สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: บั้งไฟชาดกพญาแถนพระพุทธเจ้าพุทธศักราชวรรณกรรมตำนานพื้นบ้านเทวดา
บั้งไฟ
ำสำคัญ "บั้งไฟ" สามารถหมายถึง.
ชาดก
ก (-saजातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก.
พญาแถน
ญาแถนหรือผีฟ้าหรือผีแถนนั้น ชาวอีสานมีความเชื่อว่าเป็นเทวดามากกว่าเป็นผี ผีฟ้าจึงเป็นผีที่อยู่ระดับสูงกว่าผีชนิดอื่นๆ ส่วนแถนนั้น มีความเชื่อว่าเป็นคำเรียกรวมถึงเทวดา และแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ "แถนหลวง" ซึ่ง เชื่อว่าเป็นพระอินทร์ ผีฟ้าหรือผีแถนนั้นแต่ละพื้นที่มีการเรียกที่แตกต่างกันไป และมีความเชื่อว่าผีฟ้านั้นสามารถที่จะ ดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ การที่มนุษย์เกิดการเจ็บป่วยนั้นเนื่องจากไปละเมิดต่อผี การละเมิดต่อบรรพบุรุษ การรักษาต้องมีการเชิญผีฟ้ามาสิงสถิตอยู่ในร่างของคนทรง เรียกว่า "ผีฟ้า นางเทียน" ในการลำผีฟ้าของชาวอีสานนั้นมีองค์ประกอบ ทั้งหมด 4 ส่วนคือ หมอลำ ผีฟ้า หมอแคน ผู้ป่วย และเครื่องคาย หมอลำผีฟ้าจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุหรือบางท้องถิ่นจะเป็นผู้หญิงสาวโดยเฉพาะที่จังหวัดเลย และจะต้องสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มหมอลำผีเท่านั้น แต่ที่จริงผีฟ้าสามารถสิงได้ทั้งหญิง ชาย และเด็ก โดยไม่จำกัดอายุ หมอแคน (หมอม้า) จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป่าแคนมาเป็นอย่างดีเพราะในการประกอบพิธีจะต้องใช้เวลานานและต้องมีการเป่าอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ป่วยนั้น จะต้องแต่งกายตามที่ได้กำหนดไว้ คือ มีผ้าไหมหรือผ้าขาวม้าพาดบ่า มีดอกมะละกอซึ่งตัดร้อยเป็นพวงทัดหู ผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะฟ้อนรำกับหมอลำได้ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เครื่องคาย เป็นสิ่งที่อัญเชิญครูอาจารย์ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมาช่วยเหลือ รักษาผู้ป่วย ในการรำผีฟ้านั้น จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เมื่อครูบาเก่าเข้าสิงร่าง ผู้ทำพิธีจะต้องสวมผ้าซิ่นทับผ้าที่สวมอยู่ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นชาย) หรือถ้าผู้ป่วยเป็นผู้หญิงครูบาจะสวมผ้าแพรหรือผ้าฝ้าย โดยสวมทับผ้านุ่งเดิม ซึ่งจะจัดไว้อยู่ใกล้เครื่องคาย ในการรักษาทุกคนจะต้องฟ้อนรำกันทุกคนและขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยต้องการดูการฟ้อนรำก็จะทำหน้าที่ต่อไป แต่ถ้าไม่ต้องการครูบาก็จะนำเครื่องคายขึ้นไปเก็บบนหิ้ง และจะมาร่วมกันรับประทานอาหาร ความเชื่อของชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้าสามารถที่จะกำหนดการเกิดการตายของมนุษย์ได้ การที่มนุษย์ตายไปขวัญจะออกจากร่างเพื่อไปพบบรรพชน แต่ขวัญจะไม่แตกดับเหมือนร่าง เป็นเพียงการจากไปของร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับผู้มีชีวิต สาเหตุที่มีการฟ้อนรำกันนั้น ก็เพื่อเป็นการทำให้คนไข้มีพลังจิตในการต่อสู้กับการเจ็บป่วย มีอารมณ์ผ่อนคลาย ความตึงเครียด จิตใจปลอดโปร่ง ไร้วิตกกังวล และสร้างจิตสำนึกด้านความกตัญญู เป็นคตินิยมของวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี จะเห็นว่าผีฟ้านั้นเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ โดยมีคติเตือนใจว่า "คนไม่เห็น ผีเห็น" *กลองกิ่งกลองศักดิ์สิทธิ์มักมีในตระกูลผีฟ้าตีเมื่อใดเสียงจะดังไปถึงพญาแถนผีหลวงจะขออะไรก็จะได้ทุกอย่างร่างทรงมักใช้ตีให้รักษาคนในบ้านเมื่อออกเดินทางเพื่อให้ผีฟ้าคุ้มครอง.
พระพุทธเจ้า
ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.
พุทธศักราช
ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..
วรรณกรรม
วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.
ตำนานพื้นบ้าน
ตำนานพื้นบ้าน (urban legend, urban myth, urban tale หรือ contemporary legend) เป็นคติชน (folklore) ยุคปัจจุบันรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเรื่องที่ผู้เล่าอาจเชื่อว่าจริงหรือไม่จริง เฉกเช่นเดียวกับคติชนและปกรณัม (mythology) ตำนานพื้นบ้านไม่ได้มุ่งหมายที่ความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหา เพียงแต่ได้ไขเรื่องราวนั้นให้แพร่หลาย ฉะนั้น เนื้อหาจึงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงผกผันได้เป็นระยะ ๆ แต่ก็มีความสำคัญบางประการที่จูงใจให้ชุมชนรักษาและถ่ายทอดเรื่องนั้นต่อ ๆ ไป แม้ในภาษาอังกฤษเรียก "urban" ซึ่งหมายถึง ชุมชนเมือง แต่ก็ไม่จำเป็นว่าเรื่องราวจะต้องเกิดในชุมชนเมืองเสมอไป ที่ใช้คำเช่นนั้นก็เพื่อให้ต่างกับคติชนดั้งเดิม (traditional folklore) ในยุคก่อนอุตสาหกรรมเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ นักสังคมวิทยากับนักคติชนวิทยาจึงพอใจจะเรียกตำนานพื้นบ้านว่า "ตำนานร่วมสมัย" (contemporary legend) มากกว่า ตำนานพื้นบ้านนั้นบางทีก็เล่าซ้ำ ๆ กันในรูปแบบรายงานข่าว และในช่วงหลัง ๆ มักแพร่หลายในรูปแบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้คนมักอ้างว่าเรื่องราวที่โจษจันกันนั้นเกิดขึ้นแก่เพื่อนของเพื่อน เมื่อเล่าตำนานพื้นบ้านก็จึงมักอ้างถึง "เพื่อนของเพื่อน" (หรือที่ในภาษาไทยแต่โบราณว่า "กิร ดังได้สดับมา") แม้เวลาผ่านไปหลายปี ตำนานพื้นบ้านบางเรื่องเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากก็มี เช่น เรื่องหญิงถูกแมงมุมซึ่งทำรังอยู่ในทรงผมของนางฆ่าตาย ตำนานพื้นบ้านในระยะหลัง ๆ มักสะท้อนพฤติการณ์สมัยใหม่ขึ้น เช่น เรื่องปล้นไต (Kidney Heist) ความว่า มีคนถูกดักทำร้าย โปะยาสลบ พอตื่นขึ้นมาก็พบว่าไตหายไปข้างหนึ่ง เพราะถูกลักไปใช้ปลูกถ่ายให้แก่ผู้อื่น เป็นต้น.
เทวดา
ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ พิธีขอฝน