูขนญี่ปุ่น (E. japonica) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่พบในประเทศญี่ปุ่นมาก ปูขนปรุงสุกพร้อมรับประทาน มีวงจรชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลสาบที่มีน้ำสะอาดและเย็นจัด เมื่อถึงช่วงฤดูร้อนจะอพยพไปผสมพันธุ์และวางไข่ในทะเลหรือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ปูขนที่มีร่างกายสมบูรณ์จะมีขนเป็นประกายสีเหลืองทองอ่อน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว คือ ในปลายปีของทุกปี คือ เดือนตุลาคม-ธันวาคม ปูขนจัดเป็นอาหารจีนที่มีชื่อเสียงอย่างมาก และจัดเป็นอาหารที่หายาก มีราคาแพง นับเป็นอาหารระดับฮ่องเต้ เนื่องจากมีจำหน่ายเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น เพราะเป็นฤดูผสมพันธุ์ ที่ปูตัวผู้จะมีเนื้อรสชาติหวาน และปูตัวเมียจะมีไข่ เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อว่า ปูขนต้องเป็นปูที่มีความทรหดอดทนมาก เนื่องจากสามารถใช้ชีวิตผ่านฤดูหนาวที่อากาศหนาวเหน็บมาได้ เชื่อว่าหากได้กินเนื้อแล้วจะทำให้แข็งแรงเหมือนปู ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้โรคคออักเสบ รักษาอาการทางเดินอาหารไม่ปรกติ รวมทั้งมีผลในการถอนพิษด้วย ทำให้มีราคาซื้อขายที่สูงมาก ทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่, ไต้หวัน หรือฮ่องกง สำหรับชาวไทยรู้จักรับประทานปูขนมาไม่ต่ำกว่า 30 ปีแล้ว ถึงขนาดเมื่อถึงฤดูหนาวจะเดินทางไปฮ่องกงเพื่อรับประทานปูขนโดยชนิด หรือซื้อกลับมายังประเทศไทยโดยแช่แข็งไว้ในกระติกน้ำแข็ง แต่ปัจจุบันก็สามารถหารับประทานได้ในประเทศไทย โดยวิธีการปรุงปปูขนนั้นก็กระทำได้โดยง่าย โดยใช้วิธีการนึ่งเพียง 15 นาทีเท่านั้น อาจจะมีการใส่สมุนไพรหรือพืชบางชนิดลงไปเพื่อให้ความหอม และรับประทานพร้อมกับจิ๊กโฉ่ว หรือซอสเปรี้ยวของจีน หรือสุราแบบจีน และต้องรับประทานน้ำขิงเป็นของตบท้าย เพื่อปรับสภาพหยินหยางในร่างกายให้สมดุล ซึ่งต้องปรุงให้สุก เพราะจากการศึกษาพบว่า ปูขนนั้นเป็นพาหะของโรคพยาธิใบไม้ในปอด สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ที่โครงการหลวง บนยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: ทะเลสาบหยางเฉิงและปูขน (ปูก้ามขน) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลสาบหยางเฉิงและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »