สารบัญ
13 ความสัมพันธ์: กลุ่มล้ำยุคลอสแอนเจลิสลัทธิจุลนิยมออร์เคสตราอี้จิงอเมริกันคอนแชร์โตคีตกวีนักเขียนนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)โซนาตาเพอร์คัชชันเปียโน
- บุคคลที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ
กลุ่มล้ำยุค
กลุ่มล้ำยุค (avant-garde) ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงทหารกองหน้า (แวนการ์ด), Dictionary.com เรียกดูเมื่อ 14 มีนาคม..
ลอสแอนเจลิส
ลอสแอนเจลิส (Los Angeles) หรือที่รู้จักในชื่อ แอลเอ (L.A.) เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง ทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการบันเทิง ลอสแอนเจลิสตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเริ่มตั้งเป็นเมืองเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.
ลัทธิจุลนิยม
“Dillingen Serra”Dillinger.de: Richard Serra’s "Viewpoint" for Dillingenhttp://www.dillinger.de/dh/aktuelles/news/01700/index.shtml.en ประติมากรรมโดย ริชาร์ด เซร์รา ลัทธิจุลนิยม หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์ (ภาษาอังกฤษ: Minimalism) คือขบวนการทางศิลปะและการออกแบบโดยเฉพาะจักษุศิลป์และคีตศิลป์ ที่เริ่มราวหลังสงครามโลกครั้งที่สองในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะจักษุศิลป์ของสหรัฐอเมริกา ราวปลายคริสต์ทศศตวรรษ 1960 และ ต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1970 งานลัทธิจุลนิยมจะเป็นงานที่ปอกรายละเอียดจนเหลือแต่แก่น ซึ่งมีผลต่องานศิลปะหลายแขนงรวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม และคีตกรรม ศิลปินผู้มีบทบาทในขบวนการนี้ก็ได้แก่ โดนัลด์ จัดด์ (Donald Judd), คาร์ล อันเดร (Carl Andre) และ ริชาร์ด เซร์รา (Richard Serra) ลัทธิจุลนิยมเป็นความคิดรากฐานของการลดลง (reductive aspect) ของลัทธิสมัยใหม่ (Modernism) บางครั้งจึงตีความหมายว่าเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ ลัทธิการแสดงออกทางนามธรรม (Abstract Expressionism) และเป็นสะพานเชื่อมไปยังลัทธิสมัยใหม่สมัยหลัง (Postmodernism) คำว่า “ลัทธิจุลนิยม” ครอบคลุมไปถึงขบวนการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีซึ่งจะใช้การเล่นซ้ำและขยายจากแกนเช่นงานของ สตีฟ ไรค์ (Steve Reich), จอห์น แอดัมส์ (John Adams), ฟิลลิป กลาส (Philip Glass) และ เทอร์รี ไรลีย์ (Terry Riley) คำว่า “ลัทธิจุลนิยม” มักจะใช้ในภาษาพูดที่หมายถึงสิ่งที่เปลือยจากรายละเอียดต่างๆ และบางครั้งก็ใช้บรรยายบทละครที่เขียนโดย ซามูเอล เบคเคท (Samuel Beckett), ภาพยนตร์โดย โรเบิร์ต เบรสซัน (Robert Bresson) และงานเขียนเรื่องเล่าของ เรมอนด์ คาร์เวอร์ (Raymond Carver), งานสถาปัตยกรรมของ ลุดวิก ฟอน เดอร์ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) หรือแม้แต่การออกแบบรถยนต์โดย โคลิน แชพแมน (Colin Chapman).
ออร์เคสตรา
วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.
อี้จิง
อี้จิง อี้จิง คือวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง จากมีเป็นไม่มี ไม่มีเป็นมี บวกกลายเป็นลบ ลบกลายเป็นบวก จึงมีการแทนสิ่งเหล่านี้ด้วยเส้นเต็มและเส้นขาดสองแบบ เมื่อนำมารวมกันหกเส้นหรือฉักลักษณ์ (ฉักก.
อเมริกัน
อเมริกัน อาจหมายถึง.
คอนแชร์โต
อนแชร์โต (concerto) คือ เป็นการประพันธ์เพลงรูปแบบหนึ่ง ส่วนมากมีสามท่อน (three-parts) ในอัตราจังหวะเร็ว-ช้า-เร็ว ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีการเล่นประชันกัน โดยอาจจะเป็นการเดี่ยวเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรี หรือกลุ่มเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรีก็ได้.
คีตกวี
ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด คำว่า คีตกวี ในภาษาไทยนี้ นิยมใช้เรียก ผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้น คีตกวี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักแสดงดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม เช่น เบโทเฟิน, โมซาร์ท, วากเนอร์ ฯลฯ.
นักเขียน
นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.
นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)
นิวยอร์ก อาจหมายถึง.
ดู จอห์น เคจและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)
โซนาตา
ซนาตา (Sonata; Sonare) เป็นประเภทของบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเครื่องดนตรี เช่น Piano sonata ก็คือบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเปียโน หรือ Violin Sonata ก็เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวไวโอลิน อนึ่ง เพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนมักจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ (Accompaniment) ซึ่งมักจะเป็นเปียโน โซนาตา เป็นภาษาอิตาลีและมาจากคำละตินว่า "โซนาเร" (Sonare) ที่หมายความว่าเสียง (Sound) ในความหมายว่าบรรเลง เพลงประเภทโซนาตามักประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ในอัตราช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่ในบรรยากาศที่ร่าเริง.
เพอร์คัชชัน
ในทางดนตรี เครื่องเพอร์คัชชัน (percussion) หมายถึงวัตถุที่ให้เสียงจากการตี กระทบ ถู เขย่า หรือการกระทำลักษณะที่ใกล้เคียงกันที่ทำให้วัตถุสั่นและเกิดเสียง เพอร์คัชชันนั้นหมายความรวมทั้งเครื่องดนตรีที่รู้จักกันทั่วไป เช่น กลอง ฉาบ ฆ้อง แทมบูรีน ไซโลโฟน หรือสิ่งของซึ่งถูกนำมาใช้ในดนตรีสมัยใหม่หลายชนิด เช่น ไม้กวาด ท่อโลหะ เป็นต้น เครื่องเพอร์คัชชันมีทั้งเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงและไม่มีระดับเสียง เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียง ซึ่งหมายถึงว่าเสียงที่ออกมานั้นมีความถี่ที่ซับซ้อนจนมาสามารถตั้งเป็นตัวโน้ตได้เช่น กลองทิมปานี มาริมบา ไซโลโฟน ระนาด และเครื่องที่ไม่มีระดับเสียง เช่น กลองสแนร์ ฉาบ ไทรแองเกิล เป็นต้น คำว่าเพอร์คัชชัน มีที่มาจากภาษาละตินว่า "percussio" ซึ่งมีความหมายว่า"ตี" ในภาษาอังกฤษ คำว่าเพอร์คัชชันไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในทางดนตรี ในภาษาไทย บางครั้งจะเรียกเครื่องเพอร์คัชชันว่า เครื่องกระทบ เครื่องตี หรือเครื่องเคาะ รวมถึงเครื่องให้จังหวะ และเครื่องประกอบจังหว.
เปียโน
ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.
ดูเพิ่มเติม
บุคคลที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ
- จอห์น เคจ
- จักรพรรดินีซุนจ็อง
- ชารอน สโตน
- ทาเกชิ คาเนชิโระ
- พระวิสุทธิสังวรเถร (ปีเตอร์ พฺรหฺมวํโส)
- พระสารีบุตร
- พระเจ้าชิมนยู
- พระเจ้ามิลินท์
- พระเจ้าอโศกมหาราช
- พระโลกนาถ
- สตีเวน ซีกัล
- หลิว เต๋อหัว
- หลี่ เหลียนเจี๋ย
- หวัง จู่เสียน
- เนโอมี วอตส์
- โอลิเวอร์ สโตน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ John Cage