โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีแนววิพากษ์

ดัชนี ทฤษฎีแนววิพากษ์

ทฤษฎีแนววิพากษ์ (critical theory) เป็นสำนักคิดที่เน้นย้ำการประเมินสะท้อนและการวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมโดยการประยุกต์ความรู้จากสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คำว่า "ทฤษฎีแนววิพากษ์" มีสองความหมาย ที่มีจุดกำเนิดและประวัติศาสตร์ต่างกัน คำแรกกำเนิดในวิชาสังคมวิทยา และอีกคำหนึ่งกำเนิดในวิชาวรรณคดีวิจารณ์ โดยที่มีการใช้และประยุกต์เป็นคำรวม ๆ ที่สามารถอธิบายทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนการวิพากษ์ ฉะนั้น นักทฤษฎี มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ (Max Horkheimer) อธิบายว่าทฤษฎีหนึ่งเป็นแนววิพากษ์ตราบเท่าที่ทฤษฎีนั้นมุ่ง "ปลดปล่อยมนุษย์จากพฤติการณ์ท่ี่ทำให้เป็นทาส" ในวิชาสังคมวิทยาและปรัชญาการเมือง คำว่า "ทฤษฎีแนววิพากษ์" อธิบายปรัชญาลัทธิมากซ์ใหม่ของสำนักแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งมีการพัฒนาในประเทศเยอรมนีในคริสต์ทศวรรษ 1930 การใช้คำนี้ในภาษาอังกฤษจะต้องใช้ตัวใหญ่เป็นวิสามานายาม (Critical Theory) ส่วนทฤษฎีแนววิพากษ์ (a critical theory) อาจมีส่วนประกอบของความคิดคล้ายกัน แต่ไม่เน้นการสืบทางปัญญาโดยเฉพาะจากสำนักแฟรงก์เฟิร์ต นักทฤษฎีสำนักแฟรงก์เฟิร์ตนำวิธีการวิพากษ์จากคาร์ล มากซ์ และซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทฤษฎีแนววิพากษ์ยืนยันว่าอุดมการณ์เป็นอุปสรรคหลักของการปลดปล่อยมนุษย์ นักทฤษฎีสำนักแฟรงก์เฟิร์ต เฮอร์เบิร์ต มาร์คูเซอ (Herbert Marcuse), ทีโอดอร์ อะดอร์โน (Theodor Adorno), วัลเทอร์ เบนจามิน (Walter Benjamin), และอีริช ฟรอมม์ (Erich Fromm) เป็นบุคคลหลักในการตั้งทฤษฎีแนววิพากษ์เป็นสำนักคิด ทฤษฎีแนววิพากษ์สมัยใหม่ได้รับอิทธิพลเพิ่มเติมจากจอร์จี ลูกัช (György Lukács) และอันโตนีโอ กรัมชี ตลอดจนนักวิชาการสำนักแฟรงก์เฟิร์ตรุ่นที่สอง คนสำคัญคือ เยือร์เกิน ฮาเบอร์มัส (Jürgen Habermas) ในงานของฮาเบอร์มัส ทฤษฎีแนววิพากษ์ดีกว่าเหง้าทฤษฎีของมันในจิตนิยมเยอรมันและก้าวหน้าใกล้เคียงกับปฏิบัตินิยมอเมริกัน ความกังวลสำหรับ "ฐานและโครงสร้างส่วนบน (superstructure)" ทางสังคมเป็นมโนทัศน์ปรัชญาลัทธิมากซ์ที่ยังเหลืออยู่อันหนึ่งในทฤษฎีแนววิพากษ์ร่วมสมัยจำนวนมาก แม้นักทฤษฎีแนววิพากษ์มักนิยามบ่อยครั้งเป็นปัญญาชนลัทธิมากซ์ แต่แนวโน้มของพวกเขาในการประณามมโนทัศน์บางอย่างของลัทธิมากซ์ และการผสมการวิเคราะห์แบบมากซ์กับขนบธรรมเนียมทางสังคมวิทยาและปรัชญาอย่างอื่นทำให้นักลัทธิมากซ์คลาสสิก ทรรศนะดั้งเดิมและวิเคราะห์ ตลอดจนนักปรัชญาลัทธิมากซ์–เลนินกล่าวหาว่าเป็นลัทธิแก้ มาร์ติน เจย์แถลงว่า ทฤษฎีแนววิพากษ์รุ่นแรกเข้าใจกันดีว่าไม่เป็นการสนับสนุนวาระปรัชญาหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็น "เหลือบของระบบอื่น"Jay, Martin (1996) The Dialectical Imagination: A History of the Frankfurt School and the Institute of Social Research, 1923–1950.

8 ความสัมพันธ์: มนุษยศาสตร์สังคมวิทยาสังคมศาสตร์อันโตนีโอ กรัมชีอุดมการณ์คาร์ล มากซ์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ปรัชญาการเมือง

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และสังคมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันโตนีโอ กรัมชี

อันโตนีโอ กรัมชี (อังกฤษ, Antonio Gramsci) นักทฤษฎีการเมือง นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอิตาเลียนแนวมาร์กซิสม์และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1891 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1937 อันโตนีโอ กรัมชี ได้ชื่อว่าเป็น มาร์กซิสต์บริสุทธิ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เผยแพร่ลัทธิมาร์กซคนสำคัญในยุคศตวรรษที่ 20 ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งชื่อ "บันทึกจากคุก" ในระหว่างที่ถูกจองจำ และเป็นเจ้าของทฤษฎีที่มีชื่อว่า Hegemony อันว่าถึงการก้าวขึ้นเป็นเจ้าและครอบครอง โดยกรัมชี่เชื่อว่า ผู้ที่ขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองได้นั้น ไม่อาจจะอาศัยภาวะทางเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนและมีแนวร่วมจากมวลชนด้วย ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ถูกนักวิชาการของไทย เช่น สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อ้างถึงในระหว่างการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 โดยใช้อธิบายถึงพฤติกรรมของ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมาในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และอันโตนีโอ กรัมชี · ดูเพิ่มเติม »

อุดมการณ์

อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง แนวความคิดทางการเมืองที่นำไปปฏิบัติจริง มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐ และการให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังสะท้อนสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชน อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ.

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และอุดมการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ใหม่!!: ทฤษฎีแนววิพากษ์และปรัชญาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Critical theory

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »