โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดฮีลากังอีโลโคส

ดัชนี จังหวัดฮีลากังอีโลโคส

ังหวัดฮีลากังอีโลโคส (อีโลกาโน: Makin-amianan nga Ilocos) เป็นจังหวัดในเขตอีโลโคสของประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือลาวัก อยู่ทางมุมตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน และเป็นจังหวัดบ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้ใช้กฎหมายเบ็ดเสร็จในช่วงครึ่งหลังของการดำรงตำแหน่ง แต่ได้รับความนิยมน้อยในจังหวัดของเขา นอกจากนี้ ฮีลากังอีโลโคสยังเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวภาคเหนือ โดยเป็นที่ตั้งของโรงแรมฟอร์ตอิโลคอนเดียและเมืองปาก.

16 ความสัมพันธ์: บารังไกย์พรรคนาซิโอนาลิสตาภาษาฟิลิปีโนภาษาอังกฤษภาษาอีโลกาโนลาวักจังหวัดอาบราจังหวัดคากายันจังหวัดตีโมกอีโลโคสทะเลจีนใต้ซังกูเนียงปันลาลาวีกันประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประเทศฟิลิปปินส์เฟอร์ดินานด์ มาร์กอสเกาะลูซอนเขตอีโลโคส

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซิโอนาลิสตา

รรคนาซิโอนาลิสตา (Nacionalista Party) เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของฟิลิปปินส์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นในยุคที่เป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาเมื่อ..

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและพรรคนาซิโอนาลิสตา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

ลาวัก

ลาวัก, (อีโลกาโน: Siudad ti Laoag) เป็นนครระดับที่ 3 และเป็นเมืองหลักของจังหวัดฮีลากังอีโลโคส ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติลาวัก ตัวนครถูกล้อมรอบด้วยเทศบาล 5 แห่ง ติดกับตีนเขาคอร์ดิลเลราเซ็นทรัลทางทิศตะวันออก และทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ลาวักมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยจะเป็นฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน และฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ซึ่งจะมีพายุไต้ฝุ่นเกิดในฤดูกาลนี้.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและลาวัก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอาบรา

ังหวัดอาบรา (อีโลกาโน: Probinsia ti Abra; Lalawigan ng Abra) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตบริหารคอร์ดิลเยราของประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือบันเกด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังอีโลโคสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, จังหวัดอาปาเยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดคาลิงกาทางทิศตะวันออก, จังหวัดบูลูบุนดูคินทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจังหวัดตีโมกอีโลโคสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและจังหวัดอาบรา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคากายัน

ังหวัดคากายัน (อีโลกาโน: Probinsia ti Cagayan, ฟิลิปีโน: Lalawigan ng Cagayan) เป็นจังหวัดในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน และยังรวมพื้นที่ของหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ จังหวัดคากายันอยู่ติดกับจังหวัดฮีลากังอีโลโคสและอาปาเยาทางทิศตะวันตก และติดกับจังหวัดกาลิงกาและอีซาเบลาทางทิศใต้ เมืองหลักคือตูเกกาเรา จังหวัดมีพื้นที่ 9,295.75 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของเขตลัมบักนางคากายัน สำหรับในปี..

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและจังหวัดคากายัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตีโมกอีโลโคส

ังหวัดตีโมกอีโลโคส (อีโลกาโน: Makin-abagatan nga Ilocos) เป็นจังหวัดหนึ่งของเขตอีโลโคส เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักคือเมืองวีกัน ซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำเมสตีโซ จังหวัดตีโมกอีโลโคสมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฮีลากังอีโลโคสและอาบราทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดเมาน์เทนทางทิศตะวันออก, ติดกับจังหวัดลาอูนีโยนและเบงแกตทางทิศใต้ และติดกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก จังหวัดตีโมกอีโลโคส ก่อตั้งโดยชาวสเปนนามว่า Juan de Salcedo ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและจังหวัดตีโมกอีโลโคส · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและทะเลจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (Pangulo ng Pilipinas) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีเป็นผู้นำของฝ่ายบริหารของรัฐบาลฟิลิปปินส์และเป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในภาษาฟิลิปีโนจะเรียกว่า Ang Pangulo หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า Presidente.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

ฟอร์ดินานด์ มาร์กอส กับนายจอร์จ ชูลต์ซ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เฟอร์ดินานด์ เอ็มมานูเอล เอดราลิน มาร์กอส (Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos) (11 กันยายน ค.ศ. 1917 - 28 กันยายน ค.ศ. 1989) เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ เคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965-ค.ศ. 1986 เป็นเวลาเกือบ 21 ปี และพ้นจากตำแหน่งโดยการหลบหนีออกนอกประเทศ หลังการลุกฮือของประชาชน ในปี ค.ศ. 1986 ซึ่งนำโดยนางคอราซอน อากีโน ภริยาหม้ายของนายเบนิโญ อากีโน อดีตนักการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก การปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งเป็นเงินราวๆ 5-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุดรองจาก ซูฮาร์โต เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ถึงแก่อสัญกรรมที่โฮโนลูลู ฮาวาย ขณะลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก่อนถึงแก่อสัญกรรมกำลังถูกทางการฟิลิปปินส์ ยื่นเรื่องขออายัดทรัพย์สิน และดำเนินคดีในข้อหาใช้อิทธิพลคอรัปชั่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เขตอีโลโคส

ตอีโลโคส (Rehiyon ng Ilocos; Ilocos Region; อีโลคาโน: Rehion/Deppaar ti Ilocos; ปังกาซีนัน: Sagor na Baybay na Luzon) หรือ เขตที่ 1 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน ติดกับเขตบริหารคอร์ดิลเยราทางทิศตะวันออก, เขตลัมบักนางคากายันทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ และเขตกิตนางลูโซน‎ทางทิศใต้ ส่วนทิศตะวันตกติดกับทะเลจีนใต้ จังหวัดของเขตนี้ได้แก่ ฮีลากังอีโลโคส, ตีโมกอีโลโคส, ลาอูนีโยน และปังกาซีนัน ศูนย์กลางของเขตอยู่ที่เมืองซันเฟร์นันโดในจังหวัดลาอูนีโยน ประชากรร้อยละ 66.36 ของเขตนี้พูดอีโลคาโน รองลงมาคือภาษาปังกาซีนัน (ร้อยละ 27.05) และภาษาตากาล็อก (ร้อยละ 3.21).

ใหม่!!: จังหวัดฮีลากังอีโลโคสและเขตอีโลโคส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »