โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)

ดัชนี คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)

ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คำหลัก คือคำหรือตัวระบุที่มีความหมายเฉพาะสำหรับภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ ความหมายและสัญกรณ์ของคำหลักทำให้เกิดความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างภาษาหนึ่งกับภาษาหนึ่ง ในหลายภาษาที่มีภาวะแวดล้อมคล้ายกัน อย่างเช่นภาษาซีกับภาษาซีพลัสพลัส คำหลักถือว่าเป็นคำสงวนที่ระบุรูปแบบวากยสัมพันธ์ คำต่าง ๆ ใช้สำหรับโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรม ตัวอย่างเช่น if, then, else เหล่านี้เป็นคำหลัก และในภาษาเช่นนี้ คำหลักไม่สามารถนำมาใช้ตั้งชื่อตัวแปรหรือฟังก์ชันได้ แต่ในทางตรงข้าม มีบางภาษาอย่างเช่นโพสต์สคริปต์เปิดเสรีต่อแนวคิดดังกล่าว ซึ่งอนุญาตให้คำหลักอันเป็นแกนของภาษา สามารถถูกนิยามขึ้นใหม่เพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง ในภาษาคอมมอนลิสป์ คำว่า "คำหลัก" ถือเป็นสัญลักษณ์หรือตัวระบุชนิดพิเศษ ในขณะที่สัญลักษณ์ปกติใช้เป็นตัวแปรหรือฟังก์ชัน คำหลักไม่เหมือนสัญลักษณ์อื่นตรงที่สามารถโควตตัวเองได้ และสามารถประเมินค่าของตัวเองได้ คำหลักปกติใช้กำกับชื่อให้อาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชัน และใช้เป็นตัวแทนค่าเชิงสัญลักษณ์ ภาษาต่าง ๆ แตกต่างกันในสิ่งที่ใช้เป็นคำหลักหรือรูทีนไลบรารี ตัวอย่างเช่น บางภาษากำหนดให้การดำเนินการรับเข้า/ส่งออกเป็นคำหลัก ในขณะที่บางภาษากำหนดให้การดำเนินการเดียวกันเป็นรูทีนไลบรารี อาทิ คำสั่งการแสดงผลบนจอภาพ ภาษาไพทอน (รุ่นก่อน 3.0) และภาษาเบสิก กำหนดให้ print เป็นคำหลัก ในทางกลับกันภาษาซีและภาษาลิสป์ printf และ format เป็นรูทีนไลบรารี ไม่ใช่คำหลัก โดยปกติเมื่อโปรแกรมเมอร์พยายามใช้คำหลักเป็นชื่อตัวแปรหรือฟังก์ชัน การแปลโปรแกรมจะเกิดความผิดพลาด คำหลักต่าง ๆ มีการเน้นสีโดยอัตโนมัติในโปรแกรมแก้ไขสมัยใหม่ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์ทราบว่าคำเหล่านี้เป็นคำหลัก ในภาษาที่มีแมโครและการประเมินค่าล่าช้า (lazy evaluation) โครงสร้างการควบคุมการทำงานอาทิ if สามารถทำให้เกิดผลได้ด้วยแมโครหรือฟังก์ชัน แต่ในภาษาที่ไม่มีคุณลักษณะดังกล่าว พวกมันจะเป็นเพียงคำหลักธรรมดา หมวดหมู่:โครงสร้างการเขียนโปรแกรม.

9 ความสัมพันธ์: การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีภาษาซีพลัสพลัสภาษาโปรแกรมภาษาไพทอนภาษาเบสิกคลัง (โปรแกรม)คำคำสงวน

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และขั้นตอนวิธีที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซวอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีพลัสพลัส

ษาซีพลัสพลัส (C++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2014 (รู้จักกันในชื่อ C++14).

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และภาษาซีพลัสพลัส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรม

ษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer) ภาษาโปรแกรมในยุคแรกเริ่มนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยถูกใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ดและเครื่องเล่นเปียโน ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ หลายพันภาษาถูกสร้างขึ้นมา ส่วนมากใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และสำหรับวงการอื่นภาษาโปรแกรมก็เกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ ปี ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่อธิบายการคิดคำนวณในรูปแบบเชิงคำสั่ง อาทิลำดับของคำสั่ง ถึงแม้ว่าบางภาษาจะใช้การอธิบายในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ การพรรณนาถึงภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ วากยสัมพันธ์ (รูปแบบ) และอรรถศาสตร์ (ความหมาย) บางภาษาถูกนิยามขึ้นด้วยเอกสารข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น ภาษาซีเป็นภาษาหนึ่งที่กำหนดโดยมาตรฐานไอโซ) ในขณะที่ภาษาอื่นอย่างภาษาเพิร์ลรุ่น 5 และก่อนหน้านั้น ใช้การทำให้เกิดผลแบบอ้างอิง (reference implementation) เป็นลักษณะเด่น.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และภาษาโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไพทอน

ษาไพทอน (Python programming language) เป็นภาษาระดับสูง.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และภาษาไพทอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบสิก

ษาเบสิก (BASIC programming language) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เบสิกออกแบบมาให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ตามบ้าน ชื่อภาษาเบสิก หรือ BASIC ย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ บริษัทไมโครซอฟท์ได้นำภาษาเบสิกมาปรับปรุงให้ทันสมัย และพัฒนาเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม Visual Basic ทำให้เบสิกได้รับความนิยมในการพัฒนาโปรแกรมยุคใหม่ รุ่นล่าสุดของวิชวลเบสิกเรียกว่า VB.NET.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และภาษาเบสิก · ดูเพิ่มเติม »

คลัง (โปรแกรม)

ตัวอย่างแผนภาพแสดงการเรียกใช้งานไลบรารีของโปรแกรมเล่นสื่อผสมประเภท Ogg Vorbis คลังโปรแกรม หรือ ไลบรารี (library) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และคลัง (โปรแกรม) · ดูเพิ่มเติม »

คำ

ำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และคำ · ดูเพิ่มเติม »

คำสงวน

ในภาษาคอมพิวเตอร์ คำสงวน (หรือคำบ่งชี้สงวน) คือคำที่ไม่สามารถใช้เป็นตัวระบุ เช่นชื่อของตัวแปร ฟังก์ชั่น หรือลาเบล คำสงวนถูกนิยามตามไวยากรณ์ภาษาคอมพิวเตอร์ และอาจจะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้ หนึ่งในคำที่มักสับสนกับคำสงวน คือคีย์เวิร์ด (keyword) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายพิเศษตามแต่บริบท ชื่อที่พบได้ในไลบรารีมาตรฐาน (standard library) แต่ไม่ถูกรวมมาในภาษาคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ทั้งคำสงวนและคีย์เวิร์ด ทั้งนี้วลี "คำสงวน" และ "คีย์เวิร์ด" มักสามารถใช้แทนกันได้ในหลายกรณี เช่นการกล่าวว่าคำสงวนคือคำที่ "ถูกสงวนไว้ใช้เป็นคีย์เวิร์ด" นิยามของคำสงวนและคีย์เวิร์ดต่างกันไปตามแต่ละภาษาโปรแกรมมิ่ง โดยทั่วไปแล้วคำคำหนึ่งอาจจะไม่ต้องเป็นทั้งคำสงวนและคีย์เวิร์ด แต่ในภาษาโปรแกรมมิ่งสมัยใหม่ คำสงวนใดๆ มักจะเป็นคีย์เวิร์ดเพื่อความง่ายในการอ่านโค้ดโปรแกรม (เพราะคีย์เวิร์ดไม่ควรถูกสับสนกับคำบ่งชี้) ในภาษาโปรแกรมมิ่งบางภาษาเช่นซีหรือไพธอน คำสงวนทุกคำเป็นคีย์เวิร์ด และคีย์เวิร์ดทุกคำเป็นคำสงวน ในขณะที่สำหรับภาษาบางภาษาเช่นจาว่า คีย์เวิร์ดทุกคำเป็นคำสงวน แต่คำสงวนทุกคำไม่ใช่คีย์เวิร.

ใหม่!!: คำหลัก (การเขียนโปรแกรม)และคำสงวน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »