โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพิษณุโลก

ดัชนี ถนนพิษณุโลก

นนพิษณุโลก (Thanon Phitsanulok) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนสามเสน ใต้ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนนครราชสีมา (แยกวังแดง) วังปารุสกวัน และสวนมิสกวัน ตัดกับถนนราชดำเนินนอก (แยกสวนมิสกวัน) และถนนพระรามที่ 5 (แยกพาณิชยการ) เข้าสู่แขวงสวนจิตรลดา จากนั้นตัดกับถนนนครสวรรค์ที่แยกนางเลิ้ง (แยกสนามม้า) และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงสวนจิตรลดากับแขวงสี่แยกมหานาคไปจนสุดถนนที่ทางรถไฟสายนครราชสีมา (ทางรถไฟสายเหนือก็เรียก) ณ แยกยมราชซึ่งเป็นหัวถนนเพชรบุรี ถนนพิษณุโลกนี้มีนามเดิมว่า "ถนนคอเสื้อ" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพิษณุโลกเนื่องจากผ่านวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นที่ประทับในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ชื่อถนนคอเสื้อได้มาจากการเขียนลายรูปค้างคาวต่อ ๆ กันในที่แคบ จึงกลายเป็นลายกระจังหรือที่เรียกว่า "คอเสื้อ" หมายถึง ฮก (ความสุข) ซึ่งเป็นหนึ่งลักษณะมงคลของจีนสามประการ ("ฮก ลก ซิ่ว" - ความสุข ลาภยศ อายุยืนนาน).

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2441พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังดุสิตกรุงเทพมหานครกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรวังปารุสกวันสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถถนนพระรามที่ 5ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนศรีอยุธยาถนนสามเสนถนนนครราชสีมาถนนนครสวรรค์ถนนเพชรบุรีเขตดุสิต

พ.ศ. 2441

ทธศักราช 2441 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1898 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและพ.ศ. 2441 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังดุสิต

ระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. (อังกฤษ: Internal Security Operations Command) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานกลาง เพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่มุ่งทำลายผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) โดยตำแหน่ง.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

วังปารุสกวัน

ตำหนักปารุสก์ ตำหนักสวนจิตรลดา ตำหนักจิตรลดาในวังปารุสกวัน วังปารุสกวัน หรือย่อว่า วังปารุสก์ ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลก ตัดกับถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวังที่ประทับของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหาร จากประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2449 ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์กรมตำรวจ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและวังปารุสกวัน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

อมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (3 มีนาคม พ.ศ. 2426-13 มิถุนายน พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และ "พระบิดาแห่งการบินไทย" ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง 37 พรรษา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนลกเป็นภาษาจีนมาจากชื่อภาพเครื่องลายครามที่มีภาพลก คือ เทพเจ้าจีนใส่หมวกมีใบพัด 2 ข้าง หรือกวางอยู่ด้วย กวางกับหมวกนั้นมีความหมายว่าเกียรติยศนั่นเอง ครั้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนลก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึงถนนเตชะวณิชเป็น "ถนนพระรามที่ 5" เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตและถนนสายนี้ขึ้น.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนพระรามที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนศรีอยุธยา

นนศรีอยุธยาบริเวณหน้าโรงพยาบาลพญาไท 1 สนามเสือป่า โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ถนนศรีอยุธยา (Thanon Si Ayutthaya) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพญาไท (สี่แยกพญาไท) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกเสาวนี) ถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกวัดเบญจฯ) ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกหอประชุมทหารบก) และถนนสามเสน (สี่แยกสี่เสาเทเวศร์) ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพร.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสามเสน

แผนที่เขตดุสิต ถนนสามเสนอยู่บริเวณซ้ายบน ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสามเสน (Thanon Sam Sen) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนสามเสน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครราชสีมา

นนนครราชสีมา (Thanon Nakhon Ratchasima) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง (แยกประชาเกษม) ท้องที่แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลก (แยกวังแดง) ถนนศรีอยุธยา (แยกหอประชุมทหารบก) ถนนอู่ทองนอก (แยกอู่ทองนอก) ถนนราชวิถี (แยกการเรือน) และถนนสุโขทัย (แยกสวนรื่นฤดี) ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่ท้องที่แขวงถนนนครไชยศรี ไปสิ้นสุดที่ถนนอำนวยสงคราม (แยกร่วมจิตต์) ใกล้ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต ถนนนครราชสีมาเดิมชื่อ "ถนนดวงดาว" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. 2441 ชื่อถนนดวงดาวมาจากเครื่องลายครามที่มีลายดาว ในนิยายจีนมักกล่าวถึงดาวที่เป็นเซียนต่าง ๆ เช่น ไท้แป๊ะกิมแช (อักษรจีน: 太白金星) "แช" (星) แปลว่า ดาว (สำเนียงจีนกลางออก ซิ้ง) ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนดวงดาวใต้ตั้งแต่ถนนคอเสื้อ (ถนนพิษณุโลก) ถึงถนนใบพร (ถนนอู่ทองนอก) เป็น "ถนนนครราชสีมาใต้" ถนนดวงดาวในให้ยกเลิก และถนนดวงดาวเหนือตั้งแต่ถนนซางฮี้ใน (ถนนราชวิถี) ถึงคลองสามเสน เป็น "ถนนนครราชสีมาเหนือ" เดิมกรุงเทพมหานครได้ติดตั้งป้ายชื่อถนนนครราชสีมาว่า "ถนนราชสีมา" ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้อง ปัจจุบันได้แก้ไขแล้ว.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครสวรรค์

นนนครสวรรค์ (Thanon Nakhon Sawan) เป็นถนนสายหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศจากส่วนปลายของถนนราชดำเนินกลาง ทอดผ่านแยกจักรพรรดิพงษ์ ผ่านแยกเทวกรรมข้ามสะพานเทวกรรมรังรักษ์ พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และไปสิ้นสุดลงที่แยกนางเลิ้ง จุดตัดกับถนนพิษณุโลก บริเวณหน้าราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้านางเลิ้ง พื้นที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1.31 กิโลเมตร ถนนนครสวรรค์เดิมมีชื่อว่า "ถนนตลาด" สร้างขึ้นมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นถนนนครสวรรค์ดังในปัจจุบัน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรบุรี

นนเพชรบุรีช่วงแยกประตูน้ำบริเวณหน้าห้างแพลทินัมแฟชันมอลล์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ช่วงหน้าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก ถนนเพชรบุรี (Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและถนนเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: ถนนพิษณุโลกและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถ.พิษณุโลกถนนคอเสื้อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »