โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

ดัชนี พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

แผนที่แสดงเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นสีแดง เขต พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) ที่รู้จักกันโดยเป็นอู่อารยธรรม เป็นบริเวณรูปจันทร์เสี้ยวที่รวมแผ่นดินที่ชื้นและอุดมสมบูรณ์โดยเทียบกับบริเวณข้างเคียงในเอเชียตะวันตกที่เป็นเขตกึ่งแห้งแล้ง และรวมบริเวณรอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นบริเวณอยู่ติดกับเขตเอเชียน้อยหรือที่เรียกว่าอานาโตเลีย คำนี้เริ่มใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ แล้วต่อมาจึงกลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในโลกตะวันตกแม้ในสาขาภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และในเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต ความหมายทั้งหมดที่มีของคำนี้ ล้วนรวมเขตเมโสโปเตเมีย คือผืนแผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส และรวมเขตลิแวนต์ คือฝั่งทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันที่มีดินแดนร่วมอยู่ในเขตนี้รวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีและทางทิศตะวันตกของอิหร่าน เขตนี้บ่อยครั้งเรียกว่าอู่อารยธรรม (cradle of civilization) เพราะเป็นเขตที่เกิดพัฒนาการเป็นอารยธรรมมนุษย์แรก ๆ สุด ซึ่งเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยทรัพยากรน้ำและเกษตรกรรมที่มีอยู่ในเขต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในเขตนี้รวมทั้งการพัฒนาภาษาเขียน การทำแก้ว ล้อ และระบบชลประทาน.

110 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งชลประทานบาบิโลเนียชาวบาสก์พันธุศาสตร์พืชฤดูเดียวกรรมพันธุ์กลุ่มภาษาเซมิติกกะโหลกศีรษะการสูญพันธุ์การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคการเมืองการเขียนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฝ้ายภาษายูการิติกภาษาอโมไรต์ภาษาซูเมอร์ภาษาแอกแคดภูมิศาสตร์ภูมิอากาศภูเขามลพิษทางดินมหาวิทยาลัยชิคาโกมหาสมุทรอินเดียมองโกเลียมะเดื่อมานุษยวิทยาม้ายุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์ยุคหินใหม่ยุคน้ำแข็งยุโรปใต้รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบฤดูใบไม้ผลิละติจูดลิแวนต์ล้อวัววิวัฒนาการของมนุษย์สกุล (ชีววิทยา)สมมติฐานสมัยไพลสโตซีนสปีชีส์หมูหมู่เกาะคะแนรีหินปูนอัสซีเรีย...อารยธรรมอานาโตเลียอ่าวเปอร์เซียธัญพืชถั่วลันเตาถั่วลูกไก่ทวีปยุโรปทวีปยูเรเชียทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียทะเลทรายสะฮาราทะเลทรายอาหรับทะเลดำทะเลแดงทะเลแคสเปียนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทุ่งหญ้าข้าวบาร์เลย์ข้าวสาลีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคริสต์ศักราชความหลากหลายทางชีวภาพคอเคซัสคาบสมุทรอาหรับคาบสมุทรไครเมียตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตะวันออกใกล้ประวัติศาสตร์ประเทศอิรักประเทศอิสราเอลประเทศอิหร่านประเทศอียิปต์ประเทศจอร์แดนประเทศคูเวตประเทศตุรกีประเทศซีเรียประเทศไซปรัสประเทศเลบานอนปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้านักล่า-เก็บของป่าแพะแกะแก้วแม่น้ำแม่น้ำจอร์แดนแม่น้ำไนล์แอฟริกาใต้สะฮาราแอฟริกาเหนือใบหน้าโบราณสถานโบราณคดีโลกตะวันตกโลกเก่าไมล์ไฮสกูลเกษตรกรรมเมโสโปเตเมียเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เทคโนโลยี ขยายดัชนี (60 มากกว่า) »

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ชลประทาน

ลประทานเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ ใช้เพื่อช่วยให้พืชผลการเกษตรเติบโต บำรุงรักษาภูมิประเทศ และปลูกพืชคืนสภาพดินเปลี่ยนสภาพในพื้นที่แห้งแล้งระหว่างช่วงฝนตกไม่เพียงพอ นอกเหนือจากนี้ ชลประทานยังมีประโยชน์อื่นในการผลิตพืชผล ซึ่งรวมถึงการปกป้องพืชจากความเย็น การยับยั้งการเติบโตของวัชพืชในไร่ธัญพืช และการช่วยป้องกันดินอัดตัวคายน้ำ ระบบชลประทานยังใช้ยับยั้งฝุ่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลและในการเหมืองแร่ ชลประทานมักจะศึกษาร่วมกับการระบายน้ำซึ่งเป็นการน้ำผิวดินหรือใต้ออกตามธรรมชาติหรือโดยการประดิษฐ์ของมนุษย์จากบริเวณที่กำหนด ชลประทานเป็นสิ่งสำคัญของการเกษตรมานานกว่า 5000 ปีและเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมหลายวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ชลประทานเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคัมทั่วโลกจากเอเชียจนถึงสหรัฐอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และชลประทาน · ดูเพิ่มเติม »

บาบิโลเนีย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และบาบิโลเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวบาสก์

วบาสก์ (euskaldunak, vascos, basques) เป็นชนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาพิเรนีส บนชายฝั่งอ่าวบิสเคย์และข้ามไปถึงทางตอนเหนือ-กลางของประเทศสเปน และทางใต้-ตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส พวกบาสก์โดยทั่วไปเป็นพวกนับถือศาสนาคริสต์ที่เคร่งมากและมีภาษาเป็นของตนเองซึ่งแตกต่างจากสเปนและฝรั่ง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และชาวบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พืชฤดูเดียว

ั่วลันเตา พืชปีเดียว (Annual plant) หรือไม้ล้มลุกเป็นพืชที่มักจะเพาะ โต ออกดอก และตายภายในหนึ่งฤดูหรือหนึ่งปี พืชปีเดียวที่แท้จริงอาจจะมีอายุเกินหนึ่งปีถ้าป้องกันให้ผลิตเมล็ด พืชบางชนิดที่ไม่ออกเมล็ดอาจจะถือว่าเป็นพืชปีเดียวแม้ว่าจะไม่ออกดอก ในการทำสวนพืชปีเดียวมักจะหมายถึงพืชที่ปลูกนอกบ้านระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนและมีอายุเพียงฤดูเดียว พืชที่ปลูกเป็นอาหารเป็นหรือปลูกให้เป็นพืชปีเดียวที่รวมทั้งธัญพืชเกือบทุกชนิด พืชยืนต้น (perennial plant) บางชนิด และ พืชสองปี (biennial plant) อาจจะปลูกในสวนเป็นพืชปีเดียวเพื่อความสะดวก โดยเฉพาะถ้าไม่ใช่พืชที่เป็นพืชทนอากาศ (hardiness plant) ที่ไม่สามารถทนอากาศท้องถิ่นได้ แครอท, ขึ้นฉ่าย และ พาร์สลีย์ (parsley) เป็นพืชสองปีที่แท้จริงแต่ปลูกเป็นพืชปีเดียวเพื่อจะให้ได้ราก ลำต้น และ ใบที่กินได้ ส่วนมะเขือเทศ, มันเทศ และ พริกใหญ่ (bell pepper) เป็นพืชยืนต้นแต่ไม่ใช่พืชที่แข็งแรงและมักจะเป็นพืชที่ปลูกแบบพืชปีเดียว ตัวอย่างของพืชฤดูเดียวที่แท้จริงได้แก่ข้าวโพด, ผักกาด, ถั่วลันเตา, คอลิฟลาวเวอร์, แตงโม, ถั่ว, บานชื่น และ ดาวเรือง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และพืชฤดูเดียว · ดูเพิ่มเติม »

กรรมพันธุ์

กรรมพัน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และกรรมพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การเขียน

การเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงการกระจายทางสถิติของรูปแบบสภาพอากาศเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นกินเวลานาน (เช่น หลายสิบปีถึงหลายล้านปี) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเฉลี่ย หรือความแปรผันของเวลาของสภาพอากาศเกี่ยวกับภาวะเฉลี่ยที่กินเวลานาน (คือ มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้นหรือน้อยลง) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีสาเหตุจากปัจจัยอย่างกระบวนการชีวนะ ความแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ยังถูกระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล่าสุด มักเรียกว่า "โลกร้อน".

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ฝ้าย

การเก็บเกี่ยวฝ้ายในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อราว พ.ศ. 2433 ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุลกอสไซเพียมในวงศ์ชบา เป็นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการนำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เอเชีย และที่ที่อยู่ในโซนร้อนทั่ว ๆ ไป ฝ้ายเป็นพืชที่ให้เส้นใยโดยเส้นใยของฝ้ายเกือบทั้งหมดเป็นเซลลูโลส คำว่า Cotton ซึ่งหมายถึงฝ้ายในภาษาอังกฤษมาจากคำภาษาอาหรับว่า (al) qutn قُطْن เปลือกหุ้มเมล็ดฝ้ายมีเพกทินซึ่งประกอบด้วยกรดกาแลกทูโรนิกและเมทิลเอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวดูดซับตะกั่วในน้ำเสียได้ โดยถ้าล้างด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนใช้จะดูดซับได้มากขึ้น.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และฝ้าย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายูการิติก

ษายูการิติก เป็นภาษาที่พบหลักฐานในจารึกที่พบในบริเวณนครรัฐยูการิต ที่ขุดค้นพบในประเทศซีเรีย เป็นภาษาที่มีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนายูดายและศาสนาโบราณอื่นๆในบริเวณนั้น เป็นภาษากลุ่มเซมิติก เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มที่ต่างจากอักษรรูปลิ่มอื่นเพราะใช้แทนเสียงพยัญชนะ โดยมีพยัญชนะ 22 ตัว พบจารึกอักษรนี้ในช่วง 857 – 657 ปีก่อนพุทธศักราช นครรัฐยูการิตถูกทำลายเมื่อราว 637 – 627 ปีก่อนพุทธศักร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภาษายูการิติก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอโมไรต์

ษาอโมไรต์ เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่พูดโดยเผ่าอโมไรต์ในประวัติศาสตร์ยุคต้นของตะวันออกกลาง เป็นที่รู้จักจากบันทึกของชาวอัคคาเดียระหว่างช่วงที่ชาวอโมไรต์เข้าปกครองบาบิโลเนีย (2,357 – 457 ก่อนพุทธศักราช) และพบในบันทึกของชาวอียิปต์ยุคต้น ชื่อสถานที่แห่งหนึ่งคือ "Snir" (שְׂנִיר) เป็นที่รู้จักจากคัมภีร์ไบเบิล ลักษณะทั่วไปของภาษานี้ได้แก.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภาษาอโมไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซูเมอร์

ษาซูเมอร์ (Sumerian language) เป็นภาษาพูดของชาวซูเมอร์ในเมโสโปเตเมียตอนใต้เมื่อประมาณ 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษานี้ถูกแทนที่ด้วยภาษาแอกแคดเมื่อราว 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช แต่ยังคงใช้เป็นภาษาทางศาสนา วรรณคดีและวิทยาศาสตร์ในเมโสโปเตเมียจนถึงราว..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภาษาซูเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอกแคด

ษาแอกแคด (lišānum akkadītum; Akkadian language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกใช้พูดในเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งชาวบาบิโลเนียและชาวอัสซีเรีย ชื่อของภาษานี้มาจากเมืองแอกแคดซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเมโสโปเตเมี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภาษาแอกแคด · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษทางดิน

ลหะหนักเป็นสาเหตุให้เกิดการปนเปื้อนในดิน มลพิษทางดิน หรือการปนเปื้อนดิน (soil pollution) เกิดจากการมีสารเคมีที่มนุษย์สร้างหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในสิ่งแวดล้อมดินธรรมชาติ ตรงแบบเกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรม สารเคมีเกษตรกรรมหรือการกำจัดของเสียอย่างไม่เหมาะสม สารเคมีที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ ไฮโดรคาร์บอนปิโตรเลียม พอลินิวเคลียร์อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (เช่น แนฟทาลีนและเบนโซไพโรซีน) ตัวทำละลาย ยาฆ่าแมลง ตะกั่วและโลหะหนักอื่น การปนเปื้อนสัมพันธ์กับระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมและระดับการใช้สารเคมี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และมลพิษทางดิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยชิคาโก

ตราสัญลักษณ์รูปนกฟินิกซ์ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก. มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago หรือที่เรียกโดยย่อว่า UC หรือ UofC) ตั้งอยู่ในชุมชนไฮด์พาร์ก (Hyde Park) ซึ่งอยู่ทางใต้ของใจกลางเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประมาณ 6 ไมล์ เป็นมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัย (Research University) ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะในด้านวิชาการ และผลงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เกี่ยวข้องได้รับ รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมากที.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และมหาวิทยาลัยชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อ

มะเดื่อ หรือ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F. racemosa) ที่เป็นไม้พื้นเมืองในอินเดียและศรีลังกา มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ใบเดี่ยว ด้านหนึ่งหยาบ อีกด้านหนึ่งมีขนอ่อน ลำต้นมียางสีขาว ผลออกเป็นกระจุก กลมแป้นหรือรูปไข่ เปลือกบาง ผลอ่อนสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดงหรือชมพูแล้วแต่พันธุ์ เนื้อในสีแดงเข้ม สุกแล้วมีกลิ่นหอม การปลูกเป็นการค้าเริ่มที่เอเชียตะวันตก แล้วจึงแพร่หลายสู่ซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และมะเดื่อ · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ม้า

ม้า เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัย พวก "เลือดร้อน (hot blood) " ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood) " เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood) " ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ เทพนิยายเกี่ยวกับม้า เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ถูกวีรบุรุษเพอร์ซีอุสฟันคอขาดตาย ในขณะที่นางสิ้นใจตายนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลยซักคน ตอนที่มันเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่มันวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงาม คือน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และม้า · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสัมฤทธิ์

ำริดคือยุคที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ ชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นกว่ายุคหิน รู้จักการทำสำริดเป็นเครื่องประดับ ยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิฮิตไทต์ และอาณาจักรไมซีเนียล่มสลาย ยุคต่อมาหลังยุคสัมฤทธิ์ คือ ยุคเหล็ก.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และยุคสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินใหม่

หมู่บ้านในสมัยยุคหินใหม่ ในสกอตแลนด์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปยุโรป ยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10200-4500/2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม พืชเพาะปลูกที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แพะ แกะ และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน และดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ยุคหลังจากยุคหินใหม่คือ ยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคสำริด (Bronze Age).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และยุคหินใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคน้ำแข็ง

แผ่นน้ำแข็งที่ขยายระหว่างยุคน้ำแข็ง ภาพนี้เป็นแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย (Ice Age)เป็นช่วงเวลาที่มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างยาวนานบนพิ้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกและโลกเกือบถึงจุดจบ ทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งในผืนทวีป แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งอัลไพน์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย จะมีหิมะตกลงมาอย่างหนักทั่วผืนผิวโลก ทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น เมื่อพื้นผิวมหาสมุทรถูกปกคลุมด้วยหิมะ ทำให้ใต้ท้องมหาสมุทรไม่ได้รับแสงอาทิตย์ หรือได้รับน้อยมาก และหลังจากนั้นได้มีการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ขึ้น และพ่นเถ้าถ่านออกมาจากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก ทำให้โลกเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน(Green House Effect)แล้วน้ำแข็ง และหิมะที่ปกคลุมทั่วโลกนั้นได้ละลายกลายเป็นน้ำ เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ ทำให้น้ำที่ละลายไปนั้นไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่พื้นดินดังเดิม.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และยุคน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปใต้

รปใต้ ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบไปด้วย 16 ประเทศดังนี้.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และยุโรปใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ

ีสันแสนสวยงามในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) หรือที่เรียกกันว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) มีชื่อไทยว่า วสันตฤดู เป็นฤดูในเขตอบอุ่นและเขตหนาว มีสภาพอากาศปลอดโปร่ง โดยทั่วไป ฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี ในขณะที่ในซีกโลกใต้ จะมีระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และฤดูใบไม้ผลิ · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

ลิแวนต์

ริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ บริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ปัจจุบันที่ประกอบด้วยจอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ และซีเรีย ลิแวนต์ (Levant; بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ล้อ

รถสงคราม ที่มีล้อ ของชาวสุเมเรียน ล้อ คือวัตถุรูปวงกลมถูกยึดไว้ด้วยเพลาที่บริเวณจุดศูนย์กลาง ทำให้ล้อสามารถหมุนรอบเพลาได้ มักใช้ประกอบกับยานพาหนะเพื่อให้เคลื่อนที่ได้โดยง่ายบนพื้น มีหลักฐานว่าล้อถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรก โดยชาวสุเมเรียนเมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล ล้อในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ หลายขนาดโดยทำจากวัสดุหลายอย่างตามการใช้งาน เช่น ล้อเกวียนทำด้วยไม้ ล้อแม็ก ล้อรถยนต์ ที่จะมียางรถยนต์หุ้ม ล้อรถไฟที่ทำด้วยเหล็ก ล้อใส่ตู้ที่ทำจากพลาสติก เป็นต้น หมวดหมู่:วิศวกรรมเครื่องกล หมวดหมู่:เครื่องทุ่นแรง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และล้อ · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และวัว · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู

หมู หรือ สุกร เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และหมู · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคะแนรี

หมู่เกาะคะแนรี (Canary Islands), คะแนรีส์ (Canaries) หรือ กานาเรียส (Canarias) เป็นหมู่เกาะของราชอาณาจักรสเปน ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ 7 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (โมร็อกโกและเวสเทิร์นสะฮารา) และมีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองของสเปน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และหมู่เกาะคะแนรี · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรม

มือง เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมมนุษย์ อารยธรรม โดยทั่วไปอาจหมายถึงความเจริญทางวัฒนธรรม แต่สำหรับทางด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม อาจหมายถึงการศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆในระบบสังคมนั้นๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและการล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่น.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และอารยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธัญพืช

้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากธัญพืช ธัญพืช คือพืชที่มนุษย์เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ด นั่นคือ แมงลัก ลูกเดือย ข้าวโพด ถั่วต่างๆ เม็ดขนุน สะตอ มะม่วงหิมพานต์ ข้าวประเภทต่างๆ มีการเพาะปลูกธัญพืชทั่วโลกมากกว่าผลผลิตทางเกษตรชนิดใดๆ และเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานแก่มนุษย์มากที่สุด ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ธัญพืชจะเป็นอาหารหลักของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้ว การบริโภคธัญพืชจะน้อยลง ส่วนใหญ่ประเทศพัฒนาแล้วจะบริโภคธัญพืชแปลงรูป คือ ขนมปังนั่นเอง ประโยชน์ของธัญพืช การที่เราควรใช้ ธัญพืชหรือเมล็ดพืชเต็มรูป เพื่อให้ได้พลังชีวิตทั้งหมด ของเมล็ดพืช หากธัญพืชถูกขัดสี บี้ หรือบด มันจะสูญเสียพลังในการงอก แป้งที่แตกออกมา ไม่เพียงแต่เสียพลังชีวิตของมัน แต่จะทำให้ธัญพืชถูกทำลายโดยการอ๊อกซิเดชั่นไขมันที่ดีที่เป็นส่วนประกอบ ย้อนกลับไปเมื่อยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ทำให้เนื้อ นม เนย ไข่ กลายเป็นของหายาก และมีราคาแพง ประชาชนส่วนใหญ่จึงต้องรับประทานข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์เป็นหลัก ปรากฏว่าช่วงนั้นชาวยุโรปเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งน้อยมาก ทั้งนี้ เนื่องจาก ข้าวเมืองหนาวทั้ง 2 ชนิดนี้มีสารแอนติออกซิเดนต์สูง จึงช่วยป้องกันความเสื่อมและการถูกทำลายของเซลล์ทั่วร่างกายอันเป็นสาเหตุของมะเร็งได้ - See more at: http://travel.truelife.com/detail/95385#sthash.0Vmuo8rJ.dpuf.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และธัญพืช · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลันเตา

''Pisum sativum'' ถั่วลันเตา จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และถั่วลันเตา · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลูกไก่

ั่วลูกไก่ หรือ ถั่วหัวช้าง (chickpea) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว เมล็ดมีโปรตีนสูง เป็นถั่วที่ปลูกในตะวันออกกลางมานานราว 7,500 ปีมาแล้ว ถั่วลูกไก่เป็นถั่วที่มีบทบาทสำคัญในอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารตะวันออกกลาง และอาหารอินเดีย มีสองชนิดคือ กาบูลี เมล็ดใหญ่ สีครีมนวล เปลือกเรียบ และแบบเดซี ขนาดเล็กกว่า สีเข้ม เปลือกขรุขระกว่า ทั้งสองแบบเมล็ดเป็นทรงกลม มีจะงอยแหลม ใช้ทำอาหารได้หลายอย่างเช่น บดละเอียดทำฮุมมุส บดหยาบผสมเครื่องปรุงแล้วทอดเรียก ฟาลาเฟล ใส่ในแกง สลัด ผัดหรือทอดกับเนื้อสัตว.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และถั่วลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทวีปยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทะเลทรายสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายอาหรับ

ทะเลทรายอาหรับ (Arabian Desert) เป็นทะเลทรายที่อยู่ในคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบียและมีขอบเขตถึงประเทศจอร์แดน อิรัก คูเวต กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และเยเมน มีพื้นที่ประมาณ 2,330,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตรงกลางมีทะเลทรายรุบัลคอลี อาห.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทะเลทรายอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคสเปียน

ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 371,000 ตร.กม. และจุดลึกที่สุดลึกประมาณ 980 เมตร ทะเลแคสเปียนมีลักษณะร่วมของทั้งทะเลและทะเลสาบ บางครั้งจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามน้ำในทะเลแคสเปียนกลับไม่ได้เป็นน้ำจืด มีปริมาณเกลือประมาณ 1.2% ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณเกลือในน้ำทะเลทั่วไป.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทะเลแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ทุ่งหญ้า

ทุ่งหญ้า (grassland) เป็นพื้นที่ซึ่งพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นหญ้า (Poaceae) แต่ยังพบพืชวงศ์กก (Cyperaceae และ Juncaceae) ได้ ทุ่งหญิงเกิดตามธรรมชาติในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ทุ่งหญ้าพบในภูมินิเวศ (ecoregion) ส่วนใหญ่ของโลก ตัวอย่างเช่น มีการจำแนกห้าภูมินิเวศบนดินทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น สะวันนาและชีวนิเวศทุ่งไม้พุ่ม (shrubland) เป็นห้าประเภท ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดเขตชีวภาพของโลก หมวดหมู่:ที่ราบ หมวดหมู่:หญ้า.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และทุ่งหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวบาร์เลย์

้าวบาร์เลย์ เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในตระกูลหญ้า มีประโยชน์มากทั้งแก่มนุษย์และสัตว์ ทั้งยังสามารถแปรรูปทำเป็นแป้งและเบียร์ได้ด้วย เป็นพืชที่สามารถสะสมอะลูมิเนียมได้ 1,000 mg/kgGrauer & Horst 1990,McCutcheon & Schnoor 2003, Phytoremediation. New Jersey, John Wiley & Sons pg 891.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และข้าวบาร์เลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวสาลี

้าวสาลี (Triticum spp.) Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และข้าวสาลี · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

คอเคซัส

คอเคซัส (อังกฤษ:Caucasus) เป็นเทือกเขาสูงขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยมียอดเขาเอลบรูสที่มีความสูง มียอดสูงสุดคือยอดเขาเอลบรุส สูง 9642 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ได้ชื่อว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปสูงกว่ายอดเขามองบลังค์แห่งเทือกเขาแอลป์ในประเทศฝรั่งเศส เทือกเขาคอเคซัสแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติแบ่งพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชียให้ปรากฎเด่นชัดในสังคมโลก จนทำให้เกิดปรากฏการณ์กลุ่มประเทศสองทวีปขึ้นมาบนโลกใบนี้ภายใต้ร่มเงาของเทือกเขาคอเคซัส ได้แก่ ประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซีย จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ยอดเขาเอลบรุส หมวดหมู่:ยุโรปตะวันออก หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และคอเคซัส · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอาหรับ

ทางอากาศของคาบสมุทรอาหรับ คาบสมุทรอาหรับ (Arabian Peninsula; شبه الجزيرة العربية หรือ جزيرة العرب) เป็นคาบสมุทรในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และอยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกา พื้นที่ส่วนมากเป็นทะเลทราย พื้นที่ส่วนนี้เป็นดินแดนสำคัญของตะวันออกกลาง เนื่องจากเต็มไปด้วยทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับติดกับทะเลแดง ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ติดทะเลอาหรับ (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย) ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดอ่าวโอมานและอ่าวเปอร์เซี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และคาบสมุทรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไครเมีย

คาบสมุทรไครเมีย เป็นผืนดินขนาดใหญ่ทางชายฝั่งด้านเหนือของทะเลดำซึ่งแทบถูกน้ำล้อมรอบแทบทุกด้าน คาบสมุทรไครเมียตั้งอยู่ทางใต้ของแผ่นดินใหญ่ยูเครน และทางตะวันตกของเขตคูบันของรัสเซีย คาบสมุทรนี้ถูกสองทะเลล้อมรอบ คือ ทะเลดำและทะเลอะซอฟที่เล็กกว่าทางตะวันออก ติดต่อกับแผ่นดินใหญ่ยูเครนโดยคอคอดเปเรกอฟ (Isthmus of Perekop) และแยกจากยูบันด้วยช่องแคบเคิร์ช (Strait of Kerch) สันดอนจะงอยอะราบัด (Arabat Spit) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแผ่นดินเล็ก ๆ ที่แยกระบบลากูนชื่อ ซิวัช (Sivash) จากทะเลอะซอฟ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ไครเมีย หมวดหมู่:คาบสมุทร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และคาบสมุทรไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกใกล้

ตะวันออกใกล้ในบริบททางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ (Near East) เป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่ต่างกันระหว่างนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง และนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สื่อข่าวอีกฝ่ายหนึ่ง เดิมคำว่า "ตะวันออกใกล้" หมายถึงรัฐในคาบสมุทรบอลข่านทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป แต่ในปัจจุบันมักจะหมายถึงประเทศในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอิหร่านโดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ คำว่า “ตะวันออกใกล้” ที่ใช้โดยนักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ยุโรปหมายถึงบริเวณที่รวมทั้งอานาโตเลีย (บริเวณตุรกีที่อยู่ในเอเชีย), บริเวณเลแวนต์ (ซีเรีย, เลบานอน, จอร์แดน, ไซปรัส, อิสราเอล และดินแดนในปาเลสไตน์ (Palestinian territories)), เมโสโปเตเมีย (อิรัก) และคอเคซัสใต้ (จอร์เจีย, อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) แต่ในบริบททางการเมืองและการสื่อข่าว "ตะวันออกใกล้" หมายถึงจะรวมบริเวณที่กว้างกว่าของตะวันออกกลาง ขณะที่คำนี้หรือคำว่าเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นคำที่นิยมมากกว่าในบริบทของการศึกษาทางโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา และพันธุศาสตร์ของประชากร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และตะวันออกใกล้ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคูเวต

ูเวต (الكويت) หรือชื่อทางการคือ รัฐคูเวต (دولة الكويت) เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirate) ที่มีขนาดเล็กและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศคูเวต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไซปรัส

ซปรัส (Cyprus; Κύπρος คีโปรส; Kıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus; Κυπριακή Δημοκρατία; Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

นักล่า-เก็บของป่า

นักล่า-รวบรวมพืชผล (hunter-gatherer) หมายถึงมนุษย์ในสังคมที่ได้อาหารส่วนมากหรือทั้งหมด จากการเก็บพืชในป่าหรือล่าสัตว์ป่า เปรียบเทียบกับสังคมเกษตร ที่โดยหลักพึ่งพืชสัตว์พันธุ์ที่ปรับนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร การหากินวิธีนี้เป็นการปรับตัวแบบแรกและที่ยืนยงที่สุดของคน โดยเป็นวิธีหากินใน 90 เปอร์เซนต์ของประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่ว่าหลังจากการเกิดขึ้นของสังคมเกษตรกรรมโดยมากในโลก สังคมเกษตรและสังคมเลี้ยงสัตว์ก็ได้แทนที่หรือพิชิตสังคมนักล่า-รวบรวมพืชผล โดยมีกลุ่มที่จัดเป็นนักล่า-รวบรวมพืชผลเหลือเพียงไม่กี่สังคมในปัจจุบัน และหลายกลุ่มจริง ๆ ก็มีการปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้ว.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และนักล่า-เก็บของป่า · ดูเพิ่มเติม »

แพะ

แพะ เป็นชนิดย่อยของแพะซึ่งทำให้เชื่องจากแพะป่าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออก แพะนี้อยู่ในสกุล Bovidae และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกะเพราะต่างอยู่ในวงศ์ย่อยแกะและแพะ (Caprinae) มีแพะกว่า 300 สายพันธุ์Hirst, K. Kris.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแพะ · ดูเพิ่มเติม »

แกะ

ลูกแกะที่สวนสัตว์พาต้า แกะ เป็นสัตว์สี่เท้าเคี้ยวเอื้องและเลี้ยงลูกด้วยนม แกะเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนสัตว์กับเคี้ยวเอื้องส่วนใหญ่ แกะส่วนใหญ่เคยเป็นแกะป่าที่พบได้ตามป่าของเอเชียและยุโรป ซึ่งแกะป่าเป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ที่นำมาทำให้เชื่องเพื่อใช้งานเกษตรกรรม ขน หนัง เนื้อและนม ขนแกะเป็นเส้นใยจากสัตว์ที่ผู้คนใช้มากที่สุด ส่วนมากจะเก็บขนแกะด้วยการโกนขน เนื้อแกะจะมีทั้งเนื้อของลูกแกะและเนื้อของตัวโตเต็มวัย กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แกะบางพื้นที่กินดอกไม้และแมลงบางชนิด เช่น แกะภูเขา ส่วนใหญ่แกะจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่หนาวเย็น แถบภูเขาและพื้นที่ราบโล่ง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย อเมริกาตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศแคนาดา โดยมีการกระจายอยู่ตลอดแถบประเทศเขตหนาว ในโลกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่สายพันธุ์ดังเดิมจนถึง สายใหม่ที่ถูกผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ และสายพันธุ์ที่มนุษย์พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น ขนสัตว์, เนื้อ, นม.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแกะ · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว

ตัวหมากรุกที่ทำจากแก้ว แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้ SiO2 70% Na2O 15% CaO 8% และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำจอร์แดน

แม่น้ำจอร์แดน (ฮิบรู: נהר הירדן Nehar haYarden, نهر الأردن Nahr al-Urdun) เป็นแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตก มีความยาวทั้งสิ้น 251 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเดดซี ปัจจุบันถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน ในความเชื่อของชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูได้รับเข้าพิธีล้างจากนักบุญยอห์น แบปติสต์ ที่แม่น้ำแห่งนี้ อีกทั้งชื่อของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนก็มาจากชื่อแม่น้ำสายนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนล์

แผนที่แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ ในบริเวณอียิปต์ แม่น้ำไนล์ และ กรุงไคโรด้านหลัง แม่น้ำไนล์ (النيل อันนีล; Nile) เป็นแม่น้ำใน ทวีปแอฟริกา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบแหล่งต้นน้ำใหม่ที่ทำให้มีความยาวกว่าเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยแม่น้ำไนล์มีความยาวทั้งสิ้น 6,695 กิโลเมตร^~^.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศที่สหประชาชาติจัดเป็นแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 16 % ของพื้นดินของโลก โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และบางส่วนเป็นทะเลทร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแอฟริกาใต้สะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ใบหน้า

ใบหน้า เป็นส่วนสำคัญของศีรษะในสัตว์ ในกรณีใบหน้ามนุษย์ ประกอบด้วย ผม หน้าผาก คิ้ว ขนตา จมูก หู แก้ม ปาก ริมฝีปาก ร่องริมฝีปาก ขมับ ฟัน ผิวหนัง และคาง.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และใบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

โบราณสถาน

ีย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตัวอย่างโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี (archaeological site) เป็นสถานที่ที่ก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์หรือสถานที่ที่พบร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตที่มีคุณค่าในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และโบราณสถาน · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

โลกเก่า

ลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกเก่า (Old World) ประกอบด้วยทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของชาวยุโรป ชาวแอฟริกัน และชาวเอเชีย ก่อนการค้นพบทวีปอเมริกา ตรงข้ามกับ "โลกใหม่" ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปอเมริกาใต้และโอเชียเนี.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ไมล์

มล์ คือหน่วยมาตรฐานอังกฤษที่ใช้วัดระยะทาง มักย่อว่า mi จากภาษาอังกฤษ mile 1 ไมล์มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และไมล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮสกูล

นักเรียนไฮสคูลอเมริกันในห้องเรียน ไฮสกูล (high school) เป็นชื่อเรียกระบบการศึกษาภาคบังคับส่วนสุดท้าย มีลักษณะเหมือนกับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย โดยจะแตกต่างกันในระยะเวลาในการเรียนตั้งแต่ 3-5 ปี ในประเทศต่างๆที่ใช้ระบบไฮสกูล รวมถึง ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ใน อังกฤษ สิงคโปร์ และ ฮ่องกง เรียกว่า "เซเกินแดรีสกูล" (secondary school).

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และไฮสกูล · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ริเวณที่อาจนับได้ว่าเป็นบอลข่านและแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Asia) หรืออาจเรียกว่า เอเชียตะวันตก หรือ ตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง ล้อมรอบด้วยทะเล 5 แห่งคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลอาหรับ ทะเลแดง และดินแดนในภูมิภาคนี้มีความเจริญทางอารยธรรมอย่างมากเช่น อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 6,835,500 ตารางกิโลเมตร มีศาสนาที่สำคัญคือศาสนาอิสลาม ศาสนายูดายห์ของอิสราเอล และมีนับถือศาสนาคริสต์ในไซปรัส ปัจจุบันภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกแยกกันในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ใหม่!!: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์และเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fertile Crescentวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์บริเวณวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์บริเวณจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์แผ่นดินวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์แผ่นดินจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เขตวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เขตจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »