เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การพูดติดอ่าง

ดัชนี การพูดติดอ่าง

การพูดติดอ่าง (stuttering หรือ stammering) เป็นความผิดปกติของการพูดที่กระแสคำพูดสะดุดเพราะพูดซ้ำ (repetition) และลาก (prolongation) เสียง พยางค์ คำหรือวลีให้ยาวโดยมิได้ตั้งใจ เช่นเดียวกับการหยุดเงียบ (silent pause) หรือการติดขัด (block) ซึ่งบุคคลที่พูดติดอ่างไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาได้ โดยมิได้ตั้งใจ คำว่า "การพูดติดอ่าง" เกี่ยวข้องกับการพูดซ้ำโดยมิได้ตั้งใจมากที่สุด แต่ยังรวมถึงการลังเล (hesitation) ผิดปกติหรือหยุดก่อนพูด และการลากเสียงบางอย่าง ซึ่งปกติเป็นสระและกึ่งสระ ให้ยาวผิดปกติ สำหรับหลายคนที่พูดติดอ่าง การพูดซ้ำเป็นปัญหาหลัก การติดขัดและการลากเสียงยาวโดยมิได้ตั้งใจเป็นกลไกที่เกิดจากการเรียนรู้เพื่อซ่อนการพูดซ้ำ เพราะความกลัวการพูดซ้ำในที่สาธารณะมักเป็นสาเหตุหลักของความไม่สบายใจทางจิตวิทยา คำว่า "การพูดติดอ่าง" หมายความถึงความรุนแรงหลายระดับ มีตั้งแต่อุปสรรคที่สังเกตได้เพียงเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรงจนไม่สามารถสื่อสารทางปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลกระทบของการพูดติดอ่างต่อการทำหน้าที่และสถานะอารมณ์ของบุคคลอาจรุนแรงได้ ซึ่งอาจรวมถึงความกลัวที่จะต้องออกเสียงสระหรือพยัญชนะบางตัว ความกลัวว่าจะถูกจับได้ว่าพูดติดอ่างในสถานการณ์ทางสังคม การแยกตัวด้วยตนเอง วิตกกังวล เครียด อับอายหรือรู้สึก "เสียการควบคุม" ระหว่างการพูด การพูดติดอ่างบางครั้งหลายคนเข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล แต่แท้จริงแล้วหามีความสัมพันธ์กันไม่ การพูดติดอ่างมิได้สะท้อนสติปัญญาแต่อย่างใด การพูดติดอ่างโดยทั่วไปไม่เป็นปัญหากับการผลิตเสียงพูดทางกายภาพ หรือการเรียบเรียงความคิดเป็นคำพูด ความประหม่าและความเครียดเรื้อรังอาจกระตุ้นให้เกิดการพูดติดอ่างในบุคคลที่มีใจโน้มเอียง และการอยู่ด้วยความพิการที่ถูกตีตรา (stigmatized disability) อย่างสูงสามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลและการรับรู้หรือเผชิญปัญหาความเครียด (allostatic stress load) สูง คือ อาการประสาทและความเครียดเรื้อรัง ที่ลดปริมาณความเครียดเฉียบพลันที่กระตุ้นให้เกิดการพูดติดอ่างในบุคคลที่พูดติดอ่าง ทำให้ปัญหาในรูประบบผลป้อนกลับทางบวกเลวลง มีการเสนอให้ใช้คำว่า "อาการพูดติดอ่าง" (Stuttered Speech Syndrome) กับสภาวะนี้ อย่างไรก็ดี ความเครียด ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ไม่ได้สร้างความโน้มเอียงรับโรคการพูดติดอ่างแต่อย่างใด ความผิดปกตินี้แปรผัน หมายความว่า ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่น ขณะพูดทางโทรศัพท์ การพูดติดอ่างอาจรุนแรงหรือเป็นน้อยกว่าเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับความวิตกกังวลที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมนั้น แม้จะยังไม่ทราบสมุฏฐานแน่ชัดหรือสาเหตุของการพูดติดอ่าง แต่คาดว่าทั้งพันธุศาสตร์และประสาทสรีรวิทยาจะมีผล มีเทคนิคการรักษาและการแก้ไขการพูดจำนวนมากซึ่งอาจช่วยเพิ่มความคล่องในบางคนที่พูดติดอ่างถึงขั้นที่หูที่ไม่ผ่านการฝึกไม่สามารถระบุปัญหาได้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาความผิดปกติถึงแก่น.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: พยัญชนะพันธุศาสตร์สระ (สัทศาสตร์)

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ดู การพูดติดอ่างและพยัญชนะ

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ดู การพูดติดอ่างและพันธุศาสตร์

สระ (สัทศาสตร์)

ในทางสัทศาสตร์ สระ (สะ-หฺระ) หมายถึงเสียงในภาษาที่เปล่งออกมาจากช่องเสียง (vocal tract) ที่เปิดออกโดยตรงจากช่องเส้นเสียง (glottis) โดยไม่กักอากาศ ตัวอย่างเช่น "อา" หรือ "โอ" (โดยไม่กักอากาศด้วยอักษร อ) ตรงข้ามกับพยัญชนะซึ่งมีการกักอากาศอย่างน้อยหนึ่งจุดภายในช่องเสียง เสียงสระสามารถจัดได้ว่าเป็นพยางค์ ส่วนเสียงเปิดที่เทียบเท่ากันแต่ไม่สามารถเปล่งออกมาเป็นพยางค์ได้เรียกว่า กึ่งสระ (semivowel) เสียงสระเป็นแกนพยางค์ (syllable nucleus) ในทุกภาษา ซึ่งเสียงพยัญชนะจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียงสระเสมอ อย่างไรก็ตามในบางภาษาอนุญาตให้เสียงอื่นเป็นแกนพยางค์ เช่นคำในภาษาอังกฤษ table "โต๊ะ" ใช้เสียง l เป็นแกนพยางค์ (ขีดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ l หมายถึงสามารถออกเสียงได้เป็นพยางค์ ส่วนจุดคือตัวแบ่งพยางค์) หรือคำในภาษาเซอร์เบีย vrt "สวน" เป็นต้น แต่เสียงเหล่านี้ไม่เรียกว่าเป็นเสียงสร.

ดู การพูดติดอ่างและสระ (สัทศาสตร์)

หรือที่รู้จักกันในชื่อ การพูดตะกุกตะกัก