โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซายูร์โลเดะฮ์

ดัชนี ซายูร์โลเดะฮ์

ซายูร์โลเดะฮ์ (sayur lodeh) หรือแกงผักชวา เป็นแกงผักใส่กะทิที่เป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย ผักที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ ขนุนอ่อน ฟักแม้ว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว สะตอ หน่อไม้ กะหล่ำปลี เต้าหู้ เต็มเป เครื่องแกงมีขิง ข่า ขมิ้น พริก กุ้งแห้ง แคนเดิลนัต แต่บางท้องที่ไม่ใส่พริกและขมิ้น ทำให้ดูเหมือนต้มกะทิ อาหารนี้เป็นอาหารชวาที่แพร่หลายไปทั่วอินโดนีเซีย เครื่องปรุงคล้ายซายูร์อาซัม ต่างกันที่น้ำแกงของซายูร์โลเดะฮ์ใส่กะทิเป็นหลัก ส่วนซายูร์อาซัมเน้นน้ำมะขามเปียก โลเดะฮ์จะกินคู่กับลนตง ซึ่งเป็นข้าวห่อด้วยใบตองเป็นทรงกระบอก หรือเกอตูปัตที่ห่อเป็นทรงตะกร้อ ต้มจนสุก เป็นอาหารที่นิยมทำในเทศกาลฮารีรายอของมุสลิม.

20 ความสัมพันธ์: ชวาฟักแม้วกะทิมุสลิมลนตงวันอีดสกุลมะเขือผักผักเหมียงถั่วฝักยาวขมิ้นขิงขนุนข้าวต้มใบกะพ้อประเทศอินโดนีเซียไก่เต็มเปเต้าหู้เซปักตะกร้อเนื้อวัว

ชวา

วา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และชวา · ดูเพิ่มเติม »

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว, มะระแม้ว, มะระหวาน, มะเขือเครือ หรือ ชาโยเต้ (Chayote; ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule) เป็นไม้เถาวงศ์แตง (Cucurbitaceae) ผลและยอดอ่อนรับประทานได้.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และฟักแม้ว · ดูเพิ่มเติม »

กะทิ

กะทิ กะทิ เป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม ได้มาจากการคั้นน้ำจากเนื้อมะพร้าวแก่ สีและรสชาติที่เข้มข้นของกะทิมาจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำตาลมะพร้าวที่อยู่ในเนื้อมะพร้าว โดยมีรสชาติมันและหวาน.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และกะทิ · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

ลนตง

ลนตง (Lontong) เป็นอาหารที่ทำจากข้าวห่อเป็นทรงกระบอกด้วยใบตอง พบทั่วไปในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ข้าวที่ห่อแล้วจะนำไปต้มให้สุก แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นกินเป็นอาหารหลักแทนข้าวสวย ในมาเลเซียเรียกนาซิ ฮิมปิต (nasi himpit) ลนตงขนาดเล็กจะใส่ไส้ผักเช่นแครอท ถั่ว และมันฝรั่ง บางครั้งใส่ไส้เนื้อสัตว์และกินเป็นอาหารว่าง ลักษณะคล้ายเกอตูปัต ต่างกันที่เกอตูปัตห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือยานุร ส่วนลนตงใช้ใบตอง.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และลนตง · ดูเพิ่มเติม »

วันอีด

วันตรุษอีด หรือ วันอีด เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยในวันนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยืยนญาติพี่น้อง รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น วันอีดมี 2 วันในแต่ละปีคือ.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และวันอีด · ดูเพิ่มเติม »

สกุลมะเขือ

กุลมะเขือ (Solanum) ประกอบด้วยพืชปีเดียวและพืชสองปีมากมายหลายชนิด ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 1,500-2,000 สปีชีส์ กลุ่มใบและผลมีเนื้อหลายเมล็ดของมันมีพิษ โดยสารหลักที่ออกฤทธิ์ คือ โซลานิน ซึ่งอาจทำให้ชักและเสียชีวิตได้หากรับประทานในปริมาณมาก.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และสกุลมะเขือ · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และผัก · ดูเพิ่มเติม »

ผักเหมียง

ผักเหมียง ผักเหลียง เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม เมล็ดแก่สีส้ม ติดเมล็ดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก แพร่กระจายจากรัฐอัสสัมผ่านอินโดนีเซีย มาเลเซียไปจนถึงฟิลิปปินส์และฟีจี ในไทยพบทางภาคใต้ เช่น พบในจังหวัดพังงา ภูเก็ต ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่ เมอลินโจ หรือ เบอลินโจ (ภาษาอินโดนีเซีย), บาโก (ภาษามลายู, ภาษาตากาล็อก), ปีแซ (ภาษามลายูปัตตานี), แด (ภาษากวาราแอ) และ Bét, Rau bép, Rau danh หรือ Gắm (ภาษาเวียดนาม).

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และผักเหมียง · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วฝักยาว

มล็ดถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาว (subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลา) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า vali, Borboti ในรัฐกัว อินเดีย เรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และถั่วฝักยาว · ดูเพิ่มเติม »

ขมิ้น

มิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้).

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ขิง

ง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และขิง · ดูเพิ่มเติม »

ขนุน

นุน (หรือ A. heterophylla) ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวต้มใบกะพ้อ

้าวต้มใบกะพ้อ บ้างเรียก ข้าวต้มพวง ภาษาไทยถิ่นใต้เรียก ขนมต้ม หรือ ต้ม ภาษาอินโดนีเซียและมลายูเรียก เกอตูปัต (ketupat) ภาษามลายูปัตตานีเรียก ตูป๊ะ หรือ ตูปัต ส่วนสำเนียงสะกอมเรียก กะต้ม เป็นอาหารว่างอย่างหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศไทย และยังพบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ (ซึ่งเรียกว่าปูโซในภาษาเซบัวโน บุกโนยในภาษาฮิลิไกนอน ปาตูปัตในภาษากาปัมปางัน และภาษาปางาซีนัน หรือตะอ์มูในภาษาเตาซุก) และสิงคโปร.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และข้าวต้มใบกะพ้อ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ไก่

ลูกเจี๊ยบขณะมีอายุได้หนึ่งวัน ไก่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา เสียงร้องดัง ต๊อก ต๊อก.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และไก่ · ดูเพิ่มเติม »

เต็มเป

ต็มเปสดในตลาดในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ห่อด้วยใบตอง เต็มเป (tempe; ชวา: témpé) เป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองแบบพื้นบ้านของอินโดนีเซีย เป็นอาหารที่เตรียมด้วยการหมักจนถั่วเหลืองกลายเป็นแท่งคล้ายเค้ก เป็นอาหารหมักจากถั่วเหลืองเพียงชนิดเดียวที่อยู่นอกอิทธิพลของจีน จุดกำเนิดของเต็มเปอยู่ที่บริเวณที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน และเป็นที่นิยมในเกาะชวา เป็นแหล่งของโปรตีนเช่นเดียวกับเต้าหู้ แต่มีลักษณะ สารอาหาร และคุณภาพของเนื้อสัมผัสต่างไป กระบวนการหมักเต็มเปและการที่ยังคงรูปถั่วเหลืองไว้ทำให้ยังมีปริมาณโปรตีน เส้นใย และวิตามินสูง เมื่อเก็บไว้นานจะมีกลิ่นเหมือนดินแรงขึ้น เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เต็มเปจึงเป็นที่นิยมในบรรดาผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ โดยใช้แทนเนื้อสัตว.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และเต็มเป · ดูเพิ่มเติม »

เต้าหู้

ต้าหู้ (''Kinugoshi tōfu'') เต้าหู้ กำเนิดมากว่า 2,000 ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนบางกลุ่มถือว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงที่อยู่ในความธรรมดาสามัญ คนไทยเรียกเต้าหู้เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า 豆腐 อ่านว่า โตวฟู คนฮกเกี้ยนเรียกว่า ต๋าวหู คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า โทฟุ (tofu) คนอังกฤษเรียก bean curd หรือบางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า tofu เช่นกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสเรียกว่า fromage de soja (ชีสถั่วเหลือง).

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และเต้าหู้ · ดูเพิ่มเติม »

เซปักตะกร้อ

็กกับการสาธิตการเล่นตะกร้อ ตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลายประเทศในแถบเอเชียที่เล่นกีฬาประเภทนี้คล้ายกัน คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช้หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน สร้างการสังเกตและไหวพร.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และเซปักตะกร้อ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อวัว

นื้อวัวดิบที่หั่นเป็นแผ่นบาง เนื้อโค หรือ เนื้อวัว หมายถึง อวัยวะกล้ามเนื้อของสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้องที่เรียกว่าโคหรือวัว ซึ่งไม่รวมความถึงหนัง เขา กีบ และเครื่องในของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ด้วย เนื้อโคเป็นประเภทกล้ามเนื้อลาย (Striated muscle) มีลักษณะเป็นเส้นยาวเรียกว่าใยกล้ามเนื้อ (Muscle fiber) ซึ่งจะโตกว่าเซลล์ของเนื้อหมู เนื้อโคที่ดีและสะอาดจะต้องมาจากกระบวนการฆ่าและชำแหละจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจรับรองจากพนักงานตรวจเนื้อสัตว์ ของกระทรวงเกษตรฯ ในประเทศนั้น ๆ เนื้อโคที่สด สะอาด จะมีลักษณะสีแดง ไม่ดำหรือคล้ำ และต้องไม่มีสารเคมี ยา หรือจุลินทรีย์ตกค้างและทำให้เกิดโรคต่อผู้บริโภคได้ ในความเชื่อบางศาสนาเช่นศาสนาฮินดูหรือศาสนาพุทธนิกายมหายาน การรับประทานเนื้อวัวถือว่าผิดหลักศาสน.

ใหม่!!: ซายูร์โลเดะฮ์และเนื้อวัว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ซายุร โลเดะห์ซายูร์โลเดะห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »