โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตจอมทอง

ดัชนี เขตจอมทอง

ตจอมทอง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร.

48 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2479พ.ศ. 2508พ.ศ. 2513พ.ศ. 2532พ.ศ. 2540พฤษภาคมกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครมิถุนายนรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวัดหนังราชวรวิหารวัดนางนองวรวิหารอำเภอจังหวัดพระนครจังหวัดธนบุรีธันวาคมถนนพระรามที่ 2ถนนพุทธบูชาถนนกัลปพฤกษ์ถนนราชพฤกษ์ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินถนนสุขสวัสดิ์ถนนเอกชัยทางพิเศษเฉลิมมหานครคลองสนามชัยคลองดาวคะนองคลองด่าน (ฝั่งธนบุรี)ตำบลแม่น้ำเจ้าพระยาแขวงแขวงบางมด (เขตจอมทอง)แขวงบางขุนเทียนแขวงบางค้อแขวงจอมทองโรงเรียนบางมดวิทยาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์โรงเรียนวัดราชโอรสเขตบางบอนเขตบางขุนเทียนเขตภาษีเจริญเขตราษฎร์บูรณะเขตธนบุรีเขตทุ่งครุ18 พฤศจิกายน9 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2479

ทธศักราช 2479 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1936.

ใหม่!!: เขตจอมทองและพ.ศ. 2479 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2508

ทธศักราช 2508 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1965 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและพ.ศ. 2508 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2532

ทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและพ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไท.

ใหม่!!: เขตจอมทองและกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เขตจอมทองและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ใหม่!!: เขตจอมทองและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ใหม่!!: เขตจอมทองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: เขตจอมทองและรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: เขตจอมทองและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดหนังราชวรวิหาร

ระพุทธปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ วัดหนังราชวรวิหาร สร้างขึ้นประมาณปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏผู้สร้าง วัดนี้เป็นวัดโบราณ เป็นวัดร้างมากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งอยู่ ณ ฝั่งขวาหรือนัยหนึ่ง ฝั่งเหนือคลองด่าน แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เลขประจำวัด 200 เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีสืบมาแต่โบราณ มีนามว่าวัดหนังมาแต่เดิม และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2460 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2367 ในสมัยของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการฉลองวัดหนัง ณ วันที่ 2 ธันวาคม..

ใหม่!!: เขตจอมทองและวัดหนังราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดนางนองวรวิหาร

วัดนางนองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 36 ถนนวุฒากาศ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและวัดนางนองวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอ

อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี..

ใหม่!!: เขตจอมทองและอำเภอ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนคร

รถรางในจังหวัดพระนครก่อนที่จะถูกยกเลิกไป อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในอดีต ตราประจำจังหวัดพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีขึ้นในช่วง..

ใหม่!!: เขตจอมทองและจังหวัดพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดธนบุรี

ตราประจำจังหวัดธนบุรี จังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดในอดีตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตจอมทองและจังหวัดธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม

ันวาคม เป็นเดือนที่ 12 และเดือนสุดท้ายของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 10 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: เขตจอมทองและธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนพระรามที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพุทธบูชา

นนพุทธบูชา (Thanon Phuttha Bucha) เป็นถนนที่แยกจากถนนพระรามที่ 2 บริเวณคลองเจ้าคุณ ในท้องที่แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนประชาอุทิศที่ทางแยกนาหลวง ในท้องที่แขวงบางมด เขตทุ่งครุ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ถนนเส้นนี้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่สมัยที่กำนันปลิว เกิดชูชื่น เป็นกำนันตำบลบางมด และก่อสร้างเสร็จในสมัยของกำนันสงวน สวนส้มจีน ซึ่งเป็นลูกเขยของกำนันปลิว เดิมถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นที่ปากซอยสุขสวัสดิ์ 14 ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยพุทธบูชา 31 ไม่ถึงวัดพุทธบูชา การก่อสร้างถนนเส้นนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากกำนันปลิวต้องไปเจรจาขอที่ของลูกบ้านเป็นจำนวนมาก และแนวถนนจะต้องเลาะไปตามแนวเขตที่ดินของผู้บริจาครายต่าง ๆ จึงเป็นสาเหตุให้ถนนเส้นนี้มีลักษณะคดเคี้ยวไปมา ถนนพุทธบูชามีถนนอีกส่วนหนึ่ง เชื่อมทางแยกกาญจนาภิเษก-ประชาอุทิศ ถนนนี้เกิดขึ้นจากสร้าง ถนนกาญจนาภิเษก ด้านใต้.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนพุทธบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกัลปพฤกษ์

นนกัลปพฤกษ์ (Thanon Kanlapaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างถนนราชพฤกษ์กับถนนกาญจนาภิเษก.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนกัลปพฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชพฤกษ์

นนราชพฤกษ์ (Thanon Ratchaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท น.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอบางบัวทองได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร (ไม่ติดไฟแดง) แม้แต่แห่งเดียว.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนราชพฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

นนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงตลาดดาวคะนอง ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (Thanon Somdet Phra Chao Tak Sin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขสวัสดิ์

นนสุขสวัสดิ์ (Thanon Suk Sawat) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 สายราษฎร์บูรณะ–พระสมุทรเจดีย์ (ในสมัยก่อนมีชื่อว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายดาวคะนอง - ป้อมพระจุล") สร้างตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถนนนี้ตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ร้อยโทหม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ สุขสวัสดิ์ นายช่างหัวหน้าการก่อสร้าง กรมทางหลวง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ตามนโยบายของรัฐบาล มีความยาวทั้งหมด 28 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองจนถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เริ่มต้นทางหลวงแผ่นดินตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจรตั้งแต่ดาวคะนองถึงสามแยกวัดพระสมุทรเจดีย์ แล้วส่วนของสามแยกพระสมุทรเจดีย์-ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีขนาด 2 ช่องทางจราจร อนึ่ง ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองถึงสะพานข้ามคลองบางปะแก้วเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตจอมทองกับเขตราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1 ถึงกิโลเมตรที่ 6 อยู่ในความรับผิดชอบของ กรุงเทพมหานคร ส่วนตั้งแต่กิโลเมตรที่ 6+463 เป็นต้นไป อยู่ในความรับผิดชอบของ แขวงทางหลวงสมุทรปรากร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนสุขสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเอกชัย

นนเอกชัย (Thanon Ekkachai) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3242 สายต่อทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร - ต่อทางของกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มต้นจากถนนจอมทองบริเวณสะพานคลองด่านในพื้นที่เขตจอมทอง ผ่านถนนกำนันแม้น ข้ามคลองวัดสิงห์เข้าพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นตัดกับถนนบางบอน 1 ถนนบางขุนเทียน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนบางบอน 3 และถนนบางบอน 5 ผ่านโรงเรียนศึกษานารีวิทยา เข้าเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านวัดโพธิ์แจ้ ถนนเทพกาญจนา ถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ข้ามสะพานตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 บริเวณมหาชัยเมืองใหม่ เข้าสู่เขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ผ่านถนนเศรษฐกิจ 1 สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 กิโลเมตรที่ 30 ระยะทางจากถนนบางขุนเทียนประมาณ 23 กิโลเมตร ถนนเอกชัยนับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 ถึงกิโลเมตรที่ 1+191 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครเป็นผู้ดูแล นับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1+191 ถึงกิโลเมตรที่ 13+746 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงสมุทรสาครที่ 2 แขวงทางหลวงสมุทรสาคร ต่อจากนั้นตั้งแต่กิโลเมตรที่ 13+746 ถึงกิโลเมตรที่ 19+650 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงบางขุนเทียน แขวงทางหลวงธนบุรี ก่อนเส้นทางที่เหลือจนถึงถนนจอมทองจะอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและถนนเอกชัย · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: เขตจอมทองและทางพิเศษเฉลิมมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองสนามชัย

ลองสนามชัย หรือ คลองมหาชัย เป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8แห่งกรุงศรีอยุธยา แทนที่คลองโคกขามเดิม ซึ่งมีความคดเคี้ยวอย่างมาก เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า คลองพระพุทธเจ้าหลวง แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคตไปก่อน ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้โปรดเกล้าให้พระราชสงครามเป็นนายกอง เกณฑ์คนจากหัวเมืองปักษ์ใต้มาขุดต่อ หัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยนั้น หมายถึงหัวเมืองที่อยู่ทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่น เมืองสาครบุรี สามโคก ราชบุรี ธนบุรี นนทบุรี เพชรบุรี ใช้เวลาขุดสองเดือนจึงแล้วเสร็จ จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน ในเขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตัวคลองลึก 6 ศอก และกว้าง 7 วา ใช้ในการคมนาคมขนส่ง และทำสงคราม และยังมีชาวต่างชาติใช้เส้นทางนี้ไปกรุงศรีอยุธยาโดยไม่ต้องผ่านเข้าทางแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ผลสืบเนื่องที่สำคัญคือการบุกเบิกพื้นที่สองฝั่งคลองมาใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง นับเป็นผลงานสำคัญในรัชกาลนี้ นอกจากนั้นแล้ว ในปี พ.ศ. 2352 คลองสายนี้เป็นเส้นทางที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ทรงใช้ยกทัพไปปราบพม่าที่เมืองถลางและเมืองชุมพรอีกด้วย ปัจจุบันคลองสนามชัยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร และจ.สมุทรสาคร คลองมหาชัยนี้ยังเป็นที่มาของชื่อเรียกจังหวัดสมุทรสาครที่นิยมอีกด้วย เนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่ที่บริเวณปากคลองมหาชัยพอดี ในปัจจุบันนิยมเรียกคลองนี้ว่าคลองมหาชัย ใน.สมุทรสาคร และเรียกคลองสนามชัย ในฝั่งธนบุรี โดยทั่วไปไม่ได้เจาะจงว่าบริเวณใดเป็นจุดเริ่มต้นคลองสนามชัย แต่จะถือกันว่าคลองสนามชัยและคลองด่านเป็นคลองเดียวกันในละแวกนั้น ในเขตจอมทองจึงเรียกคลองนี้ทั้งคลองสนามชัย และคลองด่าน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและคลองสนามชัย · ดูเพิ่มเติม »

คลองดาวคะนอง

ลองดาวคะนอง เป็นลำน้ำสาขาฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับคลองบางขุนเทียน ฝั่งคลองดาวคะนองฟากเหนือจากกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงถนนสุขสวัสดิ์ เป็นเส้นแบ่งแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กับแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ เป็นหนึ่งในคลองที่มีการสัญจรทางน้ำมาก เนื่องด้วยเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำของกรุงเทพมหานคร เชื่อมไปยังคลองลัดผ้าเช็ดหน้า และคลองสนามชัย สู่ตลาดน้ำวัดไทร และสวนงูธนบุรี มีประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจร 1 แห่งบนปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและคลองดาวคะนอง · ดูเพิ่มเติม »

คลองด่าน (ฝั่งธนบุรี)

ำหรับคลองด่านในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ดูที่: คลองด่าน (บางบ่อ) คลองด่าน ถือเป็นคลองสายประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ชื่อของคลองด่านมีที่มาจาก ในสมัยโบราณที่ปากคลองด่านด้านวัดหมู (วัดอัปสรสวรรค์ในปัจจุบัน) เคยเป็นด่านขนอนมาก่อน ด่านขนอนคือด่านที่เป็นกระโจมหลังคา มียอดสำหรับดูเรือในระยะไกล เพื่อตรวจสิ่งของต้องห้าม และเก็บภาษีจากเรือสินค้าต่างชาติทั้งฝรั่ง และจีน ที่ขึ้นล่องผ่านด่านมาติดต่อค้าขายในอาณาจักร ซึ่ง ณ ที่นี้จะสามารถเก็บภาษีทั้งจากเรือที่ผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และทางแม่น้ำท่าจีนได้ คลองด่านยังใช้เป็นเส้นทางไปออกแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดสมุทรสาครได้ด้วย ดังปรากฏว่าเป็นเส้นทางเดินทัพไปด่านเจดีย์สามองค์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และปรากฏเป็นเส้นทางสำคัญที่ใช้สัญจร ทั้งใน นิราศถลางของเสมียนมี (หมื่นพรหมสมพัตรสร) นิราศนรินทร์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ โคลงนิราศพระยาตรัง และโคลงนิราศทวายของพระพิพิธสาลี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คลองด่านเกิดตื้นเขิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) เป็นแม่กองขุดลอกในพ.ศ. 2374 คลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี ก่อนที่จะไหลเข้าเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ปากคลองแยกจากคลองบางกอกใหญ่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ไปออกคลองบางขุนเทียน และคลองสนามชัย ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน คลองด่านใช้เป็นคลองเพื่อการระบายน้ำการสัญจร และการท่องเที่ยว วัดสำคัญบริเวณริมฝั่งคลองได้แก่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดอัปสรสวรรค์ วัดนางชี วัดหนัง วัดขุนจันทร์ วัดใหม่ยายนุ้ย วัดนางนองวรวิหาร และวัดราชโอรสาราม โดยทั่วไปแล้ว ไม่ได้เจาะจงว่าบริเวณใดเป็นจุดสิ้นสุดของคลองด่าน แต่จะถือกันว่าคลองสนามชัยและคลองด่านเป็นคลองเดียวกัน ทั้งนี้จึงเรียกคลองนี้ทั้งคลองสนามชัย และคลองด่าน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและคลองด่าน (ฝั่งธนบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

ตำบล

ตำบลหรือ เขตที่ตั้งเมือง (township) เป็นนิคมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่าเมือง ขนาดของเมืองขนาดเล็กอาจแตกต่างกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของโลก เมืองขนาดเล็กในประเทศไทยยังหมายถึงเทศบาลตำบล.

ใหม่!!: เขตจอมทองและตำบล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: เขตจอมทองและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แขวง

แขวง เป็นชื่อเรียกของเขตการปกครอง โดยในประเทศลาวและประเทศพม่านั้น "แขวง" จะมีอำนาจปกครองในระดับเดียวกับจังหวัดของประเทศไท.

ใหม่!!: เขตจอมทองและแขวง · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบางมด (เขตจอมทอง)

แขวงบางมด เป็นท้องที่การปกครองระดับแขวงที่มีพื้นที่มากที่สุดในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: เขตจอมทองและแขวงบางมด (เขตจอมทอง) · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบางขุนเทียน

แขวงบางขุนเทียน เป็นท้องที่การปกครองแห่งหนึ่งของเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: เขตจอมทองและแขวงบางขุนเทียน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบางค้อ

แขวงบางค้อ เป็นท้องที่การปกครองระดับแขวงที่มีพื้นที่น้อยที่สุดของเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: เขตจอมทองและแขวงบางค้อ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงจอมทอง

แขวงจอมทอง เป็นท้องที่การปกครองแห่งหนึ่งของเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: เขตจอมทองและแขวงจอมทอง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนบางมดวิทยา

ลหลวงปู่ชิต อนุสาวรีย์มด บริเวณหน้าโรงเรียน บริเวณหน้าเสาธง โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์" (อังกฤษ: Bangmod Wittaya School) (อักษรย่อ: บ.ม.ว., B.M.W.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เดิมชื่อ โรงเรียนสีสุกหวาดจวนวิทยา ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น 2127 คน ครู 114 ท่าน จัดการเรียนการสอน 51 ห้องเรียน.

ใหม่!!: เขตจอมทองและโรงเรียนบางมดวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

รงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (Mathayomwatsing school) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 35ก หมู่3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีเนื้อที่ 37 ไร่ ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งธนบุรีซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2496.

ใหม่!!: เขตจอมทองและโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวัดราชโอรส

รงเรียนวัดราชโอรส เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล ตั้งอยู่ในเขตวัดราชโอรสาราม ด้านหน้าติดกับคลองสนามชัย หรือ คลองด่าน เดิมชื่อโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคม ต่อมาได้โอนเป็นโรงเรียนรัฐบาลขึ้นกับกระทรวงธรรมการ โดยรองอำมาตย์เอกหลวงพิรุณพิทยาพรรณเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการกับพระธรรมุเทศาจารย์ เจ้าอาวาส ได้พิจารณาร่วมกันว่ายังไม่มีโรงเรียนมัธยมในละแวกนี้จึงเสนอให้โอนโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคมไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการ มีชื่อว่า โรงเรียนวัดราชโอรส ในวันที่ 19 มีนาคม..

ใหม่!!: เขตจอมทองและโรงเรียนวัดราชโอรส · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางบอน

ตบางบอน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองหลักของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม.

ใหม่!!: เขตจอมทองและเขตบางบอน · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางขุนเทียน

ตบางขุนเทียน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู.

ใหม่!!: เขตจอมทองและเขตบางขุนเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เขตภาษีเจริญ

ตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น.

ใหม่!!: เขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

เขตราษฎร์บูรณะ

ตราษฎร์บูรณะ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: เขตจอมทองและเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตทุ่งครุ

ตทุ่งครุ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: เขตจอมทองและเขตทุ่งครุ · ดูเพิ่มเติม »

18 พฤศจิกายน

วันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 322 ของปี (วันที่ 323 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 43 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เขตจอมทองและ18 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

9 พฤศจิกายน

วันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 313 ของปี (วันที่ 314 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 52 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เขตจอมทองและ9 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »