โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หู จินเฉวียน

ดัชนี หู จินเฉวียน

หู จินเฉวียน (จีนตัวย่อ: 胡金铨, จีนตัวเต็ม: 胡金銓, พินอิน: Hú Jīnquán) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อภาษาอังกฤษว่า คิง ฮู (King Hu) เป็นอดีตผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนที่มีชื่อเสียงในอดีต ได้รับการยกย่องให้เป็น "ปรมาจารย์ภาพยนตร์กำลังภายใน" หรือ "ราชาแห่งภาพยนตร์กำลังภายใน" เช่นเดียวกับ จางเชอะ หู จินเฉวียน เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1932 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จบการศึกษาวิชาศิลปะที่นั่น จากนั้นในปี ค.ศ. 1949 จึงได้อพยพมาอาศัยอยู่ยังฮ่องกง ที่ฮ่องกง หู จิน เฉวียนได้เข้าทำงานที่บริษัท ชอว์ บราเดอรส์ ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับ, ผู้กำกับฝ่ายศิลป์, ผู้เขียนบท จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1966 ได้มีโอกาสกำกับภาพยนตร์เป็นเรื่องแรก คือ Come Drink with Me ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และยังได้ถือเป็นการแจ้งเกิดของนักแสดงหญิงหน้าใหม่ ที่ต่อมาเธอจะกลายมาเป็นราชินีภาพยนตร์กำลังภายใน คือ เจิ้ง เพ่ยเพ่ย ในเวลาต่อมา ต่อมาในปี ค.ศ. 1971 หู จินเฉวียนยังได้กำกับภาพยนตร์อีกเรื่อง คือ A Touch of Zen ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องแรกที่ได้มีโอกาสเผยแพร่ไปในระดับนานาชาติ คือ ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำ ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ในปี ค.ศ. 1975 และถือเป็นต้นแบบให้กับ หลี่ อัน ผู้กำกับฯในรุ่นต่อมาอีกหลายสิบปี สร้างเป็นภาพยนตร์กำลังภายในเรื่องใหม่ คือ Crouching Tiger, Hidden Dragon ในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งโด่งดังและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในทศวรรษที่ 90 หู จินเฉวียนยังคงมีผลงานอีกต่อไป ได้แก่ The Swordman ในปี ค.ศ. 1990 และPainted Skin ในปี ค.ศ. 1993 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีทั้งสองเรื่อง หู จินเฉวียน ได้รับรางวัลม้าทองคำ ไลฟ์ไทม์แอคชีเมนต์ ในปี ค.ศ. 1997 เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานที่มีมาทั้งชีวิต และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ปีเดียวกัน ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน.

36 ความสัมพันธ์: ชาวจีนพ.ศ. 2475พ.ศ. 2492พ.ศ. 2509พ.ศ. 2514พ.ศ. 2518พ.ศ. 2533พ.ศ. 2536พ.ศ. 2540พ.ศ. 2543พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลกพินอินภาพยนตร์จีนกำลังภายในภาษาอังกฤษรางวัลม้าทองคำรางวัลปาล์มทองคำศิลปะหลี่ อันหงส์ทองคะนองศึกอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มฮ่องกงผู้กำกับภาพยนตร์จาง เช่อคริสต์ทศวรรษ 1990ความตายตะลุยแดนศักดิ์สิทธิ์ประเทศจีนประเทศไต้หวันปักกิ่งไทเปเจิ้ง เพ่ยเพ่ยเทศกาลภาพยนตร์กานเดชคัมภีร์เทวดา14 มกราคม29 เมษายน

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก

ปสเตอร์ภาพยนตร์ โปสเตอร์โปรโมทภาพยนตร์ก่อนเข้าฉาย พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก (Crouching Tiger, Hidden Dragon) นำแสดงโดย โจว เหวินฟะ, จาง จื่ออี๋, มิเชลล์ โหยว, เจิ้ง เพ่ยเพ่ย กำกับโดย อั้งลี่ ออกฉายในปี ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์จีนกำลังภายใน

กภาพยนตร์เรื่อง "พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก" ภาพยนตร์จีนกำลังภายใน เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 60 เช่น หงส์ทองคะนองศึก, The Magnificent Trio, One-Armed Swordsman ฯลฯ ผลิตในฮ่องกงและไต้หวัน ภาพยนตร์จีนกำลังภายในมักแฝงปรัชญาตะวันออกเอาไว้ บางเรื่องแฝงการหลุดพ้นจากลาภยศ กิเลส ตัณหา ราคะทั้งปวง หรือเน้นการเสียสละตนเองเพื่อผดุงคุณธรรมตามความเชื่อแห่งตน ในช่วงทศวรรษที่ 60 - 70 ฉากต่อสู้ของหนังกำลังภายในเป็นความตื่นตาตื่นใจสูงสุดของโลกภาพยนตร์ตะวันออก การหกขเมนตีลังกา ลีลาประดาบที่รวดเร็ว กลายเป็นความบังเทิงที่ได้รับความนิยม ภาพยนตร์ประเภทนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้กำกับคิวบู๊คนสำคัญของชอว์บราเดอร์ที่ชื่อว่าหลิวเจียเหลียง ในปี 2000 ภาพยนตร์เรื่องพยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก กำกับโดยอั้งลี่ นับเป็นภาพยนตร์จีนกำลังภายในที่ออกฉายทั่วโลก และยังได้รับรางวัลออสการ์อีกด้ว.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและภาพยนตร์จีนกำลังภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลม้าทองคำ

รางวัลม้าทองคำ (臺北金馬影展; Golden Horse Awards) เป็นรางวัลที่มอบให้กับภาพยนตร์ภาษาจีนซึ่งมาจากทั้ง ฮ่องกง, ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมอบในเทศกาลภาพยนตร์ดังกล่าวทุกปี.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและรางวัลม้าทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลปาล์มทองคำ

รางวัลปาล์มทองคำ (Palme d'Or) เป็นรางวัลสูงสุดในการประกวดภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ มีครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและรางวัลปาล์มทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะ

ลปะ (शिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน despacito หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ อัน

หลี่ อัน (จีน: 李安, พินอิน: Lǐ Ān) (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2497) คนไทยรู้จักในชื่อ อั้งลี่ (Ang Lee) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไต้หวัน เขาได้รับรางวัลออสการ์ 2 ครั้งจาก ภาพยนตร์เรื่อง หุบเขาเร้นรัก (Brokeback Mountain, 2005) และ พยัคฆ์ระห่ำมังกรผยองโลก (Crouching Tiger, Hidden Dragon, 2000) ในสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม The Wedding Banquet (1993) และ ชีวิตอัศจรรย์ของพาย (Life of Pi, 2012) ในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม ในปี 2007 เขาได้คว้ารางวัลสิงโตทองคำของเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ จากภาพยนตร์เรื่อง Lust, Caution หนังสายลับย้อนยุค ในสมัยทศวรรษที่ 1940 ของเมืองเซี่ยงไฮ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศจีนถูกกองทัพของประเทศญี่ปุ่นรุกราน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและหลี่ อัน · ดูเพิ่มเติม »

หงส์ทองคะนองศึก

ปสเตอร์ภาพยนตร์ หงส์ทองคะนองศึก ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์จีนกำลังภายในเรื่อง Come Drink with Me (ภาษาจีนกลาง: 大醉侠, ต้าจุ้ยเสีย) นำแสดงโดย เจิ้งเพ่ยเพ่ย, เยี่ยหัว กำกับโดย หูจินเฉวียน ความยาว 91 นาที ออกฉายในปี พ.ศ. 2509.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและหงส์ทองคะนองศึก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้กำกับภาพยนตร์

วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ขณะกำกับภาพยนตร์ในกองถ่ายเรื่องเปนชู้กับผี ผู้กำกับภาพยนตร์ คือผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามแบบที่ตนเองต้องการ และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่น ๆ ในกองถ่าย อย่างเช่น ฝ่ายผู้กำกับภาพ ผู้กำกับการแสดง ฝ่ายเทคนิค นักแสดง ออกมาอยู่ในองค์ประกอบทางศิลป์ที่ตนเองต้องการบนแผ่นฟิล์มหรือในระบบดิจิตอล อย่างไรก็ดี ผู้กำกับภาพยนตร์อาจจะควบคุมทุกอย่างตามที่ตนคิดไว้ไม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ฉายในโรง เพราะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ จะเป็นคนกำหนดงบประมาณที่จะให้ผู้กำกับใช้จ่ายได้ หรือสั่งตัดต่อหนังในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเข้าโรงฉายหากหนังมีความยาวเกินไป หรือเพื่อดึงการจัดเรตหนังให้ต่ำลงมา หรือบางฉากอาจจะมีการเพิ่มโฆษณาเข้าไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แปลกหากผู้กำกับจะมีปัญหาให้คุยกับผู้อำนวยการสร้างเสมอ.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและผู้กำกับภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จาง เช่อ

ง เช่อ (Chang Cheh 10 กุมภาพันธ์ 1923 – 22 มิถุนายน 2002) เป็น ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีน เขากำกับภาพยนตร์มาหลายเรื่อง เช่น Five Deadly Venoms, The Brave Archer (งานบทประพันธ์ของ กิมย้ง), The One-Armed Swordsman และ ภาพยนตร์กำลังภายใน อีกหลายเรื่อง.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและจาง เช่อ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1990

คริสต์ทศวรรษ 1990 (1990s) เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1990 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เป็นทศวรรษแรกที่ตามมาด้วยผลกระทบของการสิ้นสุดสงครามเย็น คริสต์ทศวรรษ 1990.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและคริสต์ทศวรรษ 1990 · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะลุยแดนศักดิ์สิทธิ์

หน้าปกดีวีดี ตะลุยแดนศักดิ์สิทธิ์ ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์จีนกำลังภายในเรื่อง A Touch of Zen (ภาษาจีนกลาง: 侠女, เสียหนี่ว์) นำแสดงโดย ไป๋อิง, สีว์เฟิง, สือเจวี้ยน, เถียนเผิง กำกับการแสดงโดย หูจินเฉวียน ความยาว 188 นาที ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2514.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและตะลุยแดนศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ไทเป

right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ. 2005 จำนวน 2,619,022 คน (ไม่รวมประชากรในเขตนครซินเป่ย์ซึ่งนครซินเป่ย์มีประชากรมากกว่า) นครไทเปเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของไต้หวัน เป็นที่ตั้งรัฐบาล และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง จักรยานยนต์ และยังเป็นอู่ต่อเรือด้วย นครไทเปเป็นเขตปกครองตนเองขึ้นตรงต่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและพัทยาของประเทศไทย นครไทเปอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยนครซินเป่ย์ แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของนครซินเป่ย์ ไทเป.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและไทเป · ดูเพิ่มเติม »

เจิ้ง เพ่ยเพ่ย

้ง เพ่ยเพ่ย เป็นนักแสดงหญิงชาวจีน มีชื่อเสียงในยุคทศวรรษ 1960 จากการแสดงภาพยนตร์จีนกำลังภายใน โดยเฉพาะบทบาทจอมยุทธหญิงจากเรื่อง หงส์ทองคะนองศึก (Come Drink with Me) ผลงานกำกับของหูจินเฉวียน ในปี..

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและเจิ้ง เพ่ยเพ่ย · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์กาน

ทศกาลภาพยนตร์กาน (Cannes Film Festival; Festival de Cannes) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลรวมทั้งชื่อเสียงมากที่สุดเทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นทุกปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองกาน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและเทศกาลภาพยนตร์กาน · ดูเพิ่มเติม »

เดชคัมภีร์เทวดา

หน้าปกดีวีดีภาค 2 เดชคัมภีร์เทวดา ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์จีนกำลังภายใน ชื่อภาษาอังกฤษว่า The Swordsman (ภาษาจีนกลาง: 笑傲江湖 กว่างหลิงซ่าน) นำแสดงโดย แซม ฮุย กำกับโดย หูจินเฉวียน อำนวยการสร้างโดย ฉีเคอะ ออกฉายในปี พ.ศ. 2533 ความยาว 120 นาที.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและเดชคัมภีร์เทวดา · ดูเพิ่มเติม »

14 มกราคม

วันที่ 14 มกราคม เป็นวันที่ 14 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 351 วันในปีนั้น (352 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและ14 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

29 เมษายน

วันที่ 29 เมษายน เป็นวันที่ 119 ของปี (วันที่ 120 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 246 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: หู จินเฉวียนและ29 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

King Huหูจินเฉวียนคิง ฮู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »