โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การหลับ

ดัชนี การหลับ

็กกำลังหลับ การหลับเป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กิจกรรมรับความรู้สึกค่อนข้างถูกยับยั้ง และการยับยั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งหมด การหลับต่างจากความตื่นตัวเงียบตรงที่มีความสามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน.

11 ความสัมพันธ์: พอนส์การนอนไม่หลับฝันภาวะง่วงเกินภาวะตัวเย็นเกินวัยรุ่นสภาวะตื่นตัวอุณหภูมิปกติของร่างกายแอแนบอลิซึมโคม่าเมแทบอลิซึม

พอนส์

อนส์และเมดัลลาออบลองกาตา พอนส์ (pons) เป็นโครงสร้างหนึ่งในก้านสมอง คำว่าพอนส์มาจากภาษาละติน แปลว่า สะพาน ตั้งชื่อโดยนักกายวิภาคศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวอิตาลี กอสตันโซ วาโรลิโอ (Costanzo Varolio) พอนส์อยู่เหนือเมดัลลา ออบลองกาตา อยู่ใต้สมองส่วนกลาง และอยู่ด้านหน้าซีรีเบลลัม ส่วนเนื้อขาวของพอนส์ประกอบด้วยลำเส้นใยประสาทที่นำสัญญาณจากซีรีบรัมลงมายังซีรีเบลลัมและเมดัลลา และมีลำเส้นใยประสาทรับสัญญาณความรู้สึกส่งขึ้นไปยังทาลามัสSaladin Kenneth S. (2007) Anatomy & physiology the unity of form and function.

ใหม่!!: การหลับและพอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: การหลับและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

ฝัน

250px ฝัน เป็นลำดับภาพ ความคิด อารมณ์ และการรับรู้ที่เกิดขึ้นนอกเหนืออำนาจจิตใจในจิตระหว่างช่วงที่แน่นอนของการหลับ ยังไม่เข้าใจเนื้อหาและความมุ่งหมายของฝันนั้นแน่ชัด ฝันเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM เป็นหลัก เมื่อกิจกรรมของสมองเพิ่มสูงขึ้นเสมือนว่ากำลังตื่นอยู่ การหลับระยะ REM สามารถบอกได้จากการกลอกไปมาของลูกตาขณะหลับ ทั้งนี้ ฝันสามารถเกิดได้ในการหลับขั้นอื่น แต่ฝันเหล่านั้นมีแนวโน้มสมจริงหรือผู้ฝันจำได้น้อยกว่ามาก ฝันกินระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึงยี่สิบนาที บุคคลมักจำฝันได้มากกว่าเมื่อตื่นขึ้นหากฝันในระยะ REM โดยเฉลี่ย บุคคลมีฝัน 3 ถึง 5 ฝันต่อคืน ฝันมีแนวโน้มนานขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ระหว่างการหลับ 8 ชั่วโมง บุคคลจะใช้เวลากับการฝันสองชั่วโมง มีผู้มองว่า ฝันเชื่อมโยงกับจิตไร้สำนึก โดยมีตั้งแต่ปกติและสามัญไปจนถึงเหนือจริงหรือแปลกประหลาดเกิน ฝันสามารถมีได้หลายอารมณ์ เช่น กลัว ตื่นเต้น สนุกสนาน เศร้าโศก ผจญภัยหรือเกี่ยวกับเพศ เหตุการณ์ในฝันโดยทั่วไปอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ฝัน ยกเว้น lucid dream ที่ผู้ฝันรู้สึกตัว ฝันบางครั้งได้สร้างความคิดริเริ่มแก่บุคคลหรือให้ความรู้สึกถึงแรงบันดาลใ.

ใหม่!!: การหลับและฝัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะง่วงเกิน

วะง่วงเกิน (narcolepsy) เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังที่เกิดจากสมองไม่สามารถกำกับวงจรหลับ-ตื่นได้ตามปกติ ผู้ที่มีภาวะง่วงเกินมักนอนกลางคืนลำบากและมีรูปแบบการนอนเวลากลางวันผิดปกติ ซึ่งมักสับสนกับการนอนไม่หลับ ผู้ที่มีภาวะง่วงเกิน เมื่อผลอยหลับไปแล้ว โดยปกติจะเข้าสู่ระยะ REM ของการนอนหลับภายใน 5 นาที ขณะที่คนส่วนมากไม่เข้าสู่ระยะ REM จนเวลาล่วงไปแล้วหนึ่งชั่วโมงเป็นต้นไป.

ใหม่!!: การหลับและภาวะง่วงเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะตัวเย็นเกิน

วะตัวเย็นเกินหรืออุณหภูมิกายต่ำผิดปกติ (hypothermia) นิยามว่ามีอุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่า 35.0 °C อาการขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ในภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อน จะมีสั่นและสับสน ในภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง การสั่นจะหยุดและมีความสับสนเพิ่มขึ้น ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรงอาจมีการเปลื้องปฏิทรรศน์ (paradoxical undressing) คือ บุคคลถอดเสื้อผ้าของตัว ตลอดจนมีความเสี่ยงหัวใจหยุดเต้นเพิ่มขึ้น ภาวะตัวเย็นเกินมีสองสาเหตุหลัก สาเหตุตรงต้นแบบเกิดจากการได้รับความเย็นสุดขีด อาจเกิดจากภาวะใด ๆ ซึ่งลดการผลิตความร้อนหรือเพิ่มการเสียความร้อน โดยทั่วไปมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ แต่ยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเบื่ออาหาร และสูงอายุ เป็นต้น ปกติร่างกายรักษาอุณหภูมิกายไว้ใกล้ระดับคงที่ 36.5–37.5 °C โดยอาศัยการปรับอุณหภูมิกาย หากอุณหภูมิกายต่ำลง จะมีความพยายามเพื่อเพิ่มอุณหภูมิกาย เช่น สั่น มีกิจกรรมใต้อำนาจจิตใจที่เพิ่มขึ้นและสวมเครื่องนุ่งห่มอบอุ่น อาจวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกินได้จากอาการของบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโดยการวัดอุณหภูมิกายของบุคคล การรักษาภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อนมีเครื่องดื่มอุ่น เครื่องนุ่งห่มอุ่นและกิจกรรมทางกาย ในผู้ป่วยภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง แนะนำให้ผ้าห่มความร้อนและสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำอุ่น ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเย็นเกินปานกลางหรือรุนแรงควรเคลื่อนย้ายอย่างนุ่มนวล ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรง เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมอาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่ไม่มีชีพจร การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) มีข้อบ่งชี้ร่วมกับมาตรการข้างต้น ตรงแบบให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยจนอุณหภูมิสูงกว่า 32 °C หากอาการ ณ จุดนี้ไม่ดีขึ้นหรือระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 12 มิลลิโมลต่อลิตรครั้งหนึ่งแล้ว อาจยุติการกู้ชีพ ภาวะตัวเย็นเกินเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,500 คนต่อปีในสหรัฐ พบมากกว่าในผู้สูงอายุและเพศชาย อุณหภูมิกายต่ำสุดครั้งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินโดยอุบัติเหตุแต่รอดชีวิตเท่าที่มีบันทึกคือ 13 °C ในเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่ใกล้จมน้ำในประเทศสวีเดน มีการอธิบายการรอดชีวิตหลัง CPR เกินหกชั่วโมง ในผู้ที่ใช้ ECMO หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมมีการรอดชีวิตประมาณ 50% การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะตัวเย็นเกินมีบทบาทสำคัญในสงครามหลายครั้ง ภาวะตัวร้อนเกินหรือไข้สูงเป็นคำตรงข้ามของภาวะตัวเย็นเกิน คือ มีอุณหภูมิกายสูงขึ้นเนื่องจากการปรับอุณหภูมิกายล้มเหลว.

ใหม่!!: การหลับและภาวะตัวเย็นเกิน · ดูเพิ่มเติม »

วัยรุ่น

วัยรุ่น คือขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาระหว่างวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา (เช่นระบบสืบพันธุ์) ทางจิตวิทยา และทางสังคม การสิ้นสุดของการเป็นวัยรุ่นและเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ค่อนข้างมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศหรือตามกลุ่มสังคม ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บุคคลนั้นได้รับความเชื่อมั่นหรือไว้ใจให้ทำหน้าที่หรืองานต่างๆ เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การมีความสัมพันธ์ทางเพศ การเป็นทหาร การเลือกตั้ง หรือการแต่งงานเป็นต้น การเป็นวัยรุ่นมักจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเสรีภาพที่ได้รับจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หรือสิทธิตามกฎหมาย หรือความสามารถในการตัดสินใจในบางเรื่องโดยไม่ต้องขอความยินยอม.

ใหม่!!: การหลับและวัยรุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ใหม่!!: การหลับและสภาวะตื่นตัว · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิปกติของร่างกาย

อุณหภูมิปกติของร่างกาย (Normal human body temperature หรือ normothermia หรือ euthermia) คือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา และ ระดับกิจกรรมที่ปฏิบัติ ของการวัดอุณหภูมิของร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นที่ยอมรับกันว่า 34.0°C หรือ 98.6°F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยของอุณหภูมิปกติของร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่วัดใต้ลิ้น แต่อุณหภูมิที่วัดทางทวารหนัก หรือ วัดโดยตรงจากภายในร่างกายจะสูงกว่าเล็กน้อย ในรัสเซียหรือในประเทศในอดีตสหภาพโซเวียตอุณหภูมิปกติของร่างกายเฉลี่ย 36.6°C หรือ 97.9°F โดยวัดจากใต้รักแร้ แกนอุณหภูมิของร่างกายของแต่ละคนมักจะลดต่ำสุดในช่วงที่สองของนอนหลับ ที่เรียกว่า “nadir” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ.

ใหม่!!: การหลับและอุณหภูมิปกติของร่างกาย · ดูเพิ่มเติม »

แอแนบอลิซึม

แอแนบอลิซึมเป็นการสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่จากหน่วยขนาดเล็ก แอแนบอลิซึม (anabolism) เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสร้างโมเลกุลขึ้นจากหน่วยขนาดเล็ก ปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ขบวนการเมแทบอลิซึม ทั้งในระดับเซลล์ อวัยวะและสิ่งมีชีวิต สามารถจำแนกได้เป็นแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึม ที่มีลักษณะตรงข้ามกัน แอแนบอลิซึมได้รับพลังงานจากแคแทบอลิซึม โดยโมเลกุลขนาดใหญ่ถูกสลายลงเป็นส่วนที่เล็กกว่า และจะถูกใช้ไปในการหายใจระดับเซลล์ต่อไป ขบวนการแอแนบอลิซึมจำนวนมากใช้พลังงานจากอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ขบวนการแอแนบอลิซึมโน้มเอียงต่อ "การเสริมสร้าง" อวัยวะและเนื้อเยื่อ ขบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ตลอดจนการเพิ่มขนาดลำตัว ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โมเลกุลที่ซับซ้อน ตัวอย่างขบวนการแอแนบอลิซึม ได้แก่ การเจริญเติบโตและการสะสมแร่ธาตุ (mineralization) ของกระดูกและการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิก ขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแอแนบอลิกแบบดั้งเดิมเป็นแอแนบอลิกสเตอรอยด์ ซึ่งกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ สมดุลระหว่างแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึมยังถูกควบคุมโดยจังหวะเซอร์คาเดียน ด้วยขบวนการอย่างเมแทบอลิซึมของกลูโคสที่ผันแปรให้เข้ากับคาบกิจกรรมตามปกติตลอดทั้งวันของสัตว.

ใหม่!!: การหลับและแอแนบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

โคม่า

ม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS) ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: การหลับและโคม่า · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: การหลับและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การนอนการนอนหลับหลับนอนนอนหลับ💤

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »