เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ถนนตีทอง

ดัชนี ถนนตีทอง

นนตีทอง (Thanon Ti Thong) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมือง (แยกเสาชิงช้า) ท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ไปจนถึงถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ถนนตีทองสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า "ถนนตีทอง" โดยบรรพบุรุษของชาวชุมชนนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบาง ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถนนตีทองมีความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ฟากตะวันตกของถนนมีซอย ซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ "ซอยเฟื่องทอง" และปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านค้าเสื้อผ้าเครื่องแบบและยศประดับของข้าราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะทหาร และตำรวจ รวมถึงถ้วยรางวัลต่าง ๆ อีกด้ว.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารหลวงพระบางอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)ถนนบำรุงเมืองถนนเจริญกรุงทองคำเปลวคลองหลอดแยกเฉลิมกรุงเมตรเวียงจันทน์เสาชิงช้าเขตพระนคร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ถนนตีทองและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ดู ถนนตีทองและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ดู ถนนตีทองและกรุงเทพมหานคร

ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

ลาว (ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาไท-กะได เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี.

ดู ถนนตีทองและลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ดู ถนนตีทองและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

หลวงพระบาง

หลวงพระบาง (ຫຼວງພຣະບາງ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้ว.

ดู ถนนตีทองและหลวงพระบาง

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ดู ถนนตีทองและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ.

ดู ถนนตีทองและถนนบำรุงเมือง

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด.

ดู ถนนตีทองและถนนเจริญกรุง

ทองคำเปลว

ทองคำเปลว (Gold leaf) คือทองที่ได้รับการตีแผ่จนเป็นแผ่นที่บางมาก ทองคำเปลวมักจะใช้สำหรับการปิดทอง (gilding) หรือปิดบนองค์พระพุทธรูปหรือสิ่งสักการะ ทองคำเปลวทำจากทอง โดยมีสีต่างๆ เกิดขึ้นตามองค์ประกอบของโลหะชนิดอื่นๆ ที่ผสมในกระบวนการผลิตทองคำเปลว มีตั้งแต่ 96.5%, 99% ไปจนถึง 99.99% ในปัจจุบันมีการนำทองคำวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใช้งานแทนทองคำเปลวที่ทำจากทองคำแท้เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า โดยจะสังเกตความแตกต่างได้ง่ายเมื่อใช้นิ้วมือขยี้ หากทองคำเปลวไม่ติดนิ้วมือและเป็นรอยขาด ลักษณะเป็นแผ่นบางๆแตกเป็นชิ้นๆ แสดงว่าเป็นทองคำวิทยาศาสตร์ และถ้าหากใช้นิ้วมือขยี้ทองคำเปลวแล้วติดมือแสดงว่าเป็นทองคำแท้ ข้อสังเกตอีกหนึ่งประการทองคำเปลวที่ผลิตจากทองคำแท้จะมีสีที่แวววาวกว่าทองคำเปลววิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามทองคำเปลวได้ถูกนำมาใช้ในด้านต่างๆ เช่น ใช้ในทางการแพทย์ ด้านความสวยความงาม และถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เป็นต้น.

ดู ถนนตีทองและทองคำเปลว

คลองหลอด

นหก คลองหลอด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 คลองหลอด เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู ถนนตีทองและคลองหลอด

แยกเฉลิมกรุง

แยกเฉลิมกรุง (Chaloem Krung Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร, ถนนตีทอง และถนนเจริญกรุง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และย่านบ้านหม้อ ย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ บริเวณแยกเฉลิมกรุงเป็นที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทางแยก และอยู่ถัดจากศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าไว้.

ดู ถนนตีทองและแยกเฉลิมกรุง

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.

ดู ถนนตีทองและเมตร

เวียงจันทน์

วียงจันทน์ (ວຽງຈັນ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ.

ดู ถนนตีทองและเวียงจันทน์

เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม.

ดู ถนนตีทองและเสาชิงช้า

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ดู ถนนตีทองและเขตพระนคร

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ถ.ตีทอง