โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การอุปถัมภ์

ดัชนี การอุปถัมภ์

การอุปถัมภ์ ในความหมายโดยทั่วไป คือ การค้ำจุน การค้ำชู การสนับสนุน การเลี้ยงดู ในทางการเมืองซึ่งใช้คำว่า ระบบอุปถัมภ์ หมายถึง การได้รับสิทธิพิเศษจากผู้ใหญ่หรือญาติมิตรของตน เป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบความชอบธรรมซึ่งนิยมใช้เป็นหลักในปัจจุบัน ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 5 – 16 และในสังคมไทยจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ คำว่า “ผู้อุปถัมภ์” (patron) เป็นคำที่มาจากภาษาละติน คือ pratronus หมายถึง บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมหรือรับรอง (sanction) โดยคนเหล่านี้ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ที่มีอำนาจด้อยกว่าหรือเป็น “ผู้รับอุปถัมภ์” (client) ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือป้องกัน โดยผู้อุปถัมภ์จะให้ประโยชน์กับผู้รับอุปถัมภ์โดยหวังจะได้ประโยชน์ตอบแทนกลับมาในรูปแบบของสินค้า ความจงรักภักดี การสนับสนุนทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ ความสัมพันธ์ในเชิงตอบแทนซึ่งกันและกัน (reciprocal relationships) โดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายนี้ ฝ่ายผู้รับอุปถัมภ์มักจะเป็นผู้เสียเปรียบเพราะโดยคำจำกัดความว่าเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่าทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง (Kurian, 2011: 1199-1200).

24 ความสัมพันธ์: พรรคการเมืองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการสื่อสารการปกครองการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบการเมืองภาษาละตินระบบเจ้าขุนมูลนายรัฐรัฐบาลรัตนโกสินทร์ (แก้ความกำกวม)ราชการสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสังคมสิทธิอำนาจอคติทรัพยากรทวีปยุโรปความเป็นญาติประชาชนประเทศกำลังพัฒนาประเทศไทยเศรษฐกิจ

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

การสื่อสาร

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และการสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

การปกครอง

การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ (fair use) เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้การอ้างถึง หรือการนำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปประกอบในงานของผู้อื่น สามารถทำได้บนเงื่อนไขบางประการ คำว่า "ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" นี้เป็นเรื่องเฉพาะของสหรัฐอเมริกา แม้ในประเทศอื่นอาจจะมีหลักการที่คล้าย ๆ กันอยู่บ้างก็ตาม ซึ่งใช้งานโดยชอบธรรมไม่มีผลตามกฎหมายในประเทศไทย การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ เป็นหลักการที่อนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ในการวิจารณ์ เสิร์ชเอนจิน การล้อเลียน การรายงานข่าว งานวิจัย การเรียนการสอน การเก็บงานเอกสาร เป็นต้น การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ประกอบด้วย การใช้โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้า หรือการนำภาพส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ หรือปกหนังสือไปใช้งานในความละเอียดต่ำหรือมีขนาดเล็ก โดยไม่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายของสินค้า หรือทำให้สินค้านั้นขาดรายได้.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รัตนโกสินทร์ (แก้ความกำกวม)

รัตนโกสินทร์ อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และรัตนโกสินทร์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ราชการ

ราชการ (สำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) หรือ รัฐการ (สำหรับประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) เป็นระบบการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐ หมายถึง การงานของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล รวมไปถึงของทหารและตำรวจซึ่งอาจเรียกแยกเฉพาะว่า "ราชการฝ่ายทหาร" หรือ "รัฐการฝ่ายทหาร" แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และราชการ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

มเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สวรรคต..

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และสังคม · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิ

ทธิ คือ หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิ์ทางกฎหมาย สังคมหรือจริยศาสตร์ นั่นคือ สิทธิเป็นกฎเชิงบรรทัดฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนมีหรือเป็นของประชาชนตามบางระบบกฎหมาย ขนบธรรมเนียมทางสังคม หรือทฤษฎีจริยศาสตร์ สิทธิมีความสำคัญยิ่งในสาขาวิชาดังกล่าว เช่น กฎหมายและจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีความยุติธรรมและกรณียกรรม มักถือว่าสิทธิเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ถือว่าเป็นเสาหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางสังคมพบได้ในประวัติศาสตร์ของสิทธิแต่ละอย่างและพัฒนาการของมัน ตามสารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด "สิทธิให้โครงสร้างแก่ระบอบการปกครอง เนื้อหากฎหมาย และลักษณะของศีลธรรมซึ่งรับรู้ในปัจจุบัน".

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจ

นักสังคมวิทยานิยาม อำนาจ ว่าเป็นความสามารถในการกำหนดให้ผู้อื่นเป็นหรือกระทำตามความต้องการของตนเอง แม้ว่าผู้อื่นจะขัดขืนก็ตาม การกำหนดนี้อาจไม่จำเป็นต้องมีการบีบบังคับ (ด้วยกำลังหรือด้วยการขู่ว่าจะใช้กำลัง) ดังนั้น "อำนาจ" ในแนวคิดทางสังคมวิทยา จึงมีความหมายครอบคลุมถึงอำนาจทางกายภาพและอำนาจการเมือง ในภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน คำว่า "อำนาจ" จะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อิทธิพล" (influence) ถ้าจะกล่าวในกรณีทั่วไปมากกว่านี้ เราสามารถนิยาม "อำนาจ" ว่าเป็นความสามารถฝ่ายเดียว หรือเกือบจะฝ่ายเดียว, หรือศักยภาพในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอะไรบางอย่าง ซึ่งมักจะเป็นชีวิตของผู้คน ผ่านทางการกระทำของตนเอง หรือผู้อื่น.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

อคติ

อคติ แปลว่า ไม่ควรถึง หมายถึงไม่ควรประพฤติ ในศาสนาพุทธที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาใช้ในความหมายว่าลำเอียง มี 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ โมหาคติ เป็นธรรมของผู้เป็นผู้ใหญ่ควรยึดถือ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมสามารถใช้ในการพิจารณาสรรพสิ่ง ว่าเราเห็นผิดวิปลาสจากความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง เป็นเพราะอคติทั้ง 4 ต่อสิ่งทั้งปวง หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่:อคติ.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และอคติ · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากร

ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสง พืชและสัตว์ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีทรัพยากรที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิอาก.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และทรัพยากร · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นญาติ

ตารางแสดงลำดับความสัมพันธ์ของญาติ ญาติ เป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างบุคคลที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และความเป็นญาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชน

ประชาชน ชน หรือราษฎรเป็นบุคคลหลายคนซึ่งถือเป็นทั้งหมด ดังในกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ ตัวอย่างเช่น คนยิวเรียกรวม ๆ ว่า "ชนยิว" คนยิปซียุโรปประกอบเป็นส่วนใหญ่ของ "ชนโรมานี" และคนปาเลสไตน์เรียก "ชนปาเลสไตน์" หมวดหมู่:มนุษย์ หมวดหมู่:ประชาชน.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: การอุปถัมภ์และเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระบบอุปถัมภ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »