โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชื่อโดเมน

ดัชนี ชื่อโดเมน

ื่อโดเมน (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบโดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึงเลขที่อยู่ไอพี ของชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งอาจใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนได้ ชื่อโดเมนเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่เล็กถือว่าเหมือนกัน 1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลาย ๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้.

19 ความสัมพันธ์: ภาษาอังกฤษมหัพภาคยัติภังค์ยูอาร์แอลดีเอ็นเอสความไวต่ออักษรใหญ่เล็กคอมพิวเตอร์ประเทศไทยโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดตามหมวดเลขที่อยู่ไอพีเวิลด์ไวด์เว็บเว็บไซต์เอชทีทีพีเครื่องลูกข่าย.com.net.org.th

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหัพภาค

มหัพภาค หรือ เครื่องหมายจุด (full stop หรือ period หรือ dot) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นจุดโดยเขียนไว้ที่ระดับเดียวกับเส้นบรรทั.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและมหัพภาค · ดูเพิ่มเติม »

ยัติภังค์

ัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีด (hyphen) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนสั้นๆ กลางบรรทัด ยาวไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากยาวกว่านั้นจะเรียกว่ายัต.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและยัติภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูอาร์แอล

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ Tim Berners-Lee, Roy T. Fielding, Larry Masinter.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและยูอาร์แอล · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอส

ระบบการตั้งชื่อโดเมน หรือ ดีเอ็นเอส (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่าดีเอ็นเอสสามารถหมายถึง บริการชื่อโดเมน (Domain Name Service) ก็ได้ ส่วนเครื่องบริการจะเรียกว่า เครื่องบริการชื่อ หรือ เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ประโยชน์ที่สำคัญของดีเอ็นเอส คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org).

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและดีเอ็นเอส · ดูเพิ่มเติม »

ความไวต่ออักษรใหญ่เล็ก

วามไวต่ออักษรใหญ่เล็ก (case sensitivity) หมายถึงภาวะที่คำคำหนึ่งที่มีความหมายแตกต่างกันเนื่องจากการใช้อักษรตัวใหญ่และอักษรตัวเล็กต่างกัน คำที่เขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีความหมายเหมือนกับที่เขียนด้วยอักษรตัวเล็กเสมอไป ตัวอย่างเช่น Bill คือชื่อแรกของอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ในขณะที่ bill อาจหมายถึงร่างกฎหมายที่เสนอสภา (เป็นตัวอย่างความหมายหนึ่ง) หรืออย่างเช่น Polish หมายถึงชาวโปแลนด์หรือที่เกี่ยวกับประเทศโปแลนด์ ในขณะที่ polish แปลว่าขัดเงา เป็นต้น ภาวะที่ตรงข้ามกับ "ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก" (case-sensitive) ก็คือ "ไม่ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก" (case-insensitive) หมายความว่า ไม่ว่าจะใช้อักษรตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ให้ความหมายเดียวกัน ตัวอย่างข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ที่โดยปกติไวต่ออักษรใหญ่เล็ก อาท.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและความไวต่ออักษรใหญ่เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ

แผนที่โลกพร้อมโดเมนระบบบนสุด โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ เป็นโดเมนระดับบนสุดซึ่งใช้โดยประเทศหรือเขตปกครอง ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว โดยส่วนใหญ่จะใช้ตามรหัสประเทศ ISO 3166-1 alpha-2 เช่น th สำหรับประเทศไท.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนระดับบนสุดตามหมวด

โดเมนระดับบนสุดตามหมวด หรือ โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไป (generic top-level domain ย่อเป็น gTLD) เป็นประเภทหนึ่งของโดเมนระดับบนสุดซึ่งเก็บรักษาโดยองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) สำหรับการใช้ในระบบการตั้งชื่อโดเมนของอินเทอร์เน็ต กลุ่มหลักของโดเมนระดับบนสุดตามหมวดนี้ประกอบด้วยโดเมน com, info, net และ org แต่นอกเหนือไปจากนี้ โดเมน biz, name, และ pro ยังได้ถูกพิจารณาว่าเป็นโดเมนตามหมวดด้วย อย่างไรก็ตาม โดเมนเหล่านี้ถูกจัดว่าถูกจำกัด เนื่องจากการจดทะเบียนโดเมนเหล่านี้จะต้องแสดงหลักฐานคุณสมบัติภายในแนวปฏิบัติของแต่ละโดเมน ในอดีต กลุ่มของโดเมนระดับบนสุดตามหมวดรวมไปถึงโดเมน ซึ่งสร้างขั้นในช่วงพัฒนาระบบการตั้งชื่อโดเมนในระยะแรก ซึ่งปัจจุบันได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยงานหรือองค์การจัดประเภทและถูกจำกัดประเภทของผู้ขอจดทะเบียนโดยเฉพาะ ดังนั้น โดเมน edu, gov, int, และ mil จึงได้ถูกพิจารณาในปัจจุบันว่าเป็นโดเมนระดับบนสุดที่ได้รับการสนับสนุน ซึ่งคล้ายกับชื่อโดเมนที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อแสดงสาระของเว็บนั้น (เช่น.jobs) กลุ่มของโดเมนที่ไม่มีการตั้งชื่อตามภูมิศาสตร์หรือประเทศ (ดู โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ) มักจะถูกเรียกด้วยคำว่า โดเมนระดับบนสุดตามหมวด หมวดหมู่:โดเมนระดับบนสุด.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและโดเมนระดับบนสุดตามหมวด · ดูเพิ่มเติม »

เลขที่อยู่ไอพี

ลขที่อยู่ไอพี (IP address: Internet Protocol address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร RFC 760, DOD Standard Internet Protocol (January 1980) เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "ชื่อใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" RFC 791, Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification (September 1981) แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน..

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและเลขที่อยู่ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและเว็บไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องลูกข่าย

เครื่องลูกข่าย หรือ ไคลเอนต์ (client) เป็นระบบหรือแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ได้ คำว่าไคลเอนต์เริ่มมีการใช้เรียกถึงคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในตัวเองได้ แต่สามารถใช้งานโปรแกรมนั้นผ่านทางระบบเครือข่าย หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและเครื่องลูกข่าย · ดูเพิ่มเติม »

.com

.com เป็นโดเมนระดับบนสุดตามหมวด (gTLD) ในระบบการตั้งชื่อโดเมนบนอินเทอร์เน็ต ย่อมาจากคำว่า commercial แสดงถึงวัตถุประสงค์ในตอนเริ่มแรกว่าใช้สำหรับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์โดยทั่วไป ในปัจจุบันไม่มีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับผู้ขอจัดตั้งชื่อโดเมน (จดโดเมน).com ดังนั้นบุคคล บริษัท องค์กร หรือกลุ่มบุคคลใด ๆ ก็สามารถจดโดเมนที่เป็น.com ได้ ปัจจุบัน.com เป็นโดเมนที่มีการใช้งานมากที่สุด โดเมน.com เริ่มแรกดูแลจัดการโดยกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันนี้บริหารงานโดยเวอริไซน์ การจดทะเบียน.com สามารถกระทำผ่านผู้รับจดทะเบียนที่ได้รับรองโดยบรรษัทอินเทอร์เน็ตว่าด้วยการกำหนดชื่อและหมายเลข (ICANN) ชื่อที่จดทะเบียนจะได้รับการยอมรับให้เป็นชื่อโดเมนสากล โดเมน.com เป็นโดเมนระดับบนสุดตามหมวด ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและ.com · ดูเพิ่มเติม »

.net

.net เป็นโดเมนระดับบนสุดตามหมวด (gTLD) ในระบบการตั้งชื่อโดเมนบนอินเทอร์เน็ต ย่อมาจากคำว่า network หมวดหมู่:โดเมนระดับบนสุด.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและ.net · ดูเพิ่มเติม »

.org

.org เป็นโดเมนระดับบนสุดตามหมวด (gTLD) ในระบบการตั้งชื่อโดเมนบนอินเทอร์เน็ต ย่อมาจากคำว่า organization หมวดหมู่:โดเมนระดับบนสุด.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและ.org · ดูเพิ่มเติม »

.th

.th เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศไทย บริหารโดยบริษัท ที.เอ.นิค จำกัด (THNIC) ควบคุมโดย มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (Thai Network Information Center Foundation) โดเมน.th เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีสถานะการใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไท.

ใหม่!!: ชื่อโดเมนและ.th · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Domain nameDomainnameโดเมน เนมโดเมนเนม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »