โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช็อน ดู-ฮวัน

ดัชนี ช็อน ดู-ฮวัน

็อน ดู-ฮวัน (Chun Doo-hwan; เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2474) เคยเป็นทหารของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี และเป็นผู้นำของรัฐบาลเด็จการของประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี..

26 ความสัมพันธ์: ชเว กยู-ฮาพัก ช็อง-ฮีมณฑลจี๋หลินรายนามประธานาธิบดีเกาหลีใต้ศาสนาพุทธสหภาพโซเวียตสงครามเกาหลีสงครามเย็นสงครามเวียดนามขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจูควังจูคอราซอน อากีโนคิม ย็อง-ซัมคิม แด-จุงประเทศฟิลิปปินส์ประเทศจีนประเทศไทยประเทศเกาหลีใต้แทกูโรมันคาทอลิกโรนัลด์ เรแกนโดยพฤตินัยโน แท-อูเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์เครื่องแบบนักเรียนเกาหลีใต้

ชเว กยู-ฮา

ว กยู-ฮา (Choi Kyu-hah; 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 — 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549) เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลีระหว่างปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและชเว กยู-ฮา · ดูเพิ่มเติม »

พัก ช็อง-ฮี

ัก ช็อง-ฮี (박정희, Bak Jeonghui; 30 กันยายน ค.ศ. 1917 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979) เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและพัก ช็อง-ฮี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลจี๋หลิน

มณฑลจี๋หลิน ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีชายแดนติดต่อกับมณฑลต่างๆ ทางใต้ติดกับเหลียวหนิง ตะวันตกติดกับมองโกเลียใน เหนือติดกับเฮยหลงเจียง และตะวันออกติดต่อกับรัสเซียและคาบสมุทรเกาหลีโดยมีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงเป็นเส้นเขตแดน มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชุน(长春)มีเนื้อที่ 187,400 ก.ม. ประชากร 27,090,000 คน ความหนาแน่น 145 คนต่อตารางกิโลเมตร ค่าจีดีพี 295.8 พันล้านเหรินหมินปี้ หรือเฉลี่ย 10,900 เหรินเหมินปี้ต่อประชากรหนึ่งคน (ข้อมูล พ.ศ. 2547) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและมณฑลจี๋หลิน · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประธานาธิบดีเกาหลีใต้

รายนามประธานาธิบดีเกาหลีใต้.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและรายนามประธานาธิบดีเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจู

วนการเรียกร้องประชาธิปไตยในควังจู (ฮันกึล: 광주 민주화 운동, ฮันจา: 光州民主化運動, Gwangju Democratization Movement) เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยหรือการก่อการกำเริบโดยประชาชนในเกาหลีใต้ ถือเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีร่วมสมัย นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลี เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองควังจู เมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ขณะนั้นเกาหลีใต้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ภายหลังการเสียชีวิตของประธานาธิบดี นายพลพัก จองฮี หลังถูกยิงโดยคิม แจเกียว หัวหน้าสำนักข่าวกรองของเกาหลี นายพลช็อน ดู-ฮวัน หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของกองทัพบก ได้ร่วมมือกับนายพลโน แท-อู แม่ทัพที่คุมกองกำลังด้านชายแดนเกาหลีเหนือ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ทำให้ประชาชนทั่วประเทศก่อความเคลื่อนไหวคัดค้าน นายพลช็อน ดู-ฮวัน และนายพลโน แท-อู ต้องสั่งการให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือที่เมืองควังจู ที่นักศึกษาและประชาชนร่วมมือกันต้านทานกองทัพได้อย่างเข้มแข็ง ช็อน ดู-ฮวัน ประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและขบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตยควังจู · ดูเพิ่มเติม »

ควังจู

วังจู (ชื่ออย่างเป็นทางการ มหานครควังจู; (광주광역시; Gwangju) เป็นเมืองใหญ่เป็นอับดับที่ 6 ของประเทศเกาหลีใต้ มีฐานะเป็นมหานครขึ้นโดยตรงกับกระทรวงมหาดไทย เมืองควังจูเคยเป็นเมืองหลวงของจังหวัดจอลลาใต้ จนกระทั่งศาลากลางจังหวัดได้ย้ายไปยังหมู่บ้านนามัค ในเมืองชนบทมูอัน ในปี 2548 ควัง (광, ฮันจา 光) หมายถึง "แสงสว่าง" และ จู (주, ฮันจา 州) หมายถึง "จังหวัด" พื้นที่ทิวทัศน์ที่สวยงามในพื้นที่รอบนอกของเมืองเป็นแหล่งกำเนิดของคาซา (gasa) ซึ่งเป็นรูปแบบกวีดั้งเดิมของเกาหลี พื้นที่ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่เพาะปลูกของภูมิภาคช็อลลา โดยเมืองมีชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารเกาหลีหลายอย่าง.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและควังจู · ดูเพิ่มเติม »

คอราซอน อากีโน

มาเรีย คอราซอน ซูมูลอง คอฆวงโค อากีโน (María Corazón Sumulong Cojuangco Aquino, เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2476 ถึงแก่อสัญกรรม 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552) หรือรู้จักกันดีในชื่อ คอรีย์ อากีโน (Cory Aquino) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่สิบเอ็ดของประเทศฟิลิปปินส์ระหว่างปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ถึงปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์และของทวีปเอเชีย นางอากีโนขึ้นบริหารประเทศหลังจากที่นางนำแนวร่วมปฏิวัติพลังประชาชน โค่นล้มเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ที่คุมอำนาจมานาน 20 ปี ในสมัยนางอากีโนก็มีรัฐประหารนองเลือดหลายหน แต่ก็ผ่านอำนาจไปสู่นายพลฟิเดล รามอส ได้อย่างราบรื่นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งการตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมืองของนางก็เนื่องมาจาก นายเบนนิโย่ อากีโน จูเนียร์ ผู้เป็นสามีของนางถูกลอบสังหารหลังจากเดินทางกลับประเทศ นางอากีโนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากเข้ารับการรักษาตัวจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานหลายปี ซึ่งงานศพของนางจัดขึ้นแบบรัฐพิธีและเปิดให้ประชาชนร่วมไว้อาลัยก่อนจะมีการแห่ไปทั่วกรุงมะนิลา ซึ่งประชาชนทั่วไปต่างแน่นขนัดตามสองข้างทางที่ขบวนผ่าน และทำพิธีฝังแบบส่วนตัว นอกจากนี้ทางรัฐบาลได้มีการประกาศไว้อาลัยให้นางด้วยการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 10 วัน.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและคอราซอน อากีโน · ดูเพิ่มเติม »

คิม ย็อง-ซัม

ม ย็อง-ซัม (Kim Young-sam; 20 ธันวาคม พ.ศ. 2470 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558) เป็นนักการเมืองชาวเกาหลีใต้ และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 7 ของสาธารณรัฐเกาหลี ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและคิม ย็อง-ซัม · ดูเพิ่มเติม »

คิม แด-จุง

ม แด-จุง (김대중, Kim Dae-jung) (6 มกราคม พ.ศ. 2467 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 8 ของประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและคิม แด-จุง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

แทกู

แทกู (대구광역시; Daegu) เป็นพื้นที่นครบาลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของเกาหลี เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของประเทศ ด้วยจำนวนประชากรกว่าสองล้านห้าแสนคน แตกูยังเป็นศูนย์กลางการทอผ้าของประเทศ และเป็นเมืองที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ในปี..2002 ตลอดจนเป็นศูนย์การค้าพืชสมุนไพรนานาชนิด โดยมีสถานพยาบาลแผนตะวันออกกว่า 300 แห่งที่ใช้สมุนไพรเหล่านี้ในการรักษา ตลอดจนมีร้านขายยาสมุนไพร และร้านปรุงสมุนไพรรวมอยู่ด้วย เมืองแทกูมีหอคอยที่มีความสูงชื่อ วูบัง ตั้งตระหง่านอยู่ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองนี้ได้เป็นอย่างดี ตลอดจนมีภูเขาพัลกงซาน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมือง.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและแทกู · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรนัลด์ เรแกน

รนัลด์ วิลสัน เรแกน (Ronald Wilson Reagan; 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 40 (พ.ศ. 2524–2532) สังกัดพรรครีพับลิกัน นอกจากนี้เรแกนยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 33 (พ.ศ. 2510-พ.ศ. 2518) ก่อนหน้านั้นเขาเคยเป็นผู้ประกาศข่าวและนักแสดงมาก่อน เรแกนเกิดในเมือง ตัมปีโก, รัฐอิลลินอยส์ เติบโตมาในดิกซัน แรแกนได้ศึกษาเข้าที่มหาวิทยาลัย Eureka โดยได้หารายได้จากศิลปศาสตรบัณฑิต ปริญญาในสาขาเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยา หลังจากสำเร็จการศึกษา เรแกนได้ย้ายไปยัง รัฐไอโอวา โดยทำหน้าที่เป็นผู้กระจายเสียงทางวิทยุ หลังจากในปี พ.ศ. 2480 เรแกนได้ไปยังเมือง ลอสแอนเจลิส เมื่อเรแกนเริ่มทำงานโดยการเป็นนักแสดง โดยเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์และครั้งสุดท้ายในวิทยุ หนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่นที่สุดของเขามีดังนี้ Knute Rockne, All American (2483), Kings Row (2485), and Bedtime for Bonzo (2494) เรแกนทำหน้าที่เป็นประธานของสมาคมนักแสดงหน้าจอและต่อมาเป็นโฆษกสำหรับ General Electric (GE) จุดเริ่มต้นของแรแกนในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของเขาสำหรับจีอี แต่เดิมเขาเป็นสมาชิกของพรรคเดโมแครต (สหรัฐอเมริกา) แต่เนื่องจากฝ่ายขยับแพลตฟอร์มในระหว่างปี พ.ศ. 2493 เปลี่ยนไปอยู่ในพรรคริพับลิกัน (สหรัฐอเมริกา) ใน พ.ศ. 2505 หลังจากการส่งมอบคำพูดที่เร้าใจในการสนับสนุนของผู้สมัครประธานาธิบดี แบรี่ โกรวอทเธอร์ ในปี พ.ศ. 2507, เขาถูกชักชวนให้ไปหาผู้ว่าจ้างแคลิฟอเนีย, เขาชนะสองปีและอีกครั้งในปี พ.ศ. 2513 เขาก็พ่ายแพ้ในระยะของเขาสำหรับพรรคริพับลิกันเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2511 และในปี พ.ศ. 2519.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและโรนัลด์ เรแกน · ดูเพิ่มเติม »

โดยพฤตินัย

ตินัย (De facto) หมายความว่า "by fact" หรือตามความเป็นจริง ซึ่งตั้งใจที่จะหมายความว่า "ในทางปฏิบัติหรือตามความเป็นจริง ที่อาจจะมิได้เป็นไปตามกฎหมายที่วางไว้" “โดยพฤตินัย” มักจะใช้คู่กับ “โดยนิตินัย” (de jure) เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย, การปกครอง หรือวิธี (เช่นมาตรฐาน) ที่พบในประสบการณ์ที่สร้างหรือวิวัฒนาการขึ้นนอกเหนือไปจากในกรอบของกฎหมาย เมื่อใช้ในกิจการที่เกี่ยวกับกฎหมาย “โดยนิตินัย” จะหมายถึงสิ่งที่กฎหมายกำหนด และ “โดยพฤตินัย” ก็จะหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับวลี "for all intents and purposes" ("สรุปโดยทั่วไปแล้ว") หรือ "in fact" ("ตามความเป็นจริง") ในทางการปกครอง "de facto government" อาจจะหมายถึงรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับโดยนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นคำที่ใช้สถานการณ์ที่ไม่มีกฎหรือมาตรฐานแต่มีการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและโดยพฤตินัย · ดูเพิ่มเติม »

โน แท-อู

น แท-อู (Roh Tae-woo; 4 ธันวาคม พ.ศ. 2475 -) เป็นอดีตนายพลของกองทัพบกเกาหลีใต้และนักการเมือง เขาเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ลำดับที่ 6 (2531-2536) โนเป็นเพื่อนกับช็อน ดู-ฮวัน ตั้งแต่อยู่สมัยมัธยมปลายที่เมืองแดกู และในสมัยวัยรุ่นเขายังเป็นผู้เล่นรักบี้ที่ยอดเยี่ยมของสมาคมอีกด้วย, retrieved 19 August 2009.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและโน แท-อู · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

กาหลีภายใต้การปกครองของมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น หรือ เกาหลีของญี่ปุ่น หมายถึงช่วงเวลาที่แผ่นดินเกาหลีที่มีสถานะเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ในปี..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (Knight and Dame of the Most Auspicious Order of the Rajamitrabhorn) เรียกโดยย่อว่า "ร.ม.." เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 โดยเหตุที่ว่าได้มีการผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๙, ตอน ๕๒ ก, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องแบบนักเรียนเกาหลีใต้

นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของประเทศเกาหลีใต้จะสวมเครื่องแบบที่เรียกว่า กโยบก (교복) โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนในระดับประถมศึกษายกเว้นโรงเรียนเอกชนบางแห่งจะไม่มีเครื่องแบบนักเรียน โดยเครื่องแบบนักเรียนนี้จะเริ่มถูกกำหนดให้ใส่อย่างเคร่งครัดโดยเริ่มตั้งแต่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป โดยเครื่องแบบนักเรียนของประเทศเกาหลีใต้มีพื้นฐานมาจากเครื่องแบบแนวตะวันตก ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย เสื้อเชิ้ต, เสื้อสูทและเนคไท พร้อมด้วยกระโปรงสำหรับนักเรียนหญิงและกางเกงขายาวสีเทาสำหรับนักเรียนชาย เครื่องแบบนักเรียนนี้ดาราผู้มีชื่อเสียงมักสวมใส่เพื่อเจาะตลาดวัยรุ่นหรือเพื่อขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความบันเทิงที่ให้วัยรุ่น เครื่องแบบนักเรียนนั้นถูกใช้ไปในการพบปะกันในเรื่องของความรักใคร่อยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้เองเครื่องแบบนักเรียนจนกลายเป็นบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกันในการแสดงลักษณะออกในลักษณะของแฟชั่นระหว่างนักเรียนด้วยกัน.

ใหม่!!: ช็อน ดู-ฮวันและเครื่องแบบนักเรียนเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chun Doo-hwanชอน ดูฮวานชุน ดูฮวานเชิน ดู ฮวาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »