โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลสาบมะชู

ดัชนี ทะเลสาบมะชู

ทะเลสาบมะชู (ไอนุ: Kamuy-to) เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ ที่เกิดจากแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด จากภูเขาไฟที่ยังไม่สงบ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอะกัง ใกล้กับเมืองเทะชิกะงะ บนเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น กล่าวกันว่าเป็นทะเลสาบที่มีน้ำใสที่สุดในโลก.

10 ความสัมพันธ์: ชาวไอนุภาษาไอนุอุทยานแห่งชาติอะกังจังหวัดฮกไกโดทะเลสาบปล่องภูเขาไฟทะเลสาบไบคาลประเทศญี่ปุ่นปลาแซลมอนซ็อกอายปลาเรนโบว์เทราต์แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด

ชาวไอนุ

วไอนุ บ้างเรียก ไอโนะ ในญี่ปุ่นจะเรียกชาวไอนุโดยไม่จำแนกกลุ่มว่า อุตะริ เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่น นักค้นคว้าเชื่อว่าชาวไอนุมีเชื้อสายคอเคซอย หรือชาวผิวขาว ซึ่งเป็นคนละเชื้อสายกับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ทฤษฏีที่ว่านี้มาจากรูปลักษณ์ของชาวไอนุที่เป็นแบบผสมระหว่างชาวยุโรปและชาวเอเซีย แต่หลังจากการทดสอบทางดีเอ็นเอแล้วพบว่า ชาวไอนุไม่มีเชื้อสายชาวคอเคซอย รายงานบางฉบับกล่าวว่าชาวไอนุอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าชาวญี่ปุ่น และในตำนานของชาวไอนุนั้นก็ได้กล่าวว่า "ชาวไอนุอยู่ที่นี่หลายแสนปีก่อนที่บุตรแห่งพระอาทิตย์จะมา" มีหลายทฤษฏีกล่าวถึงต้นกำเนิดของชาวไอนุ หากแต่ความจริงในเรื่องนี้ยังคงคลุมเครืออยู่มาก ไม่สามารถบอกได้ว่าชาวไอนุมาจากไหน อยู่ที่ฮกไกโดตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือสืบเชื้อสายมาจากใคร ปัจจุบันชาวไอนุเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีชาวไอนุเพียงร้อยละ 17 ที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ และรัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรองว่าชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและชาวไอนุ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอนุ

ษาไอนุ หรือ ไอนู (ไอนุ: アイヌ イタク ไอนู อีตัก; アイヌ語 ไอนุโงะ) เป็นภาษาของชาวไอนุ ชนกลุ่มน้อยในเกาะฮกไกโด ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดในหมู่เกาะคูริล ทางภาคเหนือของเกาะฮนชูและภาคใต้ของเกาะซาฮาลิน คำหลายคำของภาษาไอนุก็ได้กลายเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นเลยด้วย เช่นเมืองซัปโปะโระบนเกาะฮกไกโด และคำว่ารักโกะ ที่แปลว่าแมวน้ำ.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและภาษาไอนุ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติอะกัง

อุทยานแห่งชาติอะกัง เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติไดเซะสึซัง อุทยานแห่งชาติทั้งสองแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติที่เก่าที่สุดในเกาะฮกไกโด อุทยานแห่งชาตินี้เลื่องชื่อว่ามีน้ทะเลสาบที่ใสสะอาดบริสุทธิมาก และยังมีแหล่งแช่น้ำพุร้อน ตลอดจนแหล่งเติบโตของก้อนสาหร่ายมะริโมะ โดยอุทยานสามารถแบ่งได้ออกเป็นสองเขต คือ คะวะยุ และ อะกัง.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและอุทยานแห่งชาติอะกัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮกไกโด

กไกโด (ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์เซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและจังหวัดฮกไกโด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้ ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพักๆเท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบไบคาล

ทะเลสาบไบคาล (อักษรโรมัน: Lake Baikal, อักษรซีริลลิก: о́зеро Байка́л) ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซียเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลก จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกกว่า 1,640 เมตร ทะเลสาบไบคาลเกิดจากการที่น้ำเอ่อล้นเข้ามาจนเต็มรอยเปลือกโลกที่แตกเมื่อ 25 ล้านปีที่แล้ว ทะเลสาบมีความยาวประมาณ 650 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ย 50 กิโลเมตร มีพื้นที่ 31,722 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาตร 23,615 ลูกบาศก์กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและทะเลสาบไบคาล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแซลมอนซ็อกอาย

ปลาแซลมอนซ็อกอาย หรือ ปลาแซลมอนแดง (Sockeye salmon, Red salmon, Blueback salmon) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแซลมอน พบในตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและแม่น้ำที่ไหลสู่บริเวณดังกล่าว และพบประชากรจำนวนหนึ่งในแหล่งน้ำบนแผ่นดินซึ่งไม่ไหลออกสู่ทะเล โดยรู้จักกันในชื่อ kokanee หรือ "ปลาเทราต์สีเงิน" ปลาแซลมอนแดงเป็นปลาในสกุลปลาแซลมอนแปซิฟิกที่พบได้มากเป็นอันดับสามรองจากปลาแซลมอนสีชมพู (O. gorbuscha) และปลาแซลมอนชัม (O. keta) โดยที่คำว่าชื่อ "Sockeye" แผลงมาจาก suk-kegh ซึ่งเป็นชื่อในภาษาแฮลโคเมเลม ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองที่อาศัยตามแนวแม่น้ำเฟรเซอร์ตอนล่าง โดยคำว่า Suk-kegh หมายถึง "ปลาสีแดง" เนื่องจากปลาแซลมอนซ็อกอายตัวผู้ จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีแดงเข้มและส่วนหัวมีโหนกในฤดูผสมพัน.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและปลาแซลมอนซ็อกอาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเรนโบว์เทราต์

ปลาเรนโบว์เทราต์ หรือ ปลาเทราต์สายรุ้ง (Rainbow trout, Steelhead, Trout salmon) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) จัดอยู่ในจำพวกปลาแซลมอน อาศัยอยู่ในสาขาแม่น้ำที่ไหลสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นช่วงที่มีวงจรชีวิตอาศัยอยู่ในทะเล ปกติจะว่ายจากทะเลสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่หลังจากอาศัยอยู่ในทะเลไปแล้ว 2-3 ปี ปลาเรนโบว์เทราต์มักถูกนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและตกเป็นเกมกีฬา ได้ถูกเพาะเลี้ยงและนำเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ที่มิใช่แหล่งกำเนิดดั้งเดิมถึง 87 ประเทศ อาทิ เยอรมนี, ฟินแลนด์, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น ทั้งในประเทศในเขตอบอุ่นและเขตหนาว หรือแม้แต่เขตร้อน เพื่อสนองความต้องการในการบริโภคและตกเป็นเกมกีฬา ปลาเรนโบว์เทราต์ เป็นปลาที่ดั้งเดิมอาศัยอยู่ในลำธารหรือทะเลสาบที่น้ำมีอุณหภูมิที่เย็น (ไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ขณะที่บางข้อมูลระบุว่าไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส) เป็นปลาที่มีสัญชาตญาณนักล่าอยู่ในตัว โดยเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำต่าง ๆ ไม่เลือก ทั้งปลาและแมลงน้ำ ด้วยสรีระที่เป็นทรงกระสวย หางมีขนาดใหญ่ช่วยในการว่ายทวนกระแสน้ำได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะไม่มีฟันหรือเขี้ยวขนาดใหญ่ แต่ก็มีจะงอยปากที่เป็นลักษณะตะขอ เมื่อสบกับจะงอยปากบนที่เป็นร่องลึกก็จะประกบกันได้ลงตัวพอดี ทำให้จับเหยื่อได้อย่างมั่นคง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.2 เมตร น้ำหนักกว่า 25 กิโลกรัม สีตามลำตัวสวยงาม เนื้อมีรสชาติดี มีก้างน้อย และยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมกา 3 อยู่ในปริมาณที่มากด้วย จากรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ในการจัดอันดับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการรุกรานสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นให้เสียหายอย่างรุนแรง 100 อันดับแรก มีปลาอยู่ 5 ชนิด และหนึ่งในนั้นก็คือ ปลาเรนโบว์เทราต์ ปลาเรนโบว์เทราต์ ได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยด้วยการเป็นไข่ปลาจากสหรัฐอเมริกา ที่สถานีเพาะเลี้ยง ในโครงการหลวง ที่ดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 จนประสบความสำเร็จ มีลูกปลาที่รอดจากการฟักถึงร้อยละ 90 สามารถผลิตปลาได้ปริมาณสูงถึง 18-20 ตันต่อปี แต่ก็มีประชากรบางส่วนที่หลุดรอดไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ มีรายงานการพบลูกปลาขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลุดรอดออกมาจากสถานีเพาะเลี้ยง และพบปลาขนาดใหญ่ราว 1 ฟุตอยู่ในลำธารใกล้ ๆ สถานีเพาะเลี้ยง และมีการจับปลาขนาดใหญ่ได้ในช่วงท้ายน้ำของผู้คนพื้นถิ่น จากการให้สัมภาษณ์ของคนพื้นถิ่นพบว่า ตั้งแต่มีปลาเรนโบว์เทราต์เข้ามา ลูกปลาชนิดต่าง ๆ ก็ได้หายไปเป็นจำนวนมาก จึงหวั่นเกรงกันว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไปปลาเทราต์สายรุ้ง การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หน้า 28-32 โดย siamensis.org.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและปลาเรนโบว์เทราต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดถ่ายจากดาวเทียม แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (Caldera) เป็นแอ่งภูเขาไฟที่มีขอบแอ่งเอียงชันลาดลงสู่ก้นแอ่ง อาจมีหรือไม่มีกรวยภูเขาไฟขนาดต่างๆ โผล่อยู่ที่ก้นแอ่งก็ได้ แอ่งภูเขาไฟแบบนี้เกิดขึ้นจากการระเบิดอย่างรุนแรงและฉับพลันในส่วนลึกลงไปของภูเขาไฟ โดยมีพลังระเบิดมากพอที่จะผลักดันส่วนบนให้กระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย เกิดเป็นรอยรูปกระจาดขึ้น หลังจากนั้น การระเบิดย่อยๆ หรือการหลั่งไหลของลาวาขึ้นสู่ผิวพื้นก้นกระจาด ก็อาจทำให้เกิดกรวดภูเขาไฟย่อยๆ หรือใหญ่ๆ ขึ้นท่ามกลางแอ่งก้นกระจาดอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างภูมิประเทศแบบนี้เห็นได้ชัดที่ หมู่เกาะกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟตาอาล ใกล้เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และที่ภูเขาไฟวิสุเวียส ในประเทศอิตาลี ในประเทศไทยนั้น มีตัวอย่างที่เข้าใจว่าเป็นแอ่งภูเขาไฟเล็กๆ แบบนี้ที่เขาหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย อันเป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว.

ใหม่!!: ทะเลสาบมะชูและแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »