โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความมั่นคงแห่งชาติ

ดัชนี ความมั่นคงแห่งชาติ

อาคารรัฐสภาในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร บล็อกคอนกรีตหนักเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันคาร์บอมบ์หรืออุปกรณ์อื่นมิให้ทะลวงเข้าไปในอาคาร ความมั่นคงแห่งชาติ เป็นมโนทัศน์ว่ารัฐบาล ตลอดจนรัฐสภา ควรพิทักษ์รัฐและพลเมืองของรัฐต่อวิกฤตการณ์ "แห่งชาติ" ทุกชนิดโดยใช้การแสดงอำนาจ (power projection) ต่าง ๆ เช่น อำนาจทางการเมือง การทูต อำนาจทางเศรษฐกิจ แสนยานุภาพ เป็นต้น มีการพัฒนามโนทัศน์ดังกล่าวเป็นหลักในสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมุ่งเน้นแสนยานุภาพ แต่ปัจจุบันครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งล้วนกระทบต่อความมั่นคงที่มิใช่ทางทหารหรือเศรษฐกิจของชาติ และค่านิยมที่ความมั่นคงแห่งชาติรับมาใช้ ฉะนั้น เพื่อให้มีความมั่นคงแห่งชาติ ชาติจึงจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ภัยคุกคามความมั่นคงมิได้มีเฉพาะข้าศึกตามแบบ เช่น รัฐชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังมีตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) เช่น ตัวแสดงที่มิใช่รัฐรุนแรง พ่อค้ายาเสพติด บรรษัทข้ามชาติและองค์การนอกภาครัฐ ทางการบางแห่งยังรวมภัยพิบัติธรรมชาติและเหตุการณ์ซึ่งก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอยู่ในหมวดนี้ด้วย มาตรการที่ดำเนินเพื่อประกันความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก.

11 ความสัมพันธ์: บริษัทข้ามชาติรัฐรัฐบาลรัฐสภาลอนดอนสงครามโลกครั้งที่สองหน่วยสืบราชการลับองค์การนอกภาครัฐจารกรรมความเป็นพลเมืองตำรวจลับ

บริษัทข้ามชาติ

ริษัทข้ามชาติ หรือ บรรษัทข้ามชาติ (multinational corporation หรือ multinational company).

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและบริษัทข้ามชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภา

ผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยสืบราชการลับ

ตึกเอสไอเอส สำนักงานใหญ่ของหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ (MI6) หน่วยสืบราชการลับ (intelligence agency) เป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการในเรื่องการแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของราชการซึ่งเป็นความลั.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยสืบราชการลับ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การนอกภาครัฐ

องค์การนอกภาครัฐ (non-governmental organisation หรือย่อว่า NGO) เป็นองค์การที่ไม่แสวงผลกำไร และดำเนินงานอยู่ภายนอกโครงสร้างการเมืองแบบสถาบัน โดยทั่วไปใช้เรียกกลุ่มรณรงค์ด้านสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่มีเป้าหมายหลักทางการค้า แต่เพื่ออุดมการณ์ในการปกป้องประชาชนไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาซึ่งไร้การจัดการที่ดี องค์การนอกภาครัฐมักจะได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากภาคเอกชน เนื่องจากชื่อ "องค์การนอกภาครัฐ" นั้นกินความหมายกว้าง ปัจจุบัน ในประเทศไทยจึงนิยมใช้ว่า "องค์การอาสาสมัครเอกชน" (private voluntary organisation หรือ PVO), "องค์การพัฒนาเอกชน" (private development organisation หรือ PDO) หรือ "องค์การสาธารณประโยชน์".

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและองค์การนอกภาครัฐ · ดูเพิ่มเติม »

จารกรรม

รกรรม (espionage หรือ spying) คือ การล้วงความลับจากคู่แข่งหรือศัตรูเพื่อความได้เปรียบทางการทหาร การเมือง หรือเศรษฐกิจ จารชน (spy) คือ บุคคลที่รัฐส่งไปล้วงความลับจากศัตรูหรือฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลับทางการทหาร แต่อาจรวมถึงการล้วงความลับจากต่างบริษัท เรียกว่า จารกรรมทางอุตสาหกรรม หลายประเทศส่งสายลับเข้าไปในประเทศอื่นทั้งประเทศที่เป็นมิตรและศัตรู แม้ว่าจะไม่เป็นที่เปิดเผย จารชนนี้อย่างอื่นก็เรียก เช่น สายลับ, คนสอดแนม, อุปนิกขิต หรือ อุปนิกษิต เรื่องราวเกี่ยวกับจารกรรมปรากฏในประวัติศาสตร์ตลอดมา ซุนวูกล่าวถึงการหลอกลวงและการบ่อนทำลาย อียิปต์โบราณพัฒนาระบบของการได้มาซึ่งข่าวกรอง โดยชาวฮิบรูก็ใช้ระบบนี้ โดยทั่วไป จารกรรมที่กระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฏ หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากำหนดให้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหามักได้รับข้อเสนอลดหย่อนโทษโดยแลกกับข้อมูลข่าวสาร ในสหราชอาณาจักร จารชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี ภายใต้ พระราชบัญญัติความลับของทางราชการ ขณะที่จารชนชาวอังกฤษที่เป็นสายลับให้ต่างชาติ และพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือศัตรู จะถูกพิพากษาในข้อหาการกบฏ รับโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ จารชนที่ทำงานให้ผู้ก่อการร้ายยังถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติการก่อการร้าย ค.ศ. 2000 ในระหว่างสงครามเย็น มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับจารกรรมบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้านอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันใช้สายลับกับการค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมายและการก่อการร้.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและจารกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นพลเมือง

วามเป็นพลเมือง (citizenship) คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จ่ายภาษี หรือรับราชการทหาร บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองมาก และบุคคลที่ไม่มีความเป็นพลเมือง เรียก ผู้ไร้สัญชาติ (stateless) สัญชาติมักใช้เป็นคำพ้องกับความเป็นพลเมืองในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ แม้คำนี้บางครั้งเข้าใจว่าหมายถึงการเป็นสมาชิกชาติ (กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่) ของบุคคล ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สัญชาติและความเป็นพลเมืองมีความหมายต่างกัน หมวดหมู่:สัญชาติ หมวดหมู่:การปกครอง หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางการเมือง หมวดหมู่:กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและความเป็นพลเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ตำรวจลับ

ตำรวจลับ เป็นหน่วยสืบราชการลับหรือตำรวจที่บังคับใช้กฎหมายที่ในการรักษาความลับ ความรับผิดชอบหรือกำกับดูแลความโปร่งใส องค์กรตำรวจลับมักจะใช้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดโดยรัฐเผด็จการ เป็นตำรวจที่ไม่ใส่เครื่องแบบ หมวดหมู่:ตำรวจ.

ใหม่!!: ความมั่นคงแห่งชาติและตำรวจลับ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »