โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพระรามที่ 2

ดัชนี ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

50 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2516พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกรมทางหลวงกรุงเทพมหานครภาคใต้ (ประเทศไทย)มหาชัยสะพานพระราม 9อำเภอบางบัวทองอำเภอบางพลีอำเภอบ้านแพ้วอำเภอพระประแดงอำเภอกระทุ่มแบนอำเภอหัวหินอำเภออัมพวาอำเภอดำเนินสะดวกอำเภอปากท่ออำเภอเมืองราชบุรีอำเภอเมืองสมุทรสาครอำเภอเมืองสมุทรสงครามอำเภอเมืองเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดนครปฐมถนอม กิตติขจรถนนบรมราชชนนีถนนบางขุนเทียนถนนพระราม 9ถนนพระรามที่ 1ถนนพระรามที่ 2ถนนพระรามที่ 3ถนนพระรามที่ 4ถนนพระรามที่ 5ถนนพระรามที่ 6ถนนกาญจนาภิเษกถนนสุขสวัสดิ์ถนนเพชรเกษมถนนเศรษฐกิจ 1ถนนเอกชัยทางพิเศษเฉลิมมหานครทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375ทางแยกต่างระดับวังมะนาวดอนหอยหลอดแม่น้ำท่าจีนแม่น้ำแม่กลองเขตบางบอนเขตบางขุนเทียนเขตบางแคเขตจอมทอง

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเท.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และกรมทางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มหาชัย

มหาชัย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และมหาชัย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 9

นพระราม 9 จากแสตมป์ไทยชุดสะพาน สะพานพระราม 9 (Rama IX Bridge) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม สะพานขึง เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อสะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ปี พ.ศ. 2530 สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอน ลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 85,000 คน และในเวลาค่ำ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำประชาชนจุดเทียนชัยถวายพระพรพร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการแสดงพลุดอกไม้ไฟอย่างตระการต.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และสะพานพระราม 9 · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางบัวทอง

งบัวทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างใหญ่มากโดยคลุมพื้นที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด (ปัจจุบันแยกออกไปแล้ว) มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญจากกรุงเทพมหานครแผ่ขยายออกมาจนถึงบางบัวทอง ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรร บริษัทห้างร้าน สำนักงานจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทยอยย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่นี้ แต่ก็ยังคงเห็นท้องนาบางส่วนอยู่ นอกจากนี้ อำเภอบางบัวทองยังเป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนนทบุรีด้วย (และมีความหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3).

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอบางบัวทอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางพลี

งพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ตั้งของโครงการสร้างศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร และเป็นที่ตั้งของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลทางเข้าวัดบัวโร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอบางพลี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านแพ้ว

อำเภอบ้านแพ้ว เป็นอำเภอหนึ่งในสามของจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้วมีหลายกลุ่มชน ซึ่งกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ เชื้อชาติไทย เชื้อชาติรามัญ เชื้อชาติจีน และเชื้อชาติลาว ส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพื้นฐานของจารีตประเพณีและวัฒนธรรมในลักษณะผสมผสาน ทั้งหมดดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วยการประกอบอาชีพ ทำนาข้าว ทำสวนผลไม้ ทำสวนกล้วยไม้ ทำสวนพืชผักนาชนิด และเลี้ยงปลา (ปลาช่อนและปลาสลิด) เลี้ยงกุ้ง ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของอำเภอ ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง มะนาว องุ่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอบ้านแพ้ว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพระประแดง

ระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอพระประแดง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกระทุ่มแบน

กระทุ่มแบน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอกระทุ่มแบน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหัวหิน

หัวหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดิมมีชื่อว่า "บ้านสมอเรียง" หรือ "บ้านแหลมหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ทุกวันนี้หัวหินมีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่สามารถเที่ยวได้ใน 1 วัน และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 196 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางถนนพระรามที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 2.5-3 ชั่วโมงหากโดยสารทางรถ หรือ 45 นาทีหากเดินทางโดยเครื่องบิน.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอหัวหิน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออัมพวา

อำเภออัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภออัมพวา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอดำเนินสะดวก

ำเนินสะดวก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอดำเนินสะดวก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปากท่อ

ปากท่อ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอปากท่อ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองราชบุรี

มืองราชบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองและการบริหารของจังหวัดราชบุรี.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอเมืองราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสมุทรสาคร

อำเภอเมืองสมุทรสาคร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอเมืองสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสมุทรสงคราม

อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เป็นอำเภอเมืองของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอำเภอที่ขึ้นชื่อเรื่องปลาทูและมีนิทรรศการงานปลาทูแม่กลองทุกปี.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอเมืองสมุทรสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองเพชรบุรี

อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองการบริหาร เศรษฐกิจ และการศึกษาของจังหวัดเพชรบุรี มีอาณาบริเวณเป็นที่ราบ มีภูเขาหินปูนโดดบ้างเล็กน้อย มีชายหาดที่ขึ้นชื่อคือ "หาดเจ้าสำราญ" มีแม่น้ำซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนคนเมืองเพชรบุรีมาแต่สมัยโบราณไหลผ่านกลางอำเภอ นั่นคือ "แม่น้ำเพชร" และหากมองจากเขตเทศบาล จะปรากฏ "เขาวัง" หรือ "พระนครคีรี" ตั้งตระหง่านบนยอดเขาสามลูก อีกทั้งยังมีพระปรางค์ 5 ยอด อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในสมัยโบราณด้ว.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และอำเภอเมืองเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดราชบุรี

ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง และการปศุสัตว์ของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านพลังงานของประเทศในปัจจุบัน โดยมีเมืองราชบุรีเป็นศูนย์กลางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมในภูมิภาค ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และจังหวัดราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสาคร

ังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และจังหวัดสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสงคราม

ังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และจังหวัดสมุทรสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

ถนอม กิตติขจร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454—16 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และนับจากการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายทหารที่มาจากคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลสายทหารบก มีด้วยกัน 7 คน จอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนอม กิตติขจร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบรมราชชนนี

นนบรมราชชนนี (Thanon Borommaratchachonnani) เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบางขุนเทียน

ถนนบางขุนเทียน (Thanon Bang Khun Thian) เป็นถนนสายหลักในเขตบางบอนและเขตบางขุนเทียน ตัดผ่านพื้นที่ทางเหนือของเขตบางขุนเทียน เริ่มต้นเข้าสู่เขตบางขุนเทียน จากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่เกาะกลางของถนนพระรามที่ 2 โดยเป็นสะพาน ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงท่าข้ามต่อไป บางขุนเทียน บางขุนเทียน บางขุนเทียน.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนบางขุนเทียน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระราม 9

นนพระราม 9 ในเขตสวนหลวง ถนนพระราม 9 (Thanon Rama IX) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงในพื้นที่เขตดินแดง มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ผ่านแยกถนนวัฒนธรรม ผ่านจุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม และตัดกับถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตสวนหลวง โดยมีถนนมอเตอร์เวย์เป็นเส้นทางต่อเนื่อง ซึ่งถนนพระราม 9 ช่วงตั้งแต่ทางแยกรามคำแหงถึงทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ เคยมีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เหตุที่ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า "ที่" ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระราม 9 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 1

นนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ ถนนพระรามที่ 1 (Thanon Rama I) เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 และทางพิเศษศรีรัช (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) และตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) ไปสิ้นสุดที่แยกตัดถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์ ต่อเนื่องไปยังถนนเพลินจิต) อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระรามที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระรามที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 3

ถนนพระรามที่ 3 ช่วงวัดคลองภูมิ ถนนพระรามที่ 3 (Thanon Rama III) เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่สะพานกรุงเทพในพื้นที่แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ข้ามคลองวัดจันทร์ในเข้าสู่พื้นที่แขวงบางโคล่ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ข้ามคลองบางมะนาว ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองใหม่เข้าสู่พื้นที่แขวงช่องนนทรี ไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนยานนาวา (แยกพระรามที่ 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส หรือแยกช่องนนทรี) และถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรีเข้าสู่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง (จุดตัดกับถนนสุนทรโกษาและถนน ณ ระนอง) ถนนพระรามที่ 3 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้วางแผนให้ถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แทนที่ถนนสีลม ซึ่งประสบปัญหาแออัดและการจราจรติดขัดมาก ในช่วงนั้นเจ้าของธุรกิจหลายๆที่ จึงมองว่าเป็นทำเลทองแห่งใหม่ บางธนาคารและบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 แห่งนี้ รัฐบาลได้วางนโยบายพร้อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค พร้อมขยายถนนจาก 4 ช่องทางจราจรไปและกลับ เป็นถนน 8 ช่องจราจรไปและกลับ พร้อมกับถมคลองที่ขนานกับถนน ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อว่าถนนพระรามที่ 3 ถนนพระรามที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นชื่อถนนที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก เป็นชื่อถนนในโครงการตัดถนนใหม่ของถนนวงแหวนรอบใน นอกจากนี้ ถนนพระรามที่ 3 (ช่วงตั้งแต่แยกถนนสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยก นางลิ้นจี่) มีมาแต่เดิมแล้วโดยมีชื่อเป็นทางการว่าถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย หรือประชาชนจะนิยมเรียกว่า ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีโครงการทำถนนวงแหวนรอบใน จึงมีการตัดถนนเพิ่มเติม(แยกสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยกถนนตก) ใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก เมื่อมีโครงการสร้างถนนเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อถนนใหม่เป็น ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านการค้าตั้งแต่ยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าล่องในลำน้ำช่วงนี้มาจอดเป็นแถวตั้งแต่ถนนตกจนถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง และแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นที่ขนถ่ายสินค้า จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนพระรามที่ 3" ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมเพราะวางแผนให้ถนนแห่งนี้เป็นถนนเศรษฐกิจการค้า หมวดหมู่:ถนนในเขตยานนาวา หมวดหมู่:ถนนในเขตบางคอแหลม หมวดหมู่:ถนนในเขตคลองเตย หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระรามที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด 2 ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศนั่นเอง ครั้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิชเป็น "ถนนพระรามที่ 5" เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตและถนนสายนี้ขึ้น.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระรามที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 6

นนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 และซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธ์ (สี่แยกประดิพัทธ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนพระรามที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนกาญจนาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขสวัสดิ์

นนสุขสวัสดิ์ (Thanon Suk Sawat) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 สายราษฎร์บูรณะ–พระสมุทรเจดีย์ (ในสมัยก่อนมีชื่อว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายดาวคะนอง - ป้อมพระจุล") สร้างตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถนนนี้ตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ร้อยโทหม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ สุขสวัสดิ์ นายช่างหัวหน้าการก่อสร้าง กรมทางหลวง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ตามนโยบายของรัฐบาล มีความยาวทั้งหมด 28 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองจนถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เริ่มต้นทางหลวงแผ่นดินตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจรตั้งแต่ดาวคะนองถึงสามแยกวัดพระสมุทรเจดีย์ แล้วส่วนของสามแยกพระสมุทรเจดีย์-ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีขนาด 2 ช่องทางจราจร อนึ่ง ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองถึงสะพานข้ามคลองบางปะแก้วเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตจอมทองกับเขตราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1 ถึงกิโลเมตรที่ 6 อยู่ในความรับผิดชอบของ กรุงเทพมหานคร ส่วนตั้งแต่กิโลเมตรที่ 6+463 เป็นต้นไป อยู่ในความรับผิดชอบของ แขวงทางหลวงสมุทรปรากร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนสุขสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเศรษฐกิจ 1

นนเศรษฐกิจ 1 (Thanon Setthakit 1) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091 สายอ้อมน้อย - สมุทรสาคร เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 4-6 ช่องจราจรไป-กลับ แยกจากถนนเพชรเกษมที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แยกไปทางซ้ายที่สามแยกกระทุ่มแบน ผ่านทางต่างระดับกระทุ่มแบน บรรจบกับถนนพุทธสาคร (ทางหลวงชนบท สค.4018) แยกไปทางขวา เข้าสู่เขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ผ่านทางแยกต่างระดับมหาชัย ตัดกับถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) สิ้นสุดที่สี่แยกมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร รวมระยะทางที่ควบคุมโดยกรมทางหลวง 19.8 กิโลเมตร (ไม่นับรวมทางของเทศบาลนครสมุทรสาคร) ผ่าน 2 อำเภอ คืออำเภอเมืองสมุทรสาคร (ตำบลมหาชัย ตำบลท่าทราย ตำบลนาดี) และอำเภอกระทุ่มแบน (ตำบลคลองมะเดื่อ ตำบลท่าไม้ และตำบลอ้อมน้อย) ถนนเศรษฐกิจ 1 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0+000 ถึงกิโลเมตรที่ 19+851 ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของหมวดการทางสมุทรสาครที่ 2 แขวงการทางสมุทรสาคร กรมทางหลวง.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนเศรษฐกิจ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเอกชัย

นนเอกชัย (Thanon Ekkachai) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3242 สายต่อทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร - ต่อทางของกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มต้นจากถนนจอมทองบริเวณสะพานคลองด่านในพื้นที่เขตจอมทอง ผ่านถนนกำนันแม้น ข้ามคลองวัดสิงห์เข้าพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นตัดกับถนนบางบอน 1 ถนนบางขุนเทียน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนบางบอน 3 และถนนบางบอน 5 ผ่านโรงเรียนศึกษานารีวิทยา เข้าเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านวัดโพธิ์แจ้ ถนนเทพกาญจนา ถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ข้ามสะพานตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 บริเวณมหาชัยเมืองใหม่ เข้าสู่เขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ผ่านถนนเศรษฐกิจ 1 สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 กิโลเมตรที่ 30 ระยะทางจากถนนบางขุนเทียนประมาณ 23 กิโลเมตร ถนนเอกชัยนับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 ถึงกิโลเมตรที่ 1+191 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครเป็นผู้ดูแล นับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1+191 ถึงกิโลเมตรที่ 13+746 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงสมุทรสาครที่ 2 แขวงทางหลวงสมุทรสาคร ต่อจากนั้นตั้งแต่กิโลเมตรที่ 13+746 ถึงกิโลเมตรที่ 19+650 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงบางขุนเทียน แขวงทางหลวงธนบุรี ก่อนเส้นทางที่เหลือจนถึงถนนจอมทองจะอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และถนนเอกชัย · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และทางพิเศษเฉลิมมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 สายบางแพ - สมุทรสงคราม เป็นทางหลวงแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 กับจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อรองรับการคมนาคมทางบก หลังจากที่ในสมัยก่อนมีการสัญจรคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก โดยเฉพาะแม่น้ำแม่กลองและคลองดำเนินสะดวก ไม่ปรากฏแน่ชัดถึงการก่อสร้างว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินสายบางแพ-ดำเนินสะดวก-สมุทรสงคราม ให้ขนานนามว่า ถนนชูศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายชูศักดิ์ คชเสนี แต่ประชาชนที่สัญจรไปมากลับเรียกว่า ถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ จนถึงปัจจุบัน ทางหลวงสายนี้มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกบางแพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านสี่แยกหัวโพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3236 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3237) เข้าเขตอำเภอดำเนินสะดวก ผ่านสี่แยกดอนคลัง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3336) ผ่านทางแยกตลาดน้ำคลองลัดพลี คลองดำเนินสะดวก ผ่านทางแยกตลาดน้ำดำเนินสะดวก ต่อด้วยทางเข้าอำเภออัมพวา สิ้นสุดเส้นทางที่ทางแยกสมุทรสงคราม บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3092 (ถนนเอกชัย) ระยะทาง 42.406 กิโลเมตร ต่อมาเมื่อถนนพระรามที่ 2 ก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีการก่อสร้างถนนทางเข้าเมืองสมุทรสงคราม ระยะทางประมาณ 1.347 กิโลเมตร ปัจจุบันได้มีการพัฒนาทางหลวงสายนี้เป็น 4-6 ช่องจราจรตลอดสาย อยู่ในความควบคุมของแขวงทางหลวงสมุทรสงคราม สำนักงานทางหลวงที่ 15 (ประจวบคีรีขันธ์) และถนนทางเข้าเมืองสมุทรสงครามบางช่วงได้แบ่งให้เทศบาลเมืองสมุทรสงครามเป็นผู้บำรุงรักษาทางด้วย 325 3-325 325 325.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375 สายบ้านบ่อ–ลำลูกบัว ช่วงแรกเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรมีเกาะกลาง ส่วนในเขตชุมชนจะเป็นถนนขนาด 6-8 ช่องจราจร แยกจากถนนพระรามที่ 2 กิโลเมตรที่ 38 ตำบลชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านเข้าไปในตัวอำเภอบ้านแพ้ว ผ่านบ้านดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม ผ่านมหาวิทยาลัยคริสเตียน ไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม บริเวณสามแยกพระประโทน ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จากนั้นจะเริ่มเส้นทางอีกครั้งที่ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม ขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านอำเภอดอนตูม ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3297, 3233 และ 3296 ไปสุดที่ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เส้นทางในช่วงนี้เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสายยกเว้นในเขตชุมชน เดิมทางหลวงสายนี้ประกอบด้วยทางหลวงสองสาย มีชื่อเรียกตามบัญชีสายทางของกรมทางหลวงว่า "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3097 สายแยกทางหลวงหมายเลข 4 (พระประโทน) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 35 (บ้านบ่อ)" ระยะทางรวม 37.521 กิโลเมตร และ "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3036 สายแยกทางหลวงหมายเลข 3095 (นครปฐม) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 346 (บางเลน)" จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375 · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับวังมะนาว

ทางแยกต่างระดับวังมะนาว (Wang Manao Interchange) หรือ แยกวังมะนาว เป็นทางแยกต่างระดับแห่งหนึ่งในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 2 บริเวณกิโลเมตรที่ 84+041 ตัดกับถนนเพชรเกษม บริเวณกิโลเมตรที่ 125+223.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และทางแยกต่างระดับวังมะนาว · ดูเพิ่มเติม »

ดอนหอยหลอด

ริเวณดอนใน ดอนหอยหลอดตอนน้ำขึ้น ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ใน ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสถานที่ที่พบหอยหลอดจำนวนมาก เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย (ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด”).

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และดอนหอยหลอด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำท่าจีน

แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน".

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และแม่น้ำท่าจีน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแม่กลอง

แม่น้ำแม่กลอง ขณะไหลผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำที่ปากแม่น้ำแม่กลอง 30,106 ตารางกิโลเมตร โดยช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี ได้อีกชื่อหนึ่งว่า "แม่น้ำราชบุรี" มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 30,837 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และแม่น้ำแม่กลอง · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางบอน

ตบางบอน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองหลักของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และเขตบางบอน · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางขุนเทียน

ตบางขุนเทียน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และเขตบางขุนเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางแค

ตบางแค เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามว.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และเขตบางแค · ดูเพิ่มเติม »

เขตจอมทอง

ตจอมทอง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพระรามที่ 2และเขตจอมทอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยถ.พระรามที่ 2ถนนสายธนบุรี–ปากท่อถนนพระราม 2ถนนธนบุรี–ปากท่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »