โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอตโต ดี บอนโดเน

ดัชนี จอตโต ดี บอนโดเน

อตโต ดี บอนโดเน จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone) (ค.ศ. 1267 – 8 มกราคม ค.ศ. 1337), เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม จอตโต (Giotto), เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงาน ที่ก่อให้เกิดกระแสใหม่ในสังคมที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในที่สุด จอตโต ดี บอนโดเนเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับจิโอวานนี วิลลานิผู้กล่าวว่าจอตโตเป็นช่างผู้มีความสามารถที่สุดในสมัยนั้น เป็นผู้วาดภาพตามกฎของธรรมชาติ และจอตโตได้รับเงินเดีอนจากรัฐบาลเมืองฟลอเรนซ์เนื่องมาจากความสามารถBartlett, Kenneth R. (1992).

11 ความสัมพันธ์: ฟลอเรนซ์พ.ศ. 1810พ.ศ. 1880ศิลปะไบแซนไทน์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปนิกจอร์โจ วาซารีจิตรกรรมปาโดวาโบสถ์น้อยสโกรเวญญี8 มกราคม

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1810

ทธศักราช 1810 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและพ.ศ. 1810 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1880

ทธศักราช 1880 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและพ.ศ. 1880 · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ วาซารี

อร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) (30 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 - 27 มิถุนายน ค.ศ. 1574) เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ผลงานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคืองานบันทึก ประวัติชีวิตและงานของศิลปินอิตาลีก่อนหน้าและร่วมสมัยในชื่อ “ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น” (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ชีวิตศิลปิน” (The Vite)) ซึ่งเป็นงานที่ยังมีการอ้างอิงกันในการเขียนประวัติชีวิตศิลปินหรือการวิจัยจิตรกรรมและประติมากรรมกันอยู่จนทุกวันนี้.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและจอร์โจ วาซารี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปาโดวา

แพดัว (Padua) หรือ ปาโดวา (Padova) เป็นเมืองในแคว้นเวเนโตที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี แพดัวเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแพดัว และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการโทรคมนาคมของบริเวณนี้ แพดัวมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 212,500 คน บางครั้งแพดัวก็รวมเป็นส่วนหนึ่งของเวนิส ภายในปริมณฑลแพดัว-เวนิส ปริมณฑลซึ่งทำให้มีประชากรรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 1,600,000 คน.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและปาโดวา · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยสโกรเวญญี

ปลสโครเวนยี หรือ ชาเปลอารีนา (Cappella degli Scrovegni, Scrovegni Chapel หรือ Arena Chapel) เป็นชาเปลของนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ กอธิค ฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก ชาเปลสโครเวนยีมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1305 ที่เป็นงานศิลปะชิ้นเอกที่มีความสำคัญที่สุดในศิลปะตะวันตก ชาเปลอุทิศให้ “พระแม่มารีคาริตา” (Santa Maria della Carità) ในโอกาสการสมโภชน์การประกาศของเทพในปี ค.ศ. 1305 จิตรกรรมฝาผนังของจอตโตเป็นภาพชีวิตของพระแม่มารีเพื่อฉลองบทบาทในการไถ่บาปให้แก่มนุษยชาติของพระองค์ ชาเปลรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ชาเปลอารีนา” เพราะก่อตั้งบนที่ดินที่ซื้อโดยเอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีที่ติดกับโรงละครโรมัน (Amphitheatre) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการแห่ฉลองการสมโภชน์การประกาศของเทพมาเป็นเวลานานก่อนที่จะมาสร้างชาเปลแล้ว ในโอกาสวันอุทิศมาร์เคตโตดาปาโดวาก็ประพันธ์บทสรรเสริญ (Motet) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1305 เอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีผู้มีอาชีพให้ยืมเงินเป็นผู้สั่งให้สร้างชาเปลส่วนตัวนี้ติดกับคฤหาสน์ของครอบครัวในบริเวณที่ดินที่กว้างขวาง กล่าวกันว่าเอ็นริโคสร้างชาเปลนี้เพื่อแก้บาปให้บิดา เรจินาลโด เดกลิ สโครเวนยีบิดาของสโครเวนยีเป็นคนขูดเลือด (usurer) ที่ดานเตกล่าวถึงว่าเป็นลำดับหนึ่งในเจ็ดลำดับของ “โทษภูมิ” ในมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่าเอ็นริโคเองก็คิดดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อ ฉะนั้นการสร้างชาเปลจึงอาจจะเป็นการแก้บาปของตนเองก็เป็นได้ อนุสรณ์ของเอ็นริโคอยู่ในบริเวณมุขตะวันออกของชาเปล และภาพของเอ็นริโคปรากฏในภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ในการถวายชาเปลจำลองแก่พระแม่มารี แม้ว่าจะเป็นชาเปลส่วนตัวของตระกูลแต่ก็ใช้ในโอกาสการฉลองการประกาศของเทพสำหรับสาธารณชนด้วย นอกจากจะมีงานจิตรกรรมของจอตโตแล้วชาเปลก็ไม่มีสิ่งตกแต่งอื่นใด มีเพดานเป็นแบบเพดานโค้งประทุน ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” เขียนบนผนังด้านในเหนือประตูทางเข้าทั้งผนัง แต่ละผนังจัดเป็นสามระดับของกลุ่มจิตรกรรม แต่ละระดับมีที่กว้างพอสำหรับภาพสี่ภาพที่แต่ละภาพกว้างสองตารางเมตร ด้านที่หันไปทางแท่นบูชาเริ่มเรื่องจากตอนบนขวาของผนังที่เป็นฉากชีวิตของพระแม่มารีที่รวมทั้งการประกาศของเทพแก่พระมารดาถึงการกำเนิดของพระองค์ และการนำพระองค์เข้าวัดเป็นครั้งแรก เรื่องดำเนินต่อไปจนถึงการประสูติของพระเยซู, ความทุกข์ทรมานของพระเยซู และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขน สิ่งที่มีลักษณะเด่นของจิตรกรรมชุดนี้คือการแสดงอารมณ์อันรุนแรงของภาพ, ลักษณะตัวแบบ และ ความเป็นธรรมชาติ จอตโตแยกภาพจากกันโดยการวาดสิ่งตกแต่งทางสถาปัตยกรรมเป็นภาพหินอ่อนและคูห.

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและโบสถ์น้อยสโกรเวญญี · ดูเพิ่มเติม »

8 มกราคม

วันที่ 8 มกราคม เป็นวันที่ 8 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 357 วันในปีนั้น (358 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: จอตโต ดี บอนโดเนและ8 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GiottoGiotto di Bondoneจิออโต้ ดิ บอนโดเน่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »