โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสอดแนมมวลชน

ดัชนี การสอดแนมมวลชน

กล้องวงจรปิด การสอดแนมมวลชน คือการสอดแนมชนิดที่แพร่หลายครอบคลุมประชากรทั้งหมดหรือครอบคลุมประชากรจำนวนมาก รัฐบาลมักเป็นผู้สอดแนม โดยมากลอบทำ แต่ก็อาจทำโดยบริษัท ตามคำสั่งของรัฐบาลหรือทำด้วยตัวเอง การสอดแนมนั้นอาจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ได้ และอาจจำเป็นต้องอาศัยการให้อำนาจจากศาลหรือหน่วยงานอิสระอื่นหรือไม่ก็ได้ การสอดแนมมวลชนมักอ้างความชอบธรรมว่าจำเป็นต้องทำเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สงบในสังคม รักษาความมั่นคงของชาติ ปราบปรามภาพโป๊เด็ก และปกป้องเด็ก การสอดแนมมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าละเมิดความเป็นส่วนตัว จำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และผิดกฎหมายในบางระบบกฎหมายหรือระบบรัฐธรรมนูญ มีความกลัวกันว่าการสอดแนมมวลชนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะนำไปสู่รัฐเผด็จการ ที่ซึ่งผู้คิดต่างทางการเมืองจะถูกทำลายโดยปฏิบัติการต่อต้าข่าวกรอง รัฐดังกล่าวอาจเรียกว่า "รัฐสอดแนม" หรือ "รัฐตำรวจอิเล็กทรอนิกส์" ใน..

6 ความสัมพันธ์: การก่อการร้ายรอยเตอร์สสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจารกรรมเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

การก่อการร้าย

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ที่ถูกจี้ พุ่งเข้าชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก ระหว่างเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 คำว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นคำที่ยังไม่มีการจำกัดความในกฎหมายอาญาที่มีผลผูกมัดตามกฎหมายและได้รับการยอมรับอย่างสากลAngus Martyn,, Australian Law and Bills Digest Group, Parliament of Australia Web Site, 12 February 2002.

ใหม่!!: การสอดแนมมวลชนและการก่อการร้าย · ดูเพิ่มเติม »

รอยเตอร์ส

อาคารสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน สำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) คือผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินและรายงานข่าวต่างๆ ให้แก่สำนักข่าวต่างๆ ของโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยรอยเตอร์สได้รับรายได้ส่วนมาก (กว่าร้อยละ 90) จากการให้บริการข้อมูลทางการเงินต่างๆ เช่น ราคาหุ้นในตลาดต่างๆ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นต้น และการให้บริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยปัจจุบันนี้รอยเตอร์สมีส่วนแบ่งการตลาดในด้านการบริการข้อมูลทางการเงินมากเป็นอันดับสอง ประมาณร้อยละ 23 รองจาก บลูมเบิร์ก (Bloomberg) ที่ควบคุมส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 33 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 รอยเตอร์สได้รวมกิจการกับบริษัททอมสัน คอร์ปอเรชัน (Thomson Corporation) ผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินรายใหญ่จากแคนาดาที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11 โดยบริษัทใหม่ได้ใช้ชื่อว่า ทอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) และจะกลายเป็นผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 34 แซงหน้าบลูมเบิร์กที่มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 33.

ใหม่!!: การสอดแนมมวลชนและรอยเตอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพจัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่งๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235) ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือนๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: การสอดแนมมวลชนและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิในความเป็นส่วนตัว

ทธิในความเป็นส่วนตัว เป็นหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายไทย อันจะเห็นได้จากการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ จึงถือได้ว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวนี้ ถือได้ว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในส่วนของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ย่อจาก information technology และการสื่อสารเป็นอย่างมากทั่วทุกมุมโลก โดยเน้นหนักไปใบส่วนของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารแบบไร้สาย การละเมิดสิทธิเหล่านี้นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวล.

ใหม่!!: การสอดแนมมวลชนและสิทธิในความเป็นส่วนตัว · ดูเพิ่มเติม »

จารกรรม

รกรรม (espionage หรือ spying) คือ การล้วงความลับจากคู่แข่งหรือศัตรูเพื่อความได้เปรียบทางการทหาร การเมือง หรือเศรษฐกิจ จารชน (spy) คือ บุคคลที่รัฐส่งไปล้วงความลับจากศัตรูหรือฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลับทางการทหาร แต่อาจรวมถึงการล้วงความลับจากต่างบริษัท เรียกว่า จารกรรมทางอุตสาหกรรม หลายประเทศส่งสายลับเข้าไปในประเทศอื่นทั้งประเทศที่เป็นมิตรและศัตรู แม้ว่าจะไม่เป็นที่เปิดเผย จารชนนี้อย่างอื่นก็เรียก เช่น สายลับ, คนสอดแนม, อุปนิกขิต หรือ อุปนิกษิต เรื่องราวเกี่ยวกับจารกรรมปรากฏในประวัติศาสตร์ตลอดมา ซุนวูกล่าวถึงการหลอกลวงและการบ่อนทำลาย อียิปต์โบราณพัฒนาระบบของการได้มาซึ่งข่าวกรอง โดยชาวฮิบรูก็ใช้ระบบนี้ โดยทั่วไป จารกรรมที่กระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฏ หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากำหนดให้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหามักได้รับข้อเสนอลดหย่อนโทษโดยแลกกับข้อมูลข่าวสาร ในสหราชอาณาจักร จารชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี ภายใต้ พระราชบัญญัติความลับของทางราชการ ขณะที่จารชนชาวอังกฤษที่เป็นสายลับให้ต่างชาติ และพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือศัตรู จะถูกพิพากษาในข้อหาการกบฏ รับโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ จารชนที่ทำงานให้ผู้ก่อการร้ายยังถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติการก่อการร้าย ค.ศ. 2000 ในระหว่างสงครามเย็น มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับจารกรรมบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้านอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันใช้สายลับกับการค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมายและการก่อการร้.

ใหม่!!: การสอดแนมมวลชนและจารกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

อ็ดเวิร์ด โจเซฟ สโนว์เดน (Edward Joseph Snowden) เป็นอดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรองชาวอเมริกัน ผู้ปล่อยข่าวรายละเอียดของโครงการการสอดส่องดูแลมวลชนลับสุดยอดของรัฐบาลสหรัฐและอังกฤษหลายโครงการแก่สื่อ สโนว์เดนเป็นอดีตนักเทคนิคของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ของสหรัฐ และอดีตลูกจ้างของสำนักข่าวกรองกลาง (CIA) สโนว์เดนปล่อยสารสนเทศดังกล่าวแก่หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ของอังกฤษเป็นหลัก ในฤดูใบไม้ผลิปี 2556 ขณะรับจ้างเป็น "นักวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐาน" ของผู้รับจ้างเอ็นเอสเอ เดอะการ์เดียนตีพิมพ์ชุดการเปิดโปงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ปีเดียวกัน และเปิดเผยโครงการต่าง ๆ เช่น การดักเมทาดาทา (metadata) โทรศัพท์ของสหรัฐและยุโรป และโครงการสอดส่องดูแลอินเทอร์เน็ต อย่าง ปริซึม ฯลฯ กล่าวกันว่าการเปิดเผยความจริงของสโนว์เดนจัดเป็นการฝ่าฝืนความมั่นคงของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐ สโนว์เดนสามารถหลบหนีออกจากฮาวายได้ก่อนที่จะถูกทางการสหรัฐจับกุม เขาบินไปยังฮ่องกงคนเดียว เมื่อ 20 พฤษภาคม 2556 สโนว์เดนมีแผนจะเดินทางต่อไปยังเอกวาดอร์ ที่พร้อมให้สิทธิ์ลี้ภัยแก่เขา ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐยื่นคำขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่ฮ่องกง ต่อมาการข่าวพบว่าเขาได้เดินทางไปรัสเซียแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2556 ข่าวนี้สร้างความไม่พอใจให้รัฐบาลสหรัฐมากที่ฮ่องกงเพิกเฉยต่อคำขอของสหรัฐ และปล่อยสโนว์เดนเดินทางไปยังรัสเซีย ในวันเดียวกันที่สโนว์เดนไปถึงรัสเซีย พบว่าก่อนเที่ยวบินของสโนว์เดนจะออกจากฮ่องกง สหรัฐได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของเขา ในระหว่างนี้ สโนว์เดนต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่รอเปลี่ยนเครื่อง ของสนามบินเชเรเมเตียโวในมอสโก ด้วยหนังสือเดินทางถูกระงับ และการเดินทางไปยังประเทศอื่นก็ยากลำบาก เนื่องจากสหรัฐกดดันหลายประเทศห้ามสโนว์เดนบินผ่านน่านฟ้า ขณะที่หลายประเทศที่ไม่ลงรอยกับสหรัฐกำลังพิจารณาในการให้สิทธิลี้ภัยทางการเมืองแก่สโนว์เดน และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เขามีถ้อยความว่า 200px ต่อมาในปลายเดือนกรกฎาคม รัฐบาลรัสเซียได้ให้สิทธิการลี้ภัยทางการเมืองแก่สโนว์เดนเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยในระหว่างการลี้ภัยนี้ สโนว์เดนได้เปิดเผยข้อมูลออกมาเป็นระยะ ๆ ซึ่งแต่ละข้อมูลกระทบต่อความสัมพันธ์ของสหรัฐกับชาติอื่น ๆ รวมไปถึงภาพลักษณ์ของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่ทางการสหรัฐต้องการตัวมากที่สุดในห้วงเวลานี้ และ ปัจจุบันนี้ ลินซี่ตามไปอยู่กับเขาที่มอสโคว.

ใหม่!!: การสอดแนมมวลชนและเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »