โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ

ดัชนี การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ

การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, ย่อ: PCI) เป็นหัตถการที่มิใช่การผ่าตัดใช้เพื่อรักษาการตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจซึ่งพบในโรคหลอดเลือดหัวใจ เริ่มจากการเข้าถึงกระแสเลือดผ่านหลอดเลือดแดงต้นขาหรือข้อมือ แล้วใช้หลอดสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อดูหลอดเลือดทางภาพรังสีเอกซ์ หลังจากนั้น นักหทัยวิทยาปฏิบัติรักษาสามารถศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจ (coronary angioplasty) โดยใช้หลอดสวนบอลลูนซึ่งมีการสอดบอลลูนปล่อยลมเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่อุดตันแล้วสูบลมเข้าเพื่อบรรเทาการตีบแคบ สามารถอุปกรณ์บางอย่างเช่น ดลวด (stent) เพื่อถ่างหลอดเลือดให้เปิด นอกจากนี้ หัตถการอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน PCI ปฐมภูมิเป็นการใช้ PCI อย่างรีบด่วนมากในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลักฐานหัวใจเสียหายรุนแรงบนภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (MI ชนิด ST ยก) นอกจากนี้ PCI ยังใช้ในผู้ป่วยหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบอื่นหรืออาการปวดเค้นไม่เสถียร ซ่ึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการเพิ่ม สุดท้าย PCI อาจใช้ในผู้ป่วยอาการปวดเค้นเสถียรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ยาควบคุมอาการได้ยาก PCI เป็นทางเลือดของการปลูกถ่ายทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass grafting) ซึ่งเลี่ยงหลอดเลือดที่ตีบตันโดยใช้หลอดเลือดปลูกถ่ายจากตำแหน่งอื่นในร่างกาย ในบางกรณี (เช่น มีการอุดกั้นมาก หรือมีโรคพื้นเดิมเบาหวาน) CABG อาจให้ผลดีกว่า ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจริเริ่มครั้งแรกในปี 1977 โดยอันเดรอัส กรูเอนท์ซิกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หมวดหมู่:หัตถการเกี่ยวกับหัวใจ.

4 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาการปวดเค้นไม่เสถียรโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

อาการปวดเค้นไม่เสถียร

อาการปวดเค้นไม่เสถียร (unstable angina) เป็นอาการปวดเค้นหัวใจอย่างหนึ่งซึ่งผู้ป่วยมีอาการแบบไม่เสถียร (เจ็บหน้าอกโดยที่ไม่ได้อยู่ในภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ ("ทำงานหนัก")) เป็นโรคหนึ่งซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะนี้อาจแยกจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดชนิดไม่พบคลื่น Q ได้ยาก.

ใหม่!!: การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจและอาการปวดเค้นไม่เสถียร · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Percutaneous coronary intervention

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »