โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จารกรรม

ดัชนี จารกรรม

รกรรม (espionage หรือ spying) คือ การล้วงความลับจากคู่แข่งหรือศัตรูเพื่อความได้เปรียบทางการทหาร การเมือง หรือเศรษฐกิจ จารชน (spy) คือ บุคคลที่รัฐส่งไปล้วงความลับจากศัตรูหรือฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลับทางการทหาร แต่อาจรวมถึงการล้วงความลับจากต่างบริษัท เรียกว่า จารกรรมทางอุตสาหกรรม หลายประเทศส่งสายลับเข้าไปในประเทศอื่นทั้งประเทศที่เป็นมิตรและศัตรู แม้ว่าจะไม่เป็นที่เปิดเผย จารชนนี้อย่างอื่นก็เรียก เช่น สายลับ, คนสอดแนม, อุปนิกขิต หรือ อุปนิกษิต เรื่องราวเกี่ยวกับจารกรรมปรากฏในประวัติศาสตร์ตลอดมา ซุนวูกล่าวถึงการหลอกลวงและการบ่อนทำลาย อียิปต์โบราณพัฒนาระบบของการได้มาซึ่งข่าวกรอง โดยชาวฮิบรูก็ใช้ระบบนี้ โดยทั่วไป จารกรรมที่กระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฏ หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากำหนดให้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหามักได้รับข้อเสนอลดหย่อนโทษโดยแลกกับข้อมูลข่าวสาร ในสหราชอาณาจักร จารชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี ภายใต้ พระราชบัญญัติความลับของทางราชการ ขณะที่จารชนชาวอังกฤษที่เป็นสายลับให้ต่างชาติ และพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือศัตรู จะถูกพิพากษาในข้อหาการกบฏ รับโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ จารชนที่ทำงานให้ผู้ก่อการร้ายยังถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติการก่อการร้าย ค.ศ. 2000 ในระหว่างสงครามเย็น มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับจารกรรมบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้านอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันใช้สายลับกับการค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมายและการก่อการร้.

23 ความสัมพันธ์: บริษัทบันเทิงคดีกบฏการบ่อนทำลายการก่อการร้ายการทหารการเมืองภาพยนตร์ภาษาฮีบรูรัฐวรรณกรรมสหรัฐสหราชอาณาจักรสงครามเย็นอัตถิภาวนิยมอาวุธนิวเคลียร์อียิปต์โบราณจารกรรมทางอุตสาหกรรมซุนวูประเทศเศรษฐกิจเอียน เฟลมมิงเจมส์ บอนด์

บริษัท

บริษัท (company) หมายถึงองค์กรธุรกิจชนิดหนึ่ง เป็นการรวมกลุ่มหรือการรวบรวมปัจเจกบุคคลและ/หรือบริษัทอื่น ผู้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท บุคคลกลุ่มนี้มีความมุ่งประสงค์หรือจุดสนใจร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาผลกำไร การรวมกลุ่มเช่นนี้สามารถกระทำได้ภายใต้กฎหมาย และตัวบริษัทเองนั้นก็จะถือว่าเป็นนิติบุคคล (legal person) ชื่อของบริษัทก็จะถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงแทนกลุ่มบุคคลเหล่านั้น หมวดหมู่:บริษัท หมวดหมู่:องคภาวะตามกฎหมาย.

ใหม่!!: จารกรรมและบริษัท · ดูเพิ่มเติม »

บันเทิงคดี

บันเทิงคดี เป็นงานรูปแบบหนึ่งที่ว่าด้วยสารสนเทศหรือเหตุการณ์ซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด กล่าวคือ เป็นงานที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้น แม้บันเทิงคดีจะใช้หมายถึงสาขาหลักของงานวรรณกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังอาจหมายถึง งานละคร ภาพยนตร์หรือดนตรีด้วย บันเทิงคดีตรงข้ามกับสารคดี ซึ่งว่าด้วยเหตุการณ์ คำอธิบาย การสังเกตที่เป็นจริง (หรืออย่างน้อย ที่สันนิษฐานว่าเป็นจริง) เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ผลงานที่จัดเป็นบันเทิงคดี เช่น นิทาน เรื่องสั้น ภาพยนตร์บางประเภท เรื่องปรัมปรา การ์ตูน หรืออาจเป็นแอนิเมชัน และวิดีโอเกมบางประเภท เป็นต้น หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม.

ใหม่!!: จารกรรมและบันเทิงคดี · ดูเพิ่มเติม »

กบฏ

กบฏ, ขบถ หรือ กระบถ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จารกรรมและกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

การบ่อนทำลาย

การบ่อนทำลาย (subversion) หมายถึง ความพยายามเปลี่ยนแปลงระเบียบสังคมและโครงสร้างอำนาจ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและลำดับชั้นบังคับบัญชาของสังคมอันเป็นที่ยอมรับ การบ่อนทำลายยังหมายถึง กระบวนการซึ่งค่านิยมและหลักของระบบที่มีอยู่ถูกขัดแย้งหรือสวนทาง การบ่อนทำลายใช้เป็นเครื่องมือบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เพราะโดยทั่วไปมีความเสี่ยง ราคาและความยากน้อยกว่า ซึ่งตรงข้ามกับการเป็นคู่สงครามอย่างเปิดเผย ยิ่งไปกว่านั้น การบ่อนทำลายยังเป็นการสงครามรูปแบบที่ค่อนข้างราคาถูกซึ่งไม่ต้องอาศัยการฝึกมากนัก โดยทั่วไป กลุ่มก่อการร้ายไม่ใช้การบ่อนทำลายเป็นเครื่องมือบรรลุเป้าหมายของตน การบ่อนทำลายเป็นกิจกรรมที่เน้นกำลังคนและหลายกลุ่มขาดกำลังคนและเครือข่ายการเมืองและสังคมเพื่อดำเนินกิจกรรมบ่อนทำลาย ทว่า การกระทำของผู้ก่อการร้ายอาจมีผลบ่อนทำลายต่อสังคม การบ่อนทำลายยังส่อความการใช้วิธีแอบแฝง ไม่ซื่อสัตย์ การเงินหรือรุนแรงเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นว่า การบ่อนทำลายขัดกับการประท้วง รัฐประหาร หรือการดำเนินผ่านวิธีดั้งเดิมที่มีอยู่ในระบบการเมืองหนึ่งเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ยิ่งไปกว่านั้น การบ่อนทำลายภายนอก คือ การที่ "รัฐผู้รุกรานพยายามเกณฑ์และสนับสนุนตัวแสดงทางการเมืองและทหารพื้นเมืองเพื่อโค่นรัฐบาลของตนโดยรัฐประหาร" หากการบ่อนทำลายไม่อาจบรรลุเป้าหมายการนำมาซึ่งรัฐประหารได้ เป็นไปได้ว่าตัวแสดงและการกระทำของกลุ่มบ่อนทำลายอาจเปลี่ยนเป็นการก่อการกบฏ และ/หรือ การสงครามกองโจรได้.

ใหม่!!: จารกรรมและการบ่อนทำลาย · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการร้าย

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ที่ถูกจี้ พุ่งเข้าชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก ระหว่างเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 คำว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นคำที่ยังไม่มีการจำกัดความในกฎหมายอาญาที่มีผลผูกมัดตามกฎหมายและได้รับการยอมรับอย่างสากลAngus Martyn,, Australian Law and Bills Digest Group, Parliament of Australia Web Site, 12 February 2002.

ใหม่!!: จารกรรมและการก่อการร้าย · ดูเพิ่มเติม »

การทหาร

การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: จารกรรมและการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: จารกรรมและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: จารกรรมและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: จารกรรมและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: จารกรรมและรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: จารกรรมและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: จารกรรมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: จารกรรมและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: จารกรรมและสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

อัตถิภาวนิยม

อัตถิภาวนิยม (existentialism) คือ แนวคิดทางปรัชญาที่พิจารณาว่าปัจเจก ตัวตน ประสบการณ์ของปัจเจกแต่ละคน และความพิเศษอันเป็นหนึ่งเดียวของสิ่งที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของการมีอยู่ของมนุษย์ ปรัชญาแนวนี้โดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในอิสรภาพ และยอมรับในผลสืบเนื่องจากการกระทำของปัจเจก และยังเชื่อว่าปัจเจกจะต้องรับผิดชอบกับทางเลือกที่ได้เลือกไว้ด้วย นักคิดแนวอัตถิภาวนิยมนั้นให้ความสำคัญกับอัตวิสัย (subjectivity) และมองว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษ และมักเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจน.

ใหม่!!: จารกรรมและอัตถิภาวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: จารกรรมและอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: จารกรรมและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

จารกรรมทางอุตสาหกรรม

รกรรมทางอุตสาหกรรม (industrial espionage) คือ การขโมยข้อมูลเกี่ยวกับความลับทางการค้าเพื่อให้ได้ความได้เปรียบในเชิงพาณ.

ใหม่!!: จารกรรมและจารกรรมทางอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ซุนวู

ซุนวู (ซุนอู่) หรือ ซุนจื่อ (แปลว่า "ปราชญ์แซ่ซุน") เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ (ซุนจื่อปิงฝ่า - 孙子兵法) ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง หลักการที่สำคัญเช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง.

ใหม่!!: จารกรรมและซุนวู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศ

แผนที่แสดงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศ เป็นบริเวณที่ระบุเป็นเอนทิตีต่างหากในภูมิศาสตร์การเมือง ประเทศอาจเป็นรัฐเอกราชหรือรัฐที่ถูกรัฐอื่นยึดครอง เป็นรัฐซึ่งไร้เอกราชหรืออดีตเขตปกครองทางการเมืองเอกราช หรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาชนที่เดิมไม่ขึ้นต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ต่างกันซึ่งมีลักษณะทางการเมืองเป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: จารกรรมและประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: จารกรรมและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เอียน เฟลมมิง

อียน แลนแคสเตอร์ เฟลมมิง (Ian Lancaster Fleming) เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจ้าของนวนิยายเรื่อง เจมส์ บอนด์ 007 ซึ่งต่อมามีการนำไปสร้างเป็นการ์ตูน และภาพยนตร์อีกมากมาย เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) ณ บ้านเลขที่ 7 ถนนกรีนสตรีท เมืองเมย์แฟร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร เรียนภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิวนิค และมหาวิทยาลัยเจนิวา จากนั้นได้เป็นนักข่าวของศูนย์ข่าวรอยเตอร์ส (Reuters news service) ซึ่งเคยส่งเขาไปทำข่าวจารกรรมที่รัสเซี.

ใหม่!!: จารกรรมและเอียน เฟลมมิง · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ บอนด์

มส์ บอนด์ (James Bond) เป็นตัวละครสมมติ สร้างโดย เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 4 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมายสมเกียรติ อ่อนวิมล.

ใหม่!!: จารกรรมและเจมส์ บอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Espionageการสอดแนมสอดแนมสายลับอุปนิกษิตอุปนิกขิตจารชนคนสอดแนม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »