โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง

ดัชนี การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง

การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง (Zhuge Liang's Southern Campaign) สงครามในที่เกิดขึ้นในช่วง..

7 ความสัมพันธ์: มณฑลกุ้ยโจวมณฑลยูนนานมณฑลเสฉวนยุคสามก๊กจูกัดเหลียงจ๊กก๊กเบ้งเฮ็ก

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »