เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชายคา

ดัชนี ชายคา

ือส่วนของหลังคาที่ยื่นออกจากตัวอาคาร ทำหน้าที่ป้องกันแดด และฝน ในงานสถาปัตยกรรมไทย เช่นเรือนไทย หรือโบสถ์ ฯลฯ ส่วนที่เป็นจันทันเอก ที่ยื่นออกมาเป็นชายคา มักจะมีไม้ค้ำยัน หรือคันทวย ที่ค้ำยันส่วนยื่นนี้ไว้เพื่อความแข็งแรงของโครงหลังคา และเพิ่มความสวยงามให้แก่อาคาร ที่ปลายของชายคามักจะปิดทับหัวจันทันส่วนปลายด้วยวัสดุ เรียกกันว่าเชิงชาย และจะมีวัสดุปิดเชิงชายอีกชิ้นหนึ่ง เรียกว่า ปิดเชิงชาย หรือปิดนก โดยทั่วไปมักจะเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ในปัจจุบันจะมีวัสดุประเภทไม้เทียม ซึ่งเป็นวัสดุทำเลียนแบบไม้ ซึ่งมีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี เชิงชายส่วนของชายคาด้านสกัดของอาคารจะเรียกว่าปั้นลม ในอาคารเรียนไทยจะเรียกส่วนของปั้นลมนี้ว่า ตัวเหง.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: สถาปัตยกรรมไทยครีบยันคันทวยเรือนไทย

สถาปัตยกรรมไทย

ระตำหนักทับขวัญ ใน พระราชวังสนามจันทร์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยภาคกลาง สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร.

ดู ชายคาและสถาปัตยกรรมไทย

ครีบยัน

รีบยันในงานก่อสร้าง มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง ครีบยัน (buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทล.

ดู ชายคาและครีบยัน

คันทวย

ผังคันทวยไม้ที่ Yingzao Fashi จากตำราการก่อสร้าง คันทวย หรือ ทวย (corbel) คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมทำหน้าที่ค้ำยันชายคา ระเบียง หรือ หลังคาของสิ่งก่อสร้าง.

ดู ชายคาและคันทวย

เรือนไทย

รือนไทย แสงอรุณ สยามสมาคม กรุงเทพ เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเรือนเครื่องสับภาคกลางผสมกับการตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง เรือนไทย คือบ้านทรงไทย ที่แต่เดิมที่นิยมใช้วัสดุจำพวกไม้ ไปจนถึงเครื่องก่ออิฐถือปูน โดยมีลักษณะร่วมที่เหมือนหรือแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ได้แก่ เรือนไทยภาคเหนือ เรือนไทยภาคกลาง เรือนไทยภาคอีสาน และ เรือนไทยภาคใต้ ซึ่งล้วนสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูม.

ดู ชายคาและเรือนไทย