เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชีราซ

ดัชนี ชีราซ

ีราซ (شیراز Shīrāz) เป็นเมืองที่มีประชากรเป็นอันดับ 6 ของประเทศอิหร่าน และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟาร์ส ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในภูมิภาคมามากกว่า 1 พันปี ชีราซ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองแห่งกวี วรรณกรรม ไวน์และดอกไม้ เป็นเมืองอุตสาหกรรม ซีเมนต์ น้ำตาล ปุ๋ย สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ไม้ งานโลหะ และพรม ยังมีโรงกลั่นน้ำมันและเป็นเมืองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็น 53% ของประเทศ เป็นสถานที่เกิดของกวีชื่อ ซาดี ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ ฮาเฟซ ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในสมัยกลางเป็นเมืองที่มีความสำคัญและมีความสำคัญสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10-11 เมืองนี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อย ๆ ครั้ง มีซากปรักหักพังของเมืองโบราณชื่อ เปอร์เซโปลิส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 55 กิโลเมตร.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: ชะฮ์ริซตอนกวีวรรณกรรมจังหวัดฟาร์สดอกซาดีซีเมนต์ประเทศอิหร่านปุ๋ยน้ำตาลไวน์

  2. ชีรอซ
  3. เมืองในจังหวัดฟอร์ส

ชะฮ์ริซตอน

มืองของอิหร่าน เคาน์ตีในอิหร่านเรียกว่า ชะฮ์ริซตอน (ภาษาشهرستان‎ šahrestân)เป็นการปกครองแบบรัฐขนาดใหญ่กว่า(อุซตอน) คำว่า ชะฮ์ริซตอน มาจากภาษาเปอร์เซีย คำว่า ชะฮ์ร šahr ("เมือง, จังหวัด")และ อุซตอน stân ("มลรัฐ")ได้ “Country เขตปกครองท้องถิ่น” น่าจะให้ความหมายที่ใกล้เคียงกับ shahrestan ได้มากที่สุด เขตปกครองท้องถิ่นทั้งหลายของอิหร่านแบ่งออกเป็นหนึ่งบัคช์ (بخش)อำเภอหรือมากกว่า, เขตปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปจะรวมเมืองสองเมือง(شهر šahr)กับตำบลที่รวมหมู่บ้านต่างๆเข้าด้วยกัน(دهستان dehestân)ซึ่งเป็นการจับกลุ่มของหมู่บ้านที่อยู่ติดกัน หนึ่งเมืองที่อยู่ในเขตปกครองจะเป็นเมืองหลวงของเขตปกครองนั้น แต่ละเขตปกครองจะถูกควบคุมโดยสำนักงานที่เรียกว่า ฟัรมอนดอรี (ผู้ว่าการ) ซึ่งประสานงานสาธารณะต่างๆกับหน่วยงานทั้งหลาย โดยมีฟัรมอนดอร(ผู้ว่าการ)และเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดอยู่ในภาคส่วน ในบรรดามลรัฐต่างๆของอิหร่าน ฟอร์ซมีจำนวนชะฮ์ริซตอนมากที่สุด (23) ขณะที่กุมเป็นชะฮ์ริซตอนเดียวที่กลายเป็นมลรัฐ ในปี.

ดู ชีราซและชะฮ์ริซตอน

กวี

กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปร..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง.

ดู ชีราซและกวี

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ดู ชีราซและวรรณกรรม

จังหวัดฟาร์ส

ฟาร์ส (Fars, فارس Fârs) เป็นหนึ่งใน 30 จังหวัดของอิหร่าน หมวดหมู่:ประเทศอิหร่าน.

ดู ชีราซและจังหวัดฟาร์ส

ดอก

ปสเตอร์แสดงภาพดอกไม้ต่าง ๆ สิบสองชนิด ดอก เป็นโครงสร้างสืบพันธุ์พบในพืชดอก (พืชในหมวด Magnoliophyta) หน้าที่ทางชีววิทยาของดอก คือ เพื่อออกผลการสืบพันธุ์ ปกติโดยให้กลไกสำหรับการผสมระหว่างสเปิร์มกับไข่ ดอกอาจอำนวยให้การผสมข้ามดอก (outcrossing) หรือให้เกิดการผสมในดอกเดียวกัน (selfing) ก็ได้ บางดอกผลิตส่วนแพร่พันธุ์โดยไม่มีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกมีอับสปอร์และเป็นที่ซึ่งแกมีโทไฟต์เจริญ ดอกให้ผลและเมล็ด หลายดอกวิวัฒนาให้ดึงดูดสัตว์ เพื่อที่จะให้สัตว์เหล่านั้นเป็นพาหะส่งผ่านเรณู นอกเหนือไปจากการอำนวยการสืบพันธุ์ของพืชดอกแล้ว มนุษย์ยังชื่นชมและใช้เพื่อตกแต่งสิ่งแวดล้อมให้งาม และยังเป็นวัตถุแห่งความรัก พิธีกรรม ศาสนาแพทยศาสตร์และเป็นแหล่งอาหาร.

ดู ชีราซและดอก

ซาดี

ซาดี (Tsade) เป็นอักษรตัวที่ 18 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรูצ‎ และอักษรอาหรับ ص (ศอด صَادْ)‎ เสียงเริ่มแรกของอักษรนี้น่าจะเป็น แต่ต่อมาเสียงนี้ต่างออกไปในภาษาตระกูลเซมิติกสมัยใหม่ มีที่มาจากอักษรคานาอันไนต์สามตัว ภาษาอาหรับยังคงแยกหน่วยเสียงเหล่านั้นเป็นอักษรสามตัวคือ ṣād และ ṭāʼ ใช้แสดงเสียงต่างกันสามเสียง (ḍād, ẓāʼ) ในภาษาอราเมอิก เสียงใกล้เคียงของอักษรนี้ถูกแทนที่ด้วย ʻayin และ ṭēt ดังนั้น ในภาษาฮีบรู ereẓ ארץ (โลก) เป็น arʻāʼ ארעא ในภาษาอราเมอิก.

ดู ชีราซและซาดี

ซีเมนต์

ซีเมนต์ ซีเมนต์ หรือ ปูนซีเมนต์ (cement) เป็นวัสดุผสานสำหรับผลิตคอนกรีต มีส่วนผสมหลักคือ หินปูนและดินเหนียว และมีผสมอื่นเช่น ซิลิก้า อลูมิน่า สินแร่เหล็ก ยิปซั่ม และสารเพิ่มพิเศษอื่น ๆ ปูนซีเมนต์ มีการค้นพบว่ามีการใช้งานในสมัยมาซิโดเนียและโรมัน และได้หายไปจนกระทั่งในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการคิดค้นขึ้นมาจากหลายคน จนกระทั่งผลงานของแอสป์ดินได้มีการจดสิทธิบัตรของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เกิดจากการค้นคว้า ของ โยเซฟ แอสป์ดิน ชาวอังกฤษ ช่วงเวลากว่า 13 ปี พ.ศ.

ดู ชีราซและซีเมนต์

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ดู ชีราซและประเทศอิหร่าน

ปุ๋ย

A large, modern fertilizer spreader ปุ๋ย เป็นผลผลิตทางการเกษตรทีเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น ปุ๋ย หมายถึง สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด ได้แก่ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ในจำนวนนี้ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน(โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หรือเรียกว่าธาตุอาหารหลัก) พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ส่วนไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พืชต้องการในปริมาณมากเมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ (ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย) และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้โดยการให้ปุ๋ย ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 1.

ดู ชีราซและปุ๋ย

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ดู ชีราซและน้ำตาล

ไวน์

วน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร ไวน์ (wine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม.

ดู ชีราซและไวน์

ดูเพิ่มเติม

ชีรอซ

เมืองในจังหวัดฟอร์ส

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Shiraz