โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แพร่งภูธร

ดัชนี แพร่งภูธร

ปากทางเข้าแพร่งภูธรด้านถนนอัษฎางค์ แลเห็นสุขุมาลอนามัย แพร่งภูธร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ปัจจุบัน ใจกลางแพร่งภูธรเป็นลานสาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนหลากหลายร้าน หลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ, บะหมี่และเกี๊ยว, ต้มสมองหมู, เปาะเปี๊ยะสด, ข้าวหมูแดง, ข้าวแกงกะหรี่เนื้อและสตูว์เนื้อ, ไอศกรีมแบบไทย, ขนมเบื้อง, ผัดไทย รวมถึงอาหารตามสั่ง เช่นเดียวกับถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ และแพร่งนราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบางร้านยังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย สุขุมาลอนามัย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี..

24 ความสัมพันธ์: บะหมี่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์พินิจนครภัตตาคารวังสะพานช้างโรงสีสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีสถานีอนามัยอาหารตามสั่งผัดไทยถนนมหรรณพถนนอัษฎางค์ถนนตะนาวขนมเบื้องคลองหลอดแพร่งสรรพศาสตร์แพร่งนราแกงกะหรี่ไอศกรีมไทยรัฐเกี๊ยวเปาะเปี๊ยะ

บะหมี่

การทำเส้นบะหมี่ที่ไต้หวัน บะหมี่ (肉麵) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ชาวจีนค้นคิดขึ้น มีส่วนประกอบของแป้งสาลี และน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่ อาจมีไข่ เกลือ และสารละลายด่างหรือสีผสมอาหาร ถ้าแบ่งตามสูตร จะมีบะหมี่แบบจีนและบะหมี่แบบญี่ปุ่น บะหมี่แบบจีนนั้น ทำจากแป้งสาลีชนิดอเนกประสงค์ที่มีโปรตีนประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับโซเดียมคาร์บอเนต 0.5-2.0 เปอร์เซ็นต์ น้ำประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ และเกลือ 1.5 เปอร์เซ็นต์ บะหมี่ที่ได้จะมีสีเหลือง ส่วนบะหมี่แบบญี่ปุ่น จะทำจากแป้งสาลีโปรตีนต่ำ หรือแป้งผสมระหว่าง soft wheat และ hard wheat เพื่อให้มีโปรตีนประมาณ 9-10 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำ 28-33 เปอร์เซ็นต์ เกลือ 2 เปอร์เซ็นต์ ไม่เติมด่าง ทำให้บะหมี่มีสีขาว เนื้ออ่อนนุ่ม.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและบะหมี่ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา (22 มีนาคม พ.ศ. 2348 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2404) ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ขึ้น 3 ค่ำ ปีขาล สัปตศก จุลศักราช 1167 ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ หรือ กรมภู หรือ กรมภูธเรศ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะสัปตศก..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ (พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2391) ประสูติเมื่อปีจอ จัตวาศก จุลศักราช 1164 ตรงกับปี พ.ศ. 2345 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาทับทิม ณ บางช้าง ทรงเป็นต้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ในปี พ.ศ. 2379 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1210 ตรงกับปี พ.ศ. 2391 พระชันษา 47 ปี.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พินิจนคร

นิจนคร เป็นรายการสารประโยชน์ประเภทสารคดี ผลิตโดย บริษัท SANFAH television ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทุกวันพุธเวลา 20.25 น. - 21.10 น.(เริ่มวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) (เคยออกอากาศทุกวันจันทร์เวลา 20.20 - 21.10 น.) มี นิธิ สมุทรโคจร เป็นพิธีกร และออกอากาศซ้ำในวันเสาร์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป - พฤษภาคม) ส่วนที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคมออกอากาศซ้ำในวันอาทิตย์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. รายการพินิจนคร มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยและมาพินิจพิเคราะห์ให้เห็นว่าสถานที่เหล่านั้นมีความสำคัญกับคนไทยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จนถึง 27 เมษายน พ.ศ. 2552 และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปทุกคืนวันจันทร์เวลา 21.10 - 22.00 น.และย้ายวันออกอากาศเป็นวันอังคาร เวลาเดิม ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและพินิจนคร · ดูเพิ่มเติม »

ภัตตาคาร

ัตตาคาร หรือ ร้านอาหาร เป็นร้านที่คอยบริการอาหารตามความต้องการของลูกค้า ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและภัตตาคาร · ดูเพิ่มเติม »

วังสะพานช้างโรงสี

วังสะพานช้างโรงสี หรือ วังริมสะพานช้างโรงสี เป็นกลุ่มวังที่ประทับของเจ้านายในย่านถนนตะนาว และถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี ถัดไปทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างมาแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นที่ประทับของเจ้านายมาอีกหลายพระองค์ต่อเนื่องกันมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย 2 วัง คือ.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและวังสะพานช้างโรงสี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

มเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2470) หรือที่ชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระนาง เป็นพระมเหสีชั้นลูกหลวงตำแหน่งพระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ต่างพระมารดากับพระราชสวามี ด้วยพระองค์ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี พระองค์เป็นพระชนนีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์แรกที่มีพระชนม์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการสถาปนาไว้ในที่ "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี" ภายหลังทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะนพศก..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอนามัย

รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือสถานบริการทางสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งให้บริการด้านการรักษาพยาบาล งานควบคุมป้องกันโรค งานส่งเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเขตรับผิดชอบ ตั้งแต่เกิดจนตาย เดิมเรียกว่า สุขศาลา มาเปลี่ยนเป็น สถานีอนามัย และปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ศูนย์สุขภาพชุมชน ตำบลๆ หนึ่งจะมีจำนวนสถานีอนามัยประมาณ 1-2 แห่ง สถานีอนามัยรับผิดชอบ งานบริการด้านสาธารณสุขต่างๆ เช่น ตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น การฝากครรภ์ การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค ฉีดวัคซินเด็ก การดูแลโภชนาการเด็ก งานอนามัยโรงเรียน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นสำหรับนักเรียน คัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆเช่น เบาหวาน ความดันโลหิต คัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ การดูแลผู้พิการ การดูแลวัยทำงาน การดูแลผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น งานฟื้นฟูสมรรถภาพ และอีกมากมายภาระหน้าที่ เป็นสถานที่ดูแลประชาชนด้านสุขภาพที่ดูแลประชาชนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เกิด จนตาย บุคลากร ตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้ว.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและสถานีอนามัย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารตามสั่ง

้าวผัด หนึ่งในอาหารตามสั่งที่นิยม อาหารตามสั่ง เป็นอาหารที่ทำตามที่ลูกค้าสั่ง มักเป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบง่าย ๆ การทำที่ไม่ยุ่งยากมาก มีสถานที่ตั้งร้าน ที่อาจเป็นบ้านของตนเองหรือร้านเช่า มีทำเลตั้งอยู่แหล่งชุมชน หรือหมู่บ้านจัดสรร หรืออาจใกล้กับสถานที่ราชการ สำนักงาน มหาวิทยาลัย โรงเรียน ตลาด เป็นต้น วัตถุดิบของอาหาร ประเภทผักเช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ข้าวโพดอ่อน แครอท มะเขือเทศ ผักชี ต้นหอม กะเพรา หอมหัวใหญ่ มะนาว มะกรูด โหระพา พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า กระเทียม หอมแดง ส่วนวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว กุ้ง ปลาหมึก ปลา เครื่องปรุงอาหารทั่วไปได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันหอย น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ น้ำซอส (ถั่วเหลือง) น้ำตาลทราย เกลือป่น พริกไทยป่น ไข่ไก่ เมนูอาหารตามสั่งที่เป็นที่นิยมได้แก่ ข้าวผัดกะเพรา ไข่ดาว, ข้าวผัด, ข้าวไข่เจียว, ข้าวหมูกระเทียม, ข้าวราดผัดผัก, ถั่วฝักยาวผัดพริกแกงราดข้าว, ผัดพริกสดราดข้าว, สุกี้, ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและอาหารตามสั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ผัดไทย

ผัดไทย (ผัดไท เป็นตัวสะกดผิดที่พบได้บ่อย) เป็นอาหารไทยที่สามารถหารับประทานได้ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคกลาง และอาจพบได้ในร้านอาหารไทยในต่างประเทศบางแห่ง.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและผัดไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหรรณพ

นนมหรรณพ (Thanon Mahannop) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร ถนนมหรรณพเป็นถนนที่เชื่อมถนนตะนาวกับถนนดินสอไว้ด้วยกัน เป็นถนนสายสั้น ๆ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนดินสอบริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ไปสิ้นสุดที่ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและถนนมหรรณพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอัษฎางค์

นมอญ ถนนอัษฎางค์ (Thanon Atsadang) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้นในแบบตะวันตก หลังจากเสด็จประพาสชวา โดยทรงให้สร้างถนนริมกำแพงรอบพระนครใหม่ ซึ่งแต่เดิมเป็นทางเดินเล็ก ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแล้วเสร็จจึงพระราชทานนามว่า "ถนนอัษฎางค์" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถนนอัษฎางค์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินใน ด้านสนามหลวง กับถนนจักรเพชร ด้านปากคลองตลาด โดยขนานไปกับคลองรอบกรุง หรือคลองหลอดวัดราชบพิธ และถนนราชินี ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, สุสานหลวงวัดราชบพิธ, วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว อาคารบ้านเรือนตลอดจนห้องแถวริมถนนอัษฎางค์ มีความสวยงามและควรค่าแก่การอนุรักษ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเก.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและถนนอัษฎางค์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตะนาว

นนตะนาวช่วงบางลำพู ใกล้ถนนข้าวสาร ถนนตะนาว (Thanon Tanao) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศาลเจ้าพ่อเสือกับแขวงเสาชิงช้า ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ จากนั้นตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดบวรนิเวศกับแขวงตลาดยอด จนไปจดแยกที่ถนนบวรนิเวศน์ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน แต่เดิมถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนครที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406-2407 มีการสันนิษฐานว่าชื่อถนนตะนาวน่าจะตั้งตามชาวตะนาวศรีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้มาตั้งถิ่นฐาน เรียกกันว่า ถนนบ้านตะนาวศรี ถนนบ้านตะนาวหรือถนนตะนาว ปัจจุบัน ถนนตะนาวเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับความนับถือแม้กระทั่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และยังเป็นแหล่งของร้านอาหารอร่อยที่ขึ้นชื่ออีกจำนวนมากเช่นเดียวกับถนนมหรรณพ, แพร่งภูธร และแพร่งนรา ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและเย็นตาโฟ, ราดหน้าและหมูสะเต๊ะ, เผือกทอด, กวยจั๊บ บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับการแนะนำหรือบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์อีกด้ว.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและถนนตะนาว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเบื้อง

นมเบื้องไทย ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแ.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและขนมเบื้อง · ดูเพิ่มเติม »

คลองหลอด

นหก คลองหลอด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 คลองหลอด เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร เชื่อมคลองคูเมืองเดิมออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุง มี 2 คลอง เรียกกันตามลักษณะของคลองว่า "คลองหลอด".

ใหม่!!: แพร่งภูธรและคลองหลอด · ดูเพิ่มเติม »

แพร่งสรรพศาสตร์

ซุ้มประตูวังสรรพสาตรศุภกิจ แพร่งสรรพศาสตร์ หรือ แพร่งสรรพสาตร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งนรา บริเวณนี้เดิมเป็น วังสรรพสาตรศุภกิจ เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม ซึ่งก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงเมื่อ..

ใหม่!!: แพร่งภูธรและแพร่งสรรพศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพร่งนรา

แพร่งนราด้านถนนอัษฎางค์ แพร่งนรา เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศน์เทพวรารามกับวัดมหรรณพาราม ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งภูธร และอยู่ทางทิศใต้ของแพร่งสรรพศาสตร์ บริเวณนี้เดิมคือ วังวรวรรณ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปัจจุบัน แพร่งนราเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่หลากหลายขึ้นชื่อและหลายประเภท เช่นเดียวกับแพร่งภูธร, ถนนตะนาว และถนนมหรรณพที่อยู่ใกล้เคียง ของขึ้นชื่อของที่นี่ ได้แก่ ลูกชิ้นหมูปิ้ง, ขนมหวานไทย, กล้วยปิ้ง และขนมเบื้อง.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและแพร่งนรา · ดูเพิ่มเติม »

แกงกะหรี่

แกงกะหรี่ผักนานาชนิดในอินเดีย แกงกะหรี่เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลจากแกงแบบมัสล่าหรือแกงกุรุหม่าของอินเดียใต้ ซึ่งมีน้ำมากกว่าแกงกุรุหม่าทางอินเดียเหนือ เครื่องเทศหลักที่ใช้ในแกงกะหรี่แบบอินเดีย-ปากีสถาน ได้แก่ ลูกผักชี ยี่หร่า พริกป่นอินเดีย พริกไทยป่น ขมิ้น ลูกกระวานเทศ กานพลู อบเชย นิยมโรยหน้าด้วยใบสำมาหลุย ถ้าเป็นกะหรี่ไก่เพิ่มลูกซัด แกงกะหรี่ปูเพิ่มโป๊ยกั้ก.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและแกงกะหรี่ · ดูเพิ่มเติม »

ไอศกรีม

อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและไอศกรีม · ดูเพิ่มเติม »

ไทยรัฐ

ทยรัฐ (Thai Rath) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย นำเสนอข่าวทั่วไป ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดยกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและไทยรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เกี๊ยว

กี๊ยว (wonton wantan wanton หรือ wuntun) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียก húntun เป็นอาหารว่างแบบหนึ่งของจีน.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและเกี๊ยว · ดูเพิ่มเติม »

เปาะเปี๊ยะ

เปาะเปี๊ยะ เป็นอาหารว่างที่พบในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิธีทำเปาะเปี๊ยะ หมวดหมู่:อาหารเวียดนาม.

ใหม่!!: แพร่งภูธรและเปาะเปี๊ยะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถนนแพร่งภูธร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »