โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่

ดัชนี จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่

ักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ (Neo-Assyrian Empire) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียที่เริ่มขึ้นในปี 934 ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อปี 609 ก่อนคริสต์ศักราช ระหว่างช่วงเวลานี้อัสซีเรียเป็นมหาอำนาจในบริเวณดังกล่าวระหว่างบาบิโลเนียและอำนาจรองอื่น ๆ แต่ก็มิได้มีอำนาจอย่างจริงจังมาจนถึงการปฏิรูปโดย Tiglath-Pileser III ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่ออัสซีเรียกลายมาเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิอันใหญ่หลวง ในสมัยอัสซีเรียกลางระหว่างยุคสัมริดตอนปลายอัสซีเรียเป็นเพียงราชอาณาจักรรองทางตอนเหนือของเมโสโปเตมีย (อิรักปัจจุบัน) ที่แข่งขันการมีอิทธิพลกับราชอาณาจักรอื่นในทางตอนใต้ของเมโสโปเตมียและบาบิโลเนียคู่อริ เริ่มด้วยการรณรงค์ของอดัด-นิรานิที่ 2 (Adad-nirari II) อัสซีเรียก็เริ่มขยายอำนาจและเริ่มกลายเป็นศัตรูสำคัญต่อความมั่นคงของอียิปต์ จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่เป็นจักรวรรดิที่สืบต่อจากสมัยอัสซีเรียกลาง ที่รุ่งเรืองระหว่างศตวรรษที่ 14 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราช นักวิชาการบางท่านเช่นริชาร์ด เนลสัน ฟราย์มีความเห็นว่าจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่เป็นจักรวรรดิที่แท้จริงจักรวรรดิแรกในประวัติศาสตร์ ระหว่างช่วงเวลานี้ภาษาอราเมอิกก็กลายมาเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิร่วมกับภาษาอัคคาเดียน ในที่สุดจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ก็มาล่มสลายลงเมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่รุ่งเรืองขึ้น นินาเวห์เสียเมืองในปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช กว่าห้าสิบปีต่อมาทั้งบาบิโลเนียและอัสซีเรียก็กลายเป็นจังหวัดของจักรวรรดิเปอร์เชีย แม้ว่าอัสซีเรียในรัชสมัยของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) จะทำลายวัฒนธรรมของเอลาม แต่วัฒนธรรมของอัสซีเรียก็มิได้มามีอิทธิพลต่อชนมีดีสและเปอร์เชียของกลุ่มชนอินโด-อิหร่านต่อม.

13 ความสัมพันธ์: บาบิโลเนียภาษาแอกแคดภาษาแอราเมอิกยุคเหล็กราชาธิปไตยจักรวรรดิจักรวรรดิเปอร์เชียทวีปเอเชียตะวันออกกลางประเทศอิรักประเทศอิหร่านเมโสโปเตเมียเอลาม

บาบิโลเนีย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และบาบิโลเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอกแคด

ษาแอกแคด (lišānum akkadītum; Akkadian language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกใช้พูดในเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งชาวบาบิโลเนียและชาวอัสซีเรีย ชื่อของภาษานี้มาจากเมืองแอกแคดซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเมโสโปเตเมี.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และภาษาแอกแคด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเหล็ก

หล็ก เกิดหลังจากยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เหล็กในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ยุคต่อมาหลังยุคเหล็ก คือ สมัยโบราณ.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และยุคเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เอลาม

อลาม หรือ จักรวรรดิเอลาไมท์ (Elam หรือ Elamite Empire) เป็นอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบัน เอลามเป็นศูนย์กลางทางตะวันตกสุดและทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบันที่ครอบคลุมตั้งแต่ที่ลุ่มคูเซสสถาน (Khuzestan) และ จังหวัดอิลาม (Ilam Province) ที่เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “เอลาม” ไปจนถึงจิรอฟท์ในจังหวัดเคอร์มาน (Kerman province) และเบอร์เนดในซาโบล (Zabol) และรวมทั้งบางส่วนเล็กน้อยของทางใต้ของอิรัก จักรวรรดิเอลาไมท์รุ่งเรืองอยู่ระหว่าง 2800 ปีจนถึง 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมโสโปเตเมียเอลามเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในตะวันออกโบราณระหว่างยุคทองแดง (Chalcolithic) การเริ่มใช้บันทึกโดยตัวอักษรจากตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราชประจวบกับประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย ในสมัยเอลาไมท์โบราณ (ยุคสัมริดตอนกลาง) เอลามประกอบด้วยกลุ่มราชอาณาจักรบนที่ราบสูงอิหร่านที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อันชาน และจากราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชศูนย์กลางก็ย้ายไปอยู่ที่ซูซา (Susa) บนที่ราบต่ำคูเซสสถาน วัฒนธรรมของเอลามมีบทบาทสำคัญในหมู่ชนกูเทียน (Gutian people) โดยเฉพาะในสมัยที่จักรวรรดิอคีเมนียะห์เข้ามาแทนที่และภาษาเอลาไมท์ยังคงใช้เป็นภาษาราชการ ภาษาเอลาไมท์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาใดๆ และดูเหมือนจะเป็นภาษาอิสระเช่นภาษาสุเมเรียน แต่นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน (Elamo-Dravidian).

ใหม่!!: จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่และเอลาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Neo-AssyriaNeo-AssyrianNeo-Assyrian EmpireRise of Neo-Assyriaอัสซีเรียใหม่ความรุ่งเรืองของอัสซีเรียใหม่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »