โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความสามารถของบุคคล

ดัชนี ความสามารถของบุคคล

วามสามารถของบุคคล (competence of person) ในทางนิติศาสตร์นั้นได้แก่ความสามารถสองประการ คือ ความสามารถที่บุคคลจะมีสิทธิ และความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิ บุคคลจะใช้สิทธิกระทำการใด กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีความสามารถจะกระทำการนั้นก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่บุคคลนั้นเองและบุคคลอื่น บุคคลประเภทที่กฎหมายสันนิษฐานว่าไม่อยู่ในภาวะที่จะบริหารความสามารถของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ผู้เยาว์ (minor), คนวิกลจริต (person of unsound mind), คนไร้ความสามารถ (incompetent person) และคนเสมือนไร้ความสามารถ (quasi-incompetent person) ซึ่งความสามารถตามกฎหมายของบุคคลเหล่านี้จะถูกจำกัดมากน้อยแล้วแต่กรณี นิติกรรมที่บุคคลเหล่านี้จะกระทำ กฎหมายจึงกำหนดเงื่อนไขไว้ต่าง ๆ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของเขาเหล่านั้นโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี นิติบุคคล (juristic person) ซึ่งมิใช่บุคคลแท้ ๆ ก็อาจมีความสามารถตามกฎหมายเช่นบุคคลธรรมดา (natural person) ได้ เว้นแต่เป็นเรื่องที่ตามสภาพแล้วไม่สามารถกระทำได้เองจริง ๆ เช่น การมีครอบครัว หรือเข้าสมรส เป็นต้น.

32 ความสัมพันธ์: บุคคล (แก้ความกำกวม)บุคคลธรรมดาพระราชบัญญัติกฎหมายไทยกิตติศักดิ์ ปรกติกิโลกรัมมาตราราชกิจจานุเบกษาวรรคศาลฎีกาศาสตราจารย์สภาแห่งรัฐสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสิทธิหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชผู้ช่วยศาสตราจารย์ผู้เยาว์จิตติ ติงศภัทิย์ความประมาทเลินเล่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนวิกลจริตคนไร้ความสามารถคนเสมือนไร้ความสามารถประเทศไทยนิติบุคคลนิติกรรมนิติภาวะนิติศาสตร์นิติสัมพันธ์นิติเหตุโมฆียกรรม

บุคคล (แก้ความกำกวม)

ล อาจหมายถึง บุคคลธรรม1.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและบุคคล (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

บุคคลธรรมดา

ในทางกฎหมาย บุคคลธรรมดา หรือ บุคคล (natural person) หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คือมนุษย์ทั้งปวงจะเป็นหญิง ชาย เด็ก คนชรา หรือเป็นผู้บกพร่องในความสามารถหรือเป็นคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามถือเป็นบุคคลธรรมดาทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 ที่ว่าไว้ดังนี้ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและบุคคลธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ คำว่า พระราชบัญญัติ เป็นชื่อเรียกกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต สำหรับประเทศอื่นที่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้อนุญาต (เช่นประธานาธิบดี) จะเรียกว่า รัฐบัญญัติ หมวดหมู่:บ่อเกิดของกฎหมาย.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและพระราชบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายไทย

กฎหมายไทยเป็นแบบซีวิลลอว์ แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากคอมมอนลอว์ (ดูระบบกฎหมายโลก).

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและกฎหมายไทย · ดูเพิ่มเติม »

กิตติศักดิ์ ปรกติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติศักดิ์ ปรกติ (เกิด 7 ธันวาคม 2499) เป็นข้าราชการชาวไทย และเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ความเห็นแปลก.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและกิตติศักดิ์ ปรกติ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

มาตรา

"มาตรา" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

วรรค

วรรค (อ่านว่า วัก) มาจากภาษาบาลี วคฺค และภาษาสันสกฤต วรฺค อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและวรรค · ดูเพิ่มเติม »

ศาลฎีกา

ัญลักษณ์ของศาลฎีกา ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23).

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและศาลฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาแห่งรัฐ

แห่งรัฐ (Council of State) เป็นชื่อหน่วยงานในหลายประเทศ ปรกติมีหน้าที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นศาลปกครอง หรือให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ ในบางประเทศทำหน้าที่เป็นองคมนตรีก็มี.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและสภาแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิ

ทธิ คือ หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิ์ทางกฎหมาย สังคมหรือจริยศาสตร์ นั่นคือ สิทธิเป็นกฎเชิงบรรทัดฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนมีหรือเป็นของประชาชนตามบางระบบกฎหมาย ขนบธรรมเนียมทางสังคม หรือทฤษฎีจริยศาสตร์ สิทธิมีความสำคัญยิ่งในสาขาวิชาดังกล่าว เช่น กฎหมายและจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีความยุติธรรมและกรณียกรรม มักถือว่าสิทธิเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ถือว่าเป็นเสาหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางสังคมพบได้ในประวัติศาสตร์ของสิทธิแต่ละอย่างและพัฒนาการของมัน ตามสารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด "สิทธิให้โครงสร้างแก่ระบอบการปกครอง เนื้อหากฎหมาย และลักษณะของศีลธรรมซึ่งรับรู้ในปัจจุบัน".

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2487 ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 19 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่สหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 4 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง เคยเป็นผู้พิพากษา และเคยดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา มาก่อน ม.ร.ว.เสนีย์ เกิดที่ค่ายทหาร ในจังหวัดนครสวรรค์ เวลาใกล้รุ่ง เป็นโอรสใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "เสนีย์" หมายถึง ทหาร หรือ เสนาบดี ได้รับพระราชทานนามนี้จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สันนิษฐานว่า เนื่องจากเสด็จพ่อ (พระองค์เจ้าคำรบ) เป็นทหาร ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช มีบุตรชาย-หญิง 3 คน บุตรชาย ได้แก่ ม.ล.เสรี ปราโมช, ม.ล.อัศนี ปราโมช และ บุตรี ได้แก่ ม.ล.นียนา ปราโมช ม.ร.ว.เสนีย์ มีน้องชายที่มีชื่อเสียงคู่กันคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความสามารถในหลายสาขา โดยสื่อมวลชนนิยมเรียก ท่านทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) ม.ร.ว เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่อายุน้อยที่สุดในประศาสตร์การเมืองไทย ด้วยอายุขณะรับตำแหน่ง คือ 40 ปี.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ลขาธิการสถาบันอภิวุฒิโยธิน_วิทยาลัยเทคโนโลยีรัชภาคย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Assistant professor) ใช้อักษรย่อว่า ผ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการที่ใช้ในหลายประเท.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและผู้ช่วยศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ (minor) หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หลายประเทศมักไม่นิยามคำว่า "ผู้เยาว์" ไว้อย่างเด็ดขาด อายุสำหรับความรับผิดทางอาญา อายุอย่างต่ำที่จะให้ความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ อายุที่จะต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับ อายุที่สามารถทำนิติกรรมด้วยตนเองได้ เป็นต้น อาจแตกต่างกันไป ในหลายประเทศรวมถึงออสเตรเลีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ บราซิล โครเอเชียและโคลัมเบีย ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนในสหรัฐอเมริกาซึ่งกำหนดอายุบรรลุนิติภาวะไว้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ผู้เยาว์มักหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ในบางรัฐอาจหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 21 ปีในบางกรณี (เช่นการพนัน การเป็นเจ้าของปืน และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ในทางอาญาคำว่าผู้เยาว์มักกำหนดไว้แตกต่างกันไป ผู้เยาว์อาจถูกดำเนินคดีและได้รับโทษในฐานะเป็นเยาวชน หรืออาจได้รับโทษเหมือนผู้ใหญ่ในความผิดร้ายแรงอย่างยิ่งเช่นฆาตกรรม ในญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเกาหลีใต้ ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี กฎหมายนิวซีแลนด์ก็กำหนดอายุของผู้บรรลุนิติภาวะไว้ 20 ปีเช่นกันแต่ผู้เยาว์ในนิวซีแลนด์สามารถใช้สิทธิส่วนใหญ่ได้ก่อนหน้าที่จะบรรลุนิติภาวะ เช่นเข้าทำสัญญาและทำพินัยกรรมได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและผู้เยาว์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตติ ติงศภัทิย์

ตราจารย์พิเศษ จิตติ ติงศภัทิย์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักกฎหมายชาวไทย รับตำแหน่งองคมนตรีตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2538 และถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง จิตติประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายมาเป็นเวลานานจนได้รับยกย่องเป็นปรมาจารย์แห่งวงการกฎหมายไทย และได้รับการกล่าวขานว่า ตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ยุติธรรม.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและจิตติ ติงศภัทิย์ · ดูเพิ่มเติม »

ความประมาทเลินเล่อ

วามประมาทเลินเล่อ (negligence) หมายถึง ความที่กระทำการใด ๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ ผู้กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) กฎหมายไม่อภัยให้เลย และจะเรียกร้องใด ๆ ก็มิได้ด้วย เช่น ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำสัญญาซื้อขาย โดยที่ตอนทำสัญญานั้นไม่อ่านข้อความในหนังสือสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อน เป็นต้น ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ผู้เขียนพจนานุกรมกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทย ว่า "ประมาท ตามธรรมดาหมายถึง กิริยาที่กระทำลงโดยมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น แต่ได้กระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะไม่กระทำ หรือละเว้นกระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะกระทำ จนเกิดผลอันเนื่องจากการกระทำนั้น ผู้ใดกระทำลงโดยความประมาท อาจจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ ไม่อาจต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ เช่น ผู้ที่ขับรถโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างธรรมดา ขับรถไปทับคนเข้า ผู้ขับจะต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าผู้ใดเดินหลับตาจะไปยังที่แห่งหนึ่ง แต่กลับเดินลงไปในคลอง ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น การประมาทที่จะใช้ได้ตามกฎหมายนั้น หมายถึง ผู้ใดมีหน้าที่ใช้ความระวังตามกฎหมาย ผู้นั้นไม่ใช้ความระวัง กลับกระทำผิดหน้าที่ กระทำให้ผู้อื่นต้องเสียหายอันเป็นผลโดยตรงหรือใกล้ชิดกับเหตุ โดยที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น..." คำว่า "ประมาทเลินเล่อ" เป็นคำที่ใช้ในทางกฎหมายแพ่ง ส่วนทางอาญาจะใช้ว่า "ประมาท" เฉ.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและความประมาทเลินเล่อ · ดูเพิ่มเติม »

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะนิติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีก.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนงานประเภทคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 164 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 มีรากฐานมาจากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ที่โอนมาเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ..

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คนวิกลจริต

คนวิกลจริต (person of unsound mind, insane person; non compos mentis) หมายถึง บุคคลมีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ หรือไม่สามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดี เพราะสติวิปลาส กฎหมายหลายฉบับมักจะกล่าวถึงข้อยกเว้นหรือข้อห้ามสำหรับคนวิกลจริตอยู่เสมอ อนึ่งความบกพร่องทางจิตที่จะถือว่าวิกลจริตนั้นจะต้องเกิดขึ้นจริงโดยสภาพไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราว เช่น การเสพยาเสพติด พิษไข้ หรือยา เป็นต้น หมวดหมู่:กฎหมายบุคคล หมวดหมู่:กฎหมายครอบครัว.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและคนวิกลจริต · ดูเพิ่มเติม »

คนไร้ความสามารถ

นไร้ความสามารถ (incompetent person) คือ คนวิกลจริตถึงขนาดที่ไม่มีทางดูแลตัวเองหรือผลประโยชน์ของตัวเองได้เลย ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามคำร้องขอของ คู่สมรส, บุพการี, ผู้สืบสันดาน, ผู้ปกครอง, ผู้พิทักษ์, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป หรือพนักงานอัยการ ซึ่งการเป็นคนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและคนไร้ความสามารถ · ดูเพิ่มเติม »

คนเสมือนไร้ความสามารถ

นเสมือนไร้ความสามารถ (quasi-incompetent person) คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามาร.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและคนเสมือนไร้ความสามารถ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นิติบุคคล

ำสำคัญ "นิติบุคคล" อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและนิติบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

นิติกรรม

"นิติกรรม" อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและนิติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นิติภาวะ

นิติภาวะ (majority, full age หรือ lawful age; sui juris) คือ ภาวะที่บุคคลเป็นผู้มีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง การบรรลุนิติภาวะย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้วแต่กรณี ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เรียก "ผู้เยาว์" (minor) ซึ่งกฎหมายจำกัดความสามารถเอาไว้ โดยพิจารณาสรุปว่าผู้เยาว์ทั่วไปแล้วมีปรกติเป็นเด็กไม่อาจบริหารสติปัญญาได้ดีเท่าผู้ใหญ่ได้ จึงจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิไว้ให้มีผู้ที่เรียก "ผู้แทนโดยชอบธรรม" (legal representative หรือ statutory agent) เป็นผู้ตัดสินใจใช้สิทธิแทน จนกว่าผู้เยาว์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีความสามารถในการใช้สิทธิได้เต็มเปี่ยม เว้นแต่เขาจะกลายเป็นคนวิกลจริต (person of unsound mind), คนไร้ความสามารถ (incompetent person) หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ (quasi-incompetent person).

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและนิติภาวะ · ดูเพิ่มเติม »

นิติศาสตร์

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและนิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติสัมพันธ์

นิติสัมพันธ์ (legal relation) คือ สัญญาหรือข้อตกลงต่างๆที่มีผลในทางกฎหมาย เช่น ความเกี่ยวพันระหว่างทนายความกับลูกความ หรือระหว่างคู่สัญญา เป็นต้น.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและนิติสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติเหตุ

นิติเหตุ (causative event, legal cause หรือ proximate cause) เป็นศัพท์กฎหมาย หมายถึง เหตุการณ์ที่มีผลตามกฎหมาย โบราณใช้ว่า "นิติการณ์"ราชบัณฑิตยสถาน, 2551: ออนไลน.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและนิติเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

โมฆียกรรม

มฆียกรรม (voidable act) หมายถึง นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้, ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้ กฎหมายเขียนเป็น "โมฆียะกรรม" ตามรูปแบบการเขียนโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งยังไม่มีการบังคับให้การเขียนสะกดคำต้องเป็นไปตามพจนานุกรมของทางราชการราชบัณฑิตยสถาน, 2551: ออนไลน.

ใหม่!!: ความสามารถของบุคคลและโมฆียกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »