โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซูโจว

ดัชนี ซูโจว

ซูโจว (จีนตัวเต็ม: 蘇州; จีนตัวย่อ: 苏州) เป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ติดกับเขตการปกครองพิเศษเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำแยงซี ริมฝั่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai or Tai Hu; จีนตัวย่อ: 太湖) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 4 ล้านคนในเขตเมือง และมีประชากรรวมกว่า 10 ล้านคนในพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด เมืองซูโจวยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ศูนย์กลางการค้า และการขนส่ง นอกจากนี้ซูโจวยังเป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม การศึกษา ศิลปะ และการคมนาคม เมืองซูโจวเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 514 ปี ก่อนคริสตกาล มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หรือเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล เมืองซูโจวเป็นหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่จำนวนมาก และในศตวรรษที่ 10 สมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองซูโจวเคยเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงกบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) ในปี..

78 ความสัมพันธ์: ชางลั่งถิงพรมผนังพระราชวังฤดูร้อนพระราชวังต้องห้ามพิชัยสงครามซุนจื่อพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจวพินอินกลุ่มภาษาจีนกว่างโจวการสอบขุนนางภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อภาษาอังกฤษมรสุมมรดกโลกมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์มะเร็งเต้านมมณฑลกุ้ยโจวมณฑลเจียงซูยุครณรัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยรัฐอู๋ราชวงศ์ชิงราชวงศ์หมิงราชวงศ์หยวนราชวงศ์ฮั่นตะวันออกราชวงศ์ถังราชวงศ์ฉินราชวงศ์ซ่งรถไฟฟ้าซูโจวลกข้องลกซุนลกเจ๊กลี กวนยูสวนหลิวสวนหว่างซือสวนจัวเจิ้งสวนทุ่ยซือสวนป่าสิงโตสวนโอ่วสามก๊กสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองหยกหัตถกรรมหางโจวหฺวันซิ่วชันจฺวังหนานจิงห้าราชวงศ์อักษรวิจิตรอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็ม...อู๋ซีองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นฌ้อปาอ๋องจักรพรรดิกวังซฺวี่จักรพรรดิหงอู่จักรพรรดิถงจื้อทะเลสาบไท่ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตงคลองใหญ่ (ประเทศจีน)งิ้วซือหม่า เชียนซุนวูซูสีไทเฮาซูถงประวัติศาสตร์จีนประเทศจีนประเทศไต้หวันปริญญาตรีแม่น้ำแยงซีโม่ลี่ฮัวไหมไซบีเรียไป๋ จวีอี้เวิง ถงเหอเทศมณฑลอู๋เดอะนิวยอร์กไทมส์เซี่ยงไฮ้ ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

ชางลั่งถิง

งลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่น (อังกฤษ: Canglang Pavilion) มีชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษหลากหลายว่า the Great Wave Pavilion หรือ Surging Wave Pavilion หรือ Blue Wave Pavilion เป็นหนึ่งในสวนโบราณ เมืองซูโจวที่ได้รับการยกย่องโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง ชางลั่งถิงตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 ถนนชางลั่งถิงในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน สวนแห่งนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองซูโจวและยังเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถสืบค้นประวัติของสวนย้อนหลังได้ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (Northern Song Dynasty) ในราวปี..

ใหม่!!: ซูโจวและชางลั่งถิง · ดูเพิ่มเติม »

พรมผนัง

การแขวนพรมบนผนังโกบลินที่วังลินเดอร์โฮฟ ราวปี ค.ศ. 1900 พรมผนัง หรือ พรมแขวนผนัง (tapestry) เป็นงานศิลปะสิ่งทอ ซึ่งทอด้วยมือบนกี่ตั้งที่เส้นด้ายพุ่งซ่อนเส้นด้ายยืนหมดเมื่อทำเสร็จ ซึ่งต่างจากการทอผ้า อาจเห็นทั้งด้ายเส้นยืนและเส้นพุ่ง การทำเช่นนี้ทำให้เกิดลวดลายหรือภาพ ผู้ทอมักจะใช้ด้ายยืนที่ทำจากลินินหรือฝ้าย ส่วนด้ายพุ่งอาจจะเป็นขนแกะ, ฝ้าย หรือไหม หรือบางครั้งก็ใช้ด้ายที่ทำจากทอง, เงิน หรือวัสดุอื่นๆ ด้วย ทั้งช่างและศิลปินเป็นผู้สร้างงานพรมทอ ก่อนอื่นศิลปินจะร่างแบบ ที่เรียกกันว่า “tapestry cartoon” เพื่อให้ช่างทอตามแบบที่ร่าง ห้วเรื่องที่ทอก็อาจจะมาจากคัมภีร์ไบเบิล, ตำนานเทพ หรือฉากล่าสัตว์ ซึ่งจะเป็นที่นิยมทำกันในการตกแต่งที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ซูโจวและพรมผนัง · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังฤดูร้อน

ระราชวังฤดูร้อน (Summer Palace) หรือ อี๋เหอ-ยฺเหวียน (Gardens of Nurtured Harmony) เป็นพระราชวังอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังหยวนหมิงหยวน ห่างจากพระราชวังต้องห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร อี๋เหอ-ยฺเหวียนมีพื้นที่ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเนินเขาสูง 60 เมตร มีพระตำหนักอยู่บนเนิน และทะเลสาบคุนหมิง มีเนื้อที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทะเลสาบนี้เกิดจากการใช้แรงงานคน ขุดดินขึ้นไปถมเป็นเนินเขา สำหรับสร้างพระตำหนัก อี๋เหอ-ยฺเหวียนเริ่มก่อสร้างในสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ. 1115 - 1234) โดยจักรพรรดิไหหลิงหวัง เมื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ปักกิ่ง และเป็น่ที่ประทับของจักรพรรดิราชวงศ์หยวน จนกระทั่งถึงรัชกาลของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง ทรงบูรณะและสร้างพระตำหนักแห่งใหม่บนเนินเขา ในปี ค.ศ. 1749.

ใหม่!!: ซูโจวและพระราชวังฤดูร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังต้องห้าม

อู่เหมิน ไท่เหอเหมิน ตงหวาเหมิน แม่น้ำทอง 280px 190px พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963 พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987).

ใหม่!!: ซูโจวและพระราชวังต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงครามซุนจื่อ

ัยสงครามซุนจื่อ (The Art of War) เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนจื่อ นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม ตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนจื่อถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ซูโจวและพิชัยสงครามซุนจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์เมืองซูโจว

Logo of Suzhou Museum Suzhou Museum (2010) พิพิธภัณฑ์เมืองซูโจว (อังกฤษ: Suzhou Museum) เป็นพิพิธภัณฑสถานซึ่งจัดแสดงศิลปะจีนโบราณ (Chinese art) ภาพวาดจีนโบราณ (Chinese paintings) อักษรจีนวิจิตร (Chinese calligraphy) และงานฝีมือประดิษฐ์ต่าง ๆ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 204 ถนนตงเป่ย เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เปิดให้เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: ซูโจวและพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กว่างโจว

กว่างโจว กวางโจว หรือ กวางเจา (จีนตัวเต็ม: 廣州, จีนตัวย่อ: 广州 Guǎngzhōu หรือ Gwong2 zau1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง กว่างโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และมาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วย เมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย กว่างโจวแม้จะเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน แต่กว่างโจวยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในรูปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดินครอบคลุมเมืองชั้นในทั้งหมด รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย กว่างโจวมีภาพลักษณ์ค่อนข้างแตกต่างจากเมืองทางเหนือ ซึ่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วย "ราชการและเป็นทางการ" แต่ในกว่างโจวจะรู้สึกและรับรู้ได้ถึง "การค้าและความวุ่นวาย" กว่างโจว เคยใช้เป็นสถานที่หลักที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2010 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี..

ใหม่!!: ซูโจวและกว่างโจว · ดูเพิ่มเติม »

การสอบขุนนาง

การสอบขุนนาง (imperial examination) เป็นระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุข้าราชการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับระบบราชการของรัฐ ในการสอบใช้ข้อสอบแบบวัตถุวิสัย (objective) เพื่อประเมินการได้รับความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าสอบ ผู้สอบได้จะได้รับวุฒิ จิ้นชื่อ แปลว่า "บัณฑิตชั้นสูง" (advanced scholar) (ซึ่งอาจเทียบได้กับปริญญา ดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในระบบการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุด) รวมถึงปริญญาชั้นอื่น ๆ แล้วจะได้รับการประเมินเพื่อบรรจุเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับวุฒิจิ้นซี่อในการสอบขุนนางนั้นจะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการระดับสูงแห่งราชสำนัก ตำแหน่งที่ได้รับจะเรียงตามลำดับผลคะแนนที่สอบได้ ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงกว่าจะได้รับตำแหน่งที่ดีกว่า นอกจากนั้นองค์จักรพรรดิหรือจักรพรรดินีจะทรงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้เข้าสอบที่ได้คะแนนสูงสุด ด้วยพื้นฐานจากปรัชญาลัทธิขงจื้อ การสอบขุนนางนี้โดยทฤษฎีแล้วมุ่งทดสอบและคัดเลือกบุคคลด้วยคุณธรรม จึงมีอิทธิพลต่อประเทศจีนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการคานอำนาจในช่วงราชวงศ์ถัง ราชวงศ์โจวของพระนางบูเช็กเทียน (Wu Zetian) และราชวงศ์ซ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลเป็นการหลอมรวมโครงสร้างทางสังคมไว้เป็นเวลานาน อนึ่ง มีหลายครั้งที่การสอบทำให้อภิชนบางกลุ่มถูกแทนที่ด้วยบุคคลจากชั้นรากหญ้า หลายดินแดนในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และรีวกีว (Ryūkyū) รับระบบการสอบนี้มาใช้เพื่อคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิ เพื่อรักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากร กับทั้งเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียน เนื่องจากการจัดการสอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทะเบียนหลวง วันที่ได้รับการประสาทวุฒิจิ้นชื่อ จึงมักเป็นข้อมูลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ในชีวประวัติบุคคลสำคัญสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อ ๆ มา ในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: ซูโจวและการสอบขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ีดีพีต่อหัว (พีพีพี) ในปี ค.ศ. 2014 ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity, PPP) หรือ ประสิทธิผลของเงิน เป็นค่าค่าหนึ่งที่เกิดจากการประมาณทางเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรั.

ใหม่!!: ซูโจวและภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ซูโจวและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มรสุม

กลุ่มเมฆและฝนที่เกิดจากมรสุม ภาพแสดงกลุ่มเมฆมรสุม มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือ ลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ สาเหตุใหญ่ ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในชั้นบรรยากาศ และวัฎจักรของฝน เนื่องจากความไม่เท่ากันของการรับและคายความร้อนของพื้นดินและน้ำ โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่ใช้บรรยายช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลงที่มีฝนตก ในระดับโลกสามารถที่จะจำแนกมรสุมได้เป็น มรสุมแอฟริกันตะวันตก และ มรสุมเอเชียออสเตรเลีย คำว่า “มรสุม” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ในอินเดียของบริเตน (ปัจจุบันคือ อินเดีย บังกลาเทศ และ ปากีสถาน) เพื่อสื่อถึงลมประจำฤดูกาลที่พัดจากอ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับนำพาฝนคะนองเข้าไปสู่บริเวณอินเดียของบริเตน คำว่า "มรสุม" หรือ monsoon ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า موسم ในภาษาอารบิก แปลว่า ฤดูกาล.

ใหม่!!: ซูโจวและมรสุม · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: ซูโจวและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

การเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของสิงคโปร์ และเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสิงคโปร์ จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์(King Edward VII College of Medicine)ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: ซูโจวและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: ซูโจวและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: ซูโจวและมณฑลเจียงซู · ดูเพิ่มเติม »

ยุครณรัฐ

รณรัฐ (Warring States) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ ถัดจากยุควสันตสารท และสิ้นสุดลงเมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้รวมแผ่นดินในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นผลให้รัฐต่าง ๆ ที่รบรากันได้รวมเป็นหนึ่ง คือ จักรวรรดิฉิน ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 475 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (Zhàn Guó Cè; Strategies of the Warring States) หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน ราชวงศ์โจว.

ใหม่!!: ซูโจวและยุครณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย

รายนามเสนาบดีว่าการกรมพระคลังมหาสมบัติ, เสนาบดีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไท.

ใหม่!!: ซูโจวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอู๋

รัฐอู๋ เป็นรัฐหนึ่งในช่วงราชวงโจวตะวันตก (Western Zhou Dynasty) และยุควสันตสารท (ยุคชุนชิว) และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า โกวอู๋ (Gouwu; 勾吳) หรือ กงอู๋ (Gongwu; 工吳) ตามลักษณะการออกเสียงในสำเนียงภาษาท้องถิ่น รัฐอู๋ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกของแค้วนฉู่ (อังกฤิษ: State of Chu; จีน: 楚; พินอิน: Chǔ; หรือ จีนตัวเต็ม: 楚國; จีนตัวย่อ: 楚国; พินอิน: Chǔguó) มีเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เหมยหลี่ (อังกฤิษ: Meili; จีน:梅里; พินอิน: Méilǐ) (เมืองอู๋ซีในปัจจุบัน) และภายหลังย้ายไปที่เมืองกูซู (อังกฤษ: Gusu; จีนตัวย่อ: 姑苏; จีนตัวเต็ม: 姑蘇; พินอิน: Gūsū) (ในบริเวณเมืองใหม่ซูโจว) และเมืองเหอหลู (อังกฤิษ: Helü; จีนตัวเต็ม: 闔閭; จีนตัวย่อ: 阖闾) (บริเวณเมืองเก่าซูโจวในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ซูโจวและรัฐอู๋ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

มื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน) ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี..

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์ฮั่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: ซูโจวและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าซูโจว

รถไฟฟ้าซูโจว (SRT) เป็นระบบรถไฟฟ้าในนครซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน สายแรกเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 เมษายน..

ใหม่!!: ซูโจวและรถไฟฟ้าซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

ลกข้อง

ลกข้อง บุตรชายคนรองของลกซุน หลังจากลกซุนเสียชีวิตไป ซุนกวนยังโกรธเคืองเรื่องลกซุน จนเอาเรื่องความผิดของลกซุน มาเอาผิดกับเขา แต่ลกข้องได้ทำการแก้ต่าง เรื่องคดีความของบิดาจนซุนกวนพอใจ หลังจากนั้นได้รับราชการ มีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแม่ทัพที่ป้องกันชายแดนง่อจากวุย ลกข้องมีชื่อเสียงจากการต่อสู้ กับเอียวเก๋าแม่ทัพฝั่งวุย โดยที่ทั้งสองฝ่ายนั้นเคารพซึ่งกันและกัน ขนาดส่งของขวัญไปเยี่ยมกันและกัน และส่งยาให้เมื่ออีกฝ่ายเจ็บป่วย ต่อมา พระเจ้าซุนโฮคิดว่าลกข้องเป็นไส้ศึกก็เลยสั่งประหารลกข้อง จนลกข้องเสียชีวิตในที.

ใหม่!!: ซูโจวและลกข้อง · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: ซูโจวและลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

ลกเจ๊ก

ลกเจ๊ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ลู่ จี ตามสำเนียงกลาง เป็นข้าราชการชาวจีนในยุคสามก๊ก แม้จะมีร่างกายพิการแต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ กับทั้งยังขึ้นชื่อในเรื่องความกตัญญูกตเวทีจนได้รับการย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลยอดกตัญญยี่สิบสี่คนแห่งประเทศจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและลกเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ลี กวนยู

ลี กวนยู (李光耀; พินอิน: Lǐ Guāngyào, หลี่ กวงเย่า; 16 กันยายน พ.ศ. 2466 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2558) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนแรกซึ่งปกครองประเทศเป็นเวลาสามทศวรรษ เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัยใหม่ เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคกิจประชาชน (People's Action Party) คนแรก และนำพรรคชนะการเลือกตั้งแปดครั้งตั้งแต่ปี 2502 ถึง 2533 และควบคุมการแยกสิงคโปร์จากประเทศมาเลเซียในปี 2508 และการแปลงจากด่านอาณานิคมค่อนข้างด้อยพัฒนาซึ่งไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นเสือเอเชีย "โลกที่หนึ่ง" ในกาลต่อมา เขาเป็นบุคคลการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในทวีปเอเชียคนหนึ่ง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่สอง โก๊ะ จ๊กตง แต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีอาวุโสในปี 2533 เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีที่ปรึกษา ตั้งโดยบุตรของเขา ลี เซียนลุง เมื่อลี เซียนลุงเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สามของประเทศในเดือนสิงหาคม 2547 ด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีติดต่อกันเป็นเวลากว่า 50 ปีของเขา ลียังเป็นรัฐมนตรีที่รับราชการนานที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ลีและโก๊ะประกาศเกษียณจากคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 แต่ลียังเป็นสมาชิกรัฐสภา ลีถูกรับเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคปอดบวมที่โรงพยาบาลสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ขณะติดเครื่องช่วยหายใจกล อาการของเขาเมื่อวันที่ 21 มีนาคมทรุดลงหลังป่วยอย่างหนักและเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม.

ใหม่!!: ซูโจวและลี กวนยู · ดูเพิ่มเติม »

สวนหลิว

วนหลิว (Lingering Garden) เป็นหนึ่งในสวนจีนโบราณที่มีชื่อเสียง อยู่ทางด้านตะวันตกของเมืองซูโจว ตั้งอยู่เลขที่ 338 ถนนหลิวหยวน (留园路338号) เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและสวนหลิว · ดูเพิ่มเติม »

สวนหว่างซือ

วนหว่างซือ (Master of the Nets Garden) ในเมืองซูโจว (Suzhou) เป็นหนึ่งในสวนจีนโบราณทรงคุณค่าที่สุดในประเทศจีน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 11 ถนนไต้เฉิงเฉี่ยว ในเขตกูซู (เดิมเรียก เขตชางหลาง) (沧浪区带城桥路阔家头巷11号) และได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับสวนโบราณเมืองซูโจวแห่งอื่นๆ ด้วย การออกแบบสวนแสดงถึงทักษะชั้นสูงของนักออกแบบซึ่งสามารถผสมผสานศิลปะ ธรรมชาติ และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกันอย่างงดงามและเป็นหนึ่งเดียวได้ สวนหว่างซือได้รับการชื่นชอบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ศึกษาการออกแบบในด้านมิติ ความชัดลึก ความแตกต่างหรือตัดกัน และการหยิบยืมมุมมอง (borrowed scenery).

ใหม่!!: ซูโจวและสวนหว่างซือ · ดูเพิ่มเติม »

สวนจัวเจิ้ง

วนจัวเจิ้ง (Humble Administrator’s Garden) เป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในเมืองซูโจว และด้วยพื้นที่ขนาด 51,950 ตารางเมตร สวนจัวเจิ้งจึงเป็นสวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซูโจว ตั้งอยู่เลขที่ 178 ถนนตงเป่ย (东北街178号) ทางตะวันออกของเมือง และยังเป็น 1 ใน 4 ของสวนที่สำคัญที่สุดของประเทศจีน คำว่า "จัวเจิ้ง" หมายถึง สวนของขุนนางผู้ถ่อมตน สร้างขึ้นตามแบบสวนจีนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นสวนที่มีความประณีตงดงามมากที่สุดในทางตอนใต้ของประเทศจีน และได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและสวนจัวเจิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

สวนทุ่ยซือ

วนทุ่ยซือ (อังกฤษ: Retreat & Reflection Garden) เป็นสวนโบราณที่โดดเด่นแห่งหนึ่งในประเทศจีน ตั้งอยู่ที่เมืองถงหลี่ (อังกฤษ: Tongli, Tong-Li; จีน: 同里; พินอิน: Tónglǐ)) ในอู๋เจียง (อังกฤษ: Wujiang; จีนตัวย่อ: 吴江区; จีนตัวเต็ม: 吳江區; พินอิน: Wújiāng Qū)) มณฑลเจียงซู (อังกฤษ: Jiangsu; จีนตัวย่อ: 江苏省; จีนตัวเต็ม: 江蘇省; พินอิน: Jiāngsū shěng) ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 2001 สวนแห่งนี้ยังได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกร่วมกับสวนโบราณ เมืองซูโจว แห่งอื่น ๆ โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาต.

ใหม่!!: ซูโจวและสวนทุ่ยซือ · ดูเพิ่มเติม »

สวนป่าสิงโต

วนป่าสิงโต (อังกฤษ: Lion Grove Garden) หรือสวนซือจึ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 23 ถนนหยวนหลิน เขตผิงเจียง (Pingjiang District; 平江区) ในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เป็นสวนที่มีความโดดเด่นที่อาณาบริเวณขนาดกว้างใหญ่และมีหินประดับจากไท่หู (หรือทะเลสาบหู) อันสวยงามซับซ้อนที่จัดแต่งอยู่กลางสวน ชื่อของสวนได้มาจากลักษณะของหินประดับนี้ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโต นอกจากนั้นสวนป่าสิงโตยังได้รับการบันทึกให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจวที่เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เช่นกัน.

ใหม่!!: ซูโจวและสวนป่าสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สวนโอ่ว

วนโอ่ว (Couple's Retreat Garden) ตั้งอยู่เลขที่ 6 ตรอกเสี่ยวซินเฉียว ในผิงเจียง (平江区小新桥巷6号) ทางทิศตะวันออกของเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เป็นสวนที่สวยงามและมีความโดดเด่นมากแห่งหนี่ง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากเท่ากับสวนจัวเจิ้ง (Humble Administrator's Garden) และเขาหูชิวหรือเนินเสือ (Tiger Hill) สวนโอ่วยังเป็นอีกแห่งหนี่งที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจวที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO).

ใหม่!!: ซูโจวและสวนโอ่ว · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ซูโจวและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ใหม่!!: ซูโจวและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หยก

right หยก (Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้น จึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ซูโจวและหยก · ดูเพิ่มเติม »

หัตถกรรม

หัตถกรรม หัตถกรรม (Handicraft) คือ งานช่างที่ทำด้วยมือหรืออุปกรณ์ง่าย ๆ อาศัยทักษะและเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและศาสนา สามารถนำมากับไข่ตุ๋ได้อร่อยมากในชีวิตประจำวันได้ ผลิตขี้ภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก หรือผลิตด้วยเครื่องจักร ไม่เรียกว่าหัตถกรรม.

ใหม่!!: ซูโจวและหัตถกรรม · ดูเพิ่มเติม »

หางโจว

หางโจว ทิวทัศน์ในปัจจุบันของทะเลสาบซีหู เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งในอดีตคือเมืองหลินอันราชธานีของซ่งใต้ หางโจว (จีน: 杭州; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง.

ใหม่!!: ซูโจวและหางโจว · ดูเพิ่มเติม »

หฺวันซิ่วชันจฺวัง

หฺวันซิ่วชันจฺวัง แปลว่า บ้านพักเชิงเขาโอบล้อมด้วยความงาม (Mountain Villa with Embracing Beauty) เป็นสวนซึ่งตั้งอยู่ที่เลขที่ 272 ถนนจิ่งเต๋อ (景德路 272号) ภายในบริเวณของพิพิธภัณฑ์งานเย็บปักถักร้อย (Embroidery Museum) ใกล้กับศูนย์กลางเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน หฺวันซิ่วชันจฺวังได้รับการบัณทึกให้เป็นมรดกโลกในปี 1997 โดย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับสวนโบราณเมืองซูโจวแห่งอื่น ๆ อีกสามแห่งที่ได้รับการบันทึกในปีเดียวกัน สวนแห่งนี้อาจนับได้ว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาสวนโบราณแห่งเมืองซูโจว.

ใหม่!!: ซูโจวและหฺวันซิ่วชันจฺวัง · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและหนานจิง · ดูเพิ่มเติม »

ห้าราชวงศ์

ห้าราชวงศ์ (Five Dynasty) (ค.ศ.907-960) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ถังมีทั้งหมด 5ราชวงศ์ได้แก่ราชวงศ์โฮ่วเหลียง(Later Liang Dynasty)(ค.ศ.907-926)ราชวงศ์โฮ่วถัง(ค.ศ.926-936) ราชวงศ์โฮ่วจิ้น(ค.ศ.936-947)ราชวงศ์โฮ่วฮั่น(ค.ศ.947-950)ราชวงศ์โฮ่วโจว(ค.ศ.951-960)ก่อนที่ซ่งไท่จู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งจะรวบรวมแผ่นดินจนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร.

ใหม่!!: ซูโจวและห้าราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรวิจิตร

อักษรวิจิตรภาษาจีนจากสมัยราชวงศ์ซ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 11 อักษรวิจิตรจากไบเบิลภาษาละติน ค.ศ. 1407 อักษรวิจิตร (calligraphy) เป็นทัศนศิลป์ชนิดหนึ่ง มักจะเรียกว่าศิลปะของการเขียน ความหมายในทางปฏิบัติคือ “ศิลปะแห่งการให้รูปแบบเพื่อแสดงถึงลักษณะความหมาย ความกลมกลืน และความชำนาญ” ประวัติของการเขียนอักษรวิจิตรเป็นประวัติของการพัฒนาที่มาจากความสามารถทางเทคนิค ความรวดเร็วในการเขียน ความจำกัดของวัตถุที่ใช้ สถานที่ที่ทำการเขียน และเวลาที่เขียน ลักษณะของการเขียนเช่นนี้เรียกว่า script, hand หรือ alphabet คำว่า calligraphy มาจากภาษากรีก κάλλος (kallos.

ใหม่!!: ซูโจวและอักษรวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ซี

อู๋ซี (อังกฤษ: Wuxi) เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำแยงซี มีทะเลสาบไท่หูพาดผ่านแบ่งเมืองออกเป็นสองส่วน ทางทิศจะวันตกมีอาณาเขตติดกับฉางโจว และทางทิศตะวันออกติดกับซูโจว เนื่องจากเป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ จึงถูกขนานนามว่า "เซี่ยงไฮ้น้อย" มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองต้นกำเนิดอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ของจีน และยังเป็นบ้านเกิดของนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายคนในสมัยศตวรรษที่ 20 ที่มีส่วนสร้างเมืองเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสมัยใหม่อีกด้ว.

ใหม่!!: ซูโจวและอู๋ซี · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซูโจวและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ใหม่!!: ซูโจวและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ดูเพิ่มเติม »

ฌ้อปาอ๋อง

หน้ากากอุปรากรฌ้อปาอ๋อง ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวัง (Xīchǔ Bàwáng, 楚霸王) เป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉินที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน เป็นคู่ปรับคนสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (Xiang Yu, 项羽) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง (King of Han, 汉王) ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention, 楚汉战争) ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง (Zhang Liang 張良), เซี่ยวเหอ (Xiao He, 蕭何) และ ฮั่นสิน (Han Xin, 韓信) ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" (Song of Gaixia, 垓下歌) ที่อาจถอดความหมายได้ว่า ซึ่งเรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย หรือละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง หรืออ้างอิงถึงในภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและฌ้อปาอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิกวังซฺวี่

ระฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี้ จักรพรรดิกวังซฺวี่ พระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้เถียน (14 สิงหาคม 2414-14 พฤศจิกายน 2451) เป็นพระโอรสในองค์ชายอี้ซวน ซึ่งเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง พระราชชนนีคือพระขนิษฐาในพระนางซูสีไทเฮา ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมพรรษา 3 พรรษา การขึ้นครองราชย์ของพระองค์เป็นการผิดกฎมณเฑียรบาล เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อก่อนสวรรคตได้ทรงแต่งตั้งเจ้าชายไจ้ซู่พระญาติให้เป็นรัชทายาท แต่ในเมื่อพระนางซูสีไทเฮาต้องการให้องค์กวังซฺวี่ขึ้นครองราชย์ก็ไม่มีใครกล้าคัดค้าน.

ใหม่!!: ซูโจวและจักรพรรดิกวังซฺวี่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหงอู่

มเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ (21 ตุลาคม พ.ศ. 1871 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 1941) คือจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิงของจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและจักรพรรดิหงอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถงจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 5 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกซูสีไทเฮายึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนาง ซูสีไทเฮาเห็นว่า พระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถวันๆก็เอาแต่แอบหนีออกไปเที่ยวนอกวัง.

ใหม่!!: ซูโจวและจักรพรรดิถงจื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบไท่

ทะเลสาบไท่ หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai หรือ Lake Taihu; จีน: 太湖; พินอิน: Tài Hú; แปลตามตัวอักษรว่า "Great Lake") เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze Delta) ใกล้เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตั้งอยู่ในเขตมณฑลเจียงซู โดยมีบริเวณตอนใต้ของทะเลสาบติดกับเขตของมณฑลเจ้อเจียง พื้นที่ทะเลสาบมีขนาดประมาณ และความลึกเฉลี่ยประมาณ จึงนับได้ว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สามของประเทศจีนต่อจากทะเลสาบโป๋หยาง (อังกฤษ: Poyang; จีน:  鄱阳湖; พินอิน: Póyáng Hú, Gan: Po-yong U) และทะเลสาบต้งถิง (อังกฤษ: Dongting; จีน: 洞庭湖; พินอิน: Dòngtíng Hú) ภายในบริเวณทะเลสาบประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 90 เกาะJiangsu.net (http://wuxi.jiangsu.net/attraction/premier.php?name.

ใหม่!!: ซูโจวและทะเลสาบไท่ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง

ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง (จีนตัวย่อ: 上海浦东国际机场, จีน: 上海浦東國際機場, พินอิน: Shànghǎi Pǔdōng Guójì Jīchǎng) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของผู่ตง ในเขตเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประตูหลักสู่ประเทศจีน รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศกว่า 17 ล้านคน ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง · ดูเพิ่มเติม »

คลองใหญ่ (ประเทศจีน)

แผนที่คลองใหญ่ในสมัยราชวงศ์สุย คลองใหญ่ (Grand Canal) หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ซูโจวและคลองใหญ่ (ประเทศจีน) · ดูเพิ่มเติม »

งิ้ว

นักแสดงงิ้ว งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยปัจจุบันถือเป็นตัวแทนงิ้วประจำชาติจีน ในบรรดางิ้วจีนกว่า300ประเภท "งิ้วคุนฉวี่"昆曲 "งิ้วกวางตุ้ง"粤剧/粵劇 และ"งื้วปักกิ่ง"京剧/京劇 ได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และได้ขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ ในปี 2001,2009และ2010 ตามลำดั.

ใหม่!!: ซูโจวและงิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

ซือหม่า เชียน

ซือหม่าเซียน ซือหม่าเชียน (司馬遷) เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่โดนตอนองคชาตในสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (140-87ก่อนคริสตกาล) ซือหม่าเชียนถือกำเนิดในครอบครัวปัญญาชนครอบครัวหนึ่ง บิดาของเขาเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบซือหม่าเชียนก็เริ่มศึกษาวิชาวรรณคดี ประวัติศาสตร์และคัมภีร์ของสำนักต่างๆ กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ในวัยเด็กซือหม่าเชียนก็เป็นคนช่างขบคิด เขามีความรู้ต่างๆ นานาเกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางนอกเหนือจากสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำรา สิ่งนี้เป็นเหตุให้ซือหม่าเชียนออกเดินทางจากกรุงฉางอานไปท่องเที่ยวดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวางเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อถึงท้องที่หนึ่ง ซือหม่าเชียนก็จะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้นอย่างละเอียด และเก็บสะสมประวัติและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวข้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย เมื่อ 108 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซือหม่าเชียนได้ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของบิดาในราชสำนัก มีหน้าที่ดูแลพระคลังเก็บหนังสือของพระมหากษัตริย์ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้ตามเสด็จพระมหากษัตริย์ไปในโอกาสต่างๆ ได้ไปดูงานตามสถานที่โบราณมากมายทั่วดินแดนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้สั่งสมข้อมูลอย่างอุดมสมบูรณ์แล้ว ซือหม่าเชียนก็ใช้เวลานอกราชการเตรียมลงมือเขียนสื่อจี้ซึ่งเป็นสารานุกรมด้านประวัติศาสตร์ 3,000 ปีของจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและซือหม่า เชียน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนวู

ซุนวู (ซุนอู่) หรือ ซุนจื่อ (แปลว่า "ปราชญ์แซ่ซุน") เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ (ซุนจื่อปิงฝ่า - 孙子兵法) ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง หลักการที่สำคัญเช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง.

ใหม่!!: ซูโจวและซุนวู · ดูเพิ่มเติม »

ซูสีไทเฮา

ฉือสี่ไท่โฮ่ว ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ซูสีไทเฮา ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) เป็นสตรีชาวแมนจูจากตระกูลเย่เฮ่อน่าลา (葉赫那拉氏) ดำรงตำแหน่งไท่โฮ่ว (พระราชชนนีพันปีหลวง) และสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิจีนหลายพระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง พระนางจึงควบคุมการปกครองจักรวรรดิจีนโดยพฤตินัยเป็นเวลา 47 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: ซูโจวและซูสีไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ซูถง

ซูถง (เกิด พ.ศ. 2507) เป็นนามปากกาของนักเขียนชาวจีนชื่อ 童忠贵 ซูถงถูกเรียกว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนที่เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนยุคใหม่ของประเทศจีน เขามีผลงานเขียนนิยาย 7 เล่ม และเรื่องสั้นกว่า 200 เรื่อง ผลงานหลายส่วนได้ถูกแปลออกมาในภาษาอังกฤษ เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส หนังสือที่เป็นรู้จักดีคือ 妻妾成群 (Wives and Concubines) ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและซูถง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: ซูโจวและประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ซูโจวและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาตรี

ปริญญาตรี หรือ ปริญญาบัณฑิต เป็นระดับการศึกษาย่อยในการอุดมศึกษา ต่อเนื่องจากชั้นมัธยมศึกษา คำว่า ตรี หมายถึง ชั้นที่สาม (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ต่ำกว่า โท สูงกว่า จัตวา) ระดับปริญญาตรี โดยทั่วไปเวลาสี่ปี แต่สามารถช่วง 2-6 ปีขึ้นอยู่กับภูมิภาคของโลก.

ใหม่!!: ซูโจวและปริญญาตรี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: ซูโจวและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

โม่ลี่ฮัว

นื้อร้องและทำนองเพลง Gekkin Gakufu) ฉบับ พ.ศ. 2420 แต่เขียนชื่อเพลงผิดเป็น "抹梨花" (อ่าน 'โม่ลี่ฮัว' เหมือนกัน) โม่ลี่ฮัว ('เจ้าดอกมะลิ') เป็นเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยม", Mar 3rd 2011 เพลงนี้มีอายุย้อนหลังไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายหลังจึงได้รับการสร้างสรรค์ในหลาย ๆ รูปแบบ จนเป็นที่นิยมทั้งในและนอกประเทศจีน เพลงนี้ยังได้รับการใช้ในงานสำคัญหลายงาน เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2547 โอลิมปิกฤดูร้อน 2548 พิธีเปิดเซี่ยงไฮ้เอกซ์โป 2553 รวมถึงในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ซึ่งเพลงนี้ถูกรัฐบาลจีนปิดกั้นมิให้เผยแพร่ด้ว.

ใหม่!!: ซูโจวและโม่ลี่ฮัว · ดูเพิ่มเติม »

ไหม

หม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซูโจวและไหม · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ใหม่!!: ซูโจวและไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไป๋ จวีอี้

ภาพวาดของไป๋จวีอี้กวีสมัยราชวงศ์ถัง ไป๋จวีอี้ (จีน: 白居易; พินอิน: Bái Jūyì; Wade-Giles: Po Chü-i, 772–846) เขาเป็นกวีช่วงกลางราชวงศ์ถัง มีบทประพันธ์กว่า 2,800 บท เขาถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.846 (พ.ศ. 1389) ขณะอายุได้ 74 ปี หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ถัง หมวดหมู่:กวีชาวจีน.

ใหม่!!: ซูโจวและไป๋ จวีอี้ · ดูเพิ่มเติม »

เวิง ถงเหอ

วิง ถงเหอ (1830–1904) สมัญญาว่า ชู ผิง (叔平) เป็นบัณฑิตขงจื้อและยังเป็นราชครูในสมัยราชวงศ์ชิง เขาได้เป็นจอหงวนในการสอบขุนนางเมื่อปี..

ใหม่!!: ซูโจวและเวิง ถงเหอ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลอู๋

ทศมณฑลอู๋ (Wu County; 221 ปีก่อนคริสตกาล-ธันวาคม 2000) เป็นเขตปกครองทางตะวันออกสุดของประเทศจีน อยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง เดิมเป็นเทศมณฑลในนครซูโจว (Suzhou City) มณฑลเจียงซู ก่อนจัดตั้งขึ้นเป็นนครต่างหาก และภายหลังก็ยุบเลิกแล้วแยกออกเป็นอำเภอ 2 แห่ง.

ใหม่!!: ซูโจวและเทศมณฑลอู๋ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ซูโจวและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: ซูโจวและเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Suzhou

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »