โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553

ดัชนี การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม..

10 ความสัมพันธ์: พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติพรรคสหสามัคคีและการพัฒนาพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตยพรรคเอกภาพแห่งชาติการประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญพม่า พ.ศ. 2551สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยอองซาน ซูจีแผนการสู่ประชาธิปไตยเดอะนิวยอร์กไทมส์

พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ

งพรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ พรรคเอ็นดีเอฟ (National Democratic Force: NDF เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ United Democratic Front; အမျိုးသား ဒီမိုကရေစီ အင်အားစု) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านในพม่า ที่แยกตัวมาจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (พรรคเอ็นแอลดี) ของนางออง ซาน ซูจี ในการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553 สืบเนื่องมาจากไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้ของพรรคเอ็นแอลดี ที่ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จนส่งผลให้พรรคถูกยุบตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญพม่าฉบับล่าสุด พรรคเอ็นดีเอฟก่อตั้งหลังจากพรรคเอ็นแอลดีสิ้นสภาพเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยนายธัน เยียน อดีตสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี สำนักงานใหญ่พรรคตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง ส่งผู้สมัครประมาณ 160 คน เข้ารับเลือกตั้งใน 2 สภาและสภาท้องถิ่น ได้รับเลือกตั้ง 16 ที่นั่ง จากทั้งหมด 1,159 ที่นั่ง.

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และพรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา

งพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (ပြည်ထောင်စုကြံ့ခိုင်ရေးနှင့်ဖွံ့ဖြိုးရေးပါတီ; Union Solidarity and Development Party: USDP) หรือ พรรคยูเอสดีพี เป็นพรรคการเมืองในพม่า ก่อตั้งโดยพลเอกเตง เส่ง ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งพม่า เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย

รรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (Shan National League for Democracy) เป็นพรรคการเมืองในรัฐฉาน มีสมาชิกเป็นทั้งชาวไทใหญ่และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในรัฐฉาน เช่น ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ เป็นพรรคการเมืองของชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่พรรคหนึ่งในพม่า ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 ได้ 23 ที่นั่ง มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในพม่าเป็นหลัก.

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคเอกภาพแห่งชาติ

งพรรคเอกภาพแห่งชาติ พรรคเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Party: NUP) เป็นพรรคการเมืองในพม่า เดิมใช้ชื่อว่า พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Programme Party: BSPP) ก่อตั้งโดยนายพลเน วิน ต่อมาเมื่อเกิดการก่อการกำเริบ 8888 ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และเน วินต้องออกจากตำแหน่ง จึงได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคเอกภาพแห่งชาติ" พรรคเอกภาพแห่งชาติเข้าร่วมการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2533 แต่พ่ายแพ้ให้กับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางออง ซาน ซูจี อย่างขาดลอย ได้รับเลือกตั้งเพียง 10 ที่นั่ง เป็นอันดับสาม รองจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (392 ที่นั่ง) และพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (23 ที่นั่ง) และคณะทหารเข้าก่อการรัฐประหาร และยกเลิกผลการเลือกตั้ง.

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และพรรคเอกภาพแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญพม่า พ.ศ. 2551

การประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพพม่า ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทั่วสหภาพพม่า ตามประกาศเมื่อเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และการประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญพม่า พ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

ันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ไฟล์:Bscript Naingngandaw-Ayecha.png, State Peace and Development Council, อักษรย่อ SPDC) เป็นเครื่องมือการปกครองของประเทศพม่า เดิมใช้ชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือสล็อร์ก (SLORC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 หลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ดำเนินมานับตั้งแต่มีการยกเลิกธนบัตรบางชนิดโดยไม่มีการชดใช้จากรัฐบาล การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา ประกอบกับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรง ความไม่พอใจแพร่กระจายออกไปจนกระทั่งเกิดการประท้วงและปะทะกันจนนองเลือดในที่สุด ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากทหารใช้กำลังปราบปรามโดยไม่ยับยั้ง รัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านไร้ความหมาย เมื่อสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธการเปิดประชุมสภาใหม่ การเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน โดยเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในอาเซียนเองและต่างประเทศ นอกจากนี้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ แม้ว่าการเปลี่ยนชื่อจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวาระสำคัญของชาติ แต่ลักษณะอำนาจนิยมของรัฐบาลยังคงมีอยู.

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย

งสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (အမျိုးသားဒီမိုကရေစီအဖွဲ့ချုပ်, National League for Democracy) หรือ พรรคเอ็นแอลดี เป็นพรรคการเมืองในประเทศพม่า ก่อตั้งเมื่อ 24 กันยายน..

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

อองซาน ซูจี

อองซาน ซูจี (90px, เกิด 19 มิถุนายน 2488) เป็นนักการเมืองชาวพม่าและประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2533 NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 59% และที่นั่ง 81% (392 จาก 485 ที่นั่ง) ในรัฐสภา ทว่า เธอถูกควบคุมตัวในบ้านก่อนการเลือกตั้ง เธอยังอยู่ภายใต้การควบคุมตัวในบ้านในประเทศพม่าเป็นเวลาเกือบ 15 จาก 21 ปีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2532 จนการปล่อยตัวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ทำให้เธอเป็นนักโทษการเมืองที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งของโลก ซูจีได้รับรางวัลราฟโต (Rafto Prize) และรางวัลซาฮารอฟสำหรับเสรีภาพทางความคิด (Sakharov Prize for Freedom of Thought) ในปี 2533 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2534 ในปี 2535 เธอได้รับรางวัลชวาหระลาล เนห์รูเพื่อความเข้าใจระหว่างประเทศ (Jawaharlal Nehru Award for International Understanding) โดยรัฐบาลอินเดีย และรางวัลซีมอง โบลีวาร์ระหว่างประเทศ (International Simón Bolívar Prize) จากรัฐบาลเวเนซุเอลา ในปี 2555 รัฐบาลปากีสถานมอบรางวัลชาฮิด เบนาซีร์ บุตโตเพื่อประชาธิปไตย (Shaheed Benazir Bhutto Award For Democracy) ในปี 2550 รัฐบาลแคนาดาประกาศให้เธอเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของประเทศ เป็นคนที่สี่ที่ได้รับเกียรตินี้ ในปี 2554 เธอได้รับเหรียญวัลเลนเบิร์ก (Wallenberg Medal) วันที่ 19 กันยายน 2555 อองซาน ซูจีได้รับเหรียญทองรัฐสภา ซึ่งร่วมกับเหรียญเสรีภาพประธานาธิบดี เป็นเกียรติยศพลเรือนสูงสุดในสหรัฐอเมริกา วันที่ 1 เมษายน 2555 พรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยประกาศว่าเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในปีตูลุ้ดดอ (Pyithu Hluttaw) สภาล่างของรัฐสภาพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งกอว์มู (Kawhmu) พรรคของเธอยังได้ที่นั่งว่าง 43 จาก 45 ที่นั่งในสภาล่าง คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการยืนยันผลการเลือกตั้งในวันรุ่งขึ้น วันที่ 6 มิถุนายน 2556 ซูจีประกาศบนเว็บไซต์ของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมว่าเธอต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2558 ทว่า ซูจีถูกห้ามมิให้เป็นประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งมิอาจแก้ไขได้โดยปราศจากการรับรองจากสมาชิกสภานิติบัญญัติทหารอย่างน้อยหนึ่งคน ในปี 2557 นิตยสารฟอบส์จัดให้เธอเป็นหญิงทรงอำนาจที่สุดในโลกอันดับที่ 61 ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2558 พรรค NLD ได้คะแนนเสียงทั้งประเทศ 86% (255 ที่นั่ง ในสภาผู้แทนราษฎรและ 135 ที่นั่ง ในสภาเชื้อชาติ) ทว่า เธอซึ่งเป็นประธานพรรค NLD ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากมีข้อห้ามในรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และอองซาน ซูจี · ดูเพิ่มเติม »

แผนการสู่ประชาธิปไตย

แผนการสู่ประชาธิปไตยของพม่า (ဒီမိုကရေစီလမ်းပြမြေပုံ ၇ ချက် หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ แผนการเพื่อการขัดเกลาประชาธิปไตยอันเฟื่องฟู) ได้รับการประกาศโดยนายพลขิ่น ยุ่น เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และแผนการสู่ประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า พ.ศ. 2553และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »