เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การสร้างสเปิร์ม

ดัชนี การสร้างสเปิร์ม

ภาพตัดขวางของเนื้อเยื่ออัณฑะ แสดงการพัฒนาของสเปิร์มระยะต่างๆ การสร้างสเปิร์ม (spermatogenesis) เริ่มจากเซลล์เริ่มต้นที่เรียกว่า primary spermatocyte; 2n ที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญในอัณฑะ เซลล์นี้เพิ่มจำนวนตัวเองโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เมื่อเซลล์นี้มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะได้เซลล์ที่เป็นแฮพลอยด์ เรียกว่า secondary spermatocyte เมื่อเซลล์นี้แบ่งเซลล์ต่อจนเสร็จสิ้นไมโอซิส จะได้สเปิร์มเริ่มต้น (developing sperm cell) ซึ่งจะพัฒนาต่อไปจนได้สเปิร์มที่สมบูรณ์ แผนผังแสดงการสร้างสเปิร์ม หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: พล็อยดีอัณฑะไมโอซิสไมโทซิสเนื้อเยื่อเจริญ

  2. สรีรวิทยาของสัตว์

พล็อยดี

พล็อยดี (ploidy) หมายถึงจำนวนชุดของโครโมโซมในเซลล์ เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์มีโครโมโซมชุดสมบูรณ์หนึ่งชุด อยู่ในเซลล์อสุจิและเซลล์ไข่ ซึ่งได้รับโครโมโซมแต่ละชุดมาจากพ่อหรือแม่ จึงมีจำนวนโครโมโซมเป็น แฮพลอยด์ (haploid: n) เซลล์สืบพันธุ์นี้จะมาผสมกันได้เป็นเซลล์โซมาติกซึ่งมีจำนวนชุดโครโมโซมมากขึ้นเป็นสองเท่า เรียกว่า ดิพลอยด์ (diploid: 2n) หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:เซลล์พันธุศาสตร์.

ดู การสร้างสเปิร์มและพล็อยดี

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่; testicle, testis) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอ.

ดู การสร้างสเปิร์มและอัณฑะ

ไมโอซิส

แผนภาพการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์ที่พบในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในยูคาริโอต การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสแบ่งเป็นระยะได้ 2 ระยะ ดังนี้.

ดู การสร้างสเปิร์มและไมโอซิส

ไมโทซิส

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์แบบแบ่งตัวโดยตรง คือ นิวเคลียสค่อยๆ ยาวออกและเกิดคอดลงแล้วแบ่งไซโตพลาสซึมเป็น 2 ส่วนกลายเป็น 2 เซลล์ โดยทั้ง 2 เซลล์ต่างมีคุณสมบัติเหมือนเซลล์เดิม จำนวนโครโมโซม หลังการแบ่งจะเท่าเดิม (2n) เพราะไม่มีการแยกคู่ ของโฮโมโลกัสโครโมโซม การแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบมากในสัตว์เซลล์เดียว.

ดู การสร้างสเปิร์มและไมโทซิส

เนื้อเยื่อเจริญ

นื้อเยื่อเจริญ (meristem) คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญนั้นมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสัตว์ คือมีบางเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ แต่สามารถที่จะทำการแบ่งเซลล์ในภายหลังได้ และเซลล์ทั้งสองประเภทยังมีขนาดเล็กและเต็มไปด้วยโปรโตพลาสซึม ทั้งยังมีแวคิวโอลที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนไซโทพลาสซึมนั้นไม่มีพลาสติดที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพประกอบอยู่ด้วย (คือคลอโรพลาสหรือโครโมพลาส) แม้ว่าจะโพรพลาสติดซึ่งเป็นขั้นก่อนของพลาสติดอยู่ก็ตาม เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจะอัดแน่นอยู่ด้วยกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และจะมีผนังเซลล์ที่บางมาก การดำรงสภาพกลุ่มเซลล์เหล่านี้ต้องการสมดุลระหว่างกระบวนการที่ตรงข้ามกันสองกระบวนการคือการเริ่มสร้างอวัยวะและการแทนที่เซลล์ต้นกำเนิด เนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งประเภทได้ตามตำแหน่งที่อยู่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก.

ดู การสร้างสเปิร์มและเนื้อเยื่อเจริญ

ดูเพิ่มเติม

สรีรวิทยาของสัตว์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Spermatogenesisการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในสัตว์สร้างสเปิร์ม