โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อรรถกถา

ดัชนี อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

46 ความสัมพันธ์: ชาตกัฏฐกถาพ.ศ. 236พ.ศ. 945พระพุทธโฆสะพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎกพระอภิธรรมปิฎกพระธัมมปาละพระไตรปิฎกพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเจ้าอโศกมหาราชฎีกา (คัมภีร์)การวินิจฉัยกถาวัตถุอรรถกถาภาษาบาลีภาษาสิงหลภาณวารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมธุรัตถวิลาสินีมโนรถปูรณียมกปกรณ์อรรถกถาวลีวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวิสุทธชนวิลาสินีวงศัพท์สมันตปาสาทิกาสัมโมหวิโนทนีสัทธัมมปกาสินีสัทธัมมปัชโชติกาสารัตถปกาสินีสุมังคลวิลาสินีอัฏฐสาลินีอนุฎีกาธัมมปทัฏฐกถาธาตุกถาปกรณ์อรรถกถาคัมภีร์คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทยปกรณ์ปกรณ์วิเสสปรมัตถทีปนีปรมัตถโชติกาประโยคปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถาปปัญจสูทนีโยชนา

ชาตกัฏฐกถา

ตกัฏฐกถา เป็นอรรถกถาของพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดชาดก ประกอบไปด้วยคาถา หรือร้อยแก้วอันเป็นต้นเรื่องของชาดก จากนั้นพรรณานาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชาดกในรูปของร้อยแก้ว แต่ละเรื่องมีการระบุถึงต้นเค้า และบริบทแวดล้อมของชาดกเรื่องนั้น แต่หลังจากจบเรื่องแล้วจะมีการระบุถึงบุคคลที่ปรากฏกในชาดกนั้นว่า เป็นบุคคลใดบ้างในสมัยพุทธกาล มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ โดยพระเถระผู้รจนาชาตกัฏฐกถา ได้เท้าความพุทธประวัติทั้งก่อนทรงประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะจนถึงขณะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ในตอนต้นเรื่องอรรถกถาฉบับนี้ เรียกว่า นิทานก.

ใหม่!!: อรรถกถาและชาตกัฏฐกถา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 236

ทธศักราช 236 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: อรรถกถาและพ.ศ. 236 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 945

ทธศักราช 945 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 402.

ใหม่!!: อรรถกถาและพ.ศ. 945 · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระธัมมปาละ

ระธัมมปาละ เป็นพระเถระองค์สำคัญของพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีช่วงชีวิตอยู่ะระหว่างปี..

ใหม่!!: อรรถกถาและพระธัมมปาละ · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: อรรถกถาและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโศกมหาราช

ระเจ้าอโศกมหาราช (अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล ประมาณ..

ใหม่!!: อรรถกถาและพระเจ้าอโศกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฎีกา (คัมภีร์)

ีกา คือวรรณกรรมภาษาบาลี ที่แต่งเพื่ออธิบายความในคัมภีร์อรรถกถาของอรรถกถาจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ขยายความในพระไตรปิฎก เรียกว่า คัมภีร์ชั้นสาม คัมภีร์ฎีกามีความแตกต่างกับคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นสอง) ที่วัตถุประสงค์ในการแต่งฎีกานั้นทำเพื่ออธิบายเนื้อความในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา หรือฎีกาด้วยกันเอง คัมภีร์ฎีกามีผู้แต่งจำนวนมากและมีหลายคัมภีร์ ส่วนใหญ่ชื่อคัมภีร์ชั้นฎีกาจะมีคำว่า ฎีกา และตามด้วยชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคำ ทีปนี โชติกา ปกาสินี หรือ คัณฐิ ลงท้าย ซึ่งคำลงท้ายเหล่านั้นรวมแปลว่า ให้ความกระจ่าง (อธิบายความในอรรถกถาให้กระจ่าง) คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์ชั้นอรรถก.

ใหม่!!: อรรถกถาและฎีกา (คัมภีร์) · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัย

การวินิจฉัย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อรรถกถาและการวินิจฉัย · ดูเพิ่มเติม »

กถาวัตถุอรรถกถา

กถาวัตถุอรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในกถาวัตถุปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งกถาวัตถุ มีลักษณะเป็นการถามตอบระหว่างนิกายเถรวาทและนิกายอื่น ๆ ที่แตกออกไปจากนิกายเถรวาท อันเป็นพุทธศาสนาดั้งเดิม ที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปฐมสังคายนา รวมถึงการถามตอบระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาท และลัทธิศาสนาอื่น ๆ โดยอรรถกถาระบุว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงมาติกา หรือบทตั้ง หรือคำเริ่มต้นไว้เพียงเล็ก น้อยต่อจากนั้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้เรียบเรียงขึ้นจนจบในสังคายนาครั้งที่ 3 มีข้อความอันเป็นคำตอบคำถามตั้งแต่ ต้นจนจบ กถาวัตถุปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งในปรมัตถทีปนีหรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา หรือ อรรถกถาปัญจปกรณ์ หรือบางทีก็เรียกว่า "ปรมัตถทีปนี ปัญจปกรณัฏฐกถา กถาวัตถุวัณณา" เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งตามคำอาราธนาของพระจุลลพุทธโฆสะชาวลังกา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1000 - 1,100 ซึ่งปรมัตถทีปนี หรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา นั้นเป็นการอธิบายเนื้อความในปกรณ์ทั้ง 5 ของพระพระอภิธรรมปิฎก 5 คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน โดยกถาวัตถุปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม และใหญ่โตมโหมาร.

ใหม่!!: อรรถกถาและกถาวัตถุอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: อรรถกถาและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: อรรถกถาและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

ภาณวาร

ณวาร หรือ จตุภารณวารปาฬี (Catubhanavarapali) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธใช้กันในไทยและในศรีลังกา แต่ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในศรีลังกา พระภิกษุสงฆ์มักใช้สวดทั้งเล่มแบ่งออกเป็น 4 ช่วง หรือ ภารณวาร มักใช้เวลาสวดทั้งวันทั้งคืน เนื่องพระสูตรและบทสวด หรือ ปาฐะ ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มีความยาวพอสมควร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระปริตร หรือมหาปริตร อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: อรรถกถาและภาณวาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) คือสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาชั้นสูงในรูปแบบมหาวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนด้านพุทธศาสตร์เป็นสาขาแรก แล้วต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนไปยังสาขาวิชาอื่นๆ คล้ายกับรูปแบบการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ที่เริ่มต้นจากสาขาด้านศาสนาแล้วขยายไปยังสาขาอื่นอีกมายมาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "มหาธาตุวิทยาลัย" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อรรถกถาและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มธุรัตถวิลาสินี

มธุรัตถวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในพุทธวงศ์ แห่งขุททกนิกาย ผลงานของพระพุทธทัตตะ ซึ่งเป็นพระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังพระพุทธโฆสะ เนื้อหาหลักของคัมภีร์นี้ ก็เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวที่ปรากฏในหมวดพุทธวงศ์ ซึ่งว่าด้วยพุทธประวัติ พระจริยาวัตร และพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าพระองค์ต่าง.

ใหม่!!: อรรถกถาและมธุรัตถวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

มโนรถปูรณี

มโนรถปูรณี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก โดยอธิบายเนื้อหาและแจกแจงคำศัพท์ ในพระสูตรที่จัดหมวดหมู่เป็นนิบาต ทั้ง 11 นิบาต ของอังคุตตรนิกาย กล่าวคือ คือเอกนิบาต, ทุกนิบาต, ติกนิบาต, จตุกกนิบาต, ปัญจกนิบาต, ฉักกนิบาต, สัตตกนิบาต, อัฎฐกนิบาต, นวกนิบาต, ทสกนิบาต, และเอกาทสกนิบาต รวมทั้งสิ้นอังคุตตรนิกาย มีทั้งหมด 9,557 สูตร พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์มโนรถปูรณีขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาเก่าภาษาสิงหลที่สืบมาแต่เดิมเป็นหลัก เมื่อราว..

ใหม่!!: อรรถกถาและมโนรถปูรณี · ดูเพิ่มเติม »

ยมกปกรณ์อรรถกถา

มกปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อธิบายยมกปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งยมกปกรณ์นี้ว่าด้วยธรรมที่เป็นคู่ ประกอบด้วย 1.) มูลยมก คือ ธรรมเป็นคู่อันเป็นมูล 2.) ขันธยมก คือ ธรรมเป็นคู่ คือขันธ์ 3.) อายตนะยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือสังขาร 4.) ธาตุยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือธาตุห้า 5.) สัจจยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือสัจจะ 6.) สังขาร คือ ธรรมเป็นคู่คือสังขาร 7.) อนุสสัยยมก คือ ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องด้วยในสันดาน) รวมถึง 8.) จิตตยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือจิต 9.) ธัมมยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือธรรม และ 10.) อินทรียยมก คือ ธรรมเป็นคู่คืออินทรีย์ การจำแนกเป็นคู่ๆ นี้ เป็นไปตามอำนาจของยมก หรือธรรมที่ถูกจำแนกเป็นคู่ๆ ทั้ง 10 ประการ มีลักษณะเป็นการถามถึงลักษณะของธรรมหนึ่ง แล้วตอบด้วยธรรมที่มีลักษณะเป็นคู่กับธรรมนั้นๆ ดังในอรรถกถาอธิบายว่า "ในยมกทั้ง 10 อย่างนี้ ยมกหนึ่งๆ ชื่อว่าคู่ เพราะแสดงไว้ด้วยอำนาจของยมกทั้งหลาย คือคู่ ด้วยประการฉะนี้ ปกรณ์นี้ทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่ายมก เพราะรวบรวมคู่ทั้งหลายเหล่านี้ไว้".

ใหม่!!: อรรถกถาและยมกปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

วลี

วลี หรือ กลุ่มคำ เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น "คำหลัก" ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลี เด็ดเจ็ดย่านน้ำ.

ใหม่!!: อรรถกถาและวลี · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: อรรถกถาและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธชนวิลาสินี

วิสุทธชนวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอปาทาน แห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก แบ่งเป็น 2 ภาค คือ ภาคที่ 1 อธิบายความในพุทธวรรคและสีหาสนิยวรรคถึงเมตเตยยวรรค และวรรคที่ 2 อธิบายความในสีหาสนิยวรรคถึงเมตเตยยวรรค ภัททาลิวรรคถึงภัททิยวรรค และในเถริยาปทาน ผลงานของพระเถระ 5 รูป.

ใหม่!!: อรรถกถาและวิสุทธชนวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

วงศัพท์

ำศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น วงศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารตและการเรียนรู้ การได้วงศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง.

ใหม่!!: อรรถกถาและวงศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

สมันตปาสาทิกา

มันตัปปาสาทิกา หรือ สมันตปาสาทิกา คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือพระพุทธโฆสะเป็นผู้แต่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกานี้ขึ้นในช่วงปีก่อน..

ใหม่!!: อรรถกถาและสมันตปาสาทิกา · ดูเพิ่มเติม »

สัมโมหวิโนทนี

ัมโมหวิโนทนี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 ในบรรดาพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกและปัฏฐาน คัมภีร์นี้เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆสาจารย์แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรี.

ใหม่!!: อรรถกถาและสัมโมหวิโนทนี · ดูเพิ่มเติม »

สัทธัมมปกาสินี

ัทธัมมปกาสินี หรือ สัทธัมมัปปกาสินี (สทฺธมฺมปฺปกาสินี) เป็นคัมภีร์อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก แบ่งเป็น 2 ภาค อธิบายความในปฏิสัมภิทามรรคทั้งหมด เป็นผลงานของพระมหานามะแต่งตามคำอาราธนาของมหานามอุบาสก ทั้งนี้ ชื่อคัมภีร์มีความหายว่า อรรถกถาที่ประกาศพระสัทธรรมให้แจ่มแจ้ง ให้รู้ชัด เป็นคำอธิบายขยายความของพระคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคให้แจ่มแจ้งชัดเจนนั่นเอง.

ใหม่!!: อรรถกถาและสัทธัมมปกาสินี · ดูเพิ่มเติม »

สัทธัมมปัชโชติกา

ัทธัมมปัชโชติกา คือคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความนิทเทส ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก แบ่งเป็น 2 ภาค คือ ภาคที่ 1 อธิบายความในมหานิทเทส และภาคที่ 2 อธิบายความในจูฬนิทเทส ผลงานของพระเทวะ อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่า เป็นผลงานของพระอุปเสนะ รจนาขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1,100 นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบว่า นามของพระเทวะที่ปรากฏในอารัมภกถาสัทธัมมปัชโชติกา คือพระเถระผู้ที่อารธนาผู้ที่รจนาคัมภีร์นี้ คือพระอุปเสนะให้แต่งตำราขึ้นมาอธิบายเนื้อความของนิทเทส ในขุททกนิกาย โดยใช้แนวทางของสำนักมหาวิหาร อันเป็นคณะสงฆ์หลักของลังกาทวีปในขณะนั้น ทั้งนี้ คัมภีร์ฎีกา หรือคัมภีร์ขยายความของคัมภีร์สัทธัมมปัชโชติกา รจนาโดยพระวัชรพุท.

ใหม่!!: อรรถกถาและสัทธัมมปัชโชติกา · ดูเพิ่มเติม »

สารัตถปกาสินี

รัตถปกาสินี คือคัมภีร์อรรถกถา อธิบายและชี้แจงเนื้อความในพระสุตตันตปิฎก หมวดสังยุตตนิกาย โดยจัดทำคำอธิบายตามที่แบ่งตามวรรคต่างๆ ในหมวดย่อยของสังยุตตนิกาย กล่าวคือ สคาถวรรค, นิทานวรรค, ขันธวารวรรค, สฬายตนวรรค และมหาวารวรร.

ใหม่!!: อรรถกถาและสารัตถปกาสินี · ดูเพิ่มเติม »

สุมังคลวิลาสินี

มังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: อรรถกถาและสุมังคลวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

อัฏฐสาลินี

อัฏฐสาลินี หรืออรรถสาลินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก ผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรีย์ ซึ่งนอกจากจะอธิบายคำและศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยา เจตสิก รูป นิพพาน ทางพระพุทธศาสนาในธัมมสังคณีแล้ว ยังให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์อีกด้วย ทั้งนี้ คัมภีร์อัฏฐสาลินีเป็นที่นิยมศึกษากันมากในหมู่นักศึกษาพระอภิธรรม และเป็นหนึ่งในผลงานของพระพุทธโฆสะที่เป็นที่รู้จักกันมากที.

ใหม่!!: อรรถกถาและอัฏฐสาลินี · ดูเพิ่มเติม »

อนุฎีกา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อรรถกถาและอนุฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมปทัฏฐกถา

ัมมปทัฏฐกถา (ธมฺมปทฏฐกถา) เป็นอรรถกถาของธรรมบท หรือประมวลคาถา 423 คาถา ซึ่งปรากฏในขุททกนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก กล่าวกันว่าพระพุทธโฆสะ พระอรรถกถาจารย์ชาวชมพูทวีป ซึ่งเดินทางไปแปลอรรถกถาในสิงหลทวีป (ศรีลังกา) ได้เรียบเรียงไว้จากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี ปัจจุบันธัมมปทัฏฐกถาใช้เป็นคัมภีร์ในการศึกษาพระปริยัติธรรมในประเทศไทย จึงเป็นคัมภีร์อรรถกถาที่ได้รับความนิยมศึกษามากที่สุดเล่มหนึ่ง.

ใหม่!!: อรรถกถาและธัมมปทัฏฐกถา · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา

ตุกถาปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธาตุกถาปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งธาตุกถา มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การสงเคราะห์เข้ากันได้หรือไม่ได้ของธรรม 3 ประการ คือ ขันธ์ 5 อายตนะ ธาตุ ธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งในปรมัตถทีปนี หรือปัญจปกรณัฏฐกถา หรือ อรรถกถาปัญจปกรณ์ หรือบางทีก็เรียกว่า "ปรมัตถทีปนี ปัญจัปปกรณัฏฐกถา ธาตุกถาวัณณา" เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งตามคำอาราธนาของพระจุลลพุทธโฆสะชาวลังกา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1000 - 1,100 ซึ่งปรมัตถทีปนี หรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา นั้นเป็นการอธิบายเนื้อความในปกรณ์ทั้ง 5 ของพระพระอภิธรรมปิฎก 5 คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน โดยธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม และใหญ่โตมโหมาร ทั้งนี้ โดยเหตุที่ธาตุกถามักรวมกับปุคคลบัญญัติอยู่ในเล่มเดียวกัน อรรถกถาของทั้ง 2 ปกรณ์ของพระอภิธรรมปิฎกนี้ จึงมักรวมเป็นฉบับเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็แยกเป็นเอกเทศจากกัน.

ใหม่!!: อรรถกถาและธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์

ัมภีร์ (religious text; holy writ; holy books; scripture; scriptures) หมายถึง ตำราที่ยกย่องหรือนับถือว่าสำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อรรถกถาและคัมภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อรรถกถาและคัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณ์

ปกรณ์ หมายถึง เรื่อง คำอธิบาย การจัด งานประพันธ์ คัมภีร์ ตำรา หนังสือ ในคำวัดทั่วไปใช้หมายถึงคัมภีรฺหรือหนังสือซึ่งเป็นงานประพันธ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีการจัดเรื่องและคำอธิบายไว้ชัดเจนสามรถอ้างเป็นหลักฐานหรือเป็นตำราได้ เช่น อภิธรรมปกรณ์ กถาวัตถุปกรณ์ เนตติปกรณ์ ปกรณ์วิเศษวิสุทธิมรรคเป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เรียกหนังสือในพระพุทธศาสนาที่แต่งเป็นภาษามคธหรือภาษาบาลีเท่านั้น ภาษาที่แต่งโดยภาษาอื่นไม่นิยมเรียกว่าปกรณ.

ใหม่!!: อรรถกถาและปกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณ์วิเสส

ปกรณ์วิเสส เป็นคัมภีร์หรือหนังสือที่พิเศษ หรือแตกต่างไปจากคัมภีร์ทางพุทธศาสนาทั้งหลายที่มีอยู่เดิม ที่ไม่ได้แต่งอธิบายธรรมะตามคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งโดยเฉพาะอย่างอรรถกถา ฎีกาและอนุฎีกา หรือโยชนา แต่เป็นคัมภีร์หรือหนังสือที่พระคันถรจนาจารย์ได้รจนาขึ้น เพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นภูมิรู้หรือภูมิธรรมของท่าน โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมจากคัมภีร์ต่าง.

ใหม่!!: อรรถกถาและปกรณ์วิเสส · ดูเพิ่มเติม »

ปรมัตถทีปนี

ปรมัตถทีปนี เป็นชื่อคัมภีร์อรรถกถาของหมวดขุททกนิกาย หมวดย่อยอุทาน-อิติวุตตกะ, วิมานวัตถุ-เปตวัตถุ และเถรคาถา-เถรีคาถา ในพระสุตตันตปิฎก รจนาขึ้นโดยพระธัมมปาละหรือพระธรรมปาลเถระ หรือพระธรรมาบาล พระเถระชาวอินเดียโบราณ เป็นชาวเมืองกาญจีปุรัม ทางภาคใต้ของอินเดี.

ใหม่!!: อรรถกถาและปรมัตถทีปนี · ดูเพิ่มเติม »

ปรมัตถโชติกา

ปรมัตถโชติกา (Paramatthajotikā, 真谛光明) คือคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ แห่งพระสุตตันตปิฎก ในคัมภีร์คันถวงศ์ระบุว่า รจนา (หรือแปล) โดยพระพุทธโฆสะ หรือคาดว่าท่านเป็นหัวหน้าคณะในการเรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: อรรถกถาและปรมัตถโชติกา · ดูเพิ่มเติม »

ประโยค

ประโยค อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อรรถกถาและประโยค · ดูเพิ่มเติม »

ปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา

ปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปุคคลบัญญัติปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ของพระไตรปิฎก ซึ่งปุคคลบัญญัติ มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การบัญญัติบุคคลว่า บุคคลนั้นๆ ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร.

ใหม่!!: อรรถกถาและปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

ปปัญจสูทนี

ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว..

ใหม่!!: อรรถกถาและปปัญจสูทนี · ดูเพิ่มเติม »

โยชนา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อรรถกถาและโยชนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อรรถกถาจารย์คัมภีร์อรรถกถาคัมภีร์ชั้นรองคัมภีร์ชั้นสอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »