โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชชีลิมบูร์ก

ดัชนี ดัชชีลิมบูร์ก

ัชชีแห่งลิมบวร์ก (Herzogtum Limburg, Duchy of Limburg) เป็นดัชชีที่เป็นรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ปกครองโดยดยุกแห่งลิมบวร์ก ดัชชีแห่งลิมบวร์กตั้งอยู่ในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในบริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของเบลเยียม และ เนเธอร์แลนด์ และบางส่วนในเยอรมนีปัจจุบัน ในสมัยโรมันลิมบวร์กตั้งอยู่ในจังหวัดเจอร์มาเนียใต้ที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเคลท์จนกระทั่งมาแทนด้วยชนเจอร์มานิคเมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อมโทรมลง ดัชชีแห่งลิมบวร์กก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1065 และมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1794 เมื่อถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสที่ผนวกลิมบวร์กเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเมิซใต้ (Meuse-Inférieure).

29 ความสัมพันธ์: ชาวเคลต์พ.ศ. 1608พ.ศ. 1831พ.ศ. 2337พระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งคาสตีลกลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำภาษาฝรั่งเศสภาษาดัตช์ภาษาเยอรมันรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัลลังก์กัสติยาราชรัฐมุขนายกลีแยฌราชาธิปไตยสมัยกลางสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสสนธิสัญญายูเทรกต์สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทวีปยุโรปดยุกดยุกแห่งบูร์กอญดัชชีประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีประเทศเนเธอร์แลนด์โลว์เออร์เจอร์เมเนีย5 มิถุนายน

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1608

ทธศักราช 1608 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและพ.ศ. 1608 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1831

ทธศักราช 1831 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและพ.ศ. 1831 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2337

ทธศักราช 2337 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและพ.ศ. 2337 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งคาสตีล

ระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งคาสตีล (Felipe el Hermoso; Philipp der Schöne; Philippe le Beau; Filips de Schone, Philip I of Castile หรือ Philip the Handsome หรือ Philip the Fair) (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1478 - 25 กันยายน ค.ศ. 1506) ฟิลิปผู้ได้รับพระฉายาว่า "ฟิลิปผู้ทรงโฉม" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ แมรีแห่งเบอร์กันดี พระองค์ทรงได้รับดินแดนส่วนใหญ่ของดัชชีแห่งเบอร์กันดี และเนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (ในพระนาม "ฟิลิปที่ 4 แห่งเบอร์กันดี") จากพระราชมารดา และทรงได้ครองราชอาณาจักรคาสตีลอยู่ชั่วระยะหนึ่งเมื่อทรงเสกสมรสกับโจแอนนาแห่งคาสตีล ฟิลิปทรงเป็นราชตระกูลฮับส์บวร์กพระองค์แรกที่ได้ครองสเปน และผู้ครองสเปนต่อมาทรงรู้จักพระองค์ในพระนามว่า "พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งสเปน" แต่ฟิลิปไม่ทรงได้รับดินแดนอื่นๆ ของพระราชบิดาหรือได้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เพราะมาเสด็จสวรรคตเสียก่อนพระร.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและพระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งคาสตีล · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

一 ประเทศแผ่นดินต่ำต่างๆ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ทางด้านบนของทวีปยุโรป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป สาเหตุที่เรียกว่าประเทศแผ่นดินต่ำนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื่นที่ที่ลาดต่ำมาก คือ ต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีการจัดการกับอุทกภัยที่ดีที่สุด ของโลกก็ว่าได้ พื้นที่ของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคประเทศแผ่นดินต่ำ มีดังนี้ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และ ฝรั่งเศส(ทางตอนเหนือ).

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์) (Reichsstand หรือ Reichsstände; Imperial State/Estate) คือ “หน่วย” ที่เป็น “รัฐ” ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีสิทธิในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐหลายรัฐไม่มีที่นั่งในจักรวรรดิ หรือเป็นรัฐที่มีที่นั่งแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือมีสิทธิในการเป็นปกครองตนเองภายใต้การกำกับของจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่ละรัฐไม่ขึ้นต่อประมุขของรัฐของจักรวรรดิอื่น ๆ แต่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ นอกจากนั้นประมุขของรัฐในจักรวรรดิก็ยังมีสิทธิและอภิสิทธิ์หลายอย่างที่รวมทั้งสิทธิในการปกครองดินแดนของตนเองบ้าง.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัลลังก์กัสติยา

ราชบัลลังก์กัสติยา (Corona de Castilla) เป็นสหอาณาจักรที่มักจะกล่าวกันว่าเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและราชบัลลังก์กัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ

ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ (Prince-Bishopric of Liège) เป็นรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศเบลเยียมที่ปกครองโดยเจ้าชายบิชอปแห่งลีเยช (Prince-Bishop of Liège) ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและราชรัฐมุขนายกลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

งครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญายูเทรกต์

นธิสัญญายูเทรกต์ หรือ สัญญาสันติภาพยูเทรกต์ (Friede von Utrecht, Treaty of Utrecht หรือ Peace of Utrecht) เป็นเอกสารสนธิสัญญาสันติภาพ (peace treaty) หลายฉบับที่ลงนามกันที่เมืองยูเทรกต์ในสาธารณรัฐดัตช์ระหว่างเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1713 เป็นการตกลงระหว่างรัฐต่าง ๆ ในยุโรปและช่วยในการยุติสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน สนธิสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างผู้แทนพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน ฝ่ายหนึ่ง และผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ดยุกแห่งซาวอย กับพระเจ้ากรุงโปรตุเกสและสหมณฑล อีกฝ่ายหนึ่ง.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและสนธิสัญญายูเทรกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย

ัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย หรือ สนธิสัญญาโอสนาบรึคและ มึนสเตอร์ (Westfälischer Friede, Peace of Westphalia หรือ Treaties of Osnabrück and Münster) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองออสนาบรึค และต่อมาเมื่อวันที่24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองมึนสเตอร์ สัญญาสันติภาพที่เขียนเป็นฝรั่งเศสเป็นการยุติสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ สงครามแปดสิบปี ระหว่างสเปน และ สาธารณรัฐดัตช์และรัฐทั้งเจ็ด ผู้เข้าร่วมในการสร้างสัญญาสันติภาพก็ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ฮับส์บวร์ก), ราชอาณาจักรสเปน, ฝรั่งเศส และ สวีเดน, สาธารณรัฐดัตช์ และพันธมิตรของแต่ละฝ่าย สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียเป็นผลของการประชุมทางการทูตสมัยใหม่ และเป็นการเริ่มวิถีการปฏิบัติสมัยใหม่ (new order) ของยุโรปกลางในบริบทของรัฐเอกราช กฎที่ปฏิบัติของสัญญาสันติภาพกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สนธิสัญญาพิเรนีสที่ลงนามกันในปี ค.ศ. 1659 ในการยุติสงครามฝรั่งเศส-สเปนของปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ฟรันซ์ โยเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2335 - พ.ศ. 2349 ภายหลังจากที่พระองค์ถูกรุกรานโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 อันนำไปสู่สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม ทำให้พระองค์ต้องยุบจักรวรรดิ และเปลี่ยนจักรวรรดิรวมทั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยระหว่างปีพ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2349 พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 2 จักรวรรดิเลยทีเดียว โดยหลังจากเปลี่ยนจักรวรรดิแล้ว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระนามว่า จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงนำกองทัพออสเตรีย ไปชำระแค้นกับจักรวรรดิฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน แต่ก็ยังปราชัยอยู่ดี พระองค์จึงส่งพระราชธิดาองค์โต อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน เพื่อเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการ และเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิฝรั่ง.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและดยุก · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งบูร์กอญ

งกางเขนแห่งบูร์กอญ ดยุคแห่งบูร์กอญ (Duke of Burgundy) เป็นตำแหน่งของประมุขผู้ปกครองดัชชีบูร์กอญที่เป็นดินแดนบริเวณไม่ใหญ่นักของชาวบูร์กอญที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโซน (Saône) ที่ชาร์ลส์เดอะบอลด์ ดยุคแห่งบูร์กอญได้รับมาในปี..

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและดยุกแห่งบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชี

ัชชี (duchy) เป็นอาณาเขตการปกครองหรือบริเวณที่ปกครองโดยดยุกหรือดัชเชส ดัชชีที่สำคัญบางแห่งในสมัยก่อนจะมีอธิปไตยปกครองบริเวณหนึ่ง ๆ ต่อมารวมกันเป็นที่มาของรัฐสมัยใหม่ในปัจจุบัน เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศอิตาลี ในทางตรงกันข้ามดัชชีอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นเขตปกครองภายในราชอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยกลาง เช่น ในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสเปน ประวัติของแต่ละดัชชีแต่ละอาณาจักรก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละรั.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและดัชชี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โลว์เออร์เจอร์เมเนีย

ักรวรรดิโรมันในรัชสมัยของจักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงภาพจังหวัดโลว์เออร์เจอร์เมเนีย (เยอรมนีตะวันตกเฉียงเหนือ เนเธอร์แลนด์ตอนใต้ เบลเยียมตะวันออก) และที่ตั้งกองทหารอีก 3 กองที่ถูกส่งไปในปี ค.ศ. 125 โลว์เออร์เจอร์เมเนีย (Lower Germania) หรือ เกร์มาเนียอินเฟรีออร์ (Germania Inferior) เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือบริเวณประเทศลักเซมเบิร์ก ทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์ บางส่วนของเบลเยียม และบางส่วนของรัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลินในเยอรมนี บริเวณที่ตั้งถิ่นฐานหลักของจังหวัดนี้ ได้แก่ กัสตราเวเตรา, โกโลเนียอุลเปียไตรยานา (ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองซันเทินในเยอรมนี), โกรีโอวัลลุม (ปัจจุบันคือเฮร์เลินในเนเธอร์แลนด์), อัลบาเนียนา (อัลเฟินอานเดินเรนในเนเธอร์แลนด์), ลุกดูนุมบาตาโวรุม (คัทเวคในเนเธอร์แลนด์), โฟรุมฮาเดรียนี (โฟร์บูร์กในเนเธอร์แลนด์), อุลเปียโนวีโอมากุสบาตาโวรุม (เนเมเกินในเนเธอร์แลนด์), ไตรเยกตุม (อูเทรคท์ในเนเธอร์แลนด์), อาตูอาตูกาตุงโกรรุม (ทองเกเรินในเบลเยียม), โบนา (บอนน์ในเยอรมนี) รวมทั้งโกโลเนียอากริปปีเนนซิส (โคโลญในเยอรมนี) ซึ่งเป็นเมืองหลวง กองทัพที่ประจำการอยู่ในโลว์เออร์เจอร์เมเนียมีชื่อย่อซึ่งพบจากจารึกว่า "EX.GER.INF." (Exercitus Germania Inferior) แบ่งออกเป็นหลายกองย่อย ในจำนวนนี้ กองทหารที่ 1 มีเนร์เวีย (Legio I Minervia) และกองทหารที่ 30 อุลเปียวิกตริกซ์ (Legio XXX Ulpia Victrix) เป็นกองประจำการถาวร ส่วนกองเรือรักษาความปลอดภัยที่มีหน้าที่ลาดตระเวนตามลำน้ำไรน์และชายฝั่งทะเลเหนือมีฐานที่ตั้งอยู่ที่เมืองกัสตราเวเตราและต่อมาย้ายไปที่เมืองอากริปปีเนนซิส การเผชิญหน้ากันครั้งแรกระหว่างกองทัพโรมันกับผู้คนในแถบโลว์เออร์เจอร์เมเนียเกิดขึ้นในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ระหว่างสงครามกอล (Gallic Wars) ซีซาร์เข้ามารุกรานบริเวณนี้ราวปี 57 ก่อนคริสต์ศักราช และต่อมาอีก 3 ปีก็สามารถกำจัดชนเผ่าไปได้หลายกลุ่ม รวมทั้งเอบูโรเนส (Eburones) และเมนาปี (Menapii) ซึ่งจูเลียส ซีซาร์เรียกว่าเป็น "พวก เยอรมัน" แต่ความจริงพวกเขาอาจมาจากกลุ่มชาติพันธุ์เคลต์หรืออย่างน้อยก็เป็นชนเผ่าเยอรมันที่มีเชื้อสายเคลต์ โลว์เออร์เจอร์เมเนียเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของโรมันมาตั้งแต่ราวปี 50 ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงแรกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดแกลเลียเบลจิกา จนกระทั่งได้รับการสถาปนาเป็นจังหวัดโรมันในปี ค.ศ. 90 ต่อมาก็ได้รับการจัดเป็นจังหวัดของจักรพรรดิ (Imperial province) โลว์เออร์เจอร์เมเนียตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอัปเปอร์เจอร์เมเนีย ทั้งคู่รวมเรียกว่าเจอร์เมเนีย (คำว่า "โลว์เออร์" หมายถึงตั้งอยู่ทางท้ายน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำกว่า ไม่ใช่ตั้งอยู่ทางทิศใต้).

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและโลว์เออร์เจอร์เมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

5 มิถุนายน

วันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันที่ 156 ของปี (วันที่ 157 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 209 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดัชชีลิมบูร์กและ5 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Duchy of Limburgอาณาจักรดยุคแห่งลิมบวร์ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »