โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซาโปนิน

ดัชนี ซาโปนิน

รงสร้างทางเคมีของโซลานีน ซาโปนิน (saponin) เป็นสารกลุ่มไกลโคไซด์ที่มีสมบัติเป็นแอมฟิฟิล (amphiphile) สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน จะเกิดเป็นฟองเมื่อนำมาผสมกับสารละลายในน้ำ สารกลุ่มซาโปนินมักมีโครงสร้างเป็นไกลโคไซด์ชนิดไฮโดรฟิลิก (ละลายน้ำ) จับกับสารอนุพันธ์ไตรเทอร์พีนชนิดไลโพฟิลิก (ละลายในไขมัน).

37 ความสัมพันธ์: ชะเอมเทศกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐมหาวิทยาลัยคอร์เนลมันมือเสือยุคก่อนประวัติศาสตร์ยีสต์ลำไส้เล็กวงศ์ก่วมวงศ์เงาะสบู่สหภาพยุโรปสัตว์น้ำสารละลายในน้ำสารต้านอนุมูลอิสระหอยทากหนอนอนุทวีปอินเดียผักโขมจินเซนโนไซด์ถั่วปากอ้าถั่วเหลืองถั่วเขียวข้าวโอ๊ตคอเลสเตอรอลต้นชาประเทศกายอานาปลาน้ำแมลงโสมไขมันไตรเทอร์พีนเม็ดเลือดแดงเลือดเย็นเฮโมโกลบินเจี๋ยวกู่หลานเคมบริดจ์

ชะเอมเทศ

''Glycyrrhiza glabra'' ชะเอมเทศ (มาจากภาษากรีกแปลว่า "รากหวาน") เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-2 เมตร มีรากใหญ่แตกแขนงจำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบลักษณะเป็นรูปขนนก ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปไข่ มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ ส่วนก้านใบย่อยนั้นจะสั้นมาก ใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ดอกจะออกเป็นช่อ กลีบดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ และก้านดอกจะสั้นมาก ฝักจะมีลักษณะแบน และผิวข้างนอกจะเรียบ นุ่ม.

ใหม่!!: ซาโปนินและชะเอมเทศ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา (Native Americans in the United States) เป็นวลีที่หมายถึงชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาจากทวีปอเมริกาเหนือที่รวมแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของอะแลสกาและฮาวาย ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มที่เป็นชนเผ่าอินเดียน (Indian tribe) แต่เป็นคำที่ถือว่าไม่สุภาพต่อคนหลายคนที่รวมทั้งรัสเซลล์ มีนส์นักปฏิกิริยาของขบวนการอเมริกันอินเดียน (American Indian Movement) ตามความเห็นของมีนส์ “ในการสัมนานานาชาติของอินเดียนจากทวีปอเมริกาที่กรุงเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ที่สหประชาชาติ ใน..

ใหม่!!: ซาโปนินและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยคอร์เนล

มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในไอวีลีกตั้งอยู่ที่เมืองอิทาคา ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดย เอซรา คอร์เนล และ แอนดรูว์ ดิกสัน ไวต์ คอร์เนลมีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน (ในปี พ.ศ. 2548) มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์มีวิทยาลัยขนาดใหญ่ 2 แห่งด้วยกัน คือ College of Arts and Sciences และ College of Agriculture and Life Sciences นอกจากนี้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษายังได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับสูง อาทิ Johnson Graduate School of Management, College of Engineering, Law School, Weill Cornell Medical College และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทางด้านศึกษาศาสตร์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักติดอันดับ คือ College of Veterinary Medicine และมีชื่อเสียงสูงมาก คือ School of Hotel Management ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมีชื่อเล่นว่า Big Red เพราะดินที่นั่นเป็นสีแดง มี Mascot คือ หมี Cornell Big Red Bear บอลช์ฮอลล์ หอพักนักศึกษาหญิง ในมหาวิทยาลัยคอร์เนล.

ใหม่!!: ซาโปนินและมหาวิทยาลัยคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

มันมือเสือ

มันมือเสือ เป็นพืชในวงศ์กลอย และเป็นพืชที่มีหัวเล็กที่สุดในสกุลเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงมันฝรั่ง เป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ มีขนและหนามปกคลุม รากของพันธุ์ป่าจะแข็งเป็นหนาม พันธุ์ปลูกมักไม่มีหนาม เปลือกหัวสีน้ำตาลหรือแกมเทา เนื้อสีขาว เลื้อยพันไปทางซ้าย มีหนามมากที่โคน ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้เป็นช่อเดี่ยว ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจะหรือช่อเชิงลด โค้งลงด้านล่างผลเป็นแคบซูลโค้งงอ มันมือเสือแบ่งเป็น 2 พันธุ์คือ variety spinosa มีหนามในส่วนราก variety fasiculata มีหนามในส่วนรากน้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในไทยและอินโดจีน กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่า ไปจนถึงนิวกินี ในเวียดนามเรียกว่าkhoai từ หรือ củ từ ซึ่งนำแป้งจากมันชนิดนี้ไปทำขนมได้ มีหัวขนาดเล็กกว่ามันเสา เนื้อหัวเหนียว นำไปทำแกงเลียง ใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่หรือแกงมัสมั่นได้หัวนำมาต้มหรือเผารับประทาน สกัดแป้งจากหัว หัวขูดเป็นฝอยใช้พอก ลดอาการบวม มีรสหวานเพราะมีน้ำตาลมาก ในอาหารจีน นำมันมือเสือไปทำเป็นอาหารหวาน เช่น มันมือเสือในน้ำเชื่อม ส่วนในอาหารญี่ปุ่นใช้ทำพิซซ่าญี่ปุ่น ใส่ในข้าวห่อสาหร่าย และสลัดมันมือเสือ ชาวมอญนิยมนำมาทำแกงเลียง หรือนำไปต้มกินเป็นอาหารว่าง.

ใหม่!!: ซาโปนินและมันมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: ซาโปนินและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยีสต์

ีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมี.

ใหม่!!: ซาโปนินและยีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: ซาโปนินและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ก่วม

วงศ์ก่วม (Aceraceae) เป็นวงศ์พืชของไม้ดอก ประกอบด้วย 2 ถึง 4 สุกลขึ้นกับขอบเขต มีประมาณ 120 ชนิดที่เป็นไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ทั่วไปมีลักษณะใบเป็นแฉกและผลแยกแล้วแตก วงศ์ก่วมเป็นญาติใกล้ชิดกับวงศ์เงาะ นักอนุกรมวิธานหลายคน (รวมถึงกลุ่มวิวัฒนาการชาติพันธุ์พืชดอก) ได้รวมวงศ์ก่วมและ Hippocastanaceae ไว้ใน Sapindaceae งานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ (Harrington et al. 2005) แสดงว่าถึงแม้ว่าวงศ์ก่วมและ Hippocastanaceae มีสายวิวัฒนาการที่มาจากบรรพบุรุษร่วมกัน การย้ายของทั้ง 2 วงศ์จาก Sapindaceae sensu lato น่าจะละทิ้ง Sapindaceae sensu stricto ตามกลุ่มสายวิวัฒนาการที่ไม่ได้มาจากบรรพบุรุษร่วมกันแต่มีความใกล้ชิดกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการอ้างถึงสกุล Xanthoceras.

ใหม่!!: ซาโปนินและวงศ์ก่วม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เงาะ

วงศ์เงาะ หรือ วงศ์ไม้ลำไย (Sapindaceae) เป็นวงศ์ของพืชดอกในอันดับ Sapindales มีอยู่ประมาณ 140-150 สกุล หรือ 1400-2000 ชนิด เช่น เมเปิล Horse chestnut และลิ้นจี่ สมาชิกของวงศ์ Sapindaceae พบได้ในภูมิภาคเขตอบอุ่นไปจนถึงเขตร้อนทั่วโลก.

ใหม่!!: ซาโปนินและวงศ์เงาะ · ดูเพิ่มเติม »

สบู่

ู่ของโรงแรม โครงสร้างของโซเดียมสเตียเรตหรือสบู่ ในทางเคมี สบู่คือเกลือของกรดไขมัน สบู่ในบ้านเรือนใช้ชะล้าง อาบ และใช้ในการทำความสะอาดบ้าน โดยสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว และน้ำมันอิมัลซิไฟเออร์เพื่อให้สบู่ไหลไปกับน้ำได้ ในอุตสาหกรรม สบู่ยังใช้กับการปั่นผ้า และเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารหล่อลื่นบางชนิด สบู่สำหรับการชะล้างได้มาจากน้ำมันพืชหรือสัตว์ และไขมันที่มีค่าเบสสูง เช่น โซดาไฟ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในสารละลายในน้ำ ไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบของไตรกลีเซอไรด์ กล่าวคือ โมเลกุลของกรดไขมันสามโมเลกุลติดกับโมเลกุลของกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุลCavitch, Susan Miller.

ใหม่!!: ซาโปนินและสบู่ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ซาโปนินและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ซาโปนินและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สารละลายในน้ำ

ซเดียมไอออนที่ละลายในน้ำ สารละลายในน้ำ หรือ เอเควียส (Aqueous solution)​ คือสารละลายที่มีตัวทำละลายเป็นน้ำ มักจะแสดงไว้ในสมการเคมีโดยใส่ "(aq)" ต่อท้ายสสารนั้น ซึ่ง aq ย่อมาจาก aqueous หมายถึงความเกี่ยวข้องหรือการละลายในน้ำ น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีชนิดหนึ่งทั้งในธรรมชาติและในการทดลองทางเคมี สารที่ไม่ละลายในน้ำมักมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ (hydrophobic) ส่วนสารที่ละลายในน้ำได้มักมีคุณสมบัติชอบน้ำ (hydrophilic) ตัวอย่างของสารที่ละลายในน้ำได้เช่นโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดและเบสส่วนใหญ่เป็นสามารถละลายได้ในน้ำ ซึ่งเป็นไปตามนิยามส่วนหนึ่งของทฤษฎีปฏิกิริยากรดเบส (ยกเว้นนิยามของลิวอิส) ความสามารถในการละลายน้ำของสสารจะพิจารณาว่า สสารนั้นสามารถจับตัวกับน้ำได้ดีกว่าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำหรือแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารนั้นหรือไม่ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ความสามารถในการละลายน้ำลดลง (เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนไป) น้ำระเหยออกไปจากสารละลาย หรือ เกิดปฏิปริกิริยาเคมีทำให้เกิดสารที่ไม่ละลายน้ำ จะเกิดการตกตะกอนหรือตกผลึก สารละลายในน้ำที่สามารถนำไฟฟ้าได้จะต้องมีอิเล็กโทรไลต์อย่างเข้มอย่างเพียงพอ คือสสารนั้นสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ในน้ำอย่างสมบูรณ์ น้ำซึ่งเป็นโมเลกุลมีขั้วก็จะมาอยู่ล้อมรอบ ส่วนอิเล็กโทรไลต์อย่างอ่อนที่แตกตัวในน้ำได้ไม่ดี ก็จะทำให้สารละลายนั้นนำไฟฟ้าได้ไม่ดีตามไปด้วย สำหรับสสารที่ไม่ได้เป็นอิเล็กโทรไลต์แต่สามารถละลายในน้ำได้ เนื่องจากสสารนั้นไม่แตกตัวเป็นไอออนในน้ำ ยังรักษารูปร่างของโมเลกุลเอาไว้ อาทิ น้ำตาล ยูเรีย กลีเซอรอล และเมทิลซัลโฟนิลมีเทน (MSM) เป็นต้น.

ใหม่!!: ซาโปนินและสารละลายในน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านอนุมูลอิสระ

redox-active sulfur atom that provides antioxidant activity, while the red, blue, white, and dark grey spheres represent oxygen, nitrogen, hydrogen, and carbon atoms, respectively. สารต้านอนุมูลอิสระ คือโมเลกุลของสารที่สามารถจับกับตัวรับและสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของโมเลกุลสารอื่นๆได้ ปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวเนื่องกับการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปยังตัวออกซิไดซ์ ปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารอนุมูลอิสระ (free radical) ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่และทำลายเซลล์ของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระจะเข้ายุติปฏิกิริยาลูกโซ่เหล่านี้ด้วยการเข้าจับกับสารอนุมูลอิสระและยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยถูกออกซิไดซ์ ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจึงถือเป็นตัวรีดิวซ์ อาทิ ไธออล กรดแอสคอร์บิก และโพลีฟีนอล แม้ว่าปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต หากแต่ก็ยังเกิดโทษเช่นกัน ดังนั้นพืชและสัตว์จึงรักษาสมดุลด้วยระบบอันซับซ้อนของปฏิริยาโดยสารต้านอนุมูลอิสระดังเช่น กลูตาไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี เช่นเดียวกับเอนไซม์อย่างตัวเร่งปฏิกิรยาและเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ รวมถึงเพอรอกซิเดสต่างๆ ระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำหรือเอนไซม์ที่ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มากเกินไป จะยังผลให้เกิดภาวะออกซิเดชันที่มากเกินไป (oxidative stress) นำมาซึ่งการทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่เซลล์ได้ ในภาวะที่ออกซิเดชันมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคในมนุษย์หลายโรค การใช้สารต้านอนุมูลอิสระในทางเภสัชวิทยาได้รับการศึกษาอย่างละเอียดในการรักษาภาวะโรคหลอดเลือดในสมองและโรค neurodegenerative disease อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าออกซิเดชันที่มากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุการเกิดโรคหรือไม่ สารต้านอนุมูลอิสระถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ด้วยคาดหวังในการรักษาสุขภาพและป้องกันโรคอย่างโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงโรคกลัวความสูง แม้การศึกษาในช่วงแรกให้การสนับสนุนถึงการเติมสารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้สุขภาพดีนั้น ภายหลังการศึกษาในระยะคลินิกพบว่าสารที่เติมลงไปไม่ได้ช่วยหรือก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ผู้บริโภค ซ้ำยังผลมาซึ่งอันตรายจากการรับประทานที่มากเกินไป นอกจากนี้ยังมีการใช้สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติในเภสัชภัณฑ์ และส่วนประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเช่นสารกันบูดในอาหารและเครื่องสำอาง และช่วยลดการสึกกร่อนของยางและแก๊สโซลีนอีกด้ว.

ใหม่!!: ซาโปนินและสารต้านอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

หอยทาก

หอยทาก หอยทาก (Snail) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบมีหอยทาก มากกว่า 500 ชนิด หมวดหมู่:หอยฝาเดี่ยว หมวดหมู่:มอลลัสกาที่รับประทานได้.

ใหม่!!: ซาโปนินและหอยทาก · ดูเพิ่มเติม »

หนอน

องหนอน Proserpinus proserpina หนอน (larva) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อตัวอ่อนของแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola โดยมี 4 ระยะการเจริญเติบโต คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย ตามลำดับ ลักษณะของตัวหนอนจะไม่มีตารวม มีปีกที่เจริญอยู่ภายใน ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตขึ้นไปได้หลายระยะ โดยการลอกคราบจนถึงระยะสุดท้ายจะลอกคราบกลายเป็นดักแด้ พบได้ในแมลงจำพวก แมลงช้าง แมลงปีกใส ด้วง หนอนปลอกน้ำ ผีเสื้อ แมลงวัน หมัด ผึ้ง ต่อ แตน และ มด คำว่า หนอน อาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตจำพวก หนอนพยาธิ (worm) เช่น หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน รวมทั้งไส้เดือนและหนอนทะเลด้ว.

ใหม่!!: ซาโปนินและหนอน · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: ซาโปนินและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

ใหม่!!: ซาโปนินและผักโขม · ดูเพิ่มเติม »

จินเซนโนไซด์

นเซนโนไซด์ (Ginsenoside) จินเซนโนไซด์เป็นสารประกอบธรรมชาติที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (Triterpene Saponins) ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากวงแหวนอะตอมของคาร์บอน 4 วงและมีโมเลกุลของน้ำตาลเช่น แรมโนส (Rhamnose) ไซโลส (Xylose) หรือ อาราบิโนส (Arabinose) มาจับเกาะกับคอร์บอนอะตอมที่ตำแหน่งที่ 3 และ 20 สารประกอบกลุ่มจินเซ็นโนไซด์ถูกเรียกแทนด้วยชื่อย่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Rx” ซึ่ง“R” หมายถึงราก(Root)ในขณะที่ “x”จะแทนด้วยอักษรภาอังกฤษต่างๆ เพื่อใช้อธิบายถึงคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันไปของโสมแต่ละชนิด จากการจำแนกคุณสมบัติทางเคมีเบื้องต้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งประเภทสารประกอบจินเซ็นโนไซด์(5)ได้ทั้งหมด4 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีปริมาณจินเซนโนไซด์สูงและพบได้บ่อย 2 กลุ่ม (รูปที่ 1) ดังนี้.

ใหม่!!: ซาโปนินและจินเซนโนไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วปากอ้า

ั่วปากอ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicia faba) เป็นสปีชีส์หนึ่งของถั่วมีฝักในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ถั่วปากอ้ามีสารพิษที่ทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง.

ใหม่!!: ซาโปนินและถั่วปากอ้า · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วเหลือง

ั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง..

ใหม่!!: ซาโปนินและถั่วเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วเขียว

ั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ.

ใหม่!!: ซาโปนินและถั่วเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโอ๊ต

้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว.

ใหม่!!: ซาโปนินและข้าวโอ๊ต · ดูเพิ่มเติม »

คอเลสเตอรอล

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.

ใหม่!!: ซาโปนินและคอเลสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

ต้นชา

''Camellia sinensis'' ต้นชาเป็นพืชที่นำใบและยอดอ่อนไปผลิตเป็นชาจีน อยู่ในสกุล Camellia (ภาษาจีน: 茶花; พินอิน: Cháhuā, ตรงตัว: "ดอกชา") และอยู่ในวงศ์ Theaceae ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำถูกเก็บเกี่ยวจากพืชสปีชีส์นี้ทั้งหมด แต่กระบวนการผลิตต่างกัน ทำให้มีระดับของปฏิกิริยาออกซิเดชันต่างกัน กูกิชะ (Kukicha)ทำมาจากต้นชาชนิดเดียวกันแต่ใช้กิ่งและก้านแทนใบ มีสองสายพันธุ์คือ ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) และชาอัสสัม (Camellia sinensis var. assamica).

ใหม่!!: ซาโปนินและต้นชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกายอานา

กายอานา (Guyana) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Co-operative Republic of Guyana) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ประกอบไปด้วยภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกายอานา (ภาษาของชาวเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกา หมายถึง ดินแดนแห่งน้ำหลาก) พรมแดนด้านตะวันออกจรดประเทศซูรินาม พรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศบราซิล พรมแดนด้านตะวันตกติดกับเวเนซุเอลา และด้านเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับเวเนซุเอลา เช่นเดียวกันกับพรมแดนด้านใต้ส่วนใหญ่ที่ติดกับซูรินาม (ตลอดแนวชายฝั่งตอนบนของแม่น้ำโกรันไตน์).

ใหม่!!: ซาโปนินและประเทศกายอานา · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: ซาโปนินและปลา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: ซาโปนินและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ซาโปนินและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

โสม

ม (Ginseng) เป็นพืชในสกุล Panax ในวงศ์ Araliaceae โตได้ในบริเวณซีกโลกเหนือ ในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ซาโปนินและโสม · ดูเพิ่มเติม »

ไขมัน

มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.

ใหม่!!: ซาโปนินและไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

ไตรเทอร์พีน

ตรเทอร์พีน (triterpene) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยเทอร์พีน 3 หน่วยหรือไอโซพีน 6 หน่วย มีสูตรโมเลกุลคือ C30H48 ไตรเทอร์พีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันกว่า 200 แบบ โดยแบ่งได้ตามจำนวนวงแหวน ตัวอย่างในตาราง.

ใหม่!!: ซาโปนินและไตรเทอร์พีน · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: ซาโปนินและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เลือดเย็น

ลือดเย็น หมายถึง.

ใหม่!!: ซาโปนินและเลือดเย็น · ดูเพิ่มเติม »

เฮโมโกลบิน

ีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน คือส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงและช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญของเฮโมโกลบินคือ ฮีม (Heme) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ และทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน องค์ประกอบที่ 2 คือ สายโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นยาวขดพันกันอยู่ โดยแต่ละสาย มีฮีมติดอยู่ 1 อณู เฮโมโกลบิน 1 โมเลกุล จึงประกอบด้วยฮีม 4 อณู และสายโกลบิน 4.

ใหม่!!: ซาโปนินและเฮโมโกลบิน · ดูเพิ่มเติม »

เจี๋ยวกู่หลาน

ี๋ยวกู่หลาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynostemma pentaphyllum (Thunb.); ชื่ออื่น: ชาสตูล เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ เซียนเฉ่า) เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร ส่วนที่ใช้เป็นยา คือต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวาน เริ่มด้วยในปี 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพร ตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาจึงกลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา และศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีน thumb สรรพคุณและวิธีใช้ แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์แผนไทย ใช้ส่วนที่เป็นก้านตากแห้งบดละเอียดเช่นกัน แก้อ่อนเพลีย แก้แผลอักเสบ ช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย การขยายพันธุ์ สามารถกระทำได้โดยการเพาะเมล็ด การใช้ลำต้นใต้ดิน การใช้เถาปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพื.

ใหม่!!: ซาโปนินและเจี๋ยวกู่หลาน · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์

มบริดจ์ (Cambridge) เป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ในอังกฤษ สหราชอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางการปกครองของเคมบริดจ์เชียร์ เมืองอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 80 กม. และห้อมล้อมไปด้วยเมืองและหมู่บ้านขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง เมืองนี้ยังเป็นหัวใจของศูนย์เทคโนโลยีชั้นสูง ที่รู้จักกันในชื่อ ซิลิคอนเฟน (Silicon Fen) และเป็นส่วนสำคัญของเขตอุตสาหกรรมความรู้ ออกซ์ฟอร์ด-เคมบริดจ์อาร์ก (Oxford-Cambridge Arc) เมืองเคมบริดจ์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากการสำรวจสำมะโนประชากร เมื่อปี ค.ศ. 2001 มีประชากร 108,863 คน (รวมนักเรียน 22,153 คน).

ใหม่!!: ซาโปนินและเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »