โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ดัชนี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ (Observational astronomy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งในการศึกษาวิทยาการด้านดาราศาสตร์ โดยมีเนื้องานหลักเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการศึกษาที่ตรงข้ามกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีซึ่งมุ่งเน้นที่การค้นหาแบบจำลองทางฟิสิกส์ในการอธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางดาราศาสตร์ การศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะเฝ้าดูวัตถุท้องฟ้าต่างๆ โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์หรือเครื่องมือตรวจวัดในทางดาราศาสตร์อื่นๆ หากพิจารณาในแง่วิทยาศาสตร์ การศึกษาหรือทำการทดลองกับวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไปในเอกภพมากๆ อาจเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ดียังมีปรากฏการณ์ท้องฟ้าต่างๆ มากมายที่นักดาราศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ได้ ข้อมูลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์เหล่านั้นสามารถนำมาพล็อตเป็นกราฟ และสร้างแนวโน้มของข้อมูลที่คาดการณ์ได้ ตัวอย่างของปรากฏการณ์พิเศษที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ดาวแปรแสง ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล.

15 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์ดาราศาสตร์กล้องโทรทรรศน์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกาลิเลโอ กาลิเลอีวิทยาศาสตร์สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าหอดูดาวดาราศาสตร์ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตดาราศาสตร์รังสีแกมมาดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ดาราศาสตร์วิทยุดาราศาสตร์อินฟราเรดดาราศาสตร์เชิงแสงดาวแปรแสง

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astrophysics) เป็นแขนงวิชาทางดาราศาสตร์ ว่าด้วยสมบัติทางกายภาพของวัตถุในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาราจักร และเอกภพทั้งหลายทั้งมวล จะเน้นศึกษาแขนงวิชาที่กว่ามาข้างต้น มากกว่าศึกษาตำแหน่งหรือการเคลื่อนที่ของวัถตุต่าง ๆ ในอวกาศ วิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์, ดาวฤกษ์ต่าง ๆ, กาแล็กซีต่าง ๆ, ดาวเคราะห์นอกระบบ, มวลสารระหว่างดาว, รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล สาขาวิชานี้จะตรวจสอบและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า และปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเข้มแสง, ความหนาแน่น, อุณหภูมิ และสารประกอบเคมี เนื่องจากวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นั้นครอบคลุมเนื้อหาและแขนงวิชาต่าง ๆ ในบริเวณกว้าง จึงสามารถรวมอีกหลายแขนงวิชาเข้ามาในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นี้ได้ด้วย อาทิ กลศาสตร์, การศึกษาแรงแม่เหล็กไฟฟ้า, กลศาสตร์สถิติ, อุณหพลศาสตร์, กลศาสตร์ควอนตัม, ทฤษฎีสัมพันธภาพ, ฟิสิกส์นิวเคลียร์, ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า

สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) คือ แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่างๆกัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่างๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัมตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับ ดังนี้ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาว

หอดูดาว เป็นสถานที่สำหรับใช้สังเกตการณ์ท้องฟ้าและดวงดาว ในการศึกษาด้านดาราศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ หอดูดาวทางดาราศาสตร์ในปัจจุบันมักก่อสร้างเป็นอาคารรูปโดมมีช่องเปิด ภายในมีกล้องโทรทรรศน์เพื่อใช้ขยายภาพท้องฟ้า สาเหตุที่ใช้อาคารมีช่องเปิด ก็เพื่อลดแสงรบกวนจากภายนอก ส่วนอาคารรูปโดมนั้นเหมาะกับประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น ในฤดูหนาวจะไม่มีหิมะค้างอยู่บนหลังคา อาคารโดมอาจติดตั้งกลไกการหมุนเพื่อติดตามดาว.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และหอดูดาว · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต

ราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet astronomy) คือการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นความถี่ระดับอัลตราไวโอเลต คือคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 10-320 นาโนเมตร แสงในระดับความยาวคลื่นนี้มักถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงความยาวคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ การตรวจวัดเส้นสเปกตรัมอัลตราไวโอเลตสามารถช่วยในการแยกแยะองค์ประกอบทางเคมี ความหนาแน่น และอุณหภูมิของสสารระหว่างดาวได้ รวมถึงองค์ประกอบและอุณหภูมิของดาวฤกษ์อายุเยาว์ที่ร้อนจัด นอกจากนี้ยังช่วยในการศึกษาวิวัฒนาการของดาราจักรด้วย การเฝ้ามองเอกภพในรังสีอัลตราไวโอเลตจะได้ภาพที่แตกต่างไปจากการสังเกตการณ์ในแสงปกติ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มักเป็นวัตถุที่ค่อนข้างเย็น เมื่อเทียบกับการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแสงปกติ การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตจะเกิดจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงมาก ซึ่งโดยมากจะยังอยู่ในช่วงต้นของเส้นทางวิวัฒนาการของมัน.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีแกมมา

ราศาสตร์รังสีแกมมา (Gamma-ray astronomy) เป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุดของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้กล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมา เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมป์ตัน แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาที่ตรวจจับได้โดยมากมาจากการเกิดแสงวาบรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรังสีแกมมาที่แผ่ออกจากวัตถุเพียงชั่วไม่กี่มิลลิวินาทีหรืออาจนานหลายพันวินาทีก่อนที่มันจะสลายตัวไป แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาชั่วคราวเช่นนี้มีจำนวนกว่า 90% ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาทั้งหมด มีแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นแหล่งกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ พัลซาร์ ดาวนิวตรอน และวัตถุที่อาจกลายไปเป็นหลุมดำได้ เช่น นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์รังสีแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์

ราศาสตร์รังสีเอกซ์ (X-ray astronomy) คือการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นของรังสีเอกซ์ที่แผ่ออกมาจากวัตถุท้องฟ้าต่างๆ รังสีเอกซ์นี้สามารถถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปได้ ดังนั้นในการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ ในปัจจุบันมีโครงการการศึกษาดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ในห้องวิจัยอวกาศและอุปกรณ์ตรวจจับรังสีเอกซ์ในดาวเทียมต่างๆ จำนวนมาก คาดการณ์ว่า รังสีเอกซ์จะเกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีแก๊สร้อน อุณหภูมิระหว่าง 1-100 ล้านเคลวิน กล่าวโดยทั่วไปคือเกิดในวัตถุที่มีพลังงานในอะตอมและอิเล็กตรอนสูงมาก การค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 โดยบังเอิญ แหล่งกำเนิดนั้นคือ Scorpius X-1 ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์แห่งแรกที่พบในกลุ่มดาวแมงป่อง ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของทางช้างเผือก ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ ริคคาร์โด จิอัคโคนิ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์วิทยุ

กล้องโทรทรรศน์วิทยุจำนวนมากเรียงรายในลานกว้าง ที่รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ดาราศาสตร์วิทยุ (Radio astronomy) เป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ที่เฝ้าศึกษาวัตถุท้องฟ้าในช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ การตรวจจับพบคลื่นวิทยุจากวัตถุทางดาราศาสตร์ (ในทางช้างเผือก) เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงมีความคืบหน้าในการแยกแยะแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในอวกาศที่แตกต่างกัน คือจากดาวฤกษ์ ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าประเภทใหม่ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดาราจักรวิทยุ พัลซาร์ และเมเซอร์ การค้นพบการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลนับเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุด การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุสามารถทำได้โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุเดี่ยวๆ หรือใช้การเชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์หลายตัวและทำงานร่วมกันก็ได้ วิธีหลังจะทำให้สามารถจับภาพของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุได้โดยไม่ต้องกำหนดมุมสังเกตการณ์เสียก่อน.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์วิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์อินฟราเรด

ราศาสตร์อินฟราเรด (Infrared astronomy) คือสาขาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันสามารถมองเห็นได้ในคลื่นอินฟราเรด การแผ่รังสีในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 400 นาโนเมตร (สีน้ำเงิน) ไปจนถึง 700 นาโนเมตร (สีแดง) คลื่นที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 700 นาโนเมตรแต่ต่ำกว่าคลื่นไมโครเวฟนี้ เป็นช่วงคลื่นที่เรียกว่า "อินฟราเรด" นักวิทยาศาสตร์จัดประเภทการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์อินฟราเรดว่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงแสง เพราะการตรวจวัดและสังเกตการณ์อาศัยเครื่องมือกลุ่มเดียวกัน (คือกระจก เลนส์ และ solid state digital detectors).

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์อินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์เชิงแสง

ราศาสตร์เชิงแสง (Optical astronomy) มี 2 ความหม.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์เชิงแสง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสง

วแปรแสง (Variable Star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน.

ใหม่!!: ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »