โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212

ดัชนี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 สายหนองคาย–อุบลราชธานี หรือ ถนนชยางกูร เริ่มจากแยกถนนมิตรภาพสายเก่า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 ใน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ไปทางทิศตะวันออกทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง ผ่านเข้าจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และไปสิ้นสุดที่ตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะทางประมาณ 583.575 กิโลเมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า ทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ได้รับการตั้งขนานนามว่า ถนนชยางกูร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม..

25 ความสัมพันธ์: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูรอำเภอธาตุพนมอำเภอเมืองบึงกาฬอำเภอเมืองมุกดาหารอำเภอเมืองหนองคายอำเภอเมืองอำนาจเจริญอำเภอเมืองอุบลราชธานีอำเภอเมืองนครพนมจังหวัดบึงกาฬจังหวัดมุกดาหารจังหวัดยโสธรจังหวัดหนองคายจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดนครพนมถนนมิตรภาพทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231ทางหลวงเอเชียสาย 121แปลก พิบูลสงคราม

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)

นมิตรภาพไทย-ลาว 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 1,423 เมตร มีความกว้าง 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร

หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร (26 มกราคม พ.ศ. 2429 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิปกับหม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา และเป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และหม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอธาตุพนม

ตุพนม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอธาตุพนม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองบึงกาฬ

อำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารราชการของจังหวัดบึงกาฬ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) มีการคมนาคมสะดวก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอเมืองบึงกาฬ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองมุกดาหาร

มืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอเมืองมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองหนองคาย

อำเภอเมืองหนองคาย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนอง.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอเมืองหนองคาย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองอำนาจเจริญ

มืองอำนาจเจริญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอเมืองอำนาจเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองอุบลราชธานี

มืองอุบลราชธานี เป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี และเมื่อมองจากแผนที่จะเป็นลักษณะคล้าย ๆ รูปปล.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอเมืองอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนครพนม

อำเภอเมืองนครพนม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และอำเภอเมืองนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบึงกาฬ

ึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 765 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดบึงกาฬ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมุกดาหาร

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยโสธร

ร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เดิมชื่อ บ้านสิงห์ท่า, เมืองยศสุนทร เป็นเมืองเก่าแก่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำชีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปี มีประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป โดยมีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดยโสธร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดหนองคาย

หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นจังหวัดชายแดนและเป็นจังหวัดที่เงียบสงบ น่าอยู่และน่าท่องเที่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษ.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดหนองคาย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอำนาจเจริญ

อำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรค้นพบและสันนิษฐานไว้ตามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดอำนาจเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไท.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมิตรภาพ

นนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี..

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และถนนมิตรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด (เขตแดน)–มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 793.391 กิโลเมตร อีกทั้งรัฐบาลยังวางแผนให้เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 และทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้ว.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 สายชัยภูมิ–เขมราฐ เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก-ตะวันออก มีระยะทางตลอดทั้งสาย 380.653 กิโลเมตร ผ่านจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน–บึงกาฬ เป็นทางหลวงในแนวเหนือ-ใต้ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสกลนครกับจังหวัดบึงกาฬ มีระยะทางตลอดทั้งสาย 128.756 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223 สายสกลนคร–บ้านต้อง เป็นทางหลวงแนวตะวันตก-ตะวันออกที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสกลนครกับอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัดนครพนม มีระยะทางตลอดทั้งสาย 65.052 กิโลเมตร ทางหลวงสายนี้มีเส้นทางเชื่อมต่อมาจากถนนมัธยมจันทร์ ในเขตเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านอำเภอโคกศรีสุพรรณ แล้วเข้าสู่จังหวัดนครพนม ผ่านอำเภอนาแก และสิ้นสุดที่อำเภอธาตุพนม บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 แต่เดิมทางหลวงเส้นนี้คือ "ทางหลวงสายสกลนคร-นาแก-ธาตุพนม" ได้รับการขนานนามว่า "ถนนมัธยมจันทร์" ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่นายประจวบ มัธยมจันทร์ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางสกลนคร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งหมด 46.142 กม.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 121

ทางหลวงเอเชียสาย 121 คือถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชียประเภทสายรอง เริ่มต้นจากพรมแดนประเทศลาว ที่สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ใน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ลงมาทางทิศใต้ตามเส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ถนนชยางกูร) เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2116 ผ่านอำเภอเลิงนกทา เลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ผ่านเข้าอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร จากนั้นจึงเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 เข้าเขต จังหวัดร้อยเอ็ด ผ่าน อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย เลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 ใน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เข้าเขต อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วใช้เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 เข้าเขต อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวขวาใช้ถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 ในเขตเทศบาลเมืองนางรอง ผ่าน อำเภอปะคำ อำเภอโนนดินแดง ลงเขาช่องตะโก เข้าสู่เขตอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เลี้ยวขวาใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3486 ที่แยกบ้านใหม่ เลี้ยวขวาใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3395 ที่แยกโคคลาน แล้วเลี้ยวขวาใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3462 ที่สี่แยกช่องกุ่ม ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร ไปบรรจบทางหลวงเอเชียสาย 1 (AH 1) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ที่ตัวเมืองจังหวัดสระแก้ว รวมระยะทาง 458.5 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และทางหลวงเอเชียสาย 121 · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212และแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถนนชยางกูร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »