โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ดัชนี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

29 ความสัมพันธ์: การรวมชาติเยอรมันมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยเกิททิงเงินยุโรปภาคพื้นทวีปรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์รัฐสวัสดิการรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ราชอาณาจักรปรัสเซียสมาพันธรัฐเยอรมันสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือสังคมนิยมสงครามชเลสวิจครั้งที่สองสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนีจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันจักรวรรดิเยอรมันดยุกประเทศออสเตรียนักกฎหมายนายกรัฐมนตรีเยอรมนีนิกายลูเทอแรนไรชส์ทาค (จักรวรรดิเยอรมัน)เบอร์ลินเฟือสท์เคานต์

การรวมชาติเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมันระหว่างค.ศ. 1871–1918 การรวมชาติเยอรมัน (Deutsche Einigung) คือการที่รัฐเล็กน้อยต่างๆที่พูดภาษาเยอรมันถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน การรวมชาติมีขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและการรวมชาติเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน

มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (University of Göttingen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาวิทยาลัยเกออร์ก-เอากุสต์แห่งเกิททิงเงิน (Georg-August-Universität Göttingen) เป็นมหาวิทยาลัยในเมืองเกิททิงเงิน รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์

ลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (Schleswig-Holstein) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเยอรมนี มีเมืองคีลเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองลือเบค เป็นทั้งเมืองโบราณที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ยังเป็นเมืองท่าสำคัญชายฝั่งทะเลบอลติก และเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ (welfare state) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ รัฐสวัสดิการเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนเงินทุนจากรัฐสู่บริการที่จัดให้ (เช่น สาธารณสุข การศึกษา) ตลอดจนสู่ปัจเจกบุคคลโดยตรง ("ผลประโยชน์") รัฐสวัสดิการจัดหาเงินทุนจากการเก็บภาษีแบบแบ่งความมั่งคั่ง (redistributionist taxation) และมักเรียกว่าเป็น "เศรษฐกิจแบบผสม" ประเภทหนึ่ง การเก็บภาษีดังกล่าวปกติรวมการเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ เรียก ภาษีอัตราก้าวหน้า ซึ่งช่วยลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน| Arthur Cecil PigouAndrew Berg and Jonathan D. Ostry, 2011, " IMF Staff Discussion Note SDN/11/08, International Monetary Fund.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและรัฐสวัสดิการ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์

ซัคเซิน-อันฮัลท์ (Sachsen-Anhalt; Saxony-Anhalt) เป็นรัฐในเยอรมนี มีพื้นที่ 20,447 ตร.กม.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมัน

มาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation; Deutscher Bund) เป็นสมาคม 39 รัฐเยอรมันในยุโรปกลางอย่างหลวม ตั้งขึ้นโดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนน..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสมาพันธรัฐเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

มาพันธรัฐเยอรมันเหนือ (Norddeutscher Bund) คือชื่อของรัฐชาติเยอรมันซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง กรกฎาคม..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง

งครามชเลสวิจครั้งที่สอง (2.; Deutsch-Dänischer Krieg) เป็นความขัดแย้งทางการทหารระหว่างเดนมาร์ก และ ปรัสเซีย เป็นผลพันธ์ของ ปัญหาชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์ โดยสงครามเริ่มขึ่นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1864, เมื่อ กองทัพปรัสเซียข้ามพรมแดนสู่ชเลสวิจ สงครามจบลงในวันที่ 30 ตุลาคม 1864 ด้วยความพ่ายแพ้ของเดนมาร์ก, โดยตาม สนธิสัญญาเวียนนา เดนมาร์กต้องคืนดัชชีชเลสวิก, โฮลชไตน์, และ Saxe-Lauenburg ให้กับ ปรัสเซีย และ ออสเตรี.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสงครามชเลสวิจครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

งครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี หรือ สงครามฟรังโก - ปรัสเซีย (Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

งครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (Brothers War) เป็นสงครามในปี..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี

ฟริดริชที่ 3 (Friedrich III) (18 ตุลาคม ค.ศ. 1831 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1888) จักรพรรดิแห่งเยอรมนี (ไกเซอร์) กษัตริย์แห่งปรัสเซีย ในปี..1888 พระองค์เป็นโอรสของ เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย และ ออกัสตาแห่งแซ็กซ์-ไวมาร.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี

วิลเฮล์ม ฟรีดริช ลุดวิจ ฟอน โฮเอินโซลเลิร์น (Wilhelm Friedrich Ludwig von Hohenzollern) เป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิเยอรมันจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น ภายใต้การปกครองของพระองค์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีออทโท ฟอน บิสมาร์ค สามารถนำพาราชอาณาจักรปรัสเซียมีชัยเหนือสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและนำไปสู่การรวมชาติเยอรมันขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมันในปี..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II หรือ Friedrich Wilhelm Albert Viktor von Preußen 27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484) หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรงเห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณีการเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงใน..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน

ักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน (German colonial empire) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมเยอรมัน ซึ่งเยอรมันมีความพยายามในการสร้างอาณานิคมที่เริ่มมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้โดยนครรัฐต่างๆ ในเยอรมนีไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เยอรมันมีอาณานิคมโพ้นทะเลอยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และโอเชียเนี.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและดยุก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

นักกฎหมาย

วิลเลียม เมอร์รีย์ เอิร์ลแห่งแมนส์ฟิลด์ เป็นนักกฎหมายผู้เป็นทั้งเนติกร อัยการ และผู้พิพากษา ในเขตอำนาจศาลอังกฤษและเวลส์ นักกฎหมาย (Lawyer) คือผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย อาทิ เนติกร, อัยการ, ทนายความ นักกฎหมายทำงานโดยอาศัยประโยชน์จากข้อสรุปของทฤษฎีทางกฎหมายตลอดจนองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาของแต่ละปัจเจกบุคคล หรือเป็นคนรับใช้ด้านกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง บทบาทของนักกฎหมาย แตกต่างกันอย่างมากไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล คำศัพท์ซึ่งปรากฏอยู่ในบทความนี้เป็นจึงเป็นเฉพาะในบริบทที่เป็นสากล.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและนักกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี (Bundeskanzler; Chancellor) เป็นตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์ทาค (จักรวรรดิเยอรมัน)

รชส์ทาค (Reichstag) ของจักรวรรดิเยอรมันดำรงอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและไรชส์ทาค (จักรวรรดิเยอรมัน) · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เฟือสท์

องค์อธิปัตย์ (Sovereign Prince) เรียกเป็นภาษาเยอรมันสำหรับบุรุษว่า เฟือสท์ (Fürst) และสำหรับสตรีว่า เฟือร์สทีน (Fürstin) เป็นตำแหน่งที่ปรากฏตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา เป็นสมาชิกระดับสูงสุดของชนชั้นขุนนางซึ่งมีอำนาจปกครองรัฐหรือแว่นแคว้นภายในขอบขัณฑสีมาของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยอยู่ต่ำกว่า ไกเซอร์ (Kaiser จักรพรรดิ) และ เคอนิจ (König กษัตริย์) จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในอดีตมักจะส่งพระราชโอรสไปปกครองรัฐบริวารต่างๆ โดยรัฐเหล่านั้นมีอำนาจอธิปไตยอันขึ้นตรงต่อจักรพรรดิ โดยรัฐเหล่านั้นจะมีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันว่า เฟือร์สเทนทุม (Fürstentum ราชรัฐ) โดยองค์อธิปัตย์เหล่านี้ จะมีคำนำหน้าว่า "เจ้าชาย" บุคคลที่มีฐานันดรเป็นองค์อธิปัตย์ ปัจจุบันมีอยู่สองพระองค์ คือ เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 แห่งโมนาโก และ เจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและเฟือสท์ · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์

นต์ (Count) หรือ กราฟ (Graf) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ภริยาของเคานต์เรียกว่า เคาน์เตส (Countess) เคานต์ปกครองดินแดนที่มีศักดิ์เป็นเคาน์ตี อำนาจในทางปกครองของเคานต์จะเรียกว่า "countship" ชื่อตำแหน่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "comte" ที่มาจากภาษาลาติน "comes" ที่แปลว่าเพื่อน (companion) และต่อมาหมายถึง "สหายของจักรพรรดิ หรือผู้แทนของจักรพรรดิ" ในอังกฤษไม่ใช้ตำแหน่งเคานต์ แต่ใช้ตำแหน่งที่เท่าเทียมกันที่เรียกว่า "เอิร์ล" แต่ภริยาของเอิร์ลก็ยังคงเรียกว่าเคาน์เตส ตำแหน่งที่เท่ากับเคานต์ในประเทศอื่น เช่น กราฟ (Graf) ในเยอรมัน, ฮะกุชะกุ (伯爵)ในญี่ปุ่น พระราชวงศ์ยุโรปมักจะใช้ตำแหน่ง "เคานต์" เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์เพื่อพระราชทานแก่สมาชิกในพระราชวงศ์โดยเฉพาะ ตำแหน่งกิตติมศักดิ์นี้จะไม่มีอำนาจในทางปกครอง ในสหราชอาณาจักร "เอิร์ล" มักจะเป็นบรรดาศักดิ์ที่ได้แก่บุตรชายคนแรกของดยุก.

ใหม่!!: ออทโท ฟอน บิสมาร์คและเคานต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Otto von Bismarckออตโต ฟอน บิสมาร์กออตโต ฟอน บิสมาร์ค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »