โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

ดัชนี ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

วามสัมพันธ์กันระหว่างดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและปริมาณตกกระทบ ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index หรือ VEI) เป็นมาตราสัมพัทธ์ของการระเบิดของภูเขาไฟ ถูกคิดค้นขึ้นโดยคริสโตเฟอร์ จี นิวฮอลล์แห่งหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและสตีเฟน เซลฟ์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อปี 1982 ปริมาณของผลผลิต ความสูงของเมฆที่เกิดจากการปะทุ และการสังเกตการณ์เชิงคุณภาพ ใช้เพื่อกำหนดค่าของการระเบิด มาตรานี้เป็นมาตราปลายเปิดโดยมีขนาดของกิจกรรมภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ 8 ซึ่งค่าเริ่มจาก 0 สำหรับภูเขาไฟที่ไม่ได้ระเบิด โดยนิยามว่าน้อยกว่า 10,000 ม.3 ของเทบพราที่พุ่งออกมา และ 8 จะนิยามถึงการระเบิดครั้งมหึมา ซึ่งสามารถพ่นเทบพราออกมาได้ 1.0 × 1012 ม.3 และมีเมฆสูงในแนวตั้งกว่า 20 กิโลเมตร มาตราส่วนนี้เป็นลอการิทึมกับแต่ละช่วงเวลาในมาตราที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในเกณฑ์การพุ่งที่สังเกตได้ ยกเว้น VEI 0, 1 และ 2.

14 ความสัมพันธ์: การปะทุของภูเขาไฟฟุจิ ปีโฮเอการปะทุของภูเขาไฟตัมโบรา พ.ศ. 2358การปะทุของภูเขาไฟปูเยอวย พ.ศ. 2554การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553การปะทุแบบพลิเนียนภูเขาไฟภูเขาไฟมายอนภูเขาไฟสตรอมโบลีภูเขาไฟคีเลาเวอาภูเขาไฟซีนาบุงภูเขาไฟปินาตูโบภูเขาไฟเปอเลมหาวิทยาลัยฮาวายสถาบันสมิธโซเนียน

การปะทุของภูเขาไฟฟุจิ ปีโฮเอ

แผนที่เถ้าภูเขาไฟที่ลอยไปตกในการปะทุปีโฮเอ การปะทุของภูเขาไฟฟูจิ ปีโฮเอ (宝永大噴火) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและการปะทุของภูเขาไฟฟุจิ ปีโฮเอ · ดูเพิ่มเติม »

การปะทุของภูเขาไฟตัมโบรา พ.ศ. 2358

แผนที่ประมาณการพื้นที่ที่มีเถ้าภูเขาไฟตกระหว่างการระเบิดในปี พ.ศ. 2358 พื้นที่สีแดงซึ่งมีความเข้มสีต่างกันแสดงปริมาณเถ้าภูเขาไฟ สังเกตว่าเถ้าภูเขาไฟลอยไปตกไกลถึงเกาะชวา บอร์เนียวและสุลาเวสี (ความหนา 1 ซม.) เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 ภูเขาไฟตัมโบราบนเกาะซุมบาวาของประเทศอินโดนีเซีย (ในขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์) ได้เกิดระเบิดขึ้น เป็นการปะทุของภูเขาไฟครั้งรุนแรงที่สุดในโลกครั้งหนึ่งเท่าที่มีการบันทึก โดยมีระดับความรุนแรง 7 ตามดัชนีวัดความรุนแรงของการปะทุ (VEI) แรงระเบิดทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวได้ยินไกลไปถึง 850 กิโลเมตร ชาวบ้านได้รายงานว่า ต้นไม้บนเกาะล้มระเนระนาด และลาวาไหลนองท่วมพื้นบริเวณรอบภูเขาไฟ ทำให้ทุ่งนาถูกทำลาย และท้องฟ้าในบริเวณนั้นมืดมัว เพราะไร้แสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน การปะทุของภูเขาไฟตัมโบราในครั้งนั้นได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดินฟ้าอากาศกับการระเบิดของภูเขาไฟดียิ่งขึ้น เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้รายงานว่า หลังจากที่ภูเขาไฟตัมโบราปะทุได้ไม่นานผิวโลกก็ได้รับแสงอาทิตย์น้อยลงถึง 20% และอุณหภูมิของอากาศในแถบซีกโลกเหนือได้ลดลงมาก เพราะในบรรยากาศเหนือโลกมีฝุ่น และละอองภูเขาไฟปะปนมากมาย ซึ่งเถ้าถ่านเหล่านี้ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะตกสู่โลกหม.

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและการปะทุของภูเขาไฟตัมโบรา พ.ศ. 2358 · ดูเพิ่มเติม »

การปะทุของภูเขาไฟปูเยอวย พ.ศ. 2554

ทางอากาศของกลุ่มเมฆเถ้าที่ปรากฏในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 การปะทุของภูเขาไฟปูเยอว..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและการปะทุของภูเขาไฟปูเยอวย พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553

การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

การปะทุแบบพลิเนียน

แผนภาพการปะทุแบบพลิเนียน(1) เถ้าปะทุ(2) ปล่องหินหนืด(3) เถ้าตก(4) ชั้นทับถมของหินหลอมและเถ้า(5) ชั้นหิน(6) โพรงหินหนืด การปะทุแบบพลิเนียน (Plinian eruption) คือ รูปแบบการปะทุของภูเขาไฟที่มีต้นแบบจากการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสเมื่อปี ค.ศ. 79 ซึ่งทำลายเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมของจักรวรรดิโรมัน คำว่าพลิเนียนถูกตั้งตามชื่อพลินีผู้เยาว์ ผู้บรรยายลักษณะการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสไว้ในจดหมายฉบับหนึ่ง และผู้ซึ่งลุงของเขา พลินีผู้อาวุโส เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ การปะทุแบบพลิเนียนมีลักษณะเด่น ได้แก่ การเกิดลำก๊าซและเถ้าภูเขาไฟตั้งสูงขึ้นไปในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นที่สองของโลก การขับหินพัมมิสออกจากปากปล่องในปริมาณมาก และการปะทุเป่าก๊าซออกมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เมื่อเทียบระดับความรุนแรงตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index; VEI) การปะทุแบบพลิเนียนจะมีค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 4-6 นอกจากนี้ยังมีการกำหนดการปะทุแบบ "ซับพลิเนียน" (sub-Plinian) มีระดับความรุนแรง 3 หรือ 4 และแบบ "อัลตราพลิเนียน" (ultra-Plinian) มีระดับความรุนแรง 6-8 การปะทุแบบสั้นอาจจบได้ภายในวันเดียว การปะทุแบบยาวอาจดำเนินตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายเดือน ซึ่งการปะทุแบบยาวจะเริ่มต้นด้วยการก่อตัวของเมฆเถ้าภูเขาไฟและบางครั้งก็เกิดการไหลไพโรคลาสติก หินหนืด (แมกมา) อาจถูกพ่นออกมาจากโพรงหินหนืดใต้ภูเขาไฟจนหมด ทำให้ยอดภูเขาไฟยุบตัวลงเกิดเป็นแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ส่วนเถ้าละเอียดอาจตกลงมาทับถมกันเป็นบริเวณกว้าง และบ่อยครั้งที่การปะทุแบบพลิเนียนทำให้เกิดเสียงดังมาก เช่นจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและการปะทุแบบพลิเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟมายอน

250px ภูเขาไฟมายอน (Mayon Volcano) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ บนเกาะลูซอน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ภูเขาไฟมายอนเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ เคยเกิดระเบิดมาแล้ว 40 ครั้ง ในรอบ 400 ปีที่ผ่านมา รูปทรงภูเขาเป็นรูปสมมาตรที่สวยงาม มีความสูง 2,462 เมตร โดยครั้งล่าสุดเกิดระเบิดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟมายอน · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟสตรอมโบลี

ูเขาไฟสตรอมโบลี (Struògnuli, ภาษากรีกโบราณ: Στρογγύλη, Strongulē) เป็นเกาะขนาดเล็กในทะเลติร์เรเนียนนอกชายฝั่งทางเหนือของซิซิลี เป็นหนึ่งในสามของภูเขาไฟมีพลังในอิตาลี สตรอมโบลีเป็นหนึ่งในแปดเกาะของหมู่เกาะเอโอเลียนซึ่งเกาะภูเขาไฟรูปโค้งทางเหนือของซิซิลี ชื่อของสตอมโบลีมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า Strongulē ที่ตั้งตามลักษณะลักษณะกลมพองของมัน เกาะแห่งนี้มีประชากรอาศัยอยู่ราว 500 คน ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุค่อนข้างบ่อยและมีกิจกรรมทางภูเขาไฟกับปะทุเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ บ่อยครั้งสามารถสังเกตได้จากหลายจุดบนเกาะและจากทะเลโดยรอบ ทำให้ตั้งชื่อเล่นให้เกาะนี้ว่า "ประภาคารแห่งเมดิเตอร์เรเนียน" การปะทุหลักครั้งล่าสุดของสตอมโบลีปะทุในวันที่ 13 เมษายน..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟสตรอมโบลี · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟคีเลาเวอา

ูเขาไฟคีเลาเวอา เป็นภูเขาไฟรูปโล่และเป็นภูเขาไฟมีพลังในเกาะฮาวาย เป็นหนึ่งในภูเขาไฟ 5 ลูกที่ประกอบกันเป็นเกาะฮาวาย (อีก 4 ลูกมีเมานาโลอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไล) ตั้งอยู่แนวชานฝั่งทางตอนใต้ของเกาะมีอายุระหว่าง 300,000 ถึง 600,000 ปี ยอดของภูเขาไฟลูกนี้โผล่พ้นระดับน้ำทะเลเมื่อประมาณ 100,000 ปีก่อน คีเลาเวอาเป็นภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันสองของจุดร้อนฮาวายและเป็นจุดปะทุของเทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะ ในอดีตภูเขาไฟลูกนี้ไม่มีความโดดเด่นด้านภูมิประเทศและกิจกรรมในอดีตต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับภูเขาไฟเมานาโลอาทำให้คิดคีเลาเวอาอาจเป็นแอ่งภูเขาไฟขนาดเล็กของภูเขาไฟที่ใหญ่กว่า โครงสร้างของคีเลาเวอานั้นมีขนาดใหญ่แอ่งภูเขาไฟบนยอดของมันเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและมีเขตเขาทรุด 2 แห่งที่ยังเคลื่อนไหวโดยที่หนึ่งแผ่ขยายเป็นระยะทาง 125 ก.ม.ทางตะวันออกส่วนอีกที่ 35 ก.ม.ทางตะวันตก ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เกิดจากรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังความลึกของเขาทรุดจะลึกลงเฉลี่ย 2 ถึง 20 มม.ต่อปี คีเลาเวอามีการปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟคีเลาเวอา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟซีนาบุง

ูเขาไฟซีนาบุง (Gunung Sinabung) เป็นภูเขาไฟในสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย การไหลของลาวาที่เย็นตัวแล้วด้านข้างของภูเขา การปะทุครั้งล่าสุดก่อนหน้..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟซีนาบุง · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟปินาตูโบ

ูเขาไฟปินาตูโบ (Mount Pinatubo; Bundok Pinatubo) เป็นภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นที่มีพลังอยู่ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ บริเวณเทือกเขาซัมบาเลซ เหนือกรุงมะนิลา ถูกค้นพบโดยทหารสเปนครั้งการล่าอาณานิคมเมื่อพ.ศ. 2099 เป็นที่รู้จักจากการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟปินาตูโบ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟเปอเล

ูเขาไฟเปอเล (Montagne Pelée, Mount Pelée) เป็นภูเขาไฟมีพลังบนปลายด้านทิศเหนือของ หมู่เกาะเวสต์อินดี ฝรั่งเศส ในทะเลแคริบเบียน มีลักษณะเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ส่วนกรวยประกอบด้วยชั้นของเถ้าธุลีภูเขาไฟและลาวาที่แข็งตัว Mount Pelée เป็นที่รู้จักเนื่องเมื่อ พ.ศ. 2445 และผลจากการทำลายซึ่งถูกจัดให้เป็นภัยพิบัติจากภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีผู้ประสบภัยประมาณ 26,000-36,000 คน และทำให้เมือง Saint-Pierre ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน Martinique ถูกทำลาย รวมทั้งผู้ว่าการของเมืองได้เสียชีวิตในภัยพิบัติครั้งนั้นด้ว.

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและภูเขาไฟเปอเล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาวาย

The Royal Sala Thai John A. Burns School of Medicine UH 88 - Telescope มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii at Manoa) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐประจำรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1907 ทางมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและปริญญาอาชีพในหลากหลายสาขา อาทิ แพทยศาสตร์, กฎหมาย, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มานุษยวิทยา, การจัดการ, เศรษฐศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์, วรรณกรรม, ภาษาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, การเกษตร, สังคมศาสตร์, สาธารณสุข และเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฮาวาย มีนักศึกษารวมทุกวิทยาเขตประมาณ 35,000คน โดยที่วิทยาเขตมานัว (Manoa) มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน.

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและมหาวิทยาลัยฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัย และหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี..

ใหม่!!: ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและสถาบันสมิธโซเนียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Volcanic Explosivity Index

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »