โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บูเช็กเทียน

ดัชนี บูเช็กเทียน

อู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (พระราชสมภพ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624ปีประสูตินี้ ได้มาจากการเอาพระชนม์กับปีสวรรคตที่ระบุไว้ใน นวพงศาวดารถัง (New Book of Tang) ฉบับ ค.ศ. 1045–1060 มาบวกลบกัน ผลลัพธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถ้าคำนวณตามที่ระบุไว้ใน พงศาวดารถัง (Book of Tang) ฉบับ ค.ศ. 941-945 จะได้ปีประสูติเป็น ค.ศ. 623; สวรรคต 16 ธันวาคม ค.ศ. 705)Paludan, 100 บางทีเรียก อู่ เจ้า หรือ อู่ โฮ่ว ในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า พระนางสวรรค์ และในสมัยต่อมาว่า พระนางอู่ ทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี ที่ได้เป็น "ฮ่องเต้" ในแผ่นดินของพระภัสดาและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี..

102 ความสัมพันธ์: ชอว์บราเดอร์สสตูดิโอบันเทิงคดีกำลังภายในบูเช็คเทียน (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2557)บูเช็คเทียน จอมนางเหนือแผ่นดินช่างกฺวัน หว่านเอ๋อร์ช่างกฺวัน อี๋ฟ่าน ปิงปิงพระศรีอริยเมตไตรยพระสนมเซียวพระโคตมพุทธเจ้ากฎหมายแซลิกกลุ่มชนเตอร์กิกกลุ่มอาการทารกตายกะทันหันการร่วมประเวณีกับญาติสนิทการอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรสการฆ่าตัวตายภิกษุภิกษุณีมกุฎราชกุมารมหายานมณฑลชานตงมณฑลชานซีมณฑลหูหนานมณฑลหูเป่ย์มณฑลเสฉวนมณฑลเหลียวหนิงมณฑลเหอหนานมณฑลเหอเป่ย์มณฑลเจียงซูมณฑลเจียงซีราชวงศ์สุยราชวงศ์จิ้นยุคหลังราชวงศ์ถังราชวงศ์โจวราชวงศ์โจว (แก้ความกำกวม)รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ถังรายพระนามจักรพรรดินีจีนลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าลั่วหยางลาซาวาง หมิงฉวนศักราชของจีนสุริยุปราคาสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีนสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชียสนมชีหลัว ปินหวังหลิว เจียหลิงหลิวซื่อ...หลิง ปอหลิน ซินหรูหลี่หงหลี่จงหวง เชิ่งอีอักษรจีนพระนางบูเช็กเทียนอาเจียวอู่ ซานซือฮกเกี้ยนฮองไทเฮาผู้สำเร็จราชการจักรพรรดิสุยหยางจักรพรรดิฮั่นเกาจู่จักรพรรดิจีนจักรพรรดิถังรุ่ยจงจักรพรรดิถังจงจงจักรพรรดิถังไท่จงจักรพรรดิถังเกาจู่จักรพรรดิถังเกาจงจักรพรรดิถังเสฺวียนจงจักรพรรดิถังเต๋อจงจักรพรรดินีหวัง (จักรพรรดิถังเกาจง)จักรพรรดินีฮั่นเกาจักรพรรดินีเหวย์จาง เจี่ยนจือถ้ำหลงเหมินทิเบตขันทีขงจื๊อตำแหน่งมเหสีแห่งราชวงศ์ถังของจีนตี๋ เหรินเจี๋ยตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกรตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟฉางชาฉางอานฉือเจียจวงซูถงซีอานซีซีทีวี 1ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนปฏิทินจูเลียนประวัติศาสตร์จีนปักกิ่งนวนิยายอิงชีวประวัตินางสนองพระโอษฐ์ไท่หยวนเชอร์ล็อก (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)เผย์ หยันเจี่ย จิ้งเหวินเจ้าหญิงไท่ผิงเฉิงตูเนี่ย อู้เซ็ง ขยายดัชนี (52 มากกว่า) »

ชอว์บราเดอร์สสตูดิโอ

อว์บราเดอร์สสตูดิโอ (Shaw Brothers Studio (HK) ltd.) อดีตบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดของ ฮ่องกง บริษัทชอว์บราเดอร์สก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและชอว์บราเดอร์สสตูดิโอ · ดูเพิ่มเติม »

บันเทิงคดีกำลังภายใน

ันเทิงคดีกำลังภายใน เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ที่ทำให้ผู้ฝึก (ซึ่งเรียกว่า จอมยุทธ์) มีความสามารถเหนือธรรมชาติต่าง ๆ บันเทิงคดีกำลังภายในโดยมากมักจะอ้างอิงถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและบันเทิงคดีกำลังภายใน · ดูเพิ่มเติม »

บูเช็คเทียน (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2557)

ูเช็คเทียน (จีน: 武媚娘傳奇) (The Empress Of China) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงพระราชประวัติของพระนางบูเช็กเทียน นำแสดงโดย ฟ่าน ปิงปิง, จาง เฟิงอี้, หลี่ จื้อถิง, จาง จวินหนิง ออกอากาศทางช่อง 3 ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ถึง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและบูเช็คเทียน (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2557) · ดูเพิ่มเติม »

บูเช็คเทียน จอมนางเหนือแผ่นดิน

ูเช็คเทียน จอมนางเหนือแผ่นดิน(ชื่อจีน 日月凌空 ชื่ออังกฤษ The shadow of empress wu) เป็นภาพยนตร์จีนชุด ในประเทศไทยออกฉายในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและบูเช็คเทียน จอมนางเหนือแผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

ช่างกฺวัน หว่านเอ๋อร์

PAGENAME ช่างกฺวัน หว่านเอ๋อร์ (ราว ค.ศ. 664 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 710) เป็นสตรีชาวจีนสมัยราชวงศ์ถัง เมื่ออายุ 13 ปี ได้เป็นราชเลขาธิการของอู่ เจ๋อเทียน (武則天) มเหสีของจักรพรรดิถังเกาจง ครั้นอายุ 42 ปี ได้เป็นชายาของหลี่ เสี่ยน (李顯) โอรสของอู่ เจ๋อเทียน ผู้เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิถังจงจง นางมีชื่อด้านกวี งานเขียน และการเมือง แต่ที่สุดถูกจับกุมเพราะมีส่วนแก่งแย่งในวังหลวง และถูกประหารชีวิตใน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและช่างกฺวัน หว่านเอ๋อร์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่างกฺวัน อี๋

งกฺวัน อี๋ (ค.ศ. 608 – 4 มกราคม ค.ศ. 665) ชื่อรองว่า โหยวเฉา (游韶) บรรดาศักดิ์ว่า ฉู่กง (楚公; Duke of Chu) เป็นข้าราชการจีนสมัยราชวงศ์ถัง เป็นอัครมหาเสนาบดีในรัชกาลจักรพรรดิถังเกาจง ใน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและช่างกฺวัน อี๋ · ดูเพิ่มเติม »

ฟ่าน ปิงปิง

ฟ่าน ปิงปิง เป็นนักแสดงและนักร้องชาวจีน มีชื่อเล่นว่า ปิงปิง และ เป่าเปา เกิดวันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและฟ่าน ปิงปิง · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระสนมเซียว

ระสนมเซียว (Consort Xiao, ? – 1198) พระสนมเอกในตำแหน่ง ซูเฟย (Shufei) พระสนมเอกใน จักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่ง ราชวงศ์ถัง พระองค์เป็นที่โปรดปรานขององค์จักรพรรดิมากโดยมีพระราชโอรส 1 พระองค์และพระราชธิดา 2 พระองค์ พระองค์มีพระประวัติน้อยมากแต่สันนิษฐานว่าได้เข้ามาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาตั้งแต่รัชสมัย จักรพรรดิถังไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 พระราชบิดาของจักรพรรดิเกาจงครั้งองค์จักรพรรดิเกาจงยังคงเป็นองค์ชายรัชทายาทโดยพระองค์มีพระประสูติกาลพระโอรสองค์แรกคือองค์ชาย หลี่ซู่เจี๋ย เมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและพระสนมเซียว · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายแซลิก

ระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงแถลงกฎหมายแซลิก ท่ามกลางแม่ทัพนายกองของพระองค์ กฎหมายแซลิก (Lex Salica; Salic law) หรือ ประชุมกฎหมายอนารยชน (Code of the Barbaric Laws) เป็นกลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับชนชาติแฟรงค์แซเลียน (Salian Franks) เมื่อต้นยุคกลางระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยสันนิษฐานกันว่ากฎหมายแซลิกรวบรวมขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 507 ถึงปี ค.ศ. 511.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและกฎหมายแซลิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเตอร์กิก

กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก, Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition, 2008 ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, ชาวการากัลปัก ชาวโนกาย ชาวการาเชย์-บัลการ์ ชาวตาตาร์ไซบีเรีย ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวชูวาช ชาวตูวัน ชาวบัชกีร์ ชาวอัลไต ชาวยาคุตส์ ชาวกากาอุซ และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซฺยงหนู (Xiongnu).

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและกลุ่มชนเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการทารกตายกะทันหัน

กลุ่มอาการทารกตายกะทันหัน หรือ กลุ่มอาการตายอย่างกะทันหันของทารก (sudden infant death syndrome, SIDS) คือการเสียชีวิตกะทันหันของทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยไม่มีประวัติทางการแพทย์ที่อาจเป็นสาเหตุได้ และหลังการตรวจชันสูตรอย่างละเอียดและการตรวจที่เกิดเหตุอย่างละเอียดแล้ว ยังไม่สามารถหาสาเหตุการเสียชีวิตได้ ทารกที่เสียชีวิตกะทันหันมักเสียชีวิตขณะนอนหลับ บางสื่อจึงเรียกภาวะนี้ว่าภาวะหลับไม่ตื่นในทารก.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและกลุ่มอาการทารกตายกะทันหัน · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท"การร่วมประเวณีกับญาติสนิท" เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วน "การสมสู่ร่วมสายโลหิต" เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต (Incest) หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20% ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและการร่วมประเวณีกับญาติสนิท · ดูเพิ่มเติม »

การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส

การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส (concubinage) หมายถึง ภาวะที่หญิงมีความสัมพันธ์เชิงสมรสกับอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งฝ่ายหนึ่งมักมีสถานะทางสังคมสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงสมรสหมายความว่าไม่ได้สมรสกันจริง ๆ แต่อยู่กินกันอย่างคู่สมรส ซึ่งหากเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนจะกลายเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายไทย แต่หากไม่จดทะเบียนสมรสก็จะไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ข้อนี้นับเป็นข้อเสียของการเป็นเมียหรือผัวที่ผิดกฎหมายของผู้อื่น ในกรณีปรกติแล้วมักเป็นเรื่องระหว่างหญิงกับชาย โดยชายนั้นมักมีภริยาอย่างเป็นทางการหรือ "เมียหลวง" อยู่แล้ว และก็อาจมีภริยาลับอยู่อีกหลายคนด้วย ซึ่งภริยาลับนี้ก็มักมีสถานะทางสังคมต่ำต้อยกว่าภริยาหลวง กับทั้งตัวภริยาลับและบุตรที่เกิดแต่นางภริยาลับนี้ฝ่ายชายจะให้การสนับสนุนอย่างออกนอกหน้าก็มิได้ เพราะผิดทั้งจริยธรรม จารีตประเพณีในบางท้องถิ่น และกฎหมายของบางท้องถิ่นด้วย เช่น กฎหมายไทยมิได้ให้สิทธิภริยาลับเสมอภริยาหลวง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใครเป็นภริยาลับของใครสังคมก็มักรู้กันอยู่แก่ใจและบางทีก็เอาไปซุบซิบนินทากันอย่างสนุกปากอีกด้วย คำว่า "ภริยาลับ" (concubine) เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า "concubine" นั้นใช้ได้กับทั้งหญิงทั้งชายที่ไปเป็นภริยาลับหรือสามีลับของบุคคลอื่น นอกจากนี้ ในภาษาไทยยังมีคำเรียก "ภริยาลับ" อีกหลาย ๆ คำ เช่น อนุภริยา, อนุภรรยา, เมียน้อย หรือ เมียเก็.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและการอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและการฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณี

กษุณี (ภิกฺขุณี; ภิกฺษุณี) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและภิกษุณี · ดูเพิ่มเติม »

มกุฎราชกุมาร

มกุฎราชกุมาร (Crown Prince) หรือ มกุฎราชกุมารี (Crown Princess) เป็นพระอิสริยยศของรัชทายาทในบางประเทศ มกุฎราชกุมารจะดำรงพระอิสริยยศนี้ไปจนกว่าพระมหากษัตริย์ จะสวรรคตหรือสละราชสมบัติ ปัจจุบันประเทศที่เรียกรัชทายาทว่ามกุฎราชกุมารมีประเทศไทยและประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สำหรับมกุฎราชกุมารประเทศต่าง ๆ มีดังนี้.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมกุฎราชกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลชานตง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลหูหนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลหูเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหลียวหนิง

มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลเหลียวหนิง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลเหอหนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอเป่ย์

มณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ชื่อย่อ จี้(冀)ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบสูง มองโกเลียในและที่ราบภาคเหนือของประเทศ เป็นมณฑลที่อยู่ล้อมรอบนครสำคัญคือ ปักกิ่ง และเทียนจินมีเมืองหลวงชื่อ ฉือเจียจวง มีเนื้อที่ 187,700 ก.ม.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลเหอเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลเจียงซู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี ชื่อย่อ กั้น(赣)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและมณฑลเจียงซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สุย

ราชวงศ์สุย (Sui Dynasty, ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) (37 ปี) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) พระราชโอรสองค์รองของสุยเหวินตี้ ฮ่องเต้หยางเจียน ทรงดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น หลังจากที่แตกสลายหลังสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ต่อเนื่อง หลังจากนั้น ทรงดำเนินนโยบายให้ขุนนางในราชสำนักรวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ได้แต่งงานกับชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เพราะโดยพื้นเพเดิมนั้น ทั้งหยางเจียนและพระมเหสี ก็ทรงเป็นตระกูลจีนแท้ผสมกับชนเผ่าเติร์กอยู่แล้ว หยางเจียนทรงดำเนินนโยบาย ขุดคลองต้ายุ่นเหอขนาดมหึมา ยาวกว่า 1,800 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ในจีนซีกเหนือ กับเมืองหางโจว ซึ่งเป็นจีนซีกใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อผูกขาดเศรษฐกิจของจีนให้เป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึง การสร้างยุ้งฉางกักตุนสินค้าขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับสินค้าเกือบตลอดแนวคลอง มีการริเริ่มการสอบจอหงวน เป็นครั้งแรก ทั่วราชอาณาจักร เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนนาง ทำให้แต่เดิม ที่ขุนนางจะมีเพียงแต่ชนชั้นสูงที่สืบทอดสกุลต่อกันมา ทำให้อาจจะมีแต่ตำแหน่งแต่ไร้ความสามารถ จึงได้ผู้ที่มีฝีมือและความรู้อย่างแท้จริง ซ้ำยังทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับราชการในราชวัง นับว่าเป็นการลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย แต่ต่อมา เมื่อหยางกว่างขึ้นครองราชย์ ทรงประกาศสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ทรงขยายพื้นที่ทางด้านตะวันตกได้พอสมควร ซ้ำยังยกทัพไปบุกเกาหลีและแมนจู แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะด้วยประสบกับความหนาวเหน็บ ซ้ำยังไม่มีการควบคุมทัพที่ดีพอ ทำให้พ่ายศึก ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ซึ่งสุยหยางตี้บัญชาให้ยกทัพขนาดมหึมานี้ ถึง 4 ครั้ง ทำให้ราชวงศ์สุย เสียหายอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงการการก่อจลาจลทั่วทุกหัวระแหง ที่ใหญ่ ๆ มี 3 กลุ่ม อันได้แก่ กองกำลังหวากัง นำโดยใจ๋หยางและหลี่มี่ กองกำลังเจียงไหว นำโดยตู้ฝูเว่ย และกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ รวมไปถึงการก่อกบฏในราชสำนักเองอีกด้วย สุดท้าย สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระประยูรฐาติของพระองค์ นำโดยอวี้เหวินฮั่วจี๋ ราชวงศ์สุยถึงกาลอาวสาน เมื่อปีพ.ศ. 1161.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและราชวงศ์สุย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง

ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง (Later Jin Dynasty) ราชวงศ์ที่ 3 ใน ยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร สถาปนาโดยจักรพรรดิจิ้นเกาจู่ (สือจิ้งถัง) เชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งในราชวงศ์โฮ่วถัง โดยมีเมืองไคฟงเป็นเมืองหลวง ราชวงศ์นี้มีจักรพรรดิปกครองเพียง 2 พระองค์คือ จักรพรรดิจิ้นเกาจู่ และจักรพรรดิจิ้นฉู่ตี้ และปกครองจีนอยู่เพียง 11 ปี ก่อนเสียเอกราชให้กับจักรพรรดิเกาจู่ (หลิวจื้อหยวน) แห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและราชวงศ์จิ้นยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว

ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและราชวงศ์โจว · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว (แก้ความกำกวม)

ราชวงศ์โจว เป็นชื่อราชวงศ์โบราณของจีนหลายราชวงศ์ โดยมากจะหมายถึงราชวงศ์โจวก่อนคริสตกาล คือ.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและราชวงศ์โจว (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ถัง

นี่คือรายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและรายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีจีน

ในจักรวรรดิจีน จักรพรรดินี เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในจักรพรรดิจีน และ จักรพรรดินีพันปีหลวง เป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีในจักรพรรดิจีนพระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ก่อน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ลาซา

ลาซา เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองทิเบตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในที่ราบสูงทิเบต รองจากเมืองซีหนิง และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,490 เมตร (11,450 ฟุต) ซึ่งนั่นเองทำให้ลาซากลายเป็นหนึ่งในเมืองที่อยู่สูงที่สุดของโลก ในเมืองประกอบไปด้วยหลายวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะศาสนสถานของศาสนาพุทธ-ทิเบต เช่นพระราชวังโปตาลา หรือ วัดโจคัง หรือ พระราชวังโนร์บูกลิงกา เป็นต้น.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและลาซา · ดูเพิ่มเติม »

วาง หมิงฉวน

วาง หมิงฉวน (汪明荃, Wāng Míngquán) หรือ เอลิซาเบท วาง / ลิซ่า วาง (Elizabeth Wang / Liza Wang) เป็นนักร้อง นักแสดง และพิธีกรหญิงชาวฮ่องกง ในอดีตเธอเคยเป็นนักแสดงอุปรากรจีน เธอเคยเป็นสมาชิกสภาประชาชนแหงชาติ (National People's Congress - NPC) ระหว่างปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและวาง หมิงฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ศักราชของจีน

ศักราชของจีน หรือ เหนียนเฮ่า บ้างก็เรียก รัชศก เป็นการเรียกช่วงปีในรัชสมัยของจักรพรรดิจีนแต่ละพระองค์ เริ่มใช้ครั้งแรกในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตกด้วยชื่อ ศักราชเจี้ยนหยวน หลังจากนั้นจักรพรรดิจีนก็มักจะมีศักราชเป็นของพระองค์เองจำนวนมาก ได้ใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิผู่อี๋ ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน หมวดหมู่:จักรพรรดิจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและศักราชของจีน · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา

ริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2542 สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและสุริยุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน

นีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน China Central Television: CCTV 中国中央电视台) เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์รายใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนทั้งหมด 20 ช่องรายการ และสามารถเข้าถึงผู้ชมประมาณ 1,000 ล้านคน รูปแบบรายการส่วนมากจะผสมผสานกัน ประกอบด้วย สารคดีโทรทัศน์, ละครเบาสมอง, บันเทิง, กีฬา, ละครชุด ที่ส่วนมากจะเป็นแนวชีวิต และแนวประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ รวมถึงรายการบันเทิง สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักงานโฆษกรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย

อาคารสำนักงานใหญ่ สถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย (Asia Television ชื่อบริษัท Asia Television Digital Media Limited ชื่อย่อ aTV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศฮ่องกง และเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาจีนแห่งแรกของโลกอีกด้วย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในนาม สถานีโทรทัศน์ลี่เตอ (Rediffusion Television ชื่อบริษัท Rediffusion (Hong Kong) Limited ชื่อย่อ RTV) ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2525 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อโดยซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รัฐบาลฮ่องกงได้ลงมติให้สิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของสถานีฯ เนื่องจากเห็นว่าบริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยสิ้นสุดใบอนุญาตลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และกำหนดยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน ปีเดียวกัน โดยคลื่นความถี่ระบบแอนะล็อก 2 สถานี ได้โอนไปเป็นของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ฮ่องกง (RTHK) โดยช่องที่เป็นของภาษาจีนนั้น RTHK นำรายการจากช่อง 31 ของ RTHK และช่องภาษาอังกฤษ นำรายการจากช่อง 33 (ซึ่งทวนสัญญาณรายการจากซีซีทีวี 9 ก่อนจะปรับมาทวนสัญญาณของ ซีซีทีวี 1 ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560) มาออกอากาศคู่ขนานกัน สวนคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลซึ่งใช้ร่วมกับทีวีบีเจด ได้นำไปให้เอชเคเทเลวิชันเอ็นเตอร์เทนเมนท์ (HKTVE) ทำช่องรายการใหม่ ในชื่อ วิวทีวี (ViuTV) แล้วกลับมาออกอากาศอืกครั้ง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในฐานะผู้ให้บริการ OTT.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

สนมชี

นมชี (戚姬; สิ้นพระชนม์ 194 ปีก่อนคริสตกาล) หรือ ท่านหญิงชี (戚夫人) เป็นมเหสีของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (汉高祖) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ชื่อตัวของพระนางไม่เป็นที่รับรู้ แต่ปั๋ว หยาง (柏楊) เขียนไว้ในหนังสือของตนว่า พระนางมีชื่อตัวว่า ชี อี้ (戚懿).

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและสนมชี · ดูเพิ่มเติม »

หลัว ปินหวัง

หลัวปินหวัง (ค.ศ. 640 - 29 ธันวาคม ค.ศ. 684) เกิดที่เมืองอู่โจว มณฑลเจ้อเจียง เป็นหนึ่งในสี่กวีที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วงต้นราชวงศ์ถัง ซึ่งประกอบด้วย หลัวปินหวัง หวังปัว (王勃) หยางเจียง (杨炯) และ หลูจ้าวหลิน (卢照邻) หลัวปินหวังใช้ชีวิตอยู่ในราชสำนักของจักรพรรดิถังเกาจง แต่ถูกปลดและจำคุก เนื่องจากไปวิพากษ์วิจารณ์ฮองเฮาอู่เจ๋อเทียน ต่อมาเมื่อได้รับอิสรภาพ เขาก็ยังเขียนบทกวีที่มีเนื้อหาเสียดสีอู่เจ๋อเทียนอีกหลายครั้ง บทกวีที่มีชื่อเสียงของเขา คือบทที่มีชื่อว่า "Ode to the Goose" ที่เขียนเมื่อเขามีอายุเพียง 7 ปี.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลัว ปินหวัง · ดูเพิ่มเติม »

หลิว เจียหลิง

หล่า ก๊าเหล่ง หรือ หลิว เจียหลิง ในสำเนียงจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 劉嘉玲, จีนตัวย่อ: 刘嘉玲, พินอิน: Liú Jiālíng, อังกฤษ: Carina Lau, Carina Lau Kar-ling) เป็นนักแสดงหญิงชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965 ที่เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน หลิว เจียหลิงเป็นพี่สาวคนโตโดยมีน้องชายและน้องสาวอีกอย่างละหนึ่งคน ได้เดินทางเข้าสู่ฮ่องกงเมื่ออายุ 15 ปี จากการย้ายตามครอบครัวโดยพ่อเดินทางมาทำงานที่นี่ ซึ่งแรก ๆ เธอต้องฝึกเรียนภาษากวางตุ้ง จากที่เคยพูดแต่จีนกลางมาตลอด เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนักเรียนโรงเรียนการแสดงของ TVB รุ่นที่ 12 โดยเธอมีความโดดเด่นเหนือกว่าเพื่อนร่วมชั้นคนอื่น ๆ จึงได้มีโอกาสแสดงครั้งแรกจากละครโทรทัศน์ชุด The Duke of Mount Deer หรือ อุ้ยเสี่ยวป้อ ประกบคู่กับ เหลียง เฉาเหว่ย และหลิว เต๋อหัว ที่เป็นพระเอก และตามมาด้วย Police Cadet '84 หรือ นักสู้ผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1984 พร้อมกับมีชื่อเสียงขึ้นมา ต่อมาจึงได้แสดงนำในภาพยนตร์แอ๊คชั่นหลายเรื่อง เช่น Project A Part II ในปี ค.ศ. 1986 และ Armour of God ในปี ค.ศ. 1987 คู่กับ เฉินหลง นักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ทั้งสองเรื่อง ในส่วนของผลงานดราม่า ได้แก่ Days of Being Wild ร่วมกับนักแสดงชื่อดังของฮ่องกงหลายคน ในปี ค.ศ. 1991 จากการกำกับของหว่อง กาไว, The Eagle Shooting Heroes ในปี ค.ศ. 1993, Ashes of Time และC'est la vie, mon chéri ในปี ค.ศ. 1994 เป็นต้น ปัจจุบัน แม้หลิว เจียหลิงจะมีอายุมากขึ้น แต่เธอก็ยังคงรักษาสุขภาพร่างกายให้งดงามเสมอ จึงได้เป็นพรีเซ็นเตอร์ในโฆษณาผลิตภัณฑ์ประเภทบำรุงผิวหรือรักษาความงามเสมอ ๆ ด้านชีวิตส่วนตัว เมื่อปี ค.ศ. 2007 เธอตกเป็นข่าวฮือฮาเมื่อยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อปี ค.ศ. 1990 ได้ถูกแก๊งค์ยากูซ่าฉุดไปถ่ายรูปเปลือย ซึ่งในช่วงนั้นได้มีวิดีโอคลิปนี้ออกมา เธอสมรสกับ เหลียง เฉาเหว่ย นักแสดงชายชื่อดังอีกราย หลังจากที่คบหาและร่วมงานกันมากว่า 19 ปี ในกลางปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศภูฏาน ซึ่งทั้งคู่ได้เดินทางมาสู่ประเทศไทยด้วยกันก่อนหน้านั้นด้วย แต่ต่อมาในกลางปี ค.ศ. 2011 ก็ปรากฏภาพถ่ายของเธอกับนักแสดงรุ่นหลัง คือ เฉิน กวานซี ที่มีข่าวอื้อฉาวทำนองนี้ก่อนหน้านี้มาแล้วด้วย พร้อมกับยอมรับว่าชีวิตสมรสของเธอกับเหลียง เฉาเหว่ย กว่า 2 ปีนั้นเริ่มมีปัญหา ผลงานในระยะหลัง ๆ ได้แก่ Infernal Affairs II, Infernal Affairs III และ 2046 ในปี ค.ศ. 2003, และรับบท พระนางบูเช็คเทียน ในDetective Dee and the Mystery of the Phantom Flame จากการกำกับของ ฉีเคอะ ซึ่งเธอได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และLet the Bullets Fly ในปี ค.ศ. 2010.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลิว เจียหลิง · ดูเพิ่มเติม »

หลิวซื่อ

หลิวซื่อ (Liu Shi, ? – 659) ชื่อรอง จื่อเฉา (Zishao) อัครมหาเสนาบดีในช่วงต้น ราชวงศ์ถัง ระหว่างรัชสมัย จักรพรรดิถังเกาจง จักรพรรดิองค์ที่ 3 หลานสาวของเขาได้เป็นจักรพรรดินีพระองค์แรกในจักรพรรดิเกาจงคือ จักรพรรดินีหวัง ทำให้เขาได้รับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีต่อมาเมื่อจักรพรรดินีหวังและ พระสนมเซียว พระสนมเอกถูกกำจัดไปแล้วใน ค.ศ. 655 ทำให้หลิวซื่อถูกจับและถูกประหารตามพระราชโองการของจักรพรรดิเกาจงเมื่อ ค.ศ. 659 หมวดหมู่:ขุนนางจีน หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ถัง หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์สุย.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลิวซื่อ · ดูเพิ่มเติม »

หลิง ปอ

หลิง ปอ (Ivy Ling Po) นักร้องและนักแสดงหญิงชาวจีน มีชีอเสียงในช่วงทศวรรษ 1950 ถึง 1970 มีความสามารถพิเศษในการร้องเพลงอุปรากรจีน เธอมีผลงานแสดงหลากหลาย ทั้งแนวภาพยนตร์รัก ดรามา ภาพยนตร์ย้อนยุค และภาพยนตร์กำลังภายใน หลิง ปอ มีชื่อจริงว่า หวัง หยู่ซุน เกิดที่เมืองซัวเถา เติบโตที่เซียะเหมิน ก่อนจะย้ายไปฮ่องกง เริ่มมีผลงานตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยเป็นนักร้องเพลงเบื้องหลังให้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง หลิง ปอ ในวัย 24 ปีได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง ม่านประเพณี (The Love Eterne) ของชอว์บราเดอส์ในปี 1963 โดยผู้กำกับตัดสินใจให้เธอในฐานะนักแสดงหญิงหน้าใหม่ รับบท เหลียงซานปั๊วะ (เป็นตัวละครชาย) คู่กับ เล่อ ตี้ ที่รับบทเป็น จูอิง​ไถ ชอว์บราเดอส์เร่งรัดการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อแข่งขันกับโมชันพิกเจอร์แอนด์เจเนรัลอินเวสต์เมนต์ (MP&GI) บริษัทคู่แข่งที่กำลังสร้างภาพยนตร์จากตำนานม่านประเพณี อยู่ในเวลาเดียวกัน ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จสูงสุด ทำให้หลิง ปอ กลายเป็นนักแสดงชั้นแนวหน้า เมื่อเธอไปปรากฏตัวที่ใดก็ถูกเรียกขานว่า "พี่เหลียง" ตามชื่อตัวละคร เธอได้รับรางวัลม้าทองคำ สาขารางวัลพิเศษสำหรับบทบาทที่โดดเด่น ซึ่งเป็นรางวัลพิเศษที่มีขึ้นเฉพาะการประกาศรางวัลในปีนั้น ในเวลานั้น ชอว์บราเดอส์ถึงกับยกเลิกโครงการสร้างภาพยนตร์เรื่องอื่น ที่จะให้หลิง ปอ รับบทนางเอก เพราะเกรงว่าจะทำให้ภาพพจน์ของเธอในฐานะพระเอกเรื่องม่านประเพณีเสียไป ปัจจุบัน หลิง ปอ ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศแคนาดา ได้รับสัญชาติแคน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลิง ปอ · ดูเพิ่มเติม »

หลิน ซินหรู

หลิน ซินหรู หลิน ซินหยู หรือ รูบี หลิน เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลิน ซินหรู · ดูเพิ่มเติม »

หลี่หง

องค์ชายหลี่หง (Li Hong) อดีตรัชทายาทในสมัยราชวงศ์ถัง องค์ชายหลี่หงประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลี่หง · ดูเพิ่มเติม »

หลี่จง

องค์ชายหลี่จง (Li Zhong, 1186 – 6 มกราคม 1208) พระนามรองว่า เจิ้งเปิ่น (Zhengben) มีพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายแห่งหยัน (Prince of Yan) รัชทายาทแห่ง ราชวงศ์ถัง โดยพระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทเมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหลี่จง · ดูเพิ่มเติม »

หวง เชิ่งอี

หวง เชิ่งอี (Eva Huang, Eva Huang-Shengyi) นักแสดงและนักร้องสาวชาวจีน เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จบการศึกษาจากสถาบันภาพยนตร์ปักกิ่ง ในปี ค.ศ. 2001 มีผลงานการแสดงครั้งแรกจากการรับบทนางเอกประกบคู่กับ โจว ซิงฉือ ในภาพยนตร์กังฟูตลกเรื่อง Kung Fu Hustle ในปี ค.ศ. 2004 ด้วยการเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัดบริษัทของโจว ซิงฉือ ต่อมาเมื่อหมดสัญญา ได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าหลายชิ้น และมีผลงานภาพยนตร์และซีรีส์ชุดต่าง ๆ เช่น Dragon Squad, Royal Swordsmen, Lethal Ninja ในปี ค.ศ. 2006, The Founding of a Republic ในปี ค.ศ. 2009, รับบท ซูซู่ นางพญางูขาว ใน The Sorcerer and the White Snake ในปี ค.ศ. 2011และ Iceman 3D ในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและหวง เชิ่งอี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนพระนางบูเช็กเทียน

อักษรจีนพระนางบูเช็กเทียน (Chinese characters of Empress Wu หรือ the Zetian characters) เป็นอักษรจีนที่พระนางบูเช็กเทียน ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อิสตรีพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน ทรงมีพระราชดำริให้สร้างและปรับปรุงใหม่เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจของพระนาง โดยตัวอักษรเหล่านั้นพระนางมิได้เป็นผู้ประดิษฐ์ออกแบบด้วยพระองค์เอง หากแต่มีข้าราชบริพารคนหนึ่งชื่อ จงฉินเค่อ (宗秦客) ซึ่งเป็นบุตรของญาติลูกพี่ลูกน้องของพระนางเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและอักษรจีนพระนางบูเช็กเทียน · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียว

อาเจียว (อักษรจีนตัวเต็ม: 阿嬌) ดารานักแสดงนักร้องสาวชาวฮ่องกง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักร้องดูโอในวง ทวินส์ คู่กับ อาซา อาเจียวเกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1981 ที่ฮ่องกง มีชื่อจริงว่า จง ซินถง (อักษรจีนตัวเต็ม: 鍾欣桐, อักษรจีนตัวย่อ: 钟欣桐, พินอิน: zhōng xīntóng) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า จิลเลียน ชุง (Gillian Chung) มีชื่อเดิมว่า จง เจียลี่ (อักษรจีนตัวเต็ม: 鍾嘉勵, พินอิน: Zhong Jia Li) พ่อของเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่เธออายุได้แค่ขวบเดียว แม่จึงผู้เลี้ยงดูเธอมาคนเดียว ต่อมาแม่แต่งงานใหม่ เธอจึงมีน้องต่างพ่อที่อายุต่างกันถึง 12 ปี เข้าสู่วงการบันเทิงหลังจากกลับจากปิดเทอมที่ออสเตรเลีย ด้วยการเป็นนางแบบที่ฮ่องกง ต่อมาบริษัทโมเดลลิ่งได้แนะนำเธอให้กับค่ายเพลง EEG ซึ่งได้ออกอัลบั้มในนามวง ทวินส์ คู่กับ อาซา ในปี ค.ศ. 2000 อาเจียวจบปริญญาตรี สถาบัน William Angliss ประเทศออสเตรเลีย ส่วนผลงานการแสดงในซีรีส์และภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ มีทั้งแสดงเดี่ยวและคู่กับอาซา ได้แก่ Project A คู่กับ จาง เหว่ยเจี้ยน ในปี ค.ศ. 2007, ไซอิ๋ว ในปี ค.ศ. 2002, The Twins Effect, The Twins Effect II, House of Fury ในปี ค.ศ. 2005, Fox Volant of the Snowy Mountain ในปี ค.ศ. 2006 เป็นต้น ในต้นปี ค.ศ. 2008 อาเจียวมีข่าวอื้อฉาวว่ามีรูปถ่ายและคลิปวิดีโอหลุด ในเชิงวาบหวิว ที่ถ่ายโดย เฉิน กวานซี อดีตแฟนเก่าของเธอ (ในรูปเซ็ตนี้ยังมี จาง ป๋อจือ นักแสดงสาวชื่อดังอีกคนร่วมอยู่ด้วย) ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เธอสะเทือนใจไม่น้อย และต้องใช้เวลาอยู่ระยะหนึ่งถึงจะกลับาทำงานในวงการบันเทิงต่อได้.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและอาเจียว · ดูเพิ่มเติม »

อู่ ซานซือ

อู่ ซานซือ (ตาย 7 สิงหาคม ค.ศ. 707) ฐานันดรศักดิ์เมื่อตายแล้วว่า เหลียงเซฺวียนหวัง เป็นขุนนางจีนสมัยราชวงศ์ถัง สมัยราชวงศ์โจวที่อู่ เจ๋อเทียน (武則天) ผู้เป็นป้าของเขา สถาปนาขึ้น และสมัยราชวงศ์ถังที่รื้อฟื้นหลังยุบราชวงศ์โจว เมื่ออู่ เจ๋อเทียน ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิราชวงศ์โจว ได้ตั้งเขาเป็นเจ้า ทั้งให้ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี เขาดำรงตำแหน่งนี้ต่อมาจนราชวงศ์ถังที่รื้อฟื้นใหม่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิถังจงจง (唐中宗) ผู้เป็นโอรสของอู่ เจ๋อเทียน และเป็นหลานของเขา เขาจึงมีอิทธิพลมากในสมัยอู่ เจ๋อเทียน และถังจงจง ถึงขนาดที่เขากล้าเป็นชู้กับจักรพรรดินีเหฺวย์ (韋皇后) มเหสีของถังจงจง ภายหลัง เขาถูกรัชทายาทหลี่ ฉงจฺวื้น (李重俊) โอรสของถังจงจง สังหารเมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและอู่ ซานซือ · ดูเพิ่มเติม »

ฮกเกี้ยน

กเกี้ยน สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและฮกเกี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

ฮองไทเฮา

หฺวังไท่โฮ่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ ฮองไทเฮา ตามสำเนียงฮกเกี้ยน นิยมเรียกโดยย่อว่า ไท่โฮ่ว หรือ ไทเฮา เป็นพระอิสริยยศของสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงของจักรพรรดิจีน จักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิเกาหลี และจักรพรรดิเวียดนาม หรือพระราชวงศ์ฝ่ายในพระองค์อื่นซึ่งมีพระชนมายุรุ่นเดียวกับสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง เช่น พระอัครมเหสีในพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน แต่ไม่ใช่มารดาของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ปัจจุบัน หากมีพระชนมายุอาวุโสกว่าจะมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า (太皇太后) คือ (grand empress dowager) ไทเฮาหลายคนได้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินผู้เยาว์ และบรรดาไทเฮาผู้สำเร็จราชการหลายคนยังคงครองอำนาจต่อไปแม้พระเจ้าแผ่นดินเจริญวัยพอที่จะว่าการเองได้แล้ว ประวัติศาสตร์แบบดั้งเดิมมองว่า เรื่องเช่นนี้นำมาซึ่งความโกลาหลในการแผ่นดิน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและฮองไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ผู้สำเร็จราชการ

ในปัจจุบัน ผู้สำเร็จราชการ หรือ ข้าหลวงใหญ่ (governor-general; governor general) บางแห่งเรียกว่าข้าหลวงต่างพระองค์ (ในอดีตภาษาไทยใช้ว่า เกาวนาเยเนราล) หมายถึง ผู้แทนพระองค์พระประมุขแห่งรัฐเอกราชรัฐหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองรัฐเอกราชอีกรัฐหนึ่ง ในอดีตตำแหน่งนี้ใช้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีก็ได้ เช่น ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนของฝรั่ง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและผู้สำเร็จราชการ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิสุยหยาง

มเด็จพระจักรพรรดิสุยหยางตี้ (楊廣, Emperor Sui-Yangdi) (ค.ศ. 600-618,1143-1161) ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิสุยหยาง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังรุ่ยจง

มเด็จพระจักรพรรดิรุ่ยจง (ค.ศ. 662-716) จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่ง ราชวงศ์ถัง พระนามเดิมว่า หลี่ตั้น (李旦) ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังรุ่ยจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังจงจง

มเด็จพระจักรพรรดิถังจงจง (ค.ศ. 656–710) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่ง ราชวงศ์ถัง มีพระนามเดิมว่าหลี่เสี่ยน (李顯) ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังจงจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังไท่จง

มเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง (1170-1186) พระนามเดิม หลี่ซื่อหมิน จักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน (ราว 1,600 ปี) ได้ยึดถือหลักคำสอนเรื่องนี้ของบรมครูขงจื่อในการ ปกครองประเทศจีน และทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ทรงปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5 เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์ราชวงศ์ถังนั้นยิ่งใหญ่มากมายนั้นเลยก็ว่าได้ แม้ว่าพระองค์มีพระราชอำนาจสูงสุด สามารถตัดสินพระทัยสั่งการใด ๆ ก็ได้ พระองค์ก็ทรงมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่ง นาม เว่ยเจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาท และได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์ วางแผนสังหารพระองค์ เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่า พระองค์จะเป็นภัยก่อการขบถยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่า จึงวางแผนซ้อนแผน แทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กลับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จงรับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นั้น นอกจากไม่ทำร้ายแล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ พระองค์ท่านจะได้มีที่ปรึกษาอย่างน้อยหนึ่งท่านที่คิดแตกต่าง หรือไม่เหมือนกับที่พระองค์คิด กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัว หรือหวาดหวั่นต่อพระราชอำนาจ จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นมหาจักรพรรดิของจีนเพราะพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดี หรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา ให้ร้ายพระองค์ลับหลัง พระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่า พระองค์ทรงให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านี้กลับไม่ทำ หรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์ จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างชนิดตรงไปตรงมา อย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาขององค์จักรพรรดิถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาสดังกล่าวคัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษาออกตระเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์ และตรวจงานการปฏิบัติราชการของ เหล่าข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่า บรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์ทรงอ่านที่เมืองหลวงนั้นมีความถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ใช่ทรงอยู่แต่ในวังหลวงพึ่งพารายงานจากข้าราชการอย่างเดียว บางครั้ง หากพระองค์ประชวร พระองค์ก็จะทรงส่งประธานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไร ก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์มีพระนามว่า "หลี ซื่อ หมิน" ประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังไท่จง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังเกาจู่

มเด็จพระจักรพรรดิถังเกาจู่ มีพระนามเดิมว่า หลี่ยวน (李淵) ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังเกาจง

มเด็จพระจักรพรรดิเกาจง (ค.ศ. 649-683, พ.ศ. 1192-1226) จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ถัง ประสูติเมื่อปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังเกาจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังเสฺวียนจง

thumb จักรพรรดิถังเสฺวียนจง (ค.ศ. 685–762) จักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ถัง เป็นโอรสในจักรพรรดิถังรุ่ยจง มีพระนามเดิมว่า หลี่หลงจี ภายหลังรัชกาลของบูเช็กเทียน สภาพการเมืองภายในราชสำนักปั่นป่วนวุ่นวาย เนื่องจากถังจงจงอ่อนแอ อำนาจทั้งมวลตกอยู่ในมือของเหวยฮองเฮา(韦皇后)ที่คิดจะยิ่งใหญ่ได้เช่นเดียวกับบูเช็กเทียน เหวยฮองเฮาหาเหตุประหารรัชทายาท จากนั้นในปี 710 วางยาพิษสังหารถังจงจง โอรสองค์ที่สามของถังรุ่ยจง นามหลี่หลงจี(李隆基)ภายใต้การสนับสนุนขององค์หญิงไท่ผิง(太平公主)ชิงนำกำลังทหารบุกเข้าวังหลวงสังหารเหวยฮองเฮาและพวก ภายหลังเหตุการณ์องค์หญิงไท่ผิงหนุนถังรุ่ยจงขึ้นครองราชย์ แต่งตั้งหลี่หลงจีเป็นรัชทายาท แต่แล้วองค์หญิงไท่ผิงพยายามเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เกิดขัดแย้งกับรัชทายาทหลี่หลงจี ปี 712 ถังรุ่ยจงสละราชย์ให้กับโอรส หลี่หลงจีเมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า ถังเสวียนจง (唐玄宗) สิ่งแรกที่กระทำคือกวาดล้างขุมกำลังขององค์หญิงไท่ผิง นำพาสันติสุขกลับคืนมาอีกครั้ง ตลอด 32 ปีในรัชสมัย ทรงปฏิรูปการปกครองกวาดล้างขุนนางกังฉิน ทรงทำให้ฉางอานกลายเมืองศูนย์กลางของโลกในขณะนั้น ประชากรในเมืองฉางอานสูงกว่า1ล้านคน เป็นปลายทางของเส้นทางสายไหม และยังเป็นจุดหมายปลายทางของพวกพ่อค้าชาวตะวันตก ต้าถังในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยนักดนตรี นักประพันธ์ เจริญด้วยวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย สังคมงสบสุข พระบารมีแผ่ขยายไปกว้างไกล ประวัติศาสตร์ยุคนี้ได้รับการขนานนามว่า "ปฐมศักราชแห่งความรุ่งโรจน์" นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาต่างชาติพากันลั่งไหลเข้ามาเรียนรู้ในผ่นดินต้าถังนตลอดไม่ขาดสาย ฉางอานเมืองหลวงของต้าถังในขณะนั้น กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของโลกมีความเจริญในทุกๆด้าน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังเสฺวียนจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถังเต๋อจง

thumb สมเด็จพระจักรพรรดิถังเต๋อจง (ค.ศ. 779-805) ประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังเต๋อจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีหวัง (จักรพรรดิถังเกาจง)

จักรพรรดินีหวัง (王皇后_(唐高宗)Empress Wang (Gaozong), ?-ค.ศ.655)เป็นจักรพรรดินีในสมัยราชวงศ์ถังโดยทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีองค์แรกของจักรพรรดิถังเกาจงต่อมาถูกถอดและสิ้นพระชนม์ในปีค.ศ.655 หมวดหมู่:จักรพรรดินีราชวงศ์ถัง หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ถัง หมวดหมู่:ตัวละครในบูเช็คเทียน จอมนางเหนือแผ่นดิน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดินีหวัง (จักรพรรดิถังเกาจง) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีฮั่นเกา

ักรพรรดินีฮั่นเกา มีพระนามเดิมว่า ลฺหวี่จื้อ (呂雉, 241-180 ปีก่อนค.ศ.) เป็นจักรพรรดินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่น เมื่อจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ พระราชสวามี และจักรพรรดิฮั่นฮุ่ยตี้ พระราชโอรส เสด็จสวรรคตลงพระองค์จึงขึ้นมามีอำนาจด้วยการตั้งพระราชนัดดาขึ้นเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดถึง 2 พระองค์ ก่อนจะสิ้นพระชนม์เมื่อ 180 ปีก่อน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดินีฮั่นเกา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเหวย์

ักรพรรดินีเหวย์ ชื่อตัวไม่ทราบ เป็นฮองเฮา (皇后) แห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน เป็นมเหสีองค์ที่สองของจักรพรรดิถังจงจง (唐中宗) ซึ่งครองราชย์สองครั้ง เมื่อถังจงจงสิ้นพระชนม์โดยร่ำลือกันว่า เป็นผลมาจากการวางยาขอพระนางเหวย์ และองค์หญิงอันเล่อ (安樂公主) ผู้เป็นธิดา พระนางเหวย์ก็ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินและพยายามขึ้นเป็นกษัตริย์หญิงทำนองเดียวกับพระนางอู่ เจ๋อเทียน (武則天) ผู้เป็นแม่ผัว แต่ไม่สำเร็จ ในไม่ช้า องค์หญิงไท่ผิง (太平公主) น้องสาวของถังจงจง และหลี่ หลงจี (李隆基) หลานชายของถังจงจง รวมกำลังกันมาปราบปราม พระนางเหวย์ถูกทหารตัดศีรษะสิ้นพระชนม.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจักรพรรดินีเหวย์ · ดูเพิ่มเติม »

จาง เจี่ยนจือ

งเจี่ยนจือ (ค.ศ.625-706)เป็นขุนนางในสมัย ราชวงศ์ถัง และอู่โจวและเป็นแกนนำในการบีบให้ บูเช็กเทียน สละราชสมบัติโดยท่านรับราชการในรัชสมัยพระนางบูเช็กเทียนแห่งอู่โจวและ จักรพรรดิถังจงจง แห่งราชวงศ์ถังต่อมาท่านถูกพระญาติของถังจงจงคือ อู่ซานซือ ผู้เป็นพระนัดดาของจักรพรรดินีบูเช็กเทียนใส่ร้ายท่านจึงถูกเนรเทศและถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกเนรเทศในปี..706 ขณะอายุได้ 81 ปี หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ถัง หมวดหมู่:ขุนนางจีน หมวดหมู่:ตัวละครในบูเช็คเทียน จอมนางเหนือแผ่นดิน หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและจาง เจี่ยนจือ · ดูเพิ่มเติม »

ถ้ำหลงเหมิน

้ำผาหลงเหมิน (หลงเหมินฉือคู) เป็นกลุ่มถ้ำบนหน้าผา ห่างออกไปทางใต้ 12 กิโลเมตรจากเมืองลั่วหยาง ในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่ระหว่างภูเขาเซียงทางทิศตะวันออกกับภูเขาหลงเหมินทางทิศตะวันตก หันหน้าออกสู่ริมฝั่งแม่น้ำอี้ พื้นที่บริเวณกลุ่มถ้ำมีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร จัดว่าเป็น 1 ใน 3 แหล่งปฏิมากรรมโบราณที่ประกอบด้วยถ้ำมั่วเกา ถ้ำหลงเหมิน และถ้ำยฺหวินกัง ที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและถ้ำหลงเหมิน · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ขันที

หลี่เสียน ค.ศ. 706 ขันที คือ ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ในภาษาจีนเรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ (ฮกเกี้ยน:太監,ไท้ก่ำ) ในภาษาละตินและอาหรับเรียกว่ายูนุก (Eunuch) โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า ยูโนคอส (eunouchos) แปลว่าผู้ดูแลรักษาเตียง ส่วนชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย (อ่านว่า ก็อมนอย) แปลว่า ขันทีที่ปราศจากความรู้สึกทาง.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและขันที · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ตำแหน่งมเหสีแห่งราชวงศ์ถังของจีน

ตำแหน่งมเหสีแห่งราชวงศ์ถังของจีน (Imperial consorts of Tang China) ถูกจัดแบ่งออกเป็น 8 - 9 ขั้น (ไม่นับตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดินี ซึ่งเป็นตำแหน่งของพระอัครมเหสี) ซึ่งจะถูกเรียกว่า "นางใน หรือเน่ยกวน" (อังกฤษ: inner officials; จีน: 內官; พินอิน: Nèi guān) ซึ่งเทียบได้กับคำว่า "ข้าราชการในราชสำนัก หรือเจ้าหน้าที่พระราชวัง หรือกงกวน" (อังกฤษ: palace officials; จีน: 宮官; พินอิน: Gōng guān) ในระบบข้าราชการ ในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและตำแหน่งมเหสีแห่งราชวงศ์ถังของจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋ เหรินเจี๋ย

ตี๋ เหรินเจี๋ย ตามสำเนียงจีนกลาง หรือ เต๊ก ยิ่นเกี๊ยด ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 630 — 15 สิงหาคม ค.ศ. 700) หรือชื่อรองว่า ไหวฺอิง เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ถัง ในรัชศกอู่ เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) เป็นข้าราชการหนึ่งในหลาย ๆ คนซึ่งได้รับการสรรเสริญมากที่สุดในรัชศกดังกล่าว และเป็นที่สดุดีว่ามีบทบาทผลักดันให้อู่ เจ๋อเทียนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบอันโหดร้ายเป็นระบอบอันเชิดชูคุณธรรม.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและตี๋ เหรินเจี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกร

ตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกร (อังกฤษ: Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon) เป็นภาพยนตร์แอคชั่นแฟนตาซี สัญชาติจีน สร้างขึ้นเมื่อปี ..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ

ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ (Detective Dee, Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame, จีนตัวเต็ม: 狄仁傑之通天帝國(臺:通天神探狄仁傑, จีนตัวย่อ: 狄仁杰之通天帝国) ภาพยนตร์กำลังภายในแนวสืบสวนสอบสวนสัญชาติฮ่องกง นำแสดงโดย หลิว เต๋อหัว, หลิว เจียหลิง, หลี่ ปิงปิง, เหลียง เจียฮุย, เติ้งเชา กำกับโดย ฉีเคอ.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฉางชา

ฉางชา เป็นเมืองหลวงของมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ในประเทศไทยนั้นบางครั้งฉางชาถูกเรียกเป็นฉางซา ซึ่งไม่ตรงกับในพินอิน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและฉางชา · ดูเพิ่มเติม »

ฉางอาน

ฉางอาน ตามสำเนียงกลาง หรือ เตียงฮัน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Chang'an) เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งเปลี่ยนชื่อในสมัยราชวงศ์ชิง ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace) สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย ในยุคนั้นเรียกว่าเมืองต้าซิง เมื่อถึงราชวงศ์ถังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอาน เมืองนี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างเกือบ 100 ปี แต่ความใหญ่โตมโหฬารกลับปรากฏในตอนท้าย เมืองฉางอานในยุคนั้นเมื่อเทียบกับเมืองซีอานในอดีตแล้วยังนับว่าใหญ่กว่า 10 เท่า ถือว่าเป็นเมืองระดับนานาชาติเลยก็ว่าได้ พื้นที่ส่วนหนึ่งของฉางอาน ภายในเมืองฉางอานมีพระราชวังเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่บริหารราชภารแผ่นดิน ทางทิศใต้ของเขตพระราชวังใช้เป็นที่ทำงานของขุนนางทั้งหลาย ถนนหนทางภายในตัวเมืองฉางอานและที่พักอาศัย ถูกออกแบบคล้ายกระดานหมายรุก เป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนหลายสายภายในเมืองมีความกว้างกว่า 100 เมตร หนึ่งในนั้น ถนน "จูเชว่" ถือได้ว่าเป็นถนนที่กว้างมากที่สุด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมือง เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิงและชิงก็ได้นำเอาแบบอย่างการสร้างเมืองฉางอานไปใช้ในการสร้างเมืองปักกิ่ง เมืองฉางอานมีส่วนที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย แบ่งเป็นสัดส่วน ภายในส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย มีร้านค้ามากมาย เรียกร้านค้าเหล่านี้ว่า "ห้าง" อาทิ ห้างขายเนื้อ ห้างขายปลา ห้างขายยา ห้างผ้า ห้างเหล็ก ห้างเงินทอง ฯลฯ ว่ากันว่าแค่เพียงส่วนค้าขายทางตะวันออก ก็มีร้านค้ากว่า 200 แห่ง สิ่งของหายากจากทั่วทุกสารทิศ สามารถหาซื้อได้ในเมืองฉางอาน เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง การแข่งขันชนไก่ ชักเย่อ โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียงต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น สยาม และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย (อิหร่านปัจจุบัน) กับทาจิกส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมืองฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม แต่ยังกลายเป็นเมืองระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่งอีกด้ว.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและฉางอาน · ดูเพิ่มเติม »

ฉือเจียจวง

วิวฉือเจียจวงตอนกลางคืน ฉือเจียจวง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเหอเป.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและฉือเจียจวง · ดูเพิ่มเติม »

ซูถง

ซูถง (เกิด พ.ศ. 2507) เป็นนามปากกาของนักเขียนชาวจีนชื่อ 童忠贵 ซูถงถูกเรียกว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนที่เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนยุคใหม่ของประเทศจีน เขามีผลงานเขียนนิยาย 7 เล่ม และเรื่องสั้นกว่า 200 เรื่อง ผลงานหลายส่วนได้ถูกแปลออกมาในภาษาอังกฤษ เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส หนังสือที่เป็นรู้จักดีคือ 妻妾成群 (Wives and Concubines) ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและซูถง · ดูเพิ่มเติม »

ซีอาน

ซีอาน หอระฆังกลางเมืองซีอาน วิวซีอาน ซีอาน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: ความสงบสุขทางตะวันตก) เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์ รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ภูมิอากาศของภูมิภาคนี้อบอุ่น มีฝนตกมาก มีปริมาณฝนเทียบได้ใกล้เคียงกับภูมิภาคด้านใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน ดังนั้น ประชากรที่นี่จึงค่อนข้างมาก ทางตะวันออกของ ซีอาน ห่างไปประมาณ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชื่อ ปั้น-ภอ-ฌุน ได้มีการค้นพบหมู่บ้านที่มีอายุกว่า 6 พันปี ซึ่งมีประชากรประมาณ 500 คน ฮ่องเต้ของราชวงศ์โจวตะวันตก ได้เคยสร้างเมืองหลวง 2 เมือง ทางตะวันตกของ ซีอาน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและซีอาน · ดูเพิ่มเติม »

ซีซีทีวี 1

ซีซีทีวี 1 (中国中央电视台综合频道) เป็นช่องรายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี 2 กันยายน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและซีซีทีวี 1 · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน เป็นการต่อปฏิทินเกรโกเรียนย้อนหลังไปในอดีตก่อนการใช้ปฏิทินเกรโกเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและปฏิทินก่อนเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยายอิงชีวประวัติ

แมรี โบลีนผู้ที่ฟิลิปปา เกรกอรีนำมาเขียนเป็นนวนิยาย นวนิยายอิงชีวประวัติ (Biographical novel) เป็นประเภท (genre) ของนวนิยายที่เนื้อเรื่องมีพื้นฐานมาจากชีวประวัติของบุคคล นวนิยายประเภทนี้มักจะสร้างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบุคคลที่มีจริง ที่ผู้ประพันธ์สร้างเสริมรายละเอียดจากจินตนาการที่อาจจะมีพื้นฐานจากเหตุการณ์ที่ทราบว่าเกิดขึ้นจริง ชื่อและสถานที่อาจจะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากชื่อจริงเมื่อจำเป็น เช่นในงานเขียน “The Vicar of Wakefield” (วิคาร์แห่งเวคฟิลด์) โดยนักเขียนชาวไอริชโอลิเวอร์ โกลด์สมิธที่เขียนในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและนวนิยายอิงชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

นางสนองพระโอษฐ์

ลตติก โนลส์ เคาน์เตสแห่งเอสเซกซ์และไลเชสเตอร์ นางสนองพระโอษฐ์ในราชสำนักอังกฤษ นางสนองพระโอษฐ์ (lady-in-waiting) หมายถึงสตรีผู้ช่วยส่วนพระองค์ในราชสำนัก ซึ่งถวายการรับใช้แด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิง หรือสตรีสูงศักดิ์ นางสนองพระโอษฐ์มักจะมีพื้นหลังมากจากครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมสูงแต่มีฐานันดรต่ำกว่าสตรีที่ตนรับใช้ ซึ่งแม้ว่านางสนองพระโอษฐ์คนใดจะรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม มักจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นคนรับใช้หรือข้าราชบริพาร นางสนองพระโอษฐ์ ยังหมายถึงกลุ่มของสตรีผู้มีฐานะครอบครัว บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ทางการที่หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างกันในฐานะ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้มักจะมีเกียรติศักดิ์สูง พระบรมวงศานุวงศ์หญิงหรือสตรีผู้สูงศักดิ์อาจทรงสามารถเลือกนางสนองพระโอษฐ์ได้ด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็ได้ แต่แม้ว่าจะทรงมีสิทธิในการเลือกนางสนองพระโอษฐ์ได้อย่างเสรี หากตามประวัติศาสตร์แล้ว การตัดสินใจดังกล่าวมักจะได้รับอิทธิพลจากองค์พระมหากษัตริย์ พระราชบิดา-พระราชมารดา พระราชสวามี หรือเหล่าเสนาบดีของพระมหากษัตร.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและนางสนองพระโอษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไท่หยวน

ท่หยวน เป็นเมืองในประเทศจีน เมืองหลวงของมณฑลซานซี เป็นเมืองอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศจีน และเป็นแหล่งผลิตถ่านหินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและไท่หยวน · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)

อร์ล็อก (Sherlock) เป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์แนวชีวิตและสืบสวนจากสหราชอาณาจักร นำเสนอเนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากรหัสคดีชุด เชอร์ล็อก โฮมส์ ของเซอร์อาร์เทอร์ โคนัน ดอยล์ โดยปรับช่วงเวลาจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาเป็นสมัยปัจจุบัน ภาพยนตร์ชุดนี้สร้างสรรค์โดยสตีเวน มอฟฟัต และมาร์ก เกทิสส์ นำแสดงโดยเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ (รับบทเป็นเชอร์ล็อก โฮมส์) และมาร์ติน ฟรีแมน (รับบทเป็นนายแพทย์จอห์น วอตสัน) ซู เวอร์ทิว และอิเลน แคเมอรอนแห่งบริษัทฮาร์ตสวุดฟิมส์ผลิต เชอร์ล็อก ให้แก่สถานีโทรทัศน์บีบีซีในสหราชอาณาจักร และร่วมผลิตภาพยนตร์ชุดนี้กับสถานีโทรทัศน์ดับเบิลยูจีบีเอช บอสตัน ในฐานะส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุดรวมเรื่อง (anthology series) ชุด แมสเตอร์พีซ ซึ่งแพร่ภาพในสหรัฐอเมริกาผ่านเครือข่ายพีบีเอส ภาพยนตร์ชุด เชอร์ล็อก ถ่ายทำในเมืองคาร์ดิฟฟ์ของเวลส์เป็นหลัก โดยสมมุติให้ถนนนอร์ทกาวเวอร์ในกรุงลอนดอนเป็นฉากด้านนอกของห้องอยู่อาศัยเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ของโฮมส์และวอตสัน ปัจจุบันภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการผลิตออกมาแล้ว 10 ตอน สามตอนแรกออกอากาศในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและเชอร์ล็อก (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

เผย์ หยัน

ผย์ หยัน (ตาย 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 684) ชื่อรองว่า จึหลง (子隆) เป็นขุนนางจีนสมัยราชวงศ์ถัง รับราชการเป็นอัครมหาเสนาบดีในรัชกาลถังเกาจง และในช่วงที่มเหสีอู่ เจ๋อเทียน สำเร็จราชการแทนโอรสถังจงจงและถังรุ่ยจง เขาเป็นที่ไว้วางพระทัยของถังเกาจงและอู่ เจ๋อเทียน แต่เมื่อเสนอให้อู่ เจ๋อเทียน คืนอำนาจให้แก่จักรพรรดิถังรุ่ยจง ก็ทำให้พระนางพิโรธยิ่งนัก ใน..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและเผย์ หยัน · ดูเพิ่มเติม »

เจี่ย จิ้งเหวิน

ี่ย จิ้งเหวิน หรือ อลิซซา เจีย (ชื่อภาษาอังกฤษ: Alyssa Chia, Chia Ching Wen, Jia Jing Wen) เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง ดาบมังกรหยก ในบทเตี๋ยเมี่ยง และบทบูเช็คเทียน ในบูเช็คเทียน เธอได้ชื่อว่าเป็นราชินีวงการบันเทิงไต้หวัน เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและเจี่ย จิ้งเหวิน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงไท่ผิง

องค์หญิงไท่ผิง (ค.ศ. 665 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 713) เป็นพระธิดาในจักรพรรดินีบูเช็กเทียนและจักรพรรดิถังเกาจงและเป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดิถังจงจงและจักรพรรดิถังรุ่ยจงเมื่อพระราชมารดาสวรรคตในปี..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและเจ้าหญิงไท่ผิง · ดูเพิ่มเติม »

เฉิงตู

ฉิงตู (Chengdu) เป็นเมืองเอกของมณฑลเสฉวน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหมินใจกลางมณฑล ประชากรเมืองเฉิงตูมีราว 10 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 3 ของประเทศจีน ในปัจจุบันเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมือง การทหาร และด้านการศึกษาของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ คำว่าเฉิงตูมีความหมายว่า ค่อย ๆ กลายเป็นเมือง เนื่องจากย้อนไปเมื่อราว 2,000 ปีที่แล้ว ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้มีการจัดการชลประทานขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำทุกปี เมื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ชาวนาชาวไร่เพาะปลูกได้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คนจึงเริ่มอพยพมาที่เมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้ชื่อว่าเฉิงตู ไฟล์:Jingjiang.JPEG|แม่น้ำจินเจียงและสะพาน Anshun ไฟล์:Chunxilu.jpeg|ถนนถนนชุนซี ไฟล์:Chengdu-calles-w03.jpg|การจราจรในเฉิงตู หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:มณฑลเสฉวน หมวดหมู่:เมืองเอกของมณฑลในจีน.

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและเฉิงตู · ดูเพิ่มเติม »

เนี่ย อู้เซ็ง

นี่ย อู้เซ็ง (เหลียง อวี่เชิง) (5 เมษายน ค.ศ. 1926 - 22 มกราคม ค.ศ. 2009) เป็นนามปากกาของ ตั้ง บุนทง (เฉิน เหวินถ่ง) นักเขียนนิยายกำลังภายในชาวจีน ผู้เขียนเรื่อง นางพญาผมขาว เจ็ดนักกระบี่ ตั้ง บุนทง เกิดที่มณฑลกวางสี ทางภาคใต้ของจีน ศึกษาด้านวรรณคดีจีนคลาสสิก ประวัติศาสตร์จีน และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยหลิงหนาน ในเมืองกวางโจว และเริ่มทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ตั้งแต่เรียนจบ โดยเริ่มเขียนนวนิยายกำลังภายใน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตั้งแต..

ใหม่!!: บูเช็กเทียนและเนี่ย อู้เซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Wu Zetianอู่ เจ๋อเทียนอู่เม่ยเหนียงอู่เจ๋อเทียนฮ่องเต้หญิงบูเช็กเทียนบูเช็คเทียนพระนางบูเช็กเทียนพระนางบูเช็คเทียนจักรพรรดินีหวู่เจ๋อเทียนจักรพรรดินีอู่จักรพรรดินีอู่ เจ๋อเทียนจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนจักรพรรดินีบูเช็กเทียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »