โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ

ดัชนี การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ

การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Disappearance of Haruhi Suzumiya หรือ The Vanishment of Haruhi Suzumiya) เป็นอะนิเมะอิงนิยายชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นเล่มที่สี่ในไลท์โนเวลชุด ''สึซึมิยะ ฮารุฮิ'' ของนะงะรุ ทะนิงะวะ (Nagaru Tanigawa) อะนิเมะนี้ เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิต, ทะสึยะ อิชิฮะระ (Tatsuya Ishihara) กับ ยะซุฮิโระ ทะเกะโมะโตะ (Yasuhiro Takemoto) ร่วมกันกำกับ, มีความยาวหนึ่งร้อยหกสิบสี่นาที (เกือบสามชั่วโมง) ซึ่งเท่ากับอะนิเมะโทรทัศน์เจ็ดตอนรวมกัน, และสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ (Kadokawa Shoten) นำออกฉายในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 แล้วทำเป็นดีวีดีและบลูเรย์ขายตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ปีนั้น ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ บันไดเอนเตอร์เทนเมนต์ (Bandai Entertainment) ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่, ในสหราชอาณาจักร มังงะเอนเตอร์เทนเมนต์ (Manga Entertainment) เผยแพร่ และในประเทศไทย โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เผยแพร่ อะนิเมะ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ขึ้นชื่อว่า ไม่มีแนวเรื่องแนวหนึ่งแนวใดเป็นการจำเพาะ เพราะมีทั้งตลก วีรคติ วิทยาศาสตร์ ลึกลับ จินตนิมิต เสี้ยวชีวิต และละคร โดยดำเนินเรื่องสืบจากอะนิเมะโทรทัศน์ชุด เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Melancholy of Haruhi Suzumiya) ซึ่งมียี่สิบแปดตอนและสร้างจากนิยายเล่มที่หนึ่ง สอง สาม และห้าจากไลท์โนเวลชุดเดียวกัน และอะนิเมะนี้มีสถานะเป็นตอนที่ยี่สิบเก้าต่อกันนั้น.

34 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์พนาวรรณ ศรีวะโลสกุลกริน อักษรดีกรุงเทพมหานครการเดินทางข้ามเวลามิโนะริ ชิฮะระมูลนิธิชัยพัฒนารหัสคดีรัฐฮาวายวีรคติศรีอาภา เรือนนาคสยามสแควร์สำนักพิมพ์คะโดะกะวะสึซึมิยะ ฮารุฮิอภินันท์ ธีระนันทกุลอะยะ ฮิระโนะอะนิเมะอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554ฮอลลีวูดฌีมโนเปดีจอห์นนี ยัง บอสช์จินตนิมิตทะนะบะตะคริสต์มาสตลกประเทศไทยนาฏกรรมแอนดรอยด์โรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่นโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์โอะริฮิเมะโทะโมะกะซุ ซุงิตะเกียวโตแอนิเมชันเอริก ซาตี

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล

นาวรรณ ศรีวะโลสกุล (ชื่อเล่น เตี๊ยบ) เป็นนักพากย์หญิงชาวไทย ประจำอยู่ที่ ROSE DEX และ WORKPOINT เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานพากษ์ภาพยนตร์ ซีรีส์เรื่องต่าง ๆ อีกด้ว.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและพนาวรรณ ศรีวะโลสกุล · ดูเพิ่มเติม »

กริน อักษรดี

กริน อักษรดี (ชื่อเล่น: กิ๊บ) เป็น นักพากย์ ชายชาวไทย ปัจจุบันได้มาพากย์เสียงให้กับทาง โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์, ไทก้า ไทยพีบีเอส และ โมเดิร์นไนน์ทีวี เป็นต้น พี่กิ๊บมักจะได้พากย์เสียงตัวเอกวัยรุ่นอยู่ประจำเสมอและยังมีผลงานพากย์หนังภาพยนตร์หลายเรื่องเป็นเจ้าของเสียงพากย์ ไชอา เลอบัฟ.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและกริน อักษรดี · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลา (time travel) เป็นแนวคิดเรื่องการเคลื่อนที่ (ที่มักจะทำให้เกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์) ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในห้วงเวลา หรือ ระหว่างห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่ หรือ ปริภูมิ (space) ในลักษณะย้อนสู่อดีตหรือมุ่งสู่อนาคต โดยไม่จำต้องประเชิญห้วงเวลาที่คั่นระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดหมายปลายทาง ซึ่งอาจอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า "จักรกลข้ามเวลา" (time machine) Brave New Words: The Oxford Dictionary of Science Fiction by Jeff Prucher (2007),.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและการเดินทางข้ามเวลา · ดูเพิ่มเติม »

มิโนะริ ชิฮะระ

มิโนะริ ชิฮะระ เป็นนักพากย์และนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่เมืองอุทสึโนะมิยะ จังหวัดโทะจิงิ จังหวัดฟุกุโอะกะ มีกรุ๊ปเลือด B และเธอเป็นลูกคนกลางโดยมีพี่สาว 1 คนและน้องชาย 1 คน มิโนะริมีชื่อเล่นที่แฟนๆ นิยมเรียกคือ "มิโนะริง".

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและมิโนะริ ชิฮะระ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิชัยพัฒนา

ตราสัญลักษณ์มูลนิธิ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นมูลนิธิซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานงานให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน แต่รัฐมีปัญหางบประมาณ หรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ มูลนิธิชัยพัฒนาจะช่วยเหลือตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการนั้นดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรกในการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบ มูลนิธิชัยพัฒนาก่อตั้งเมื่อ 14 มิถุนายน..

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและมูลนิธิชัยพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

รหัสคดี

รหัสคดี อ่านว่า ระ-หัด-สะ-คดี เป็นคำสมาส ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า mystery story ซึ่งรวมความถึงนิยายลึกลับ อาชญนิยาย นิยายนักสืบ นิยายสยองขวัญ นิยายสืบสวน และรวมถึงงานเขียนที่ไม่ใช่นิยาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมด้วย คำว่ารหัสคดีเป็นศัพท์ที่เพิ่งปรากฏขึ้นบนวงการวรรณศิลป์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2542 บนนิตยสารรายสามเดือนชื่อ รหัสคดี ซึ่งตีพิมพ์บทความ เรื่องสั้น บทกลอน อันเข้าข่ายว่าเป็น "รหัสคดี" โดยนิยามคือ "เรื่องเล่าที่เน้นการคลี่คลายปัญหาซ่อนเงื่อนของเหตุการณ์ชุดหนึ่ง" เรื่องเล่าประเภทนี้จะสร้างปมปริศนาอันคลุมเครือกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและท้าทายความคิดของผู้อ่านหรือผู้ชมให้เกิดความหฤหรรษ์ในการติดตาม หมวดหมู่:วรรณกรรม.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและรหัสคดี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและรัฐฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

วีรคติ

วีรคติ หรือ โรมานซ์ (romance) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและวีรคติ · ดูเพิ่มเติม »

ศรีอาภา เรือนนาค

รีอาภา เรือนนาค (สกุลเดิม: บางนารถ, ชื่อเล่น: ผึ้ง) เป็นอดีตนักแสดงและนักพากย์ชาวไทย อดีตผู้ประกาศข่าวไทยทีวีสีช่อง 9 อ..ม.ท โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน ปัจจุบันพากย์เสียงให้กับ โมเดิร์นไนน์ทีวี โรส มีเดีย ที่ผ่านมาเคยพากย์ให้กับ ทีไอจีเอ ผลงานที่มีชื่อเสียงคือพากย์เป็นชิซูกะ ในโดราเอม่อน และผลงานการพากย์เรื่องแรกคือเรื่องครีมมี่มามี่ โดยรับบทเป็นแมวตัวเล็กๆ หนึ่งใน 2 คู่หูของนางเอก นอกจากงานพากย์การ์ตูนแล้ว เธอเป็นผู้พากย์เสียงสติกเกอร์ของ ปตท.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและศรีอาภา เรือนนาค · ดูเพิ่มเติม »

สยามสแควร์

มสแควร์ด้านนถนนพญาไท สยามสแควร์ ศูนย์การค้าแบบเชิงราบ จากภาพคือบริเวณสยามสแควร์ซอย 7 สยามสแควร์ ปี พ.ศ. 2558 สยามสแควร์ หรือเรียกกันว่า สยาม เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบในกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระราม 1 โดยด้านหลังติดกับถนนอังรีดูนังต์ และด้านทิศตะวันออกติดต่อกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้านหนึ่งติดกับ ห้างสรรพสินค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และอีกด้านหนึ่งติดกับ สยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์และสยามพารากอน สยามสแควร์เป็นพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน สยามสแควร์ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ มีการเพิ่มการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ทั่วสยามสแควร์ และทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์ขึ้นอย่างจริงจัง และโครงการหลังจากเซ็นเตอร์พอยท์ได้หมดสัญญาลงไป ก็คือโครงการ "ดิจิตอล เกตเวย์" และยังมีโครงการอาคารจอดรถ โครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ในอนาคต สยามสแควร์มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย โดยมีภาพยนตร์ที่มีฉากหรือเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์ เช่น รักแห่งสยาม และ สยามสแควร์ นอกจากนี้มิวสิกวิดีโอก็นิยมใช้สยามสแควร์เป็นฉากในเรื่อง.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและสยามสแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพิมพ์คะโดะกะวะ

ริษัทคะโดะกะวะโชะเท็งจำกัด (株式会社角川書店, Kabushiki-gaisha Kadokawa Shoten) สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอีกบรัษัทหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว คาโดคาวะ งานพิมพ์เป็นหนังสือประเภทคอมมิค และนิตยสารการ์ตูน อาทิเช่น นิวไทป์ เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้ ได้ขยายงานเกี่ยวกับด้านมัลติมีเดีย (วิดีโอเกม) และ ภาพยนตร์ อีกด้วย (คะโดะกะวะพิกเชอร์).

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ · ดูเพิ่มเติม »

สึซึมิยะ ฮารุฮิ

ึซึมิยะ ฮารุฮิ เป็นชื่อเรียกนิยายชุดหนึ่ง แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ลงตีพิมพ์ในนิตยสารสนีกเกอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น นิยายชุด สึซึมิยะ ฮารุฮิ ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นเอซ จากนั้นได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ชิบะ ในปี พ.ศ. 2549 และนำมาฉายซ้ำพร้อมกับฉายตอนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ยังนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนตอนยาวออกฉายในปี พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและสึซึมิยะ ฮารุฮิ · ดูเพิ่มเติม »

อภินันท์ ธีระนันทกุล

อภินันท์ ธีระนันทกุล หรือ เอ เป็นนักพากย์ชาวไทย มักพากย์การ์ตูนให้โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์และโมเดิร์นไนน์การ์ตูน โดยมักรับบทพระเอก นอกจากนี้ เขายังเป็นอาจารย์ฝึกอบรมการพากย์ที่สถาบันเจ็นเอกซ์ (GenX Academy) และเคยพากย์ในทีมพันธมิตรด้วย ปัจจุบัน พากย์ให้กับ ช่อง 7, Modern Nine TV, Thai Pbs, Rose media, Disney Channel, Warner Bros. และค่ายหนังใหญ่อีกหลายค่าย ฯลฯ.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและอภินันท์ ธีระนันทกุล · ดูเพิ่มเติม »

อะยะ ฮิระโนะ

อะยะ ฮิระโนะ (เกิด 8 ตุลาคม 1987) เป็นนักพากย์และนักร้องเจ-ป็อปหญิงชาวญี่ปุ่น เธอเคยสังกัดค่ายสเปซคราฟต์โปรดิวซ์ ในเครือของสเปซคราฟต์กรุ๊ป สำหรับงานนักพากย์ และค่ายแลนติส สำหรับงานนักร้อง ฮิระโนะมีผลงานการพากย์มาแล้วมากมาย ทั้งอะนิเมะ เกม วิชวลโนเวล และรายการโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งผลงานที่ทำให้ชื่อเสียงของเธอเป็นที่รู้จักในวงกว้างคือบทของ สึซึมิยะ ฮารุฮิ จากเรื่องเรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ เธอลาออกจาก สเปซคราฟต์และแลนติส เมื่อปี..

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและอะยะ ฮิระโนะ · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554

อุทกภัยในประเทศไท..

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลลีวูด

ป้ายฮอลลีวูด ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885 โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905 ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและฮอลลีวูด · ดูเพิ่มเติม »

ฌีมโนเปดี

ีมโนเปดี (Gymnopédies) เป็นผลงานประพันธ์สำหรับเปียโนจำนวน 3 ชิ้นที่แต่งโดยเอริก ซาตี คีตกวีชาวฝรั่งเศส เผยแพร่ครั้งแรกในปารีสเมื่อปี ค.ศ. 1888 ผลงานทั้งสามชิ้นเขียนขึ้นในจังหวะ 3/4 โดยมีธีมและโครงสร้างดนตรีร่วมกัน คือเน้นบรรยากาศและสภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบของดนตรีแอมเบียนต์ในปัจจุบัน ชื่อ "ฌีมโนเปดี" มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีก γυμνοπαιδία ("gumnopaidia") มาจากคำว่า γυμνός (gymnos - "naked") และ παίς (pais - "child") หรือ παίζω (paizo - "play") เป็นชื่อเทศกาลเต้นรำเปลือยกายของนักรบสปาร์ตา เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ในปี..

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและฌีมโนเปดี · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นนี ยัง บอสช์

อห์นนี่ ยอง บ๊อช จอห์นนี่ ยอง บ๊อช เกิดวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1976 ที่เมือง Kansas City รัฐ Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน อายุ 41 ปี พ่อของเขาเป็นลูกครึ่ง เยอรมัน/ไอร์แลนด์ แม่เป็นชาวเกาหลี เป็นนักแสดง ผู้พากย์เสียง นักดนตรี ศิลปะการต่อสู้ เป็นที่รู้จักกันดีในนามบท อดัม ปาร์ค ในพาวเวอร์ เรนเจอร.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและจอห์นนี ยัง บอสช์ · ดูเพิ่มเติม »

จินตนิมิต

นตนิมิต (fantasy) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยุคกลางของยุโรป หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับนิยายวิทยาศาสตร์หรือนิยายสยองขวัญ คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและจินตนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

ทะนะบะตะ

ทานาบาตะ (หมายถึงยามเย็นของวันที่เจ็ด) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตามดวงดาวของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจากงานเทศกาลเจ็ดนางฟ้าของจีน เนื่องจากการพบกันของนางฟ้าโอริฮิเมะ (ดาวเวกา) และฮิโกโบชิ (ดาวอัลแทร์) ผู้เลี้ยงวัวบนสวรรค์ โดยอ้างอึงจากตำนานในอดีตว่าทางช้างเผือกคือแม่น้ำของดวงดาวพาดผ่านท้องฟ้า ได้แยกคู่รักคือโอริฮิเมะและฮิโกโบชิไม่ให้ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่อนุญาตให้พบกันเพียงปีละหนึ่งครั้งในวันที่เจ็ดของเดือนที่เจ็ดตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลเฉลิมฉลองมีขึ้นตอนกลางคืนของวันนั้น.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและทะนะบะตะ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ตลก

ตลก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและตลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอยด์

หุ่นแอนดรอยด์รูปร่างผู้หญิงในชื่อว่า แอกทรอยด์ DER ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น แอนดรอยด์ (android) คือ หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์ โดยปกติแล้วทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรม คำนี้ผันมาจากคำกรีก andr- หมายถึง "มนุษย์, เพศชาย" และปัจจัยเสริมท้าย -eides ซึ่งเคยมีความหมายว่า "ในสปีชีส์ของ, เหมือนกับ" (จากคำว่า eidos หมายถึง "สปีชีส์") คำว่า "ดรอยด์" ซึ่งหมายถึงหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์ วอร์ส ก็ผันมาจากความหมายนี้.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและแอนดรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น

รส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น เดิมชื่อ โรส วิดีโอ เป็นบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์อะนิเมะและภาพยนตร์ในประเทศไทย ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและโรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์

รงภาพยนตร์ลิโด โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ เป็นกลุ่มโรงภาพยนตร์ ซึ่งเกือบทั้งหมด มีที่ตั้งอยู่ในย่านสยามสแควร์ ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย (จนถึงต้นปี พ.ศ. 2532) โรงภาพยนตร์สยาม โรงภาพยนตร์ลิโด และ โรงภาพยนตร์สกาลา จดทะเบียนธุรกิจในนามสยามมหรสพ มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท จัดตั้งเมื่อปี 2511 ขณะที่ข้อมูลจากบางสำนักระบุว่าบริษัท เอเพกซ์ภาพยนตร์ จำกัด เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์ทั้งลิโด้และสกาล่า โดยบริษัทดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2523 มีทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท จากจุดตั้งต้น 1 ล้านบาท มีเจ้าของประกอบไปด้วย กัมพล ต้นสัจจา,นันทา ต้นสัจจาและวิวัฒน์ ต้นสัจจา ที่บริหารสวนนงน.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โอะริฮิเมะ

อะริฮิเมะ หรือ เจ้าหญิงทอผ้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและโอะริฮิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

โทะโมะกะซุ ซุงิตะ

ทะโมะกะซุ ซุงิตะ เป็นนักพากย์การ์ตูนชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ที่จังหวัดไซตามะ สังกัดค่ายอะตอมมิกมังกี้ มีความนับถือในตัวฮิคารุ มิโดริคาว.

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและโทะโมะกะซุ ซุงิตะ · ดูเพิ่มเติม »

เกียวโตแอนิเมชัน

ริษัทเกียวโตแอนิเมชัน จำกัด (Kyoto Animation Co., Ltd.) หรือเรียกโดยย่อว่า เกียวแอนิ เป็นสตูดิโอผลิตอะนิเมะ ตั้งอยู่ในเมืองอุจิ จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและเกียวโตแอนิเมชัน · ดูเพิ่มเติม »

เอริก ซาตี

ล้อเลียนตนเอง วาดโดยเอริก ซาตี เอริก ซาตี (Erik Satie) เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม เอริก อาลแฟรด เลลี ซาตี (Éric Alfred Leslie Satie) เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกาลวาโดส วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925).

ใหม่!!: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิและเอริก ซาตี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Disappearance of Haruhi SuzumiyaThe Disappearance of Haruhi SuzumiyaThe Vanishment of Haruhi SuzumiyaVanishment of Haruhi Suzumiyaการหายตัวไปของ สึซึมิยะ ฮารุฮิการหายตัวไปของฮารุฮิ สึซึมิยะ涼宮ハルヒの消失

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »