โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การฝังพระเยซู

ดัชนี การฝังพระเยซู

การบรรจุพระคริสต์'' โดย คาราวัจโจ การฝังพระเยซู (Burial of Jesus) หมายการฝังพระศพของพระเยซูภายหลังการตรึงกางเขนตามที่ถูกอธิบายไว้ในพันธสัญญาใหม่ และตามพระวรสารแล้ว ร่างของพระองค์ถูกจัดวางไว้ในหลุมโดยชายที่ชื่อว่าโยเซฟชาวอาริมาเธีย ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงในหัวข้อนี้ก็ได้แก่.

10 ความสัมพันธ์: บรรจุร่างพระเยซู (มีเกลันเจโล)พระวรสารพระทรมานของพระเยซูพันธสัญญาใหม่การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนการาวัจโจการตรึงกางเขนมีเกลันเจโลราฟาเอลโยเซฟชาวอาริมาเธีย

บรรจุร่างพระเยซู (มีเกลันเจโล)

รรจุร่างพระเยซู (The Entombment) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยมีเกลันเจโล จิตรกรสมัยเรอแนซ็องส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)ในอังกฤษ มีเกลันเจโลเขียนภาพ “บรรจุร่างพระเยซู” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึงปี ค.ศ. 1501 แต่ไม่เสร็จ เวลาที่เขียนภาพนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แม้ว่าจะเชื่อกันทั่วไปว่าเป็นภาพที่เขียนในสมัยแรกๆ บางท่านก็เชื่อว่าเป็นภาพที่เขียนโดยลูกศิษย์ของมีเกลันเจโลจากภาพที่ร่างโดยมีเกลันเจโลหรือเขียนเลียนแบบโดยตรง จากเอกสารที่พบในปี..

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและบรรจุร่างพระเยซู (มีเกลันเจโล) · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระทรมานของพระเยซู

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและพระทรมานของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด “ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น).

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงกางเขน

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” โดย คาราวัจโจ การตรึงกางเขน (crucifixion) เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งผู้ถูกสั่งให้ประหารจะถูกผูกหรือตอกตะปูบนไม้กางเขนและปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย วิธีการประหารชีวิตแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยจักรวรรดิโรมันและในประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และวิธีที่คล้ายคลึงกันในจักรวรรดิเปอร์เชีย การประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนโดยจักรวรรดิโรมันมาจนถึงปี..

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและการตรึงกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟชาวอาริมาเธีย

ซฟชาวอาริมาเธีย (Joseph of Arimathea) เป็นผู้จัดการฝังพระศพพระเยซูหลังจากทรงถูกตรึงที่กางเขน พระวรสารนักบุญมัทธิวระบุว่าเขาเป็นเศรษฐี และพระวรสารนักบุญมาระโกระบุว่าเขา "เป็นสมาชิกสภาและเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย อีกทั้งยังเป็นคนที่กำลังคอยท่าแผ่นดินของพระเจ้า" และตามพระวรสารนักบุญยอห์นว่าโยเซฟเป็นสาวกของพระเยซูอย่างลับ ๆ เมื่อได้ข่าวว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ โยเซฟก็รีบไปหาป็อนติอุส ปีลาตุสและขอพระศพของพระเยซู ตามความเห็นของผู้รู้อีกมุมหนึ่งกล่าวว่า “เป็นสิ่งที่ไม่คาด…โยเซฟนำพระเยซูเข้ามาในครอบครัวของตนเองหรือ?” เมื่อทหารโรมันมาบอกปีลาตุสว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้ว ปีลาตุสก็อนุญาตให้โยเซฟไปเอาร่างพระเยซู โยเซฟก็รีบไปซึ้อผ้าลินินอย่างดี (มาร์ค 15:46) แล้วก็เดินทางไปกอลกอธา (Golgotha) ซึ่งเป็นที่ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนเพื่อทำการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน โดยมีนิโคเดอมัส (Nicodemus) เป็นผู้ช่วย ร่างที่นำลงมาก็ห่อด้วยผ้าลินินพรมด้วยของหอมที่นิโคเดอมัสนำติดตัวมา (จอห์น) เสร็จแล้วก็นำร่างไปไว้ในที่เก็บศพที่ถูกเตรียมไว้ก่อนหน้านั้นสำหรับตัวโยเซฟเอง ซึ่งเป็นที่เก็บศพที่ขุดเข้าไปในหินในสวนไม่ไกลนัก ผู้ที่เป็นพยานเมื่อโจเซฟวางร่างพระเยซูไว้ในที่เก็บศพก็คือมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์ (มารดาพระเยซู) และสตรีคนอื่น ๆ แล้วก็เอาก้อนหินปิดก่อนจะกลับ (ลูค 23:53, 55) โยเซฟต้องรีบทำเพราะใกล้จะเป็นวันซับบัธ ในสมัยกลางมีตำนานหลายเรื่องที่เกี่ยวกับโยเซฟแห่งอาริมาเธียซึ่งโยงโยเซฟว่าเป็นผู้นำจอกศักดิ์สิทธิ์มายังประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นโยเซฟแห่งอาริมาเธียยังมักจะปรากฏในจิตรกรรมหรือประติมากรรมเกี่ยวกับ “การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน”.

ใหม่!!: การฝังพระเยซูและโยเซฟชาวอาริมาเธีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Entombment of Christการบรรจุพระศพพระเยซูบรรจุพระเยซู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »