โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมนต์มอร์ทาวเวอส์

ดัชนี เมนต์มอร์ทาวเวอส์

มนต์มอร์ทาวเวอส์ (Mentmore Towers) เป็นคฤหาสน์ชนบทขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมนต์มอร์ในบักกิงแฮมเชอร์ในสหราชอาณาจักร "เมนต์มอร์ทาวเวอส์" ก่อสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปีค.ศ. 1852 ถึงปี ค.ศ. 1854 เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ ที่สร้างให้แก่บารอนเมเยอร์ อัมเชล เดอ รอทไชลด์ โดยมีโจเซฟ แพกซ์ตันเป็นสถาปนิก ชื่อคฤหาสน์มาจากชื่อหมู่บ้านที่คฤหาสน์ตั้งอยู่และเพราะมียอดและหอตกแต่งมากมาย มักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า "เมนต์มอร์" โดยผู้พำนักอยู่ในบริเวณนั้นและผู้ที่ทำงานให้กับคฤหาสน์เช่นเดียวกับทริงพาร์ก (Tring Park) ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก เฮนรี พริมโรส เอิร์ลแห่งโรสบรีที่ 6 เจ้าของเดิมคนหนึ่งของเมนต์มอร์เปรยว่าชื่อคฤหาสน์ฟังแล้วเหมือนบ้านให้เช่าห้องถูก ๆ เมนต์มอร์ทาวเวอส์อยู่ในข่ายสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ 1.

31 ความสัมพันธ์: บราซิล แหกกฏศตวรรษบักกิงแฮมเชอร์ฟร็องซัว บูเชพ.ศ. 2395พ.ศ. 2397พ.ศ. 2437พ.ศ. 2516พิษราคะมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ลอนดอนสมัยวิกตอเรียสหราชอาณาจักรสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์สถาปนิกสงครามโลกครั้งที่สองสไปซ์เกิลส์จิตรกรรมทอมัส เกนส์เบรอคฤหาสน์ชนบทคฤหาสน์ภูมิฐานคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษนอตทิงแฮมแบทแมน บีกินส์โรงแรมโจชัว เรย์โนลส์โจเซฟ แพกซ์ตันเอนยาเจมส์ คัลลาฮานเดอะมัมมี่ รีเทิร์น ฟื้นชีพกองทัพมัมมี่ล้างโลก

บราซิล แหกกฏศตวรรษ

ราซิล แหกกฏศตวรรษ เป็นภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์แนวดิสโทเปีย ออกฉายเมื่อ..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และบราซิล แหกกฏศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

บักกิงแฮมเชอร์

ัคคิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire; ออกเสียง: ˈbʌkɪŋəmʃəˈ หรือ ˈbʌkɪŋəmʃɪəˈ; ย่อ Bucks) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน บัคคิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ บัคคิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เซาท์บัคส, ชิลเทิร์น, ไวคูมบ์, อายล์สบรี เวล, และ มิลตัน คีนส์ โดยมีอายล์สบรี เป็นเมืองหลวงของมณฑล และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมิลตัน คีนส์ บัคคิงแฮมเชอร์มีเนื้อที่ 1,874 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 719,000 คน ถัวเฉลี่ย 384 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บัคคิงแฮมเชอร์มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, มณฑลบาร์คเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์, มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และบักกิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว บูเช

ฟร็องซัว บูเช (François Boucher; 29 กันยายน ค.ศ. 1703 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1770) เป็นจิตรกรสมัยโรโคโคคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีชื่อเสียงในงานเขียนที่เป็นอุดมคติและอวบอิ่ม (voluptuous) ของภาพประเภทคลาสสิก อุปมานิทัศน์ และท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นบูเชก็ยังเขียนภาพเหมือนหลายภาพของมาดาม เดอ ปงปาดูร.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และฟร็องซัว บูเช · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และพ.ศ. 2395 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2397

ทธศักราช 2397 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1854.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และพ.ศ. 2397 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2437

ทธศักราช 2437 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1894 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และพ.ศ. 2437 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พิษราคะ

ษราคะ (Eyes Wide Shut) เป็นภาพยนตร์ที่ฉายในปี ค.ศ. 1999 กำกับและเขียนบทโดยสแตนลีย์ คูบริก โดยอิงจากนิยาย Dream Story (ชื่อเยอรมัน: Traumnovelle) ของอาร์เธอร์ ชนิตซ์เลอร์ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1926 นำแสดงโดยทอม ครูซและนิโคล คิดแมน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัล Filmcritica "Bastone Bianco" Award และรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ฝรั่งเศส (French Syndicate of Cinema Critics) สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และพิษราคะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยวิกตอเรีย

มัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิกตอเรีย (Victorian era) ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียระหว่างปี..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสมัยวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์

สะพานรถไฟฟอร์ธออกแบบโดยเซอร์เบ็นจามินเบเคอร์และจอห์น เฟาว์เลอร์ ที่เปิดเมื่อปี ค.ศ. 1890 ในปัจจุบันเป็นของ Network Rail เป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ เอ ขององค์การประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ (Historic Scotland) สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ (Listed building) ในสหราชอาณาจักรเป็นสิ่งก่อสร้างหรือโครงสร้างที่ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการว่ามีความสำคัญทางด้านสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่ในปัจจุบันประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งสิ้นราวครึ่งล้านแห่ง สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ไม่สามารถจะถูกรื้อทิ้ง, ขยายต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานวางแผนท้องถิ่น (ผู้มีหน้าที่ปรึกษาสำนักงานกลางของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ) ข้อยกเว้นก็ได้แก่วัดอังกลิคันที่ยังใช้เป็นวัดอยู่ และวัดที่บริหารโดยได้รับสิทธิพิเศษ ในบางกรณีเจ้าของสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์มีหน้าที่ที่จะต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างให้อยู่ในสภาพดี ถ้าละเลยหรือทำการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีโทษตามกฎหมาย เพราะการได้รับการระบุมีผลในการจำกัดสิทธิในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจึงอนุญาตให้ผู้เป็นเจ้าของสามารถประท้วงการระบุได้ แม้ว่าสิ่งที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งก่อสร้าง แต่ก็มีโครงสร้างอื่นที่อยู่ในรายการด้วยเช่นสะพาน, อนุสาวรีย์, ประติมากรรม, อนุสรณ์สงคราม หรือแม้แต่หลักไมล์ สิ่งก่อสร้างโบราณ, สิ่งก่อสร้างทางการทหาร และสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สำหรับการอยู่อาศัย (เช่นสโตนเฮนจ์) แทนที่จะอยู่ในข่าย “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างโบราณภายใต้การพิทักษ์ (Scheduled monument) ที่อยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระราชบัญญัติที่เก่ากว่าพระราชบัญญัติที่ใช้สำหรับ “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ขณะที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเช่นอุทยานและสวนในปัจจุบันอยู่ในรายการที่ไม่มีกฎหมายพิทักษ์ พระราชบัญญัติที่ใช้สำหรับ “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” เริ่มโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวางแผนเมือง ค.ศ. 1947 (Town and Country Planning Act 1947) “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงแทบทุกอย่างของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ต้องได้รับการอนุญาตก่อนที่จะทำได้ ระดับของการพิทักษ์แบ่งเป็นสามระดับตามลำดับของความสำคัญและความยากในการขอใบอนุญาตในการเปลี่ยนแปลง: “เกรด III” ถูกยุบเลิกไปในปี..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์

แบบอิตาลี” เข้าไปบ้าง คฤหาสน์วอลลาทันฮอลล์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1588 สถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ หรือบางครั้งก็เรียกสั้นๆ ว่า ฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ หรือ เรอแนซ็องส์ใหม่ (Renaissance Revival architecture หรือ Neo-Renaissance) คือลักษณะสถาปัตยกรรมที่รวมลักษณะต่างๆ ของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ไม่เชิงกรีก (ดูบทความ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก) หรือ กอธิค (ดูบทความ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค) แต่เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกอิตาลีต่างๆ ตามความหมายอย่างกว้างๆ ของสถาปนิกและนักวิพากษ์ “สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์” ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มิได้ใช้แต่เพียงสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ที่เริ่มขึ้นในฟลอเรนซ์และตอนกลางของอิตาลีของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกของลัทธิมนุษยนิยม แต่ยังรวมไปถึงลักษณะสถาปัตยกรรมที่มารู้จักกันว่าแมนเนอริสม์ และ บาโรก นอกจากนั้นลักษณะของตนเองก็ยังปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 19: “เรอแนซ็องส์ใหม่” ตามความหมายของผู้ร่วมสมัยจึงหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่เป็น “แบบอิตาลี” (Italianate) หรือสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะบาโรกฝรั่งเศสเข้าไปผสม (สถาปัตยกรรมจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง) ลักษณะอันเป็นที่ต่างกันของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ในบริเวณต่างๆ ของยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศสและอิตาลีเป็นการเพิ่มอุปสรรคในการบ่งลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ยิ่งขึ้นไปอีก ที่จะเห็นได้จากคฤหาสน์วอลลาทันฮอลล์ในอังกฤษ วังพิตติในอิตาลี, พระราชวังชองบอร์ดในฝรั่งเศส และ วังฟาเซต์ในรัสเซีย — ซี่งต่างก็จัดอยู่ในกลุ่ม “สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์” — ที่ต่างก็มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันออกไปแม้ว่าจะจัดว่าเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ตาม.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สไปซ์เกิลส์

ปซ์เกิลส์ (Spice Girls) เป็นกลุ่มศิลปินหญิงจากอังกฤษ เริ่มก่อตั้งวงในปี ค.ศ. 1994 ในลอนดอน หลังจากออกซิงเกิลแรก "Wannabe" ก็สร้างปรากฏการณ์ในวงการเพลงป็อปไปทั่วโลก ยอดขายมีมากกว่า 55 ล้านชุดทั่วโลก ถือว่าเป็นกลุ่มศิลปินหญิงที่ประสบความสำเร็จที่สุด สไปซ์เกิลส์ ได้ออกอัลบั้มทั้งหมด 3 สตูดิโออัลบั้ม กับ 10 ซิงเกิล ซึ่งมีซิงเกิลที่ขึ้นอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรถึง 9 เพลง, ซิงเกิลที่ขึ้นอันดับ 1 ช่วงคริสต์มาสติดต่อกันสามปีซ้อนในสหราชอาณาจักร และซิงเกิลเพลง Wannabe ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาของวงหญิงล้วน msn.com และมีภาพยนตร์เรื่อง Spiceworld ที่ทำรายได้ 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พวกเธอยังได้รับรางวัลต่างๆหลายเวที รวมถึง บริท อวอร์ดส ในปี 2016 Spice Girls ได้รวมตัวกันใหม่อีกครั้งเพื่อฉลองที่วงครบรอบ 20 ปี โดยสมาชิกทีตอบรับกลับมารวมตัวใหม่อีกครั้งมีเพียงแค่ เอ็มม่า บันทัน, เมล บี และ เจรี ฮัลลิเวลล์ โดยทั้ง 3 จะเปิดตัวในนาม "Spice Girls GEM" ในเร็วๆนี้ซึ่งคำว่า GEM มาจากชื่อแรกของทั้ง 3 สมาชิกที่กลับมารวมตัวใหม่ในครั้งนี้นำมาประกอบกันใหม่ โดย G ย่อมาจาก Geri, E ย่อมาจาก Emma และ M ย่อมาจาก Mel B.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และสไปซ์เกิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เกนส์เบรอ

ทอมัส เกนส์เบรอ (ภาษาอังกฤษ: Thomas Gainsborough) (14 พฤษภาคม ค.ศ. 1727 - 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1788) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน และจิตรกรรมภูมิทัศน.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และทอมัส เกนส์เบรอ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และคฤหาสน์ชนบท · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ภูมิฐาน

“คฤหาสน์วิลท์ตัน” ที่รู้จักกันจากฉากเต้นรำในภาพยนตร์เรื่อง “Sense and Sensibility” คฤหาสน์ภูมิฐาน (Stately home) ตามความหมายที่จำกัดแล้วหมายถึงคฤหาสน์ขนาดใหญ่ประมาณ 500 แห่งที่สร้างในหมู่เกาะอังกฤษระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รวมทั้งสำนักสงฆ์และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ที่เปลี่ยนมือมาเป็นของฆราวาสหลังการยึดอารามโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเรียกว่า “คฤหาสน์ภูมิฐาน” ก็เพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างจากสิ่งก่อสร้างที่เรียกกันว่า “ปราสาท” (แม้ว่าคฤหาสน์ภูมิฐานบางแห่งจะยังเรียกตัวเองว่า “ปราสาท”) ตามความหมายทางสถาปัตยกรรมหรือการก่อสร้าง เพื่อเป็นการแสดงว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยมิใช่เพื่อประโยชน์ทางการทหาร “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มิใช่เป็นแต่เพียงที่อยู่อาศัยแต่เป็นการแสดงสัญลักษณ์แสดงฐานะ (status symbol) ของผู้เป็นเจ้าของตระกูลของผู้เป็นเจ้าของด้วย ซึ่งต่างก็แข่งกันสร้างเพื่อใช้ในการรับรองพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือในการรับรองบุคคลสำคัญๆ อื่นที่มีความสำคัญในทางสังคมหรือการเมือง สถาปนิกและสถาปนิกสวนภูมิทัศน์เช่นโรเบิร์ต อาดัม, เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รี, เซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นส (Edwin Lutyens), เซอร์จอห์น แวนบรูห์, ลานเซลอต บราวน์ และฮัมฟรีย์ เร็พตัน (Humphry Repton) และอื่นๆ ต่างก็มีบทบาทในการก่อสร้างดังที่ว่านี้ นอกจากนั้นการแสดงความสง่างามภายนอกแล้ว ภายในก็จะตกแต่งด้วยศิลปะและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นงานสะสมหรือไปสรรหากันมาโดยเฉพาะ การสร้าง “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มาสิ้นสุดลงหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่รวมทั้งการมยุบตัวของอุตสาหรรรมและของเกษตรกรรมในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และต่อมาสงครามโลกครั้งที่สอง ในปัจจุบัน “คฤหาสน์ภูมิฐาน” จึงมักจะเป็นการผสมระหว่างการเป็นสถานที่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม, พิพิธภัณฑ์ที่อยู่อาศัย, พิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเช่นพิพิธภัณฑ์ราชรถ หรือบ้านหรือปราสาทที่เป็นที่พำนักอาศัยของตระกูลที่บางส่วนก็ทรุดโทรมลงไปบ้างแล้ว “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อาจจะบริหารโดยองค์การต่างๆ ดังนี้: แต่ก็ยังมี “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อีกเป็นอันมากที่ยังเป็นการบริหารส่วนบุคคลหรือโดยองค์กรผู้พิทักษ์ (trust) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและอนุรักษ์คฤหาสน์ขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่ร่ำลือกันว่าเป็นจำนวนอันมหาศาลและเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เจ้าของหลายคนจึงจำต้องหาวิธีต่างที่นำมาซึ่งรายได้พิเศษในการจุนเจือเช่นโดยการให้เช่า หรือให้จ้างใช้เป็นฉากสำหรับการสร้างภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ฉะนั้น “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางแห่งจึงดูคุ้นตาแม้แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยมาชมด้วยตนเอง นอกจากตัวคฤหาสน์แล้ว บริเวณรอบๆ ก็อาจมักจะมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ สำหรับนักท่องเที่ยวเช่น สวนภูมิทัศน์, สิ่งก่อสร้างตกแต่ง, ฟาร์มสัตว์, ซาฟารีพาร์ค หรือพิพิธภัณฑ์เป็นต้น.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และคฤหาสน์ภูมิฐาน · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ

หาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Treasure Houses of England) เป็นกลุ่มมรดกทางวัฒนธรรมที่ก่อตั้งราวต้นทศวรรษ 1970 โดยคฤหาสน์ระดับหนึ่งสิบหลังในประเทศอังกฤษที่ยังอยู่ในมือส่วนบุคคลโดยมีจุดประสงค์เพื่อการตลาดและเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองต่อนักท่องเที่ยว ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มมีด้วยกัน 9 คฤหาสน์.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮม

นอตทิงแฮม (Nottingham นอตทิงเงิม) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลนอตทิงแฮมเชอร์ในภาคการปกครองมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองใหญ่หลักของอังกฤษ นอตทิงแฮมมีเนื้อที่ 74.61 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมดประมาณ 288,700 คนและ 667,000 คนถ้ารวมทั้งในบริเวณปริมณฑลที่อยู่ในมณฑลดาร์บีเชอร์ บริเวณปริมณฑลของนอตทิงแฮมใหญ่เป็นที่เจ็ดในสหราชอาณาจักรใกล้เคียงกับลิเวอร์พูลและเชฟฟีลด์ บริเวณปริมณฑลครอบคลุมอาณาบริเวณที่กว้างที่รวมทั้งเมืองใกล้เคียงเช่นอิลเคสตันและอีสต์วูด ใจกลางของตัวเมืองเป็นจัตุรัสตลาดเก่าซึ่งมีเนื้อที่ 22,000 ตารางเมตรซึ่งเป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ และได้รับการปรับปรุงในปี..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และนอตทิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

แบทแมน บีกินส์

แบทแมน บีกินส์ (อังกฤษ: Batman Begins) คือ ภาพยนตร์ชุดแบทแมนลำดับที่ 5 เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2548 กำกับโดย คริสโตเฟอร์ โนแลน นำแสดงโดย คริสเตียน เบล, ไมเคิล เคน, เลียม นีสัน, แคที โฮล์มส์, แกรี โอลด์แมน, ซิลเลียน เมอร์ฟี, มอร์แกน ฟรีแมน, ทอม วิลคินสัน, Rutger Hauer และเค็ง วะตะนะเบะ เนื้อเรื่องของภาพยนตร์แบทแมนภาคนี้เป็นอิสระจากภาพยนตร์ชุดแบทแมนที่สร้างมาก่อนหน้าโดยสิ้นเชิง โดยมีโครงเรื่องที่กล่าวถึงจุดกำเนิดของตัวละครแบทแมน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเส้นเรื่องของหนังสือการ์ตูนชุดแบทแมนดั้งเดิม เช่น แบทแมน: เดอะแมนฮูฟอลส์ (Batman: The Man Who Falls) แบทแมน: เยียร์วัน (Batman: Year One) และ แบทแมน: เดอะลองฮัลโลวีน (Batman: The Long Halloween) ที่มาของภาพยนตร์เรื่องนี้ มาจากความคิดของคริสโตเฟอร์ โนแลน และเดวิด เอส. โกเยอร์ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์) ที่มาร่วมงานกันเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ซึ่งภาคนี้ถือเป็นภาพยนตร์แบทแมนเรื่องแรก หลังจากที่ภาค แบทแมนแอนด์โรบิน (Batman & Robin) เมื่อ พ.ศ. 2540 ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบและประสบความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ โดยในภาคนี้ เขาทั้งสองคนได้ดัดแปลงให้มีโทนสีมืดและมีความสมจริงของเนื้อเรื่องมากกว่าที่ภาคที่ผ่านมา การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้วิธีการแสดงผาดโผนแบบดั้งเดิมและอาศัยการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก โดยสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำในเบื้องต้น คือ อังกฤษและชิคาโก แบทแมน บีกินส์ ได้รับกระแสที่ดีทั้งจากคำวิจารณ์และการตอบรับเชิงพาณิชย์ โดยได้มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อชื่อว่า แบทแมน อัศวินรัตติกาล (The Dark Knight) ขึ้นมา ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลน และนำแสดงโดยคริสเตียน เบล เช่นเดิม.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และแบทแมน บีกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงแรม

รงแรม ห้องพักภายในโรงแรม The Oriental Bangkok โรงแรม หมายถึง สถานที่ประกอบการเชิงการค้าที่นักธุรกิจตั้งขึ้น เพื่อบริการผู้เดินทางในเรื่องของที่พักอาศัย อาหาร และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพักอาศัยและเดินทาง หรืออาคารที่มีห้องนอนหลายห้อง ติดต่อเรียงรายกันในอาคารหนึ่งหลังหรือหลายหลัง ซึ่งมีบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกของผู้ที่มาพัก ซึ่งเรียกว่า "แขก" (guest) คำว่า hotel หรือ โรงแรมมีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสซึ่งแปลว่า คฤหาสน์ โรงแรมแห่งแรกในยุโรปคือ Hotel de Hanri IV (โฮเทล เดอ อองรี กัต) เมื่อปี..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และโรงแรม · ดูเพิ่มเติม »

โจชัว เรย์โนลส์

ซอร์โจชัว เรย์โนลส์ (ภาษาอังกฤษ: Joshua Reynolds, RA FRS FRSA) (16 กรกฎาคม ค.ศ. 1723 - 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1792) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน และภาพเหมือน โจชัว เรย์โนลส์เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1723 ที่เมืองพลิมตันในเดวอนในอังกฤษ และเสียชีวิตเมื่อราววันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1792 ที่เมืองลอนดอนในอังกฤษ เรย์โนลด์เป็นผู้สนับสนุนการเขียนที่เรียกว่า “Grand Style” ที่เป็นการเขียนที่สร้างภาพอุดมคติจากสิ่งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์แบบ เรย์โนลด์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการของราชสถาบันศิลปะ เรย์โนลด์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์จากพระเจ้าจอร์จที่ 3.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และโจชัว เรย์โนลส์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ แพกซ์ตัน

ซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน เซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน (Sir Joseph Paxton; 3 สิงหาคม พ.ศ. 2346 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2408) นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิกชาวอังกฤษ เกิดใกล้เมืองวอเบิร์น เบดฟอร์ดไชร์ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรของชาวน.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และโจเซฟ แพกซ์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

เอนยา

อนยา พาทริเชีย นี วรีไนน์ (Eithne Patricia Ní Bhraonáin) หรือเอนยา (Enya) (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504—ปัจจุบัน) เป็นนักร้อง นักดนตรี และคีตกวีชาวไอร์แลนด์ ผู้ได้รับรางวัลแกรมมี่สี่ครั้ง และเป็นศิลปินเดี่ยวที่มียอดจำหน่ายผลงานเป็นอันดับสูงสุดของไอร์แลนด์ ดนตรีของเอนยาได้รับอิทธิพลจากดนตรีเคลติก และมักจัดเป็นดนตรีนิวเอจ เอนยาร่วมงานกับ นิกกี และโรมา ไรอัน มาอย่างยาวนาน โดยเอนยาเป็นผู้ร้องและเล่นดนตรี นิกกีเป็นผู้อำนวยการผลิต และโรมาเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง คำว่า Enya เป็นการเขียนทับศัพท์ชื่อของเธอในภาษาแกลิก คือ Eithne ตามการออกเสียง โดยมีความหมายว่า แก่นไม้ กับทั้งยังเป็นชื่อนักบุญศาสนาคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 อีกด้ว.

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และเอนยา · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ คัลลาฮาน

ลโอนาร์ด เจมส์ คัลลาฮาน บารอนคัลลาฮานแห่งคาร์ดิฟฟ์ (Leonard James Callaghan, Baron Callaghan of Cardiff) เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และเจมส์ คัลลาฮาน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะมัมมี่ รีเทิร์น ฟื้นชีพกองทัพมัมมี่ล้างโลก

อะมัมมี่ รีเทิร์น ฟื้นชีพกองทัพมัมมี่ล้างโลก (The Mummy Returns) เป็นภาพยนตร์โลดโผน/จินตนิมิต/ผจญภัยลำดับที่ 2 ในไตรภาคชุด เดอะ มัมมี่ กำกับและเขียนบทโดยสตีเฟน ซอมเมอส์ นำแสดงโดยเบรนแดน เฟรเซอร์, เรเชล ไวสซ์, อาร์โนลด์ วอสลู, จอห์น ฮันนาห์, แพทริเซีย เวลาสเกซ, ดเวย์น "เดอะ ร็อก" จอห์นสันและโอเดด เฟหร์ เป็นภาคต่อจาก เดอะ มัมมี่ คืนชีพคำสาปนรกล้างโลก (The Mummy) และเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ภาคแยก เดอะ สกอร์เปี้ยน คิง ศึกราชันย์แผ่นดินเดือด (The Scorpion King) ออกฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เมนต์มอร์ทาวเวอส์และเดอะมัมมี่ รีเทิร์น ฟื้นชีพกองทัพมัมมี่ล้างโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mentmore Towersคฤหาสน์เมนท์มอร์เทาเออร์ส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »