โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ครีบยัน

ดัชนี ครีบยัน

รีบยันในงานก่อสร้าง มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง ครีบยัน (buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทล.

6 ความสัมพันธ์: ชายคาการก่อสร้างครีบยันลอยคันทวยนั่งร้านเรือนไทย

ชายคา

ือส่วนของหลังคาที่ยื่นออกจากตัวอาคาร ทำหน้าที่ป้องกันแดด และฝน ในงานสถาปัตยกรรมไทย เช่นเรือนไทย หรือโบสถ์ ฯลฯ ส่วนที่เป็นจันทันเอก ที่ยื่นออกมาเป็นชายคา มักจะมีไม้ค้ำยัน หรือคันทวย ที่ค้ำยันส่วนยื่นนี้ไว้เพื่อความแข็งแรงของโครงหลังคา และเพิ่มความสวยงามให้แก่อาคาร ที่ปลายของชายคามักจะปิดทับหัวจันทันส่วนปลายด้วยวัสดุ เรียกกันว่าเชิงชาย และจะมีวัสดุปิดเชิงชายอีกชิ้นหนึ่ง เรียกว่า ปิดเชิงชาย หรือปิดนก โดยทั่วไปมักจะเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ในปัจจุบันจะมีวัสดุประเภทไม้เทียม ซึ่งเป็นวัสดุทำเลียนแบบไม้ ซึ่งมีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี เชิงชายส่วนของชายคาด้านสกัดของอาคารจะเรียกว่าปั้นลม ในอาคารเรียนไทยจะเรียกส่วนของปั้นลมนี้ว่า ตัวเหง.

ใหม่!!: ครีบยันและชายคา · ดูเพิ่มเติม »

การก่อสร้าง

ตัวอย่างงานก่อสร้างอาคารบ้านพักสำเร็จรูป งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ การก่อสร้าง (อังกฤษ: Construction) คือกิจกรรมหรือการกระทำที่ทำให้เกิด การประกอบหรือการติดตั้ง ให้เกิดเป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบของสิ่งที่กล่าวข้างต้น และมักจะหมายถึงงานทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่ การก่อสร้างเป็นการปฏิบัติวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก ช่างซึ่งปฏิบัติงานในงานแขนงนั้นๆ ก็จะเรียกตามประเภทของงานนั้นๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คำที่เรียกโดยรวมก็คือ ช่างก่อสร้าง และผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้างจะเรียกทั่วๆ ไปว่า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล จะมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า บริษัทรับสร้างบ้าน.

ใหม่!!: ครีบยันและการก่อสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยันลอย

กำแพงครีบยันแบบปึกนอกหอประชุมสงฆ์ที่มหาวิหารลิงคอล์น กำแพงครีบยันแบบปึกที่มหาวิหารบาธที่อังกฤษ 5 ใน 6 ครีบยันที่เห็นรับน้ำหนักทางเดินกลาง (nave) อันที่ 6 รับน้ำหนักแขนกางเขน (transept) ครีบยันลอยที่มหาวิหารอาเมียง ครีบยันลอย (flying buttress, arc-boutant) ในทางสถาปัตยกรรม ครีบยันลอยเป็นครีบยัน (Buttress) ประเภทหนึ่งที่มักจะใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะกับสถาปัตยกรรมกอทิก เพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ครีบยันที่กระจายออกไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางเดินข้าง (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง ครีบยันลอยต่างกับครีบยันตรงที่จะมีลักษณะที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งหรือแนบกับตัวสิ่งก่อสร้างของครีบยัน การใช้ครีบยันลอยทำให้ทุ่นการรับน้ำหนักหรือแรงกดดันกำแพงที่แต่เดิมต้องรับน้ำหนักและความกดดันทั้งหมด จึงทำให้สามารถทำหน้าต่างได้กว้างขึ้นได้ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นโดยไม่มีครีบยันลอยก็จะทำให้กำแพงไม่แข็งแรง จุดประสงค์ของครีบยันลอยก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักกดดันของกำแพงทางเดินกลาง แรงกดดันและน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนบนของครีบยันฉะนั้นเมื่อทำครีบยันเป็นครึ่งซุ้มโค้งก็ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้เท่า ๆ กับครีบยันที่ตัน นอกจากนั้นยังทำให้ครีบยันเบาขึ้นและราคาถูกกว่าที่จะสร้าง ฉะนั้นกำแพงจึง “บิน” (flying) ออกไปจากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นกำแพงทึบ จึงทำให้เรียกกันว่า “ครีบยันลอย” วิธีการก่อสร้างที่ใช้ครีบยันมีมาตั้งแต่สมัยสถาปัตยกรรมโรมันและต้นโรมาเนสก์แต่สถาปนิกมักจะพรางครีบยันโดยการซ่อนไว้ใต้หลังคา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปนิกเมื่อมีการวิวัฒนาการการสร้างครีบยันลอยกันขึ้น นอกจากสถาปนิกจะเห็นถึงความสำคัญของครีบยันที่ใช้แล้ว ก็ยังหันมาเน้นการใช้ครีบยันเป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเช่นที่มหาวิหารชาทร์ มหาวิหารเลอม็อง (Le Mans Cathedral) มหาวิหารโบแว (Beauvais Cathedral) มหาวิหารแร็งส์ และมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเอง บางครั้งเมื่อเพดานสูงมากๆ สถาปนิกก็อาจจะใช้ครีบยันลอยซ้อนกันสองชั้นหรือบางครั้งการจ่ายน้ำหนักก็จะกระจายออกไปกับครีบยันสามสี่อัน ตามปกติแล้วน้ำหนักของครีบยันก็จะเพิ่มน้ำให้กับตัวอาคารพอสมควร ฉะนั้นครีบยันจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ การใช้ครีบยันดิ่งเป็นระยะ ๆ ทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักและแรงกดทับได้ดีขึ้นกว่าที่จะสร้างตลอดแนวกำแพง ครีบยันดิ่งที่ใช้ในการก่อสร้างมหาวิหารลิงคอล์น แอบบีเวสต์มินสเตอร์อยู่ภายนอกหอประชุมสงฆ์ ครีบยันดิ่งมักจะใช้ยอดแหลม (pinnacle) เหนือครีบยันในการสร้างแรงต่อต้านการรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น วิธีการก่อสร้างนี้ถูกนำไปใช้โดยสถาปนิกชาวแคนาดาวิลเลียม พี แอนเดอร์สันในการสร้างประภาคารเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: ครีบยันและครีบยันลอย · ดูเพิ่มเติม »

คันทวย

ผังคันทวยไม้ที่ Yingzao Fashi จากตำราการก่อสร้าง คันทวย หรือ ทวย (corbel) คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมทำหน้าที่ค้ำยันชายคา ระเบียง หรือ หลังคาของสิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: ครีบยันและคันทวย · ดูเพิ่มเติม »

นั่งร้าน

นั่งร้าน รอบตัวอาคาร สำหรับในงานก่อสร้าง นั่งร้าน เป็นโครงสร้างชั่วคราวใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซม ใช้สำหรับให้ช่างก่อสร้างปีนขึ้นไปที่สูง และเหยียบขึ้นไปเพื่อทำงาน รวมถึงใช้ในการวางสิ่งของที่จำเป็น และเมื่อก่อสร้าง ซ่อมแซมงานเสร็จ จะเก็บนั่งร้านออกทันที ไม่มีการเก็บนั่งร้านไว้ วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ โดยนั่งร้านที่นิยมใช้จะสร้างจากเหล็กท่อ และมีแผ่นไม้วางพาดสำหรับวางยืน ในขณะที่บางท้องที่อาจมีการใช้ไม้ไผ่ได้ ประเภทของนั่งร้านที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ประเภท.

ใหม่!!: ครีบยันและนั่งร้าน · ดูเพิ่มเติม »

เรือนไทย

รือนไทย แสงอรุณ สยามสมาคม กรุงเทพ เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเรือนเครื่องสับภาคกลางผสมกับการตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง เรือนไทย คือบ้านทรงไทย ที่แต่เดิมที่นิยมใช้วัสดุจำพวกไม้ ไปจนถึงเครื่องก่ออิฐถือปูน โดยมีลักษณะร่วมที่เหมือนหรือแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ได้แก่ เรือนไทยภาคเหนือ เรือนไทยภาคกลาง เรือนไทยภาคอีสาน และ เรือนไทยภาคใต้ ซึ่งล้วนสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูม.

ใหม่!!: ครีบยันและเรือนไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค้ำยันค้ำยันแบบปีก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »