โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตี่ละฉิ่น

ดัชนี ตี่ละฉิ่น

ตี่ละฉิ่น (သီလရှင်,; "ผู้ทรงศีล" – มาจากคำบาลีว่า สีล) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในประเทศพม่า ลักษณะเดียวกับแม่ชีในประเทศไทย และทสสีลมาตาในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้ตี่ละฉิ่นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภิกษุณีแต่ตี่ละฉิ่นจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสามเณรีมากกว.

19 ความสัมพันธ์: พระเจ้ามินดงพะโมภาษาบาลีภิกษุภิกษุณีย่างกุ้งรัฐกะฉิ่นราชวงศ์ถังศาสนาพุทธสังฆาฏิสามเณรอาณาจักรศรีเกษตรซะไกง์ประเทศพม่าประเทศศรีลังกาประเทศไทยนักพรตหญิงแม่ชีเถรวาท

พระเจ้ามินดง

ระเจ้ามินดง (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421) เป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา (ค.ศ. 1853 - 1878) พระองค์เป็นผู้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อมรปุระ และมัณฑะเลย์ พระองค์เป็นผู้ปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยขึ้น ตอนที่พระองค์ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงสถาปนาเจ้าหญิงเสกขรเทวี น้องร่วมพระชนนีกับพระเจ้าพุกาม ขึ้นเป็นอัครมเหสี และสถาปนาเจ้าหญิงราชธิดาพระเจ้าพาคยีดอ คือนางอเลนันดอ เป็นมเหสี ในสมัยของพระองค์ต้องประสบปัญหาความขัดแย้งกับอังกฤษ การสูญเสียดินแดนของพม่าตอนล่าง และปัญหาการแย่งชิงอำนาจภายในประเทศ ภาพของพระเจ้ามินดงในเอกสารชาวตะวันตก.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและพระเจ้ามินดง · ดูเพิ่มเติม »

พะโม

ม หรือ บานมอ (ဗန်းမော်; Bhamo หรือ Bamaw) เป็นเมืองในรัฐกะฉิ่น ประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ บนฝั่งแม่น้ำอิรวดีตอนบน ห่างจากเมืองมิตจีนาไปทางทิศใต้ 186 กม.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและพะโม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณี

กษุณี (ภิกฺขุณี; ภิกฺษุณี) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและภิกษุณี · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกะฉิ่น

รัฐกะฉิ่น (ကချင်ပြည်နယ်; กะฉิ่น: Jingphaw Mungdaw) เป็นเขตปกครองหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศพม.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและรัฐกะฉิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สังฆาฏิ

ังฆาฏิ แปลว่า ผ้าซ้อนนอก, ผ้าทาบ เป็นชื่อเรียกผ้าผืนหนึ่งในจำนวน 3 ผืน หรือไตรจีวรของพระคือ จีวร สบง สังฆาฏิ สังฆาฏิ คือผ้าที่ซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งทำนองเป็นผ้าคลุมสำหรับป้องกันความหนาวในฤดูหนาว เมื่อห่มทาบจีวรก็จะเป็นผ้าสองชั้น ทำให้อบอุ่นขึ้นเมื่อห่ม จึงเรียกว่า ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อน, ผ้าทาบ) สังฆาฏิแท้จริงแล้วเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มแทนจีวร ทำเป็นผ้ากันแดดได้ เป็นต้น ในประเทศไทย สังฆาฏิ ปัจจุบันพระสงฆ์ไม่ได้ใช้ห่มซ้อนกับจีวรเหมือนก่อน ด้วยอยู่ในในถิ่นที่อากาศไม่หนาวจนเกินไป แต่พับแล้วพาดเก็บไว้บนบ่าเพื่อความสะดวกในเวลาเดินทาง จนกลายเป็นผ้าพาดบ่าตามปกติไป.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและสังฆาฏิ · ดูเพิ่มเติม »

สามเณร

ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะบวชอยู่เป็นสามเณรตลอดชีวิตก็ได้ สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและสามเณร · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรศรีเกษตร

อาณาจักรศรีเกษตร (Sri Ksetra Kingdom) เป็นนครรัฐของชาวปยู ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีในภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศพม่าในปัจจุบัน เชื่อว่ามีกำเนิดในสมัยต้นพุทธกาล หรือก่อน 2500 ปีมาแล้ว โดยชนชาติผิวหรือปยู โดยตั้งบ้านเมืองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแปร ต่อมาชนชาติปยูได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และได้รับความเจริญทางอักษรศาสตร์จากอินเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด อาณาจักรนี้มีอำนาจปกครองเกือบตลอดแหลมมลายู จนใน..

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและอาณาจักรศรีเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

ซะไกง์

ซะไกง์ เป็นเมืองในเขตซะไกง์ ประเทศพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี ตรงข้ามกับเมืองอังวะ เมืองซะไกง์มีวัดทางพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่ง เมืองสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสะกาย (ค.ศ. 1315–1364) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม เมืองซะไกง์เคยเป็นเมืองหลวงของพม่าระหว่างปี..

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและซะไกง์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

แม่ชี

แม่ชีในกรุงเทพ นางชี หรือ แม่ชี เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะ ถือศีลแปด อาศัยในวัดเช่นเดียวกับภิกษุ แต่มิได้อุปสมบท บางแห่งจึงถือว่าแม่ชีไม่ใช่นักบวช แต่เป็นอุบาสิกาในพุทธบริษัทสี่เท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการก่อตั้งสำนักชีโดยเฉพาะเพื่อจะได้ไม่ปะปนกับพระภิกษุซึ่งเป็นเพศชาย บางแห่งมีบทบาทจนเป็นที่ยอมรับในสังคม และบางสำนักนางชีสามารถออกบิณฑบาตรได้เช่นเดียวกับพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีอุบาสิกาที่ถือศีลแปด เช่นกันแต่มิได้ปลงผม เรียกว่า ชีพราหมณ.

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและแม่ชี · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ตี่ละฉิ่นและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »