โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การหลับ

ดัชนี การหลับ

็กกำลังหลับ การหลับเป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กิจกรรมรับความรู้สึกค่อนข้างถูกยับยั้ง และการยับยั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งหมด การหลับต่างจากความตื่นตัวเงียบตรงที่มีความสามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน.

51 ความสัมพันธ์: พะยูนกลุ่มอาการแองเกลแมนกลุ่มอาการเซโรโทนินการรับมือ (จิตวิทยา)การหลั่งน้ำอสุจิการควบคุมอารมณ์ตนเองการงีบกิตติ สีหนนทน์ฝันภาวะขาดการนอนหลับระบบการเห็นรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทยลิงบาบูนลิงจมูกยาวลิ่นจีนลิ่นซุนดาวิทยาต่อมไร้ท่อวงศ์ปลาวัววงศ์ปลาผีเสื้อสมองสายทองสุขศาสตร์การหลับหมอนหมึก (สัตว์)องคชาตของมนุษย์องคชาตแข็งตัวขณะหลับฮิปนอสผลต่อสุขภาพจากเสียงดิจิมอนยูนิเวิร์ส แอปพลิมอนสเตอร์สความภูมิใจแห่งตนความจำความจำชัดแจ้งความง่วงคอมมอนบรัชเทลพอสซัมค่างค้างคาวแวมไพร์ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดาซิกมุนด์ ฟรอยด์ปลาวัวปิกัสโซปลาแมนดารินปอบนกเค้าจุดนาคแก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์แมงกะพรุนแทนาทอสโรคใหลตายเป็ดก่าเป็ดหงส์...ICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: การหลับและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการแองเกลแมน

กลุ่มอาการแองเกลแมน (Angelman syndrome, AS) เป็นโรคพันธุกรรมเกี่ยวกับระบบประสาท มีลักษณะเฉพาะคือผู้ป่วยจะมีความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ การนอนหลับมีปัญหา มีอาการชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ หัวเราะหรือยิ้มบ่อย แลดูมีความสุขผิดปกติ กลุ่มอาการแองเกลแมนเป็นตัวอย่างที่นิยมใช้ทั่วไปของกระบวนการประทับตราทางพันธุกรรม (genomic imprinting) ซึ่งมักเกิดจากการหลุดหาย (deletion) หรือการยับยั้งการทำงานของยีนบนโครโมโซม 15 ที่ได้รับมาจากแม่ ในขณะที่ยีนบนโครโมโซม 15 อีกแท่งหนึ่งซึ่งได้รับมาจากพ่อนั้นถูก "ประทับตรา" (imprint) ไว้ทำให้ไม่มีการทำงาน กลุ่มอาการอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเรียกว่ากลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี เกิดจากการหายไปของยีนในตำแหน่งเดียวกันซึ่งได้รับมาจากพ่อ โดยยีนของฝั่งแม่ที่มีอยู่ถูกประทับตราไว้ ชื่อเดิมของกลุ่มอาการแองเกลแมนคือกลุ่มอาการแฮปปี้พัพเพ็ท (happy puppet syndrome, กลุ่มอาการ "หุ่นกระบอกที่มีความสุข") ซึ่งมักถูกถือว่าเป็นการใช้ชื่อที่ไม่สุภาพ เป็นมลทินกับผู้ป่วย จนปัจจุบันกลายเป็นชื่อไม่ได้รับการยอมรับ บางครั้งผู้ป่วยกลุ่มอาการแองเกลแมนอาจถูกเรียกว่า แองเจล (angels, นางฟ้า/เทวดา) ส่วนหนึ่งมาจากชื่อโรคและลักษณะภายนอกที่ดูมีความสุขตลอดเวล.

ใหม่!!: การหลับและกลุ่มอาการแองเกลแมน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเซโรโทนิน

กลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือ เซโรโทนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome ตัวย่อ SS หรือ serotonin toxicity) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่ใช้เซโรโทนิน (serotonergic) เป็นสารสื่อประสาท อาการอาจจะมีจากน้อยจนถึงรุนแรง รวมทั้ง ตัวร้อน อยู่ไม่สุข ไวรีเฟล็กซ์ สั่น เหงื่อออก รูม่านตาขยาย และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสามารถเพิ่มขึ้นเกิน 41.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนคือ การชัก และการเสียกล้ามเนื้ออย่างทั่วไป (rhabdomyolysis) กลุ่มอาการปกติมีเหตุมาจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนิน 2 ชนิดหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจรวม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI), monoamine oxidase inhibitor (MAOI), tricyclic antidepressants (TCAs), แอมเฟตามีน, meperidine, ทรามาดอล, dextromethorphan, buspirone, ยาสมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort), triptans, MDMA (ecstasy), metoclopramide, ondansetron, หรือโคเคน โดยเกิดขึ้นในอัตรา 15% สำหรับผู้ที่ใช้ยากลุ่ม SSRI เกิน อาการจะเริ่มขึ้นปกติภายในหนึ่งวันหลังจากมีเซโรโทนินในระบบประสาทกลางมากเกิน การวินิจฉัยอาศัยอาการคนไข้และประวัติการให้ยา แพทย์ต้องกันอาการที่คล้ายกันอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการร้ายจากยาระงับอาการทางจิต (neuroleptic malignant syndrome) ไข้สูงอย่างร้าย แอนติโคลิเนอร์จิกเป็นพิษ (anticholinergic toxicity) โรคลมเหตุร้อน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยังไม่มีการทดสอบในแล็บที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ การรักษาเบื้องต้นก็คือหยุดยาที่อาจเป็นเหตุ ในคนที่อยู่ไม่เป็นสุข สามารถใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ถ้ายังไม่พอ ยาต้านเซโรโทนิน (serotonin antagonist) เช่น cyproheptadine ก็สามารถใช้ได้ ในบุคคลที่อุณหภูมิกายสูง อาจต้องใช้วิธีที่ทำให้ตัวเย็น จำนวนคนไข้ที่มีอาการแต่ละปียังไม่ชัดเจน ถ้าได้การรักษาที่ถูกต้อง โอกาสเสียชีวิตมีน้อยกว่า 1% การเสียชีวิตของหญิงวัยรุ่นอายุ 18 ปี (Libby Zion) ที่โด่งดังเพราะอาการนี้ มีผลเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาแพทย์ในรัฐนิวยอร์ก.

ใหม่!!: การหลับและกลุ่มอาการเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

การรับมือ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยา การรับมือ (coping) เป็นการตั้งใจพยายามแก้ปัญหาส่วนตัวหรือกับคนอื่น แล้วเอาชนะ ลด หรืออดทนความเครียดหรือความรู้สึกขัดใจของตน ประสิทธิผลของความพยายามขึ้นอยู่กับรูปแบบความเครียดหรือความขัดแย้ง บุคคลอื่น และสถานการณ์อื่น ๆ กลไกการรับมือทางใจเรียกอย่างสามัญในภาษาอังกฤษว่า coping strategies (กลยุทธ์การรับมือ) หรือ coping skills (ทักษะการรับมือ) เป็นสิ่งที่ไม่รวมกลยุทธ์ใต้สำนึก (เช่น กลไกป้องกันตน) คำทั่วไปหมายถึงกลยุทธ์รับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) หรือว่าเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ ช่วยลดความเครียด โดยกลยุทธ์บางอย่างพิจารณาว่า เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) คือ เพิ่มความเครียด การรับมือแบบผิด ๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการไม่รับมือ นอกจากนั้นแล้ว เป็นคำที่หมายถึงปฏิกิริยา คือเป็นการรับมือตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียด (stressor) เทียบกับการรับมือล่วงหน้า (proactive coping) ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อดักตัวก่อความเครียดที่จะเกิดในอนาคต การรับมือส่วนหนึ่งควบคุมโดยบุคลิกภาพคือลักษณะที่เป็นนิสัย แต่ส่วนหนึ่งก็คุมโดยสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่ก่อความเครี.

ใหม่!!: การหลับและการรับมือ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การหลั่งน้ำอสุจิ

ต่อเนื่อง การหลั่งน้ำอสุจิ (http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Ejaculation_educational_ani_short.gif วิดีโอวนซ้ำ) การหลั่งน้ำอสุจิ (ejaculation) คือการหลั่งน้ำอสุจิออกจากองคชาต มักเกิดพร้อมกับการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ถือเป็นด่านสุดท้ายและเป็นเป้าหมายทางธรรมชาติของการเร้าอารมณ์ทางเพศการเร้าอารมณ์ทางเพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้เกิดปฏิสนธิ (คือการตั้งครรภ์) การหลั่งอาจเกิดขึ้นได้เพราะโรคในต่อมลูกหมาก แม้จะเป็นกรณีที่หายาก และบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองในขณะหลับ (เป็นการหลั่งในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก) มีภาวะหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (เช่นอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว) หรือที่ทำให้เกิดมีความเจ็บปวดไม่รู้สึกสบายเมื่อมีการหลั่งน้ำอ.

ใหม่!!: การหลับและการหลั่งน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมอารมณ์ตนเอง

การควบคุมอารมณ์ตนเอง (Emotional self-regulation) เป็นความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อประสบการณ์ในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้แต่ยืดหยุ่นพอที่จะเป็นปฏิกิริยาแบบฉับพลัน และเป็นความสามารถในการผัดผ่อนปฏิกิริยาแบบฉับพลันถ้าจำเป็น หรือสามารถนิยามได้ว่า เป็นกระบวนการไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน และเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมอารมณ์ ซึ่งรวมการควบคุมทั้งตัวเองและผู้อื่น การควบคุมอารมณ์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนรวมทั้งการเริ่ม การยับยั้ง หรือปรับสภาพหรือพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่นปรับความรู้สึกในใจที่เป็นอัตวิสัย การรู้คิด การตอบสนองทางสรีรภาพที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (เช่นการเต้นของหัวใจหรือการทำงานทางฮอร์โมน) และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางสีหน้า) นอกจากนั้น โดยกิจ การควบคุมอารมณ์ยังอาจหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การใส่ใจในงานที่กำลังทำ และการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่คนอื่นบอก การควบคุมอารมณ์เป็นกิจที่สำคัญมากในชีวิตมนุษย์ ทุก ๆ วัน มนุษย์ได้รับสิ่งเร้ามากมายหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดการตื่นตัว ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม สุด ๆ หรือไม่ระวัง อาจจะทำให้เข้ากับสังคมไม่ได้ ดังนั้น ทุกคนต้องควบคุมอารมณ์ของตนในรูปแบบต่าง ๆ เกือบตลอดเวลา ในเรื่องสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติ (emotional dysregulation) นิยามว่าเป็นความลำบากในการควบคุมอิทธิพลของความตื่นตัวทางอารมณ์ต่อรูปแบบและคุณภาพทางความคิด ทางการกระทำ และทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งอื่น บุคคลที่มีการควบคุมอารมณ์ผิดปกติจะแสดงรูปแบบการตอบสนองที่เป้าหมาย การตอบสนอง และ/หรือวิธีการแสดงออก ไม่เข้ากับสิ่งที่สังคมยอมรับได้ ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมอารมณ์ผิดปกติสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอาการของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความผิดปกติในการรับประทาน และการติดสารเสพติด การควบคุมอารมณ์ได้น่าจะสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางสังคมและกับการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม.

ใหม่!!: การหลับและการควบคุมอารมณ์ตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

การงีบ

การงีบ คือการหลับในระยะเวลาสั้น ๆ ในตอนกลางวันเพื่อชดเชยเวลานอนตอนกลางคืน การงีบมักจะทำเมื่อเกิดความง่วงระหว่างเวลาตื่น ทัศนคติทางวัฒนธรรมต่อการงีบระหว่างวันทำงานนั้นแตกต่างกัน ในวัฒนธรรมตะวันตก เด็ก ๆ และคนแก่ควรงีบระหว่างวันและมักกำหนดเวลาและสถานที่งีบให้ ในวัฒนธรรมเดียวกันนี้ คนวัยทำงานไม่ควรนอนหลับระหว่างวัน และการงีบในเวลางานเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ ในวัฒนธรรมอื่น ๆ (โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศร้อน) เสิร์ฟอาหารมื้อใหญ่ที่สุดตอนกลางวัน และมีช่วงเวลาสำหรับงีบให้ (siesta) ก่อนที่จะกลับไปทำงาน กาารงีบเกิดขึ้นครั้งแรกในอียิปต์โบราณ หลังจากสังเกตว่าแมวชอบนอนหลับกลางวัน ฟาโรห์จึงเริ่มฝึกการงีบเพื่อเลียนแบบสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว.

ใหม่!!: การหลับและการงีบ · ดูเพิ่มเติม »

กิตติ สีหนนทน์

นายกิตติ สีหนนทน์ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 24 มกราคม พ.ศ. 2527) อดีตองคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และอดีตรองประธานศาลฎีก.

ใหม่!!: การหลับและกิตติ สีหนนทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝัน

250px ฝัน เป็นลำดับภาพ ความคิด อารมณ์ และการรับรู้ที่เกิดขึ้นนอกเหนืออำนาจจิตใจในจิตระหว่างช่วงที่แน่นอนของการหลับ ยังไม่เข้าใจเนื้อหาและความมุ่งหมายของฝันนั้นแน่ชัด ฝันเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM เป็นหลัก เมื่อกิจกรรมของสมองเพิ่มสูงขึ้นเสมือนว่ากำลังตื่นอยู่ การหลับระยะ REM สามารถบอกได้จากการกลอกไปมาของลูกตาขณะหลับ ทั้งนี้ ฝันสามารถเกิดได้ในการหลับขั้นอื่น แต่ฝันเหล่านั้นมีแนวโน้มสมจริงหรือผู้ฝันจำได้น้อยกว่ามาก ฝันกินระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึงยี่สิบนาที บุคคลมักจำฝันได้มากกว่าเมื่อตื่นขึ้นหากฝันในระยะ REM โดยเฉลี่ย บุคคลมีฝัน 3 ถึง 5 ฝันต่อคืน ฝันมีแนวโน้มนานขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ระหว่างการหลับ 8 ชั่วโมง บุคคลจะใช้เวลากับการฝันสองชั่วโมง มีผู้มองว่า ฝันเชื่อมโยงกับจิตไร้สำนึก โดยมีตั้งแต่ปกติและสามัญไปจนถึงเหนือจริงหรือแปลกประหลาดเกิน ฝันสามารถมีได้หลายอารมณ์ เช่น กลัว ตื่นเต้น สนุกสนาน เศร้าโศก ผจญภัยหรือเกี่ยวกับเพศ เหตุการณ์ในฝันโดยทั่วไปอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ฝัน ยกเว้น lucid dream ที่ผู้ฝันรู้สึกตัว ฝันบางครั้งได้สร้างความคิดริเริ่มแก่บุคคลหรือให้ความรู้สึกถึงแรงบันดาลใ.

ใหม่!!: การหลับและฝัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะขาดการนอนหลับ

วะขาดการนอนหลับ (sleep deprivation) หรือ การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม (insufficient sleep) เป็นภาวะที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าเรื้อรัง (chronic) หรือเฉียบพลัน (acute) การหลับไม่อิ่มเรื้อรัง ทำให้เกิดความล้า (fatigue), ความง่วงซึมในเวลากลางวัน (daytime sleepiness), ความซุ่มซ่าม (clumsiness) ตลอดจนน้ำหนักลด และน้ำหนักเพิ่ม นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบสมองและการรับรู้จดจำ และจากการทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สัตว์ทดลองที่หลับไม่อิ่มติดต่อกันเป็นเวลานาน ถึงแก่ความตายในที่สุด ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถงดเว้นการนอนหลับติดต่อกันเป็นห้วงเวลายาวนานได้ เว้นแต่ป่วยเป็นภาวะนอนไม่หลับอย่างร้ายแรงในวงศ์ตระกูล (fatal familial insomnia) นอกจากนี้ มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเลี่ยงความง่วงได้ แม้เป็นความง่วงช่วงสั้น ๆ ก็ตาม.

ใหม่!!: การหลับและภาวะขาดการนอนหลับ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ใหม่!!: การหลับและระบบการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: การหลับและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย

right รายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย เรียงจากปีล่าสุดไปถึงปีแรกโดยนักเขียนและผลงานที่ได้รับรางวัลจะเขียนด้วยตัวหนังสือหนาที่ตำแหน่งบนสุดของแต่ละปี ข้อมูลหนังสือแต่ละเล่มเรียงจาก นามนักประพันธ์, ชื่อวรรณกรรม และสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ในเวลาที่หนังสือได้รางวัล อนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือก (Selection Committee) มีหน้าที่รับเรื่องที่มีผู้เสนอเข้าพิจารณา และพิจารณาคัดเลือกให้เหลือไม่เกิน 10 เรื่อง เสนอต่อคณะกรรมการตัดสิน (มีการปรับเพิ่มจำนวนผลงานรอบสุดท้าย จาก 7 เล่มเป็น 10 เล่ม ในปีพ.ศ. 2548) และ คณะกรรมการตัดสิน (Board of Juries) มีหน้าที่พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการคัดเลือกเสนอ และตัดสินให้ได้รับรางวัลซีไรต์เพียง 1 เรื่อง หมายเหตุ: ในช่วงแรกของรางวัลซีไรต์ กล่าวคือ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การหลับและรายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลิงบาบูน

ลิงบาบูน (Baboons; بابون) เป็นสกุลของลิง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Papio ลิงบาบูนเป็นลิงที่จัดได้ว่ามีขนาดใหญ่ แขนและขายาวเท่ากัน ทำให้สามารถเดินด้วยขาทั้ง 4 ข้างได้เป็นอย่างดี ขณะที่ส่วนหางที่สั้น และร่างกายที่กำยำแข็งแรง ทำให้วิ่งได้รวดเร็วพอ ๆ กับม้า ลิงบาบูนส่วนมากจะหากินและอาศัยบนพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ ตามแถบที่โล่งกว้างมากกว่าที่รกชัฏ โดยจะขึ้นต้นไม้เฉพาะตอนนอนเท่านั้น หากินในเวลากลางวัน มีลักษณะเด่น คือ มีใบหน้ายาวเหมือนสุนัข และมีฟันเขี้ยวที่แข็งแรงและยาวโง้ง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง อาจถึง 200-300 ตัว มีตัวผู้ขนาดใหญ่เป็นจ่าฝูง หากินผลไม้ เมล็ดพืช ตลอดจนสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมงป่องและแมงมุมโดยการพลิกก้อนหินหา หรือแม้กระทั่งล้มสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ไก่ฟ้า หมูป่า หรือแอนทิโลปที่เป็นตัวลูกหรือตัวขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ ลิงบาบูนขึ้นชื่อว่าเป็นลิงที่มีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เนื่องจากเป็นลิงที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก โดยอาจโจมตีทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย แต่กระนั้นก็ยังมีผู้นำมาฝึกให้เล่นละครลิงหรือละครสัตว์ได้ นอกจากนี้แล้ว ลิงบาบูนยังเป็นลิงที่สามารถออกเสียงได้เหมือนกับเสียงสระในภาษาอังกฤษได้อีกด้วย เนื่องจากมีกล้ามเนื้อลิ้นที่สร้างความแตกต่างในการออกเสียงแต่ละสระได้เหมือนกับมนุษย์ และถึงแม้ว่าจะมีกล่องเสียงสูง ซึ่งต่างจากมนุษย์ที่ออกเสียงด้วยการใช้กล่องเสียงต่ำ แต่ลิงบาบูนก็ไม่สามารถที่จะพูดได้จริง.

ใหม่!!: การหลับและลิงบาบูน · ดูเพิ่มเติม »

ลิงจมูกยาว

ลิงจมูกยาว หรือ ลิงจมูกงวง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับวานรชนิดหนึ่ง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล NasalisWilson, D. E. & Reeder, D. M. (eds.) (2005).

ใหม่!!: การหลับและลิงจมูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่นจีน

ลิ่นจีน (อังกฤษ: Chinese pangolin; 中華穿山甲; ชื่อวิทยาศาสตร์: Manis pentadactyla) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จำพวกลิ่น.

ใหม่!!: การหลับและลิ่นจีน · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่นซุนดา

ลิ่นซุนดา หรือ ลิ่นมลายู หรือ ลิ่นชวา (อังกฤษ: Sunda pangolin, Malayan pangolin, Javan pangolin) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิ่น มีรูปร่างเหมือนลิ่นจีน (M. pentadactyla) แต่ลิ่นซุนดามีหางที่ยาวกว่าและปกคลุมด้วยเกล็ดประมาณ 30 เกล็ด และสีลำตัวจะอ่อนกว่า โดยมีสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลเข้มและมีขนบาง ๆ ขึ้นแทรกอยู่เล็กน้อย อีกทั้งมีขนาดลำตัวและน้ำหนักมากกว่า กล่าวคือ มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 42.5-55 เซนติเมตร มีความยาวหาง 34-47 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 7.5-9 เซนติเมตร น้ำนักตัวประมาณ 5-7 กิโลกรัม มีการแพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีนเรื่อยจนถึงแหลมมลายูจนถึงภูมิภาคซุนดา และยังพบในหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกด้วย สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้, พื้นดิน และใต้ดิน เนื่องจากมีเล็บและหางที่แข็งแรงสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ดี โดยอาหารส่วนใหญ่คือ มดและปลวก ลูกลิ่นที่เกิดใหม่จะเกาะติดแม่ โดยการใช้เล็บเกาะเกี่ยวโคนหางของแม่ไว้ จะหย่านมเมื่ออายุได้ 3 เดือน โดยปกติจะอาศัยหลับนอนอยู่ตามโพรงในเวลากลางวัน โดยใช้ดินมาปิดไว้บริเวณปากโพรง เพื่อช่วยอำพรางโพรงที่มีความลึกประมาณ 3-4 เมตร เมื่อถูกรบกวนจากศัตรูหรือตกใจจะนอนขดตัวเป็นลูกกลม ๆ คล้ายลูกฟุตบอล โดยไม่มีการต่อสู้แต่อย่างใด สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภูมิภาค และลิ่นซุนดาถือเป็นลิ่น 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถพบได้ (อีกชนิดหนึ่งนั่นคือ ลิ่นจีน) และเป็นสัตว์ที่นิยมค้าขายเป็นของผิดกฎหมาย โดยมักปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอ ๆ ว่า เจ้าหน้าที่สามารถจับผู้ลักลอบได้ทีละมาก ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนำขายต่อให้ภัตตาคารหรือผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่า ทั้งนี้ลิ่นซุนดามีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 พร้อมกับลิ่นจีน.

ใหม่!!: การหลับและลิ่นซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาต่อมไร้ท่อ

วิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology; มาจากภาษากรีกโบราณ ἔνδον, endon, "ภายใน"; κρίνω, krīnō, "แยก"; และ -λογία, -logia) เป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยาและแพทยศาสตร์ว่าด้วยระบบต่อมไร้ท่อ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และการหลั่งสิ่งที่เรียก ฮอร์โมน นอกจากนี้ยังศึกษาบูรณาการและการเจริญ การเพิ่มจำนวน การเติบโตและการเปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะ (differentiation) และกัมมันตภาพทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของเมแทบอลิซึม การเจริญเติบโต การทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อ การหลับ การย่อย การหายใจ การขับถ่าย อารมณ์ ความเครียด การหลั่งน้ำนม การเคลื่อนไหว การสืบพันธุ์และการรับรู้สัมผัสที่เกิดจากฮอร์โมน สาขาเฉพาะทางได้แก่ วิทยาต่อมไร้ท่อพฤติกรรมและวิทยาต่อมไร้ท่อเปรียบเทียบ ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยหลายต่อมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงโดยไม่ผ่านระบบท่อ ฮอร์โมนมีหน้าที่และกลไกการออกฤทธิ์หลายอย่าง ฮอร์โมนชนิดหนึ่งมีผลหลายอย่างต่ออวัยวะเป้าหมาย และในทางกลับกัน อวัยวะเป้ามายหนึ่งอาจได้รับผลจากฮอร์โมนมากกว่าหนึ่งชนิด หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

ใหม่!!: การหลับและวิทยาต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัว

วงศ์ปลาวัว หรือ วงศ์ปลางัว หรือ วงศ์ปลากวาง (วงศ์: Balistidae, Triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวกว้างแบนเป็นทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ ข้างตำแหน่งตาอยู่สูงบริเวณด้านบนของหัว ที่ครีบหลังอันแรกจะมีหนามแข็ง 3 อัน สามารถพับเก็บได้ และจะตั้งขึ้นได้เพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรู มีก้านครีบหางจำนวน 12 ก้าน และ 18 ก้านครีบที่ครีบหลัง มีเกล็ดที่ใหญ่แข็งและหนังหนา ส่วนของใบหน้ายาวและยื่นแหลมออกมา ปากมีขนาดเล็ก ภายในมีฟัน 4 ซี่ที่ด้านนอก และด้านในอีก 3 ซี่ ที่แหลมคมมาก ใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ กินเป็นอาหาร รวมถึงฟองน้ำ, ปะการัง, สาหร่าย หรือเม่นทะเลด้วย เช่นเดียวกับปลาปักเป้า อันเป็นปลาในอันดับเดียวกัน แต่อยู่ต่างวงศ์กัน พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะฮาวาย, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน และมหาสมุทรแอตแลนติก ตาของปลาวัวสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้ อันเป็นลักษณะเฉพาะ โดยปกติแล้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าวมาก มักไล่กัดปลาอื่นหรือแม้แต่พวกเดียวกันเองที่รุกล้ำเข้ามาในถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่จะหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการัง มีพฤติกรรมหากินโดยซอกซอนหากินเอาในแนวปะการังในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมากโดยใช้ครีบหลัก ๆ ทั้ง 2 ครีบในด้านบนและด้านล่างของลำตัว ขณะที่ครีบหางใช้เป็นตัวควบคุมทิศทาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางไข่ตามพื้นในรังซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง ซึ่งบางชนิดจะมีนิสัยดุร้ายมากในช่วงนี้ โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามสดใสมาก จึงเป็นที่นิยมมากของนักดำน้ำและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่ว่าเป็นปลาที่ดุร้ายมาก สามารถพุ่งเข้ากัดจนเป็นแผลเหวอะหรือไล่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้อย่างไม่เกรงกลัว มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 25-50 เซนติเมตร โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาวัวไททัน (Balistoides viridescens) ที่ใหญ่ได้ถึง 75 เซนติเมตร หรือราว 1 เมตร และนับเป็นชนิดที่อันตรายมาก เพราะมีรายงานการกัดและไล่นักดำน้ำมาแล้วในหลายที.

ใหม่!!: การหลับและวงศ์ปลาวัว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: การหลับและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: การหลับและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สายทอง

นางสายทองเป็นชื่อตัวละครในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยเป็นทาสของนางศรีประจันมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงนางพิมพิลาไลยบุตรสาวของนางศรีประจัน และยังเป็นภรรยาของขุนแผนด้ว.

ใหม่!!: การหลับและสายทอง · ดูเพิ่มเติม »

สุขศาสตร์การหลับ

ตร์การหลับ หรือ สุขอนามัยการนอนหลับ (Sleep hygiene) เป็นการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่แนะนำเพื่อคุณภาพการนอนที่ดี ข้อแนะนำเหล่านี้พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อช่วยคนไข้โรคนอนไม่หลับระดับอ่อนและกลาง แต่โดยปี 2557 หลักฐานประสิทธิผลของข้อแนะนำแต่ละอย่างยัง "จำกัดและไม่ชัดเจน" ผู้รักษาอาจประเมินอนามัยการนอนของผู้ที่มีปัญหานอนหลับหรือภาวะอื่น ๆ เช่น ความซึมเศร้า แล้วให้คำแนะนำตามการประเมิน รวมทั้งไม่ออกกำลังกายหรือใช้หัวคิดใกล้เวลานอน, จำกัดความกังวล, จำกัดอยู่ในที่สว่าง ๆ หลาย ชม.

ใหม่!!: การหลับและสุขศาสตร์การหลับ · ดูเพิ่มเติม »

หมอน

หมอน หมอน เป็นเครื่องนอนอย่างหนึ่งที่ใช้ศีรษะหนุนเวลานอน หรือใช้ประโยชน์อื่นๆเช่น ใช้กอด ใช้อิง หมอนถูกประดิษฐขึ้นมาในหลากหลายรูปแบบ โดยหมอนที่ใช้ส่วนใหญ่ทำจากผ้าเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและยัดด้วยวัสดุเช่น นุ่น ขนเป็ด หรือปัจจุบันนิยมใช้โพลีเอสเตอร์ ส่วนหมอนที่ใช้นอนกอด เรียกว่า หมอนข้าง เป็นรูปทรงกระบอก สำหรับ หมอนอิง มีหลายแบบ เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงกลม ในประเทศไทย หมอนในแต่ละภูมิภาคก็มีเอกลักษณ์ต่างๆกันไป เช่ หมอนสี่เหลี่ยมทางภาคอิสาน หรือ หมอนขวานทางภาคกลาง การเลือกหมอน ความทุกข์ของคนอาจจะเกิดจากเป็นโรค บางคนถ่ายไม่ได้หรือถ่ายลำบากก็ทุกข์ รับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปก็ทุกข์ การนอนไม่หลับก็เป็นทุกข์ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เป็นการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจหลังจากที่ได้ทำงานหนัก ทั้งกายและใจ การจะนอนให้หลับดีต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง การเลือกหมอนที่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้นอนหลับดีขึ้น และยังลดอาการของอาการปวดหลังหรือปวดคอ.

ใหม่!!: การหลับและหมอน · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: การหลับและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

องคชาตของมนุษย์

องคชาตของมนุษย์เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก และยังทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีส่วนหลักคือ ส่วนราก (Root / Radix) ส่วนลำตัว (Corpus) และส่วนเนื้อเยื่อบุผิวขององคชาต รวมถึงหนังบริเวณก้าน และหนังหุ้มปลายซึ่งห่อหุ้มส่วนหัวขององคชาต (Glans) ด้วย ส่วนลำตัวขององคชาตเกิดจากเนื้อเยื่อสามต้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (Corpus cavernosum) สองมัดที่ด้านบน และกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม (Corpus spongiosum) ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของกล้ามเนื้อส่วนแรก ท่อปัสสาวะของมนุษย์เพศชายจะผ่านกลางต่อมลูกหมาก ที่ซึ่งเชื่อมกับท่อฉีดอสุจิ และจากนั้นจะผ่านไปที่องคชาต โดยท่อปัสสาวะจะทอดตัวข้ามกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม และออกสู่รูเปิดบริเวณรูปัสสาวะ (Meatus) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายของส่วนหัวองคชาต โดยทำหน้าที่เป็นทางผ่านของทั้งปัสสาวะและการหลั่งของน้ำอสุจิ การพัฒนาขององคชาตโดยส่วนใหญ่จะมาจากเนื้อเยื่อเดียวกันในตัวอ่อน เช่นเดียวกับคริตอริสของเพศหญิง ผิวหนังโดยรอบขององคชาตและท่อปัสสาวะ ก็มาจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนเดียวกันกับที่จะพัฒนาไปเป็นแคมเล็กของเพศหญิง การแข็งตัวคือการแข็งและสูงขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงส่วนหัวองคชาตที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยเป็นการนำส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของหนังหุ้มปลายออกไปด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ศาสนา และไม่บ่อยนักด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งยังมีการถกเถียงกันในเรื่องของการขลิบหนังหุ้มปลายโดยรอบ ขณะที่ผลจากการศึกษาที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่ระบุว่าขนาดขณะแข็งตัวขององคชาตโดยความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.9–15 ซม.

ใหม่!!: การหลับและองคชาตของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

องคชาตแข็งตัวขณะหลับ

องคชาตแข็งตัวขณะหลับ (Nocturnal penile tumescence, NPT) เป็นภาวะการแข็งตัวขององคชาตในขณะนอนหลับ เป็นอาการปกติทางกายภาพของเพศชายทุกคนที่ไม่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยปกติจะเกิดขึ้นประมาณ 3 ถึง 5 ครั้งในเวลากลางคืน ขณะร่างกายอยู่ในภาวะหลับตื้น (REM sleep) เชื่อกันว่า NPT มีส่วนในการรักษาองคชาตให้มีสุขภาพดี.

ใหม่!!: การหลับและองคชาตแข็งตัวขณะหลับ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปนอส

รูปปั้นศีรษะฮิปนอส ฮิปนอส ในเซนต์เซย่า ฮิปนอส (Hypnos, กรีก: Ὕπνος แปลว่า "หลับ") เทพแห่งการหลับ ในตำนานเทพเจ้าของกรีก มีชื่อที่ชาวโรมันเรียกว่า ซัมนัส (Somnus) เป็นบุตรชายของนิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งราตรี และ อีราบัส (Erabus) เทพแห่งความมืด เป็นพี่ชายฝาแฝดของทานาทอส (Thanatos) เทพแห่งความตาย โดยทั้งคู่อาศัยอยู่ยังขุมนรก เป็นเทพผู้ช่วยของฮาเดส (Hades) จ้าวแห่งนรก รูปลักษณ์ของทั้งฮิปนอสและทานาทอส มักเป็นรูปชายหนุ่มเปลือยกาย หน้าตาเหมือนกัน มีปีกสยายติดกับศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง.

ใหม่!!: การหลับและฮิปนอส · ดูเพิ่มเติม »

ผลต่อสุขภาพจากเสียง

การจราจรเป็นแหล่งมลภาวะทางเสียงหลักในเมือง ผลต่อสุขภาพจากเสียง (Noise health effects) เป็นผลต่าง ๆ จากการได้รับเสียงดังจากที่ทำงานหรือที่อื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้การได้ยินพิการ เกิดความดันสูง โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ความรำคาญ และปัญหาในการนอน นอกจากนั้น ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน และความพิการของทารกแรกเกิด อาจมีเหตุจากเสียงดัง แม้ว่า หูตึงเหตุสูงอายุ (presbycusis) ก็อาจเกิดตามธรรมชาติได้เหมือนกัน แต่ว่าในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ปัญหาสะสมจากเสียงก็พอสร้างความเสียหายต่อประชากรเป็นจำนวนมากภายในชั่วชีวิตแล้ว การได้รับเสียงดังยังก่ออาการเสียงในหู (tinnitus) ความดันสูง การตีบของหลอดเลือด (vasoconstriction) และปัญหาทางหัวใจหลอดเลือดอื่น ๆ นอกจากผลเหล่านี้ เสียงดังยังสามารถทำให้เครียด เพิ่มอัตราอุบัติเหตุในที่ทำงาน และก่อความก้าวร้าวและพฤติกรรมต้านสังคมอื่น ๆ แหล่งเสียงที่สำคัญที่สุดคือจากรถยนต์กับเครื่องบิน การฟังเสียงดนตรีดัง ๆ บ่อย ๆ และเสียงจากอุตสาหกรรม ในประเทศนอร์เวย์ เสียงจราจรพบว่า เป็นเหตุต่อความรำคาญเสียงถึง 88% ที่รายงาน เสียงอาจจะมีผลให้เกิดโรคจิตอีกด้วย เช่น เสียงประทัดอาจทำทั้งสัตว์เลี้ยงสัตว์ป่า หรือบุคคลที่ได้รับความบอบช้ำทางจิตใจให้แตกตื่น (คนที่บอบช้ำทางจิตใจรวมทั้งคนที่ผ่านสงครามมา) แต่เพียงแค่กลุ่มคนเสียงดังก็อาจจะก่อการร้องทุกข์หรือปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ แล้ว แม้ทารกก็ตื่นเสียงได้ง่ายอีกด้วย ค่าเสียหายทางสังคมเนื่องจากเสียงจราจรในประเทศยุโรป 22 ประเทศอาจมีค่าถึง 4 หมื่นล้านยูโรต่อปีโดยปี 2550 (ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) โดยรถโดยสารและรถบรรทุกเป็นเหตุหลักของปัญหา เสียงจราจรอย่างเดียวทำให้สุขภาพของคนเกือบ 1/3 ในเขตยุโรปเสียหาย โดยประชากรยุโรป 1 ใน 5 จะได้รับเสียงตอนกลางคืนเป็นปกติในระดับที่อาจทำให้สุขภาพเสียหายอย่างสำคัญ เสียงยังเป็นอัตรายต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำอีกด้ว.

ใหม่!!: การหลับและผลต่อสุขภาพจากเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ดิจิมอนยูนิเวิร์ส แอปพลิมอนสเตอร์ส

มอนยูนิเวิร์ส แอปพลิมอนสเตอร์ส เป็นหนึ่งในชุดภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ ดิจิตอลมอนสเตอร์ ลำดับที่ 7 ผลิตโดย โตเอะ แอนิเมชัน และเป็นโปรเจกต์ในการรวมรวมสื่อทั้งอะนิเมะ, เกม และ มังงะเข้าไว้ด้วยกัน.

ใหม่!!: การหลับและดิจิมอนยูนิเวิร์ส แอปพลิมอนสเตอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ความภูมิใจแห่งตน

ในสังคมวิทยาและจิตวิทยา ความภูมิใจในตน หรือ ความภูมิใจแห่งตน หรือ การเคารพตนเอง หรือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) เป็นการประเมินคุณค่าตนเองโดยทั่วไปที่เป็นอัตวิสัยและอยู่ในใจ เป็นทั้งการตัดสินและทัศนคติต่อตนเอง ความภูมิใจในตนอาจรวมความเชื่อ (เช่น ฉันเก่ง ฉันมีคุณค่า) และอารมณ์ความรู้สึก เช่น การได้ชัยชนะ ความซึมเศร้า ความภูมิใจ และความอับอาย หนังสือปี 2550 ให้คำนิยามว่า "ความภูมิใจในตนเป็นการประเมินในเชิงบวกหรือเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง คือ เรารู้สึกกับตัวเองอย่างไร" เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา (psychological construct) ที่น่าสนใจเพราะว่านักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นตัวพยากรณ์ที่ทรงอิทธิพลต่อผลบางอย่าง เช่น การเรียนเก่งS.

ใหม่!!: การหลับและความภูมิใจแห่งตน · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: การหลับและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำชัดแจ้ง

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ "ความจำชัดแจ้ง" (Explicit memory) หรือบางครั้งเรียกว่า "ความจำเชิงประกาศ" (Declarative memory) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาวสองอย่างในมนุษย์ ความจำชัดแจ้งหมายถึงความจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น การระลึกถึงประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลอื่น ๆ โดยตั้งใจและประกอบด้วยความรู้สึกตัวว่ากำลังระลึกถึงความจำ จึงเป็นการระลึกถึงความจำชัดแจ้ง มนุษย์มีการจำได้แบบชัดแจ้งตลอดทั้งวัน เช่นจำเวลานัดได้ หรือจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายปีได้ ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ "ความจำโดยปริยาย" (implicit memory) หรือ "ความจำเชิงไม่ประกาศ" (non-declarative memory) หรือ "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (procedural memory) ซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย ส่วนความจำชัดแจ้งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ.

ใหม่!!: การหลับและความจำชัดแจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ความง่วง

วามง่วงหรืออาการง่วงซึม (somnolence, sleepiness, หรือ drowsiness) เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการหลับอย่างแรง หรือหลับเป็นเวลานานผิดปกติ (เทียบกับอาการนอนมาก) ความง่วงมีความหมายและสาเหตุแยกกัน สามารถหมายถึงภาวะปกติก่อนหลับ สภาพที่อยู่ในภาวะง่วงเนื่องจากความผิดปกติของจังหวะรอบวัน หรือกลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ความง่วงสามารถเกิดร่วมกับภาวะง่วงงุน (lethargy) ความอ่อนเปลี้ยและการขาดความคล่องทางจิต (lack of mental agility) มักมองว่าความง่วงเป็นอาการมากกว่าโรคด้วยตัวมันเอง ทว่า มโนทัศน์ความง่วงเกิดซ้ำในบางเวลาจากสาเหตุบางอย่างประกอบเป็นความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความง่วงกลางวันมากเกิน (excessive daytime sleepiness) โรคหลับงานกะ (shift work sleep disorder) ฯลฯ และมีรหัสการแพทย์สำหรับความง่วงที่ถือเป็นโรค ความง่วงอาจเป็นอันตรายเมื่อดำเนินงานที่ต้องอาศัยสมาธิต่อเนื่อง เช่น การขับยานพาหนะ เมื่อบุคคลรู้สึกล้าระดับหนึ่ง อาจประสบการหลับเล็ก (microsleep) ได้.

ใหม่!!: การหลับและความง่วง · ดูเพิ่มเติม »

คอมมอนบรัชเทลพอสซัม

อมมอนบรัชเทลพอสซัม (common brushtail possum, silver-gray brushtail possum; -มาจากภาษากรีกแปลว่า "ขนฟู" และภาษาละตินแปลว่า "จิ้งจอกน้อย" เดิมเคยใช้ชื่อสกุลว่า Phalangista) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง จัดว่าเป็นพอสซัมชนิดหนึ่ง มีขนาดลำตัวไล่เลี่ยกับแมวบ้าน มีใบหูชี้แหลมขนาดใหญ่ หน้าแหลม ฟันมีลักษณะคล้ายกับฟันแทะ 4 ซี่ แต่ไม่มีความแหลมคม ขนมีความหนา ฟู และอ่อนนุ่มมาก และมีความหลากหลายของสี ตั้งแต่ สีน้ำตาลทอง, สีน้ำตาล จนถึงสีเทา ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 1.2–4.5 กิโลกรัม ถือได้ว่าใหญ่กว่าตัวเมีย และมีสีเข้มกว่า ตัวเมียมีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน ขาหน้ามีนิ้วที่มีเล็บที่มีความแหลมคมมากใช้สำหรับป่ายปีนต้นไม้ ตลอดจนหยิบจับอาหารเข้าปาก ส่วนเท้าหลัง มีนิ้วโป้งที่ไม่มีเล็บ และแยกออกจากอุ้งเท้าไปอยู่อีกข้าง ส่วนหางมีขนฟูเป็นพวงเหมือนแปรง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีความแข็งแรงมาก ใช้ในการยึดเกาะต้นไม้.

ใหม่!!: การหลับและคอมมอนบรัชเทลพอสซัม · ดูเพิ่มเติม »

ค่าง

ง (อังกฤษ: Langur, Leaf Monkey) ชื่อสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร โดยจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: การหลับและค่าง · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแวมไพร์

ำหรับแวมไพร์ที่หมายถึง ผีตามความเชื่อของชาวยุโรปยุคกลาง ดูที่: แวมไพร์ ค้างคาวแวมไพร์ หรือ ค้างคาวดูดเลือด (Vampire bat) เป็นค้างคาวกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง มีพฤติกรรมดูดเลือดสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร จากพฤติกรรมของทำให้ได้ชื่อว่าเป็นค้างคาวแวมไพร์ หรือค้างคาวดูดเลือด เหมือนแวมไพร์ ในความเชื่อของชาวยุโรปยุคกลาง ค้างคาวแวมไพร์ เป็นค้างคาวขนาดเล็กมีทั้งหมด 3 ชนิด ใน 3 สกุล จัดอยู่ในวงศ์ค้างคาวจมูกใบไม้โลกใหม่ (Phyllostomidae) เป็นค้างคาวที่ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 26 ล้านปีก่อน โดยมีความสัมพันธ์กับค้างคาวกินแมลง มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ในถ้ำในป่าดิบ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะกินแต่เพียงเลือดของสัตว์เลือดอุ่นขนาดใหญ่กว่าเป็นอาหารเท่านั้น (บางชนิดจะกินนกเป็นอาหาร) โดยมีฟันแหลมคมซี่หน้าคู่หนึ่งกัด โดยมากสัตว์ที่ถูกดูดกิน จะเป็นปศุสัตว์ เช่น หมู หรือวัว เป็นต้น ซึ่งสายตาของค้าวคาวแวมไพร์จะมองเห็นเป็นภาพอินฟาเรด จากความร้อนของอุณหภูมิในร่างกายของเหยื่อ ทำให้มองเห็นในเวลากลางคืนได้ดีมาก และเป็นตัวนำไปสู่การเลือกตำแหน่งที่กัด ซึ่งจะเป็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ใบหู, ข้อศอก หรือหัวนม และขณะที่กัด ด้วยความคมของฟันประกอบกับมักจะกัดในเวลาที่เหยื่อนอนหลับ ทำให้เหยื่อไม่รู้ตัว และขณะที่ดูดเลือดอยู่นั้น ค้างคาวจะขับปัสสาวะไปด้วย เนื่องจากจะดูดเลือดในปริมาณที่มาก ทำให้ไม่สามารถบินได้ โดยปริมาณเลือดที่ค้างคาวดูดไปนั้น หากคำนวณว่าดูดเลือดหมูทุกคืน ภายในเวลา 5 เดือน จะมีปริมาณเท่ากับน้ำหนัก 5 แกลลอน ซึ่งเลือดที่ไหลออกมานั้นจะไหลผ่านลิ้นของค้างคาวที่มีร่องพิเศษช่วยให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดฝอยได้โดยง่าย และในน้ำลายค้างคาวจะมีเอนไซม์ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งค้างคาวแวมไพร์ก็อาจดูดเลือดมนุษย์ได้ด้วยเช่นกันในเวลาหลับ และถึงแม้จะน่ากลัว แต่ค้างคาวแวมไพร์ก็มีความผูกพันกับลูก พ่อและแม่ค้างคาวจะเลี้ยงดูลูกค้างคาวที่ยังบินไม่ได้นานถึง 9 เดือน โดยจะนำเลือดที่ดูดเหลือกลับมาฝาก และฝากไปยังค้างคาวตัวอื่น ๆ ในฝูงที่หากินได้ไม่อิ่มพอด้วย นอกจากนี้แล้ว ค้างคาวแวมไพร์ยังเป็นพาหะนำโรคกลัวน้ำ หรือโรคพิษสุนัขบ้า ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้ด้ว.

ใหม่!!: การหลับและค้างคาวแวมไพร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดา

้างคาวแวมไพร์ธรรมดา หรือ ค้างคาวดูดเลือดธรรมดา (Common vampire bat, Vampire bat) เป็นค้างคาวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmodus rotundus (/เดส-โม-ดัส /โร-ทัน-ดัส/) จัดเป็นค้างคาวเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Desmodus เป็นค้างคาวแวมไพร์หรือค้างคาวดูดเลือด 1 ใน 3 ชนิดที่มีในโลก แต่ถือเป็นเพียงชนิดเดียวที่ดูดเลือดของสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารเท่านั้น จัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่กินเลือดเป็นอาหาร กระจายพันธุ์ในป่าดิบตั้งแต่อเมริกากลาง จนถึงทั่วไปในหลายพื้นที่ของทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะทั่วไปของค้าวคาวแวมไพร์ธรรมดา คือ จะมีปากสั้นรูปกรวย ไม่มีปีกจมูกทำให้เผยเห็นโพรงจมูกเป็นรูปตัวยู และมีอวัยวะพิเศษ เรียกว่า "Thermoreceptors" ติดอยู่ที่ปลายจมูก สำหรับใช้ช่วยตรวจหาบริเวณที่มีเลือดไหลได้ดีใต้ผิวหนังของเหยื่อ อีกทั้งยังมีสายตาที่มองเห็นเป็นภาพอินฟาเรด จากอุณหภูมิความร้อนของตัวเหยื่อ และทำให้เห็นดีมากในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาออกหากิน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้Delpietro V. & Russo, R. G. (2002) "Observations of the Common Vampire Bat and the Hairy-legged Vampire Bat in Captivity", Mamm.

ใหม่!!: การหลับและค้างคาวแวมไพร์ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: การหลับและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวปิกัสโซ

ปลาวัวปิกัสโซ (Lagoon triggerfish, Blackbar triggerfish, Picasso triggerfish, Jamal, White-banded triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinecanthus aculeatus อยู่ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) มีรูปร่างกลมรีคล้ายรูปไข่ ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันแหลมคม ส่วนหน้าและจะงอยปากยาว มีลักษณะเฉพาะ คือ ลวดลายบนลำตัวที่จะเป็นแถบสีสดขีดไปมาเหมือนไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นหรือตั้งใจวาด ทั้งสีเขียวมะกอก, สีดำ, ฟ้า, เหลือง บนพื้นสีขาว แต่แลดูแล้วสวยงาม เหมือนกับภาพวาดของปาโบล ปิกัสโซ จิตรกรชื่อดังระดับโลก อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทย พบได้ทางฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้แต่ก็พบในปริมาณที่น้อยมาก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ เช่น มอลลัสคา, ครัสตาเชียน รวมทั้งปะการังและสาหร่ายด้วย โดยออกหากินในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนตามโขดหินหรือแนวปะการังในเวลากลางคืน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดและพฤติกรรมใกล้เคียงกันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแม้จะเป็นปลาก้าวร้าว แต่ก็ไม่ถึงกับดุร้ายเกินไปนัก ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถฝึกให้กินอาหารจากมือได้ด้วย แต่ก็ต้องระวังเพราะมีฟันที่แหลมคมมาก ซึ่งปลาที่ถูกขายกันในตลาดปลาสวยงามนั้น โดยมากเป็นปลาขนาดเล็ก และนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียและทะเลฟิลิปปิน.

ใหม่!!: การหลับและปลาวัวปิกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมนดาริน

ปลาแมนดาริน (Mandarinfish, Mandarin dragonet, Common mandarin, Striped mandarin, Striped dragonet, Mandarin goby) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synchiropus splendidus อยู่ในวงศ์ปลามังกรน้อย (Callionymidae) ซึ่งเป็นปลาทะเลขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) แต่มิได้อยู่ในวงศ์ปลาบู่ ปลาแมนดาริน เหตุที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะด้วยลำตัวของที่แลดูเรียบลื่น เต็มไปด้วยเส้นสายสีเขียวทาบทับกันไปมาบนพื้นลำตัวสีส้มเป็นมัน เหมือนกับลายผ้าไหมหรือแพรชั้นดี จนดูละม้ายคล้ายคลึงกับชุดขุนนางจีนโบราณ ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นก็สอดคล้องเช่นกัน โดยคำว่า "Syn" มาจากภาษากรีกโบราณหมายถึง มี และ "chiropus" มีความหมายถึง มีมือเป็นเท้า เพราะปลาชนิดนี้จะใช้ครีบท้องที่มีขนาดใหญ่คืบคลานไปมาตามท้องทะเลเพื่อหาอาหารได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ ตามพื้นทราย มากกว่าจะว่ายน้ำ และใช้ครีบหูที่ใสกระพือไปมาอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ครีบหางใช้เสมือนหางเสือบังคับทิศทาง และ "spendidus" ที่เป็นชื่อชนิดนั้น มีความหมายว่า สีสันสดใสสวยงาม ตลอดทั้งลำตัวนั้น จะมีสีต่าง ๆ ทั้งหลายหลากสีมาก เช่น สีฟ้า, สีเขียว, สีส้ม และสีเหลือง ซึ่งเป็นสีสะท้อนแสงคล้ายกับแสงหลอดนีออน สีเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นชัดเป็นจุดและลวดลายต่าง ๆ โค้งไปมา เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของหมู่เกาะริวกิว ในประเทศญี่ปุ่น จนถึงทะเลฟิลิปปิน, ประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะไมโครนีเซีย, นิวแคลิโดเนีย จนถึงออสเตรเลีย แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย พบอาศัยในกระแสน้ำไม่แรงนักตามกองหินและแนวปะการัง ออกหากินในเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ขณะที่กลางวันจะนอนพักผ่อน มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 8 เซนติเมตร แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีขนาดเล็กกว่านี้ถึงครึ่งหนึ่ง โดยสีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถปรับให้เข้มหรืออ่อนได้ตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ ในปลาตัวผู้สีจะเข้มขึ้นเมื่อต่อสู้กันหรืออยู่ในช่วงผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดย ตัวผู้จะมีครีบหลังเป็นกระโดงยาวยืดออกมา ขณะที่ตัวเมียไม่มี และตัวผู้มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่า ปลาแมนดารินมีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร โดยเฉพาะกับปลาชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะตัวผู้จะมีอาณาเขตที่ชัดเจน หากพบผู้บุกรุกจะกางครีบต่าง ๆ และเบ่งสีเพื่อข่มขู่ อีกทั้งยังถือเป็นปลาที่มีพิษชนิดหนึ่ง เพราะเมือกที่ปกคลุมลำตัวนั้นมีพิษ ใช้กันสำหรับเมื่อตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำหรือปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า พฤติกรรมเมื่อผสมพันธุ์ จะสวยงามมาก เมื่อตัวผู้เป็นฝ่ายว่ายไปรอบ ๆ ตัวเมียเพื่อเกี้ยวพาจนแลดูเหมือนกับการเต้นรำ ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่ปล่อยไข่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนที่ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม ความที่เป็นปลาที่มีความสวยงามมาก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมกันมาอย่างยาวนาน แต่ปลาที่มีการซื้อขายกันนั้นเป็นปลาที่ถูกจับมาจากแหล่งธรรมชาติ คือ ทะเลเท่านั้น โดยชาวประมงในบางพื้นที่เช่น ฟิลิปปินส์ จะใช้เครื่องมือจับที่ทำจากวัสดุง่าย ๆ เช่น ไม้หรือไผ่ ตัดให้คล้ายกับปืน ซึ่งตอนปลายพันด้วยเหล็กแหลมคล้ายฉมวกหรือหอก ใช้สำหรับเล็งปลาเป็นตัว ๆ ไปตามแนวปะการัง ซึ่งปลาตัวที่ถูกแทงจะได้รับบาดแผลหรือหางเป็นรู แต่สำหรับปลาแมนดารินแล้วเมื่อได้รับการพักฟื้นในสถานที่เลี้ยงไม่นาน แผลดังกล่าวก็จะหายเป็นปกติภายในเวลาไม่กี่วัน ปัจจุบัน ถือเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง สำหรับในประเทศไทยเพิ่งเพาะได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 โดย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้ 2-3 ตัว ปลาจะทำการจับคู่กันในเวลาพลบค่ำ และวางไข่ ถือเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมาแล้วจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ก่อนจะนำไปอนุบาลต่อไป ซึ่งลูกปลาใช้เวลาในการฟักเป็นตัวเร็วมาก คือ ใช้เวลาไม่เกิน 14 ชั่วโมง ในอุณหภูมิน้ำราว 28 เซลเซียส เมื่อฟักออกเป็นตัวนั้น ลูกปลาจะใช้ส่วนหัวดันออกมาก่อนก่อนใช้หางดันกับผนังเปลือกไข่ จนกว่าจะหลุดออกมาได้สำเร็จ โดยแรกเกิดมีขนาดความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตรเท่านั้น และมีขนาดของถุงไข่แดงเป็นครึ่งหนึ่งของขนาดลำตัว ขณะที่อวัยวะภายในและครีบต่าง ๆ ยังพัฒนาการไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: การหลับและปลาแมนดาริน · ดูเพิ่มเติม »

ปอบ

ปอบ เป็นผีจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในความเชื่อพื้นบ้านของไทย โดยเฉพาะในภาคอีสาน โดยเชื่อกันว่าเป็นผีที่กินของดิบ ๆ สด ๆ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม โดยมีความเชื่อว่า ผู้ที่จะกลายเป็นปอบนั้น มักจะเป็นผู้เล่นคาถาอาคม หรือคุณไสย พอรักษาคาถาอาคมที่มีอยู่กับตัวไม่ได้ หรือกระทำผิดข้อห้าม ซึ่งในภาษาอีสานจะเรียกว่า "คะลำ" ซึ่งผู้ที่เป็นปอบจะเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ปอบ เป็นผีที่ไม่มีตัวตนเหมือนกระสือหรือกองกอย แต่ปอบคือจิตวิญญาณมิจฉาทิฏฐิ จะเข้าแฝงร่างสิงสู่คนที่เป็นสื่อให้ และใช้ร่างหรือรูปลักษณ์ของคนๆนั้น ไปกระทำการไม่ดีต่างๆ และเชื่อด้วยว่า หากวิญญาณปอบเข้าสิงสู่ผู้ใด จะกินตับไตไส้พุงของผู้ที่โดนสิงจนกระทั่งตาย ผู้ที่โดนกินจะนอนตายเหมือนกับนอนหลับธรรมดา ๆ ไม่มีบาดแผล ซึ่งเรียกกันว่า "ใหลตาย" ในทางมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องปอบนั้นเป็นกลไกการสร้างความเชื่อของคนในชุมชน เนื่องจากไม่วางใจบุคคลแปลกหน้าหรือแม้แต่กระทั่งคนในชุมชนเดียวกันเอง ที่มีพฤติกรรมแปลกออกไป ซึ่งในสมัยโบราณ บุคคลที่โดนกล่าวหาว่าเป็นปอบ จะถึงกับถูกขับไล่ให้ออกชุมชนเลยทีเดียว ปอบ เป็นผีที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในสังคมไทย มีการนำไปอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการ อาทิ ภาพยนตร์ชุด บ้านผีปอบ เป็นต้น ตามตำนานของทางพระพุทธศาสนาเล่าว่า ผีปอบ คือ ผีสายยักษ์ อยู่ในสายการปกครอง ของท้าวเวสสุวัณ ที่เข้าสิงร่างมนุษย์ ก็เพื่ออาศัยร่างมนุษย์กินอาหาร โดยเฉพาะอาหารสดคาว หรือ สัตว์เป็นๆ เช่น ไปหักคอเป็ด ไก่ ในเล้ากิน หรืออาศัยร่าง เหมือนเป็นร่างทรง จะเข้าสิงร่างมนุษย์ที่มีวิบากกรรมทางนี้ คือ อดีตเคยนับถือผีเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกยามมีทุกข์ จนเป็นประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา มีจิตผูกพันกับผี และกรรมทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เซ่นไหว้ผี บางทีก็ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น เป็ด ไก่ บางทีก็ฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย เป็นต้น.

ใหม่!!: การหลับและปอบ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37x27 มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่น ๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ 35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้ ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด 2-3ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอ ๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: การหลับและนกเค้าจุด · ดูเพิ่มเติม »

นาค

นาคสะดุ้ง ประติมากรรมตามบันไดทางขึ้นโบสถ์ของวัดไทย ตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค (नाग Nāga) เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่ ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษะ (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม.

ใหม่!!: การหลับและนาค · ดูเพิ่มเติม »

แก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์

แก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์ (Dinosaur train) เป็นการ์ตูนสำหรับเด็กจากประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำโดย เคร็ก บาร์ทเล็ตต์ คนเดียวกันที่ผลิตเรื่อง เฮ้ อาร์โนล! ในเรื่องนี้ได้มีการเล่าเรื่องถึงที-เร็กซ์ที่ชื่อว่า บัดดี้ ที่เลี้ยงโดยครอบครัวเทอราโนดอน แล้วผจญภัยทุกยุคที่เขาอยากจะไป และเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เรื่องนี้จัดจำหน่ายโดย The Jim Henson Company ร่วมกับ Media Development Authority, Sparky Animation, FableVision และ Snee-Oosh, Inc.

ใหม่!!: การหลับและแก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: การหลับและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

แทนาทอส

แทนาทอส (Thanatos, กรีกโบราณ: θάνατος แปลว่า ความตาย) หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินที่ชาวโรมันเรียก เป็นเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพของกรีก เป็นเทพแห่งความความตาย เป็นผู้ที่สามารถควบคุมความตายของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก เป็นบุตรชายของนิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งราตรี และ อีราบัส (Erabus) เทพแห่งความมืด เป็นน้องชายฝาแฝดของฮิปนอส (Hypnos) เทพแห่งนิทรา โดยทั้งคู่อาศัยอยู่ยังขุมนรก เป็นเทพผู้ช่วยของฮาเดส (Hades) จ้าวแห่งนรก แทนาทอสนั้นจะรับวิญญาณของผู้ที่ตายอย่างสงบไปยังยมโลกด้วยตนเอง แต่จะให้เหล่าเคอร์ซึ่งเป็นพี่สาวจับวิญญาณที่ตายอย่างทารุณไปก่อน รูปลักษณ์ของทั้งฮิปนอสและแทนาทอส มักเป็นรูปชายหนุ่มเปลือยกาย หน้าตาเหมือนกัน ทั้งคู่จะมีปีกอยู่ที่ศีรษะคนละข้างสลับกัน มือหนึ่งของแทนาทอสมักถือผีเสื้อหรือมาลัยดอกไม้ โดยบทบาทของแทนาทอสในเทพนิยาย แทนาทอสจะเป็นผู้รับวิญญาณมนุษย์ไปยังยมโลก แต่ในบางตำนานจะยกบทบาทนี้ให้เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการสื่อสาร ปรากฏตอนนึงความว่า ได้ถูกกษัตริย์ซีซิสฟัส (Sisyphus) หลอกล่อจนหลงกลแล้วถูกจับขัง ทำให้ไม่มีคนตาย จนกระทั่งเอรีส (Ares) เทพแห่งสงครามหงุดหงิดที่ไม่มีคนตายในการสู้รบ จึงได้ใช้กำลังปลดปล่อยแทนาทอสและพาซีซิสฟัสไปยังยมโลก เนื่องจากเป็นเทพแห่งความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนหวาดกลัว และแม้แต่เหล่าเทพก็ยังรังเกียจแทนาทอส จึงนับว่า แทนาทอสเป็นปีศาจตนหนึ่งก็ว่าได้ โดยแทนาทอสเองก็เกลียดชังมนุษย์และเทพเจ้าอื่น ๆ เช่นเดียวกัน แทนาทอสนั้นเคยต่อสู้กับวีรบุรุษ เฮราคลีส โดยเฮราคลีสนั้นต้องการช่วยเหลือราชินีอัลเคสทิส (Alkestis) ซึ่งยอมสละชีวิตตนเพื่อให้พระสวามี แอดมีตอส (Admetos) มีพระชนม์ชีพยืนยาว เมื่อเฮราคลีสสามารถล้มแทนาทอสได้จึงเท่ากับเป็นผู้มีชัยเหนือความตาย แทนาทอสจึงยอมให้อัลเคสทิสมีชีวิตต่อไป.

ใหม่!!: การหลับและแทนาทอส · ดูเพิ่มเติม »

โรคใหลตาย

รคใหลตาย (sudden unexpected death syndrome (ย่อ: SUDS) หรือ sudden unexpected nocturnal death syndrome (ย่อ: SUNDS)), มักสะกดผิดว่า โรคไหลตาย (ดู ศัพทมูล), เป็น ความตายที่เกิดแก่บุคคล ไม่ว่าวัยรุ่น (adolescent) หรือ ผู้ใหญ่ (adult) อย่างปัจจุบันทันด่วนขณะนอนหลับ และไม่อาจอธิบายสาเหตุแห่งความตายนั้นได้.

ใหม่!!: การหลับและโรคใหลตาย · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดก่า

ป็ดก่า (White-winged duck, White-winged wood duck) เป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง จำพวกเป็ด อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Asarcornis จัดเป็นเป็ดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ หัวและลำคอตอนบนสีขาว มีจุดกระดำกระด่างสีดำ โดยทั่วไปสีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลเหลือบเขียว มีขนเป็นปื้นขาวตรงหัวไหล่เป็นลักษณะเด่น มีรูปร่างเทอะทะ ปีกกว้าง ขาสั้น เพศผู้มีม่านตาสีสดใสเป็นสีเหลืองส้ม ในขณะที่เพศเมียมีม่านตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีเหลืองเข้มหรือสีส้ม มีประดำเป็นหย่อม ๆ เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์โคนปากจะพองโต เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักโดยเฉลี่ยเพศผู้ประมาณ 2,945-3,855 กรัม ขณะที่เพศเมีย 1,925-3,050 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, พม่า, ไทย จนถึงหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยถือเป็นนกในวงศ์ Anatidae ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็ดก่า มีอุปนิสัยแปลกไปจากนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมักจะอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ และพบได้จนถึงในพื้นที่ ๆ มีความสูงถึง 5,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกลับสู่ถิ่นที่อยู่ในเวลารุ่งเช้า โดยมักจะจับกิ่งไม้สูง ๆ ใช้เป็นที่หลับนอน มักจับคู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5-6 ตัวในแหล่งน้ำที่สงบ ปราศจากการรบกวน แม้จะมีรูปร่างเทอะทะแต่ก็สามารถบินได้ดี และบินหลบหลีกต้นไม้ต่าง ๆ ในป่าดิบได้เป็นอย่างดี ในฤดูผสมพันธุ์ เป็ดก่าจะส่งเสียงร้องขณะบิน การจับคู่ผสมพันธุ์อาจเป็นในรูปแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ยังไม่เป็นที่ยืนยัน วางไข่ครั้งละ 6-13 ฟอง สีของไข่เป็นสีเหลืองอมเขียว มักทำรังตามโพรง เพศเมียเท่านั้นที่กกฟักไข่ ระยะเวลาฟักประมาณ 33-35 วัน ขณะฟักไข่หรือเลี้ยงลูกอ่อนเพศผู้จะอยู่พัวพันเพียงห่าง ๆ เท่านั้น เป็ดก่า ถือเป็นเป็ดป่าที่หายากและเพาะขยายพันธุ์ได้ยากชนิดหนึ่ง มีการขยายพันธุ์ได้ด้วยฝีมือมนุษย์เพื่อการอนุรักษ์ ได้แค่ไม่กี่ครั้ง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: การหลับและเป็ดก่า · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดหงส์

ป็ดหงส์ (Knob-billed duck, Comb duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sarkidiornis จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึมกว่า และไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัม, พม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ ชอบที่จะเกาะคอนไม้สูง ๆ อาศัยเป็นที่หลับนอน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ, เมล็ดข้าว, แมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: การหลับและเป็ดหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: การหลับและICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การนอนการนอนหลับหลับนอนนอนหลับ💤

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »