เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การใช้ความรุนแรงกับแฟน

ดัชนี การใช้ความรุนแรงกับแฟน

การใช้ความรุนแรงกับแฟน (dating violence) หรือ การทารุณกรรมแฟน (dating abuse) ถูกให้ความหมายว่าเป็นการใช้ความรุนแรง หรือ การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นระหว่างคู่ที่อยู่ในระหว่างการเดทหรือการจีบ และยังไม่แต่งงาน สิ่งนี้ยังหมายถึงการที่คนใดคนหนึ่งในความสัมพันธ์พยายามคงอำนาจและควบคุมอีกคนหนึ่งโดยใช้ความรุนแรงหรือการทารุณกรรม โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการประทุษร้ายทางเพศ, การคุกคามทางเพศ, การข่มขู่, การทำร้ายร่างกาย, การข่มเหงทางวาจา ทางจิต หรือ ทางอารมณ์, การทำร้ายทางสังคม, และการเฝ้าติดตาม อาจรวมถึง การกรรโชกทางอารมณ์, การทารุณกรรมทางเพศ, ทารุณกรรมทางร่างกาย และการชักใยทางจิตวิทยา การใช้ความรุนแรงกับแฟนพบได้ในทุกชาติพันธุ์ อายุ เส้นสังคมและเศรษฐกิจ สถาบันเพื่อความตระหนักเกี่ยวกับความรุนแรงในความสัมพันธ์ บรรยายการใช้ความรุนแรงกับแฟนว่าเป็น "รูปแบบพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรงและบีบบังคับเพื่อคงอำนาจและการควบคุมต่อคู่ครองปัจจุบันหรือคู่ครองในอดีต".

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: การข่มขืนแฟนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพความรุนแรง

  2. การละเมิด

การข่มขืนแฟน

การข่มขืนแฟน (date rape) กล่าวถึง การข่มขืน หรือกระทำการขืนใจทางเพศต่อแฟน ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้จักกันดีเมื่อเกิดความไม่ยอมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในทางกฎหมายไม่มีความแตกต่างระหว่างการข่มขืนแฟน และการข่มขืนคนไม่รู้จัก แต่ในทางปฏิบัติมักจะไม่มีการแจ้งเอาความจากฝ่ายที่ถูกข่มขืน สถานการณ์ของการข่มขืนแฟนมักจะหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ เนื่องจากทางผู้เสียหายอยู่ในสภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้ระหว่างการเสียหายทางร่างกายเนื่องจากการถูกข่มขืน กับการแจ้งจับแฟนของตัวเอง ซึ่งหมายถึงการสูญเสียแฟนในขณะนั้น รวมถึงการเสียชื่อเสียงต่อสังคม ผลสรุปส่วนมากจะจบลงที่ผู้เสียหายยอมไม่เอาเรื่อง ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอยของการถูกข่มขืนอยู่ ผลนี่เองทำให้ผู้ข่มขืนมั่นใจได้ว่าสามารถข่มขืนแฟนโดยจะไม่ถูกแจ้งจับ อย่างไรก็ตามผลของการถูกแฟนข่มขืนมักจะนำไปสู่เหตุที่ต้องเลิกรากับแฟนในที่สุด ในสหรัฐอเมริกาได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "การป้องกันการถูกแฟนข่มขืน" รวมถึงการให้ความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ และสนับสนุนให้ผู้เสียหายไม่ยอมความต่อผู้ข่มขืน ในประเทศไทยจากผลสำรวจของ ดร.เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่ามีร้อยละ 7 จากกลุ่มสำรวจได้ข่มขืนแฟนของ ดร.เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร.

ดู การใช้ความรุนแรงกับแฟนและการข่มขืนแฟน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ชื่อย่อ: สสส.) เป็นองค์การมหาชน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.

ดู การใช้ความรุนแรงกับแฟนและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ความรุนแรง

วามรุนแรง (violence) นิยามโดยองค์การอนามัยโลกว่าเป็น การใช้กำลังหรือพลังทางกายโดยเจตนาต่อตนเอง ผู้อื่น หรือต่อกลุ่มหรือชุมชนอื่น โดยข่มขู่หรือแท้จริง เพื่อให้เกิดหรือมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต การทำร้ายจิตใจ การพัฒนาไม่เพียงพอหรือการริดรอน นิยามนี้เกี่ยวข้องกับเจตนาของการก่อพฤติกรรมนั้น โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา ความรุนแรงพรากชีวิตผู้คนทั่วโลกไปมากกว่า 1.5 ล้านคนทุกปี สูงกว่า 50% เป็นเพราะอัตวินิบาตกรรม อีก 35% มาจากฆาตกรรม และอีก 12% เป็นผลโดยตรงมาจากสงครามหรือความขัดแย้งรูปแบบอื่น สำหรับผู้เสียชีวิตหนึ่งคนจากเหตุความรุนแรง ต้องมีการเข้าโรงพยาบาลหลายสิบครั้ง การเยี่ยมแผนกฉุกเฉินหลายร้อยครั้ง และการนัดของแพทย์หลายพันครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ความรุนแรงมักมีผลตลอดชีวิตต่อสุขภาพกายและจิตของเหยื่อ ตลอดจนหน้าที่ทางสังคม และชะลอการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม.

ดู การใช้ความรุนแรงกับแฟนและความรุนแรง

ดูเพิ่มเติม

การละเมิด